คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นินนาท สาครรัตน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3233/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายเลิกกันหรือไม่: การชำระหนี้ล่าช้าไม่ใช่เหตุเลิกสัญญาหากไม่ถือเป็นสาระสำคัญ
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินและอาคารของโจทก์ ซึ่งตามคำฟ้องและคำให้การได้ความว่า จำเลยครอบครองที่ดินและอาคารโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างโจทก์และจำเลย ทั้งโจทก์และจำเลยยังโต้แย้งกันด้วยว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วหรือไม่ หากสัญญาดังกล่าวเลิกกันโดยชอบย่อมเป็นเหตุให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ ดังนั้น ปัญหาว่าสัญญาดังกล่าวเลิกกันแล้วโดยชอบหรือไม่ จึงเป็นประเด็นแห่งคดีซึ่งปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
จำเลยชำระราคาให้แก่โจทก์ล่าช้าไม่ตรงตามกำหนดระยะเวลาในสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็รับชำระ แสดงว่าคู่สัญญาไม่ได้ถือเอากำหนดระยะเวลาชำระหนี้ตามสัญญาเป็นข้อสาระสำคัญ ถือได้ว่าสัญญาจะซื้อจะขายเป็นสัญญาที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาชำระราคาไว้ การที่จำเลยไม่ชำระราคาในงวดถัดไปภายในกำหนดระยะเวลาตามสัญญาจึงไม่เป็นเหตุให้สัญญาเลิกกันตามข้อตกลงในสัญญา โจทก์ต้องบอกกล่าวกำหนดระยะเวลาพอสมควรให้จำเลยชำระหนี้เสียก่อน ถ้าจำเลยไม่ชำระหนี้จึงมีสิทธิเลิกสัญญาได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 387

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2882/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์และฎีกาในคดีครอบครองที่ดินพิพาทที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกเข้าไปปลูกสิ่งปลูกสร้างในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์มีสิทธิครอบครอง ขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและออกไปจากที่ดินพิพาทพร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จำเลยให้การว่า จำเลยเป็นผู้จับจองครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่สาธารณะ ขอให้ยกฟ้อง เป็นคดีมีข้อพิพาทโต้แย้งกันเกี่ยวกับสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทซึ่งโจทก์ตีราคามาเป็นเงิน 50,000 บาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าแผงขายสินค้าที่จำเลยปลูกสร้างอยู่ในเขตที่ดินที่โจทก์มีสิทธิครอบครอง ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยโต้แย้งดุลพินิจของศาลชั้นต้นในการรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าว อุทธรณ์โจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 รับวินิจฉัยอุทธรณ์โจทก์และพิพากษาคดีมาจึงเป็นการไม่ชอบ ฎีกาโจทก์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามมาตรา 248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน: ยังมีผลผูกพันคู่สัญญา แม้ไม่อาจใช้ยันบุคคลภายนอก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก ได้กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมตามฟ้องระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่จำเลยฎีกา ข้อตกลงดังกล่าวก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงภาระจำยอมที่ไม่จดทะเบียน ยังมีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา และประเด็นการฎีกาที่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอมตามข้อตกลง หากจดทะเบียนไม่ได้ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ 200,000 บาท เป็นการฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาเพื่อให้ได้มาซึ่งภาระจำยอม ภาระจำยอมซึ่งเป็นสิทธิที่โจทก์อ้างว่าตกลงกับจำเลยเพื่อให้ได้มาดังกล่าวย่อมอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ถือได้ว่าเป็นคดีปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งมีทุนทรัพย์ขณะยื่นคำฟ้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้จำเลยไปจดทะเบียนภาระจำยอม หากจดทะเบียนไม่ได้ให้จำเลยชำระค่าเสียหายแก่โจทก์จำนวน 108,000 บาท คดีจึงมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาสำหรับจำเลยไม่เกิน 200,000 บาท
ฎีกาของจำเลยที่ว่า จำเลยไม่ได้ตกลงให้โจทก์ทำถนนในทางพิพาท โดยจำเลยตกลงจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอม ค่าเสียหายของโจทก์มีจำนวนน้อยกว่า 100,000 บาท เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและฎีกาของจำเลยที่ว่าโจทก์ถมดินในทางพิพาทเพื่อประโยชน์ของตนเอง แล้วนำคดีมาฟ้องเป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต เป็นปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่า จำเลยได้ตกลงให้โจทก์ถมดินในทางพิพาทโดยจำเลยจะไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นภาระจำยอมให้จริงหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกาเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฎีกาจำเลยทุกข้อจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์กับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2539/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงภาระจำยอม แม้ไม่ได้จดทะเบียน ก็มีผลผูกพันคู่สัญญา
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคแรก ได้กำหนดให้การได้มาซึ่งทรัพยสิทธิที่มิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่อาจใช้ยันและไม่อาจบังคับบุคคลภายนอกที่มิได้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น มิได้เป็นการกำหนดให้นิติกรรมนั้นในส่วนที่เป็นบุคคลสิทธิตกเป็นโมฆะเสียเปล่าไป นิติกรรมดังกล่าวจึงยังคงมีผลผูกพันบังคับกันได้ในระหว่างคู่สัญญา ดังนั้น แม้จะได้ความว่า ข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมตามฟ้องระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นข้อตกลงที่มิได้จดทะเบียนไว้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่จำเลยฎีกา ข้อตกลงดังกล่าวก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 กำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของสมาชิกตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปรากฏว่ารายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคในรอบปี 2548 ที่พรรค ผ. ส่งไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีชื่อผู้ร้อง ดังนั้น แม้จะปรากฏตามบันทึกการประชุมพรรค ผ. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ว่า พรรคมีมติรับผู้ร้องเป็นสมาชิกลำดับที่ 081/2548 แต่บันทึกการประชุมครั้งที่ 10/2548 เป็นเพียงการรับรองรายงานการประชุมพรรคครั้งที่ 9/2548 ลงวันที่ 11 กันยายน 2548 ซึ่งระบุเพียงเลขที่สมาชิก ไม่ปรากฏชื่อผู้ร้อง ทั้งใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครวันที่ 14 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันหลังจากพรรค ผ. มีมติรับสมัครสมาชิกเลขที่ 081/2548 ไปแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรค ผ. จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 667/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้บัญชีเดินสะพัด, เจตนาเลิกสัญญา, การบังคับจำนอง, และขอบเขตการบังคับชำระหนี้
แม้สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีรวมทั้งสัญญาเพิ่มวงเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งต้องด้วยลักษณะของสัญญาบัญชีเดินสะพัดจะไม่มีกำหนดเวลา แต่สัญญาบัญชีเดินสะพัดเป็นเอกเทศสัญญาที่มีลักษณะเฉพาะ โดยสัญญาจะคงสภาพอยู่ต่อไปได้ก็จะต้องมีการสะพัดทางบัญชีอย่างต่อเนื่องและภายในระยะเวลาอันสมควร ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ภ. ได้นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนอันเป็นการเดินสะพัดทางบัญชีครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2526 แล้วไม่มีการเดินสะพัดทางบัญชีกันอีกเลย นับถึงวันที่ ภ. สิ้นพระชนม์เป็นเวลานานเกือบ 12 ปี แสดงว่า ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายแล้ว โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีหน้าที่ต้องตรวจตราบัญชีของลูกค้าอยู่ตลอดเวลาว่ามีการเคลื่อนไหวอย่างไร เมื่อปรากฏว่า ภ. ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ไม่มีการเคลื่อนไหวทางบัญชี โจทก์ย่อมจะต้องทวงถามหรือบอกเลิกสัญญาในเวลาอันสมควร มิใช่ถือโอกาสใช้สิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นในระยะเวลายาวนานเกินสมควรเช่นนี้ ถือได้ว่าการใช้สิทธิของโจทก์มิได้กระทำโดยสุจริต โดยถือว่าสัญญาเลิกกันตั้งแต่วันที่ ภ. มีเจตนาเลิกสัญญากับโจทก์โดยปริยายคือวันที่ 14 มีนาคม 2526 อันเป็นวันที่ ภ. เดินสะพัดทางบัญชีเป็นครั้งสุดท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงเกิดขึ้นนับแต่นั้น สิทธิเรียกร้องตามสัญญาดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 10 ปี โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2539 พ้นกำหนด 10 ปี หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดจึงขาดอายุความ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อปรากฏว่า ภ. ได้นำที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างมาจดทะเบียนจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ดังกล่าวในวงเงิน 5,500,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี โดยมีข้อตกลงว่าหากโจทก์บังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ยอมให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ ดังนี้ แม้หนี้ตามสัญญาบัญชีเดินสะพัดดังกล่าวจะขาดอายุความ แต่กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 193/27 และมาตรา 745 กล่าวคือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจำนองจะบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองแม้เมื่อหนี้ที่จำนองเป็นประกันนั้นขาดอายุความแล้วก็ได้ แต่จะบังคับให้ชำระดอกเบี้ยที่ค้างชำระย้อนหลังเกินกว่าห้าปีไม่ได้ และคงบังคับได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ ภ. จำนองไว้เท่านั้น จะบังคับจากทรัพย์สินอื่นอีกหาได้ไม่ ถึงแม้ว่าตามสัญญาจำนองจะกำหนดให้บังคับเอาจากทรัพย์สินอื่นจนกว่าจะครบ หากบังคับจำนองได้เงินไม่พอชำระหนี้ก็ตาม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7544/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้ต้องไม่มีข้อต่อสู้ สิทธิเรียกร้องที่มีข้อโต้แย้งนำมาหักลบหนี้ไม่ได้
จำเลยต้องรับผิดตามเช็คพิพาททั้ง 4 ฉบับ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 การที่จำเลยขอหักกลบลบหนี้เงินค่าแชร์กับหนี้เงินต้นเงินยืมตามเช็คพิพาทกับดอกเบี้ยนั้น ถือว่าจำเลยประสงค์จะนำหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์อ้างว่าเป็นหนี้จำเลยจำนวน 800,000 บาท มาหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามเช็คพิพาทในชั้นศาล โจทก์นำสืบโต้เถียงว่าโจทก์กับจำเลยได้ตกลงหนี้สินระหว่างกันแล้วโดยให้หักค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระอีก 1,200,000 บาท กับหนี้เงินยืมที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ เมื่อตกลงแล้วโจทก์ได้คืนเช็คตามจำนวนหนี้ที่หักหนี้ให้แก่จำเลยและจำเลยมีหน้าที่ชำระค่าแชร์แทนโจทก์ หลังจากหักหนี้กันแล้วจำเลยยังค้างชำระหนี้โจทก์จำนวน 759,040 บาท ซึ่งจำเลยได้สั่งจ่ายเป็นเช็ค 4 ฉบับ อันเป็นการต่อสู้ว่าหนี้ค่าแชร์ที่โจทก์จะต้องชำระให้จำเลยนั้นระงับไปแล้วด้วยการหักกลบลบหนี้ โจทก์ไม่มีหนี้ที่ต้องชำระแก่จำเลยอีก ถือได้ว่าสิทธิเรียกร้องที่จำเลยนำมาหักกลบลบหนี้ยังมีข้อต่อสู้อยู่ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 344 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องใดยังมีข้อต่อสู้อยู่ สิทธิเรียกร้องนั้นท่านว่าหาอาจจะเอามาหักกลบลบหนี้ได้ไม่" ดังนั้นจำเลยจึงนำสิทธิเรียกร้องค่าแชร์ที่ชำระแทนโจทก์ไปขอหักกลบลบหนี้กับโจทก์ตามเช็คพิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7475/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้ขอให้บังคับทางสาธารณะ/ภาระจำยอม/จำเป็น ศาลพิจารณาตามข้อเท็จจริงได้
การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า ส. เจ้าของที่ดินยกทางเดินให้ที่ดินเป็นทางสาธารณะ โจทก์ทั้งห้าใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกจากที่ดินของโจทก์ทั้งห้าสู่ทางสาธารณะเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว ทางพิพาทจึงเป็นทางภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ที่ดินของโจทก์ทั้งห้ามีที่ดินแปลงอื่นรวมทั้งที่ดินของจำเลยล้อมรอบไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นสำหรับที่ดินของโจทก์ทั้งห้า ขอให้บังคับจำเลยไปจดทะเบียนทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือทางภาระจำยอมหรือทางจำเป็นนั้น แม้จะเป็นการแสดงสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า ทางพิพาทเป็นทางสามประเภทดังกล่าว แต่ก็ได้แสดงลักษณะของการเป็นทางในแต่ละประเภทนั้นไว้ และฟ้องดังกล่าวมีคำขอให้บังคับเกี่ยวกับทางพิพาทประเภทใดประเภทหนึ่งเพียงประเภทเดียวในจำนวนนั้น ซึ่งทางพิพาทจะเข้าลักษณะเป็นทางประเภทใด ย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณารับฟังข้อเท็จจริง หากได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางประเภทใด ศาลย่อมพิพากษาและบังคับตามคำขออย่างหนึ่งอย่างใด ตามที่พิจารณาได้ความ ทั้งจำเลยก็ให้การปฏิเสธฟ้องโดยสิ้นเชิงว่า ทางพิพาทไม่ได้เป็นทางทั้งสามประเภทดังกล่าวอันเป็นการแสดงให้เห็นว่าจำเลยเข้าใจฟ้องโจทก์แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6927/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นค่าเสียหายเนื่องจากไม่ได้กล่าวถึงในฎีกา ทำให้จำกัดทุนทรัพย์ข้อพิพาทและขัดต่อข้อห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
แม้โจทก์ที่ 1 จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาตามทุนทรัพย์ 298,000 บาท ซึ่งเป็นการรวมทุนทรัพย์ตามราคาที่ดินพิพาทจำนวน 198,000 บาท กับค่าเสียหายที่โจทก์ทั้งสามฟ้องเรียกจากจำเลยทั้งสองจำนวน 100,000 บาท เข้าด้วยกันก็ตาม แต่ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มิได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายว่าโจทก์ที่ 1 ยังประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองตามฟ้อง จึงเท่ากับว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฎีกาในประเด็นค่าเสียหาย ฎีกาของโจทก์ที่ 1 มีเพียงประเด็นความเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท เมื่อราคาที่ดินที่พิพาทอันเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท โจทก์ที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
of 9