พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7142/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ามนุษย์และพรากผู้เยาว์ การพิพากษาความผิดฐานต่างๆ และการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดนับแต่จำเลยทั้งสองกับพวกเริ่มพรากผู้เสียหายที่ 1 ขณะที่ผู้เสียหายที่ 1 อยู่นอกราชอาณาจักร และเป็นความผิดต่อเนื่องติดต่อกันตลอดมาในท้องที่ต่าง ๆ หลายท้องที่ตลอดเวลาที่จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันพาผู้เสียหายที่ 1 เข้ามาในราชอาณาจักรและหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้เสียหายที่ 1 ไว้เพื่อการค้าประเวณีที่จังหวัดตราด ถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นความผิดต่อเนื่องเกิดขึ้นหลายท้องที่ทั้งนอกราชอาณาจักรและในราชอาณาจักร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องตามมาตรา 5 แห่งประมวลกฎหมายอาญา ความผิดฐานพาบุคคลอายุเกินสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคแรก (เดิม) และฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ตามมาตรา 284 วรรคแรก (เดิม) ต้องเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของตนเองหรือผู้ร่วมกระทำความผิดกับตน เมื่อจำเลยทั้งสองร่วมกันเป็นธุระจัดหาและพาผู้เสียหายที่ 1 ไปเพื่อให้กระทำการค้าประเวณี อันเป็นการกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น มิใช่เพื่อสนองความใคร่ของจำเลยทั้งสองกับพวก การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดสองฐานนี้ ความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าของกิจการการค้าประเวณี ผู้ดูแล หรือผู้จัดการกิจการการค้าประเวณีหรือสถานการค้าประเวณี กับความผิดฐานร่วมกันดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณี เมื่อจำเลยทั้งสองเป็นเจ้าของ ผู้ดูแล หรือผู้จัดการสถานการค้าประเวณีและดำรงชีพอยู่แม้เพียงบางส่วนจากรายได้ของผู้ซึ่งค้าประเวณีในสถานการค้าประเวณีของจำเลยทั้งสองนั้นเอง จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ.2560 แก้ไขอัตราโทษตาม ป.อ. มาตรา 286 วรรคแรก และมาตรา 318 วรรคสาม แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสอง จึงต้องใช้กฎหมายเดิมในขณะที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิด แต่ต่อมาในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 27) พ.ศ.2562 ให้ยกเลิกความในมาตรา 286 ซึ่งกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดยังคงบัญญัติให้การกระทำความผิดตามฟ้องเป็นความผิดอยู่ แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่เป็นคุณเฉพาะในส่วนโทษจำคุก จึงต้องใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณไม่ว่าในทางใด ตาม ป.อ. มาตรา 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14526/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพประกอบพยานหลักฐาน การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ และการห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงใหม่
ความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร จำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์สืบพยานประกอบคำรับสารภาพของจำเลย เมื่อจำเลยอุทธรณ์ว่าพยานโจทก์ที่นำสืบประกอบคำรับสารภาพรับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ชอบที่จะรับวินิจฉัยให้ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ผู้เสียหายที่ 2 เป็นมารดาผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งอาศัยอยู่ด้วยกัน เป็นผู้พาผู้เสียหายที่ 1 ไปให้แพทย์ตรวจร่างกายพบว่าผู้เสียหายที่ 1 ตั้งครรภ์ และสอบข้อเท็จจริงจนทราบจากผู้เสียหายที่ 1 ว่าจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงว่า ผู้เสียหายที่ 1 ให้การไว้ตามคำให้การชั้นสอบสวนเอกสารหมาย จ.5 ซึ่งยืนยันว่าจำเลยข่มขืนกระทำชำเรา ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายที่ 2 และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นพยานบอกเล่าซึ่งมีเหตุผลอันหนักแน่นมารับฟังลงโทษจำเลยได้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปี ซึ่งมิใช่ภริยาของตนและพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปี แต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ และโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ ศาลจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องตามคำรับสารภาพ ฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่ได้กระทำความผิดจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นใหม่และขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลย และเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เพิ่งมายกขึ้นว่ากันในศาลฎีกา จึงต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับตัวผู้เยาว์เพื่อการอนาจารและการกระทำชำเรา โดยไม่เข้าข่ายค้ามนุษย์
ด. พรากผู้เสียหายไปเสียจาก อ. ผู้ดูแล โดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร และจำเลยรับตัวผู้เสียหายไว้จาก ด. แล้วกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่พฤติการณ์ที่จำเลยรับตัวผู้เสียหายไว้และกระทำชำเราผู้เสียหายอันเป็นการกระทำความผิดฐานรับตัวผู้เยาว์ซึ่งถูกพรากเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ไม่ปรากฏว่าจำเลยรับตัวผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานค้ามนุษย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพาไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์ เมื่อผู้เสียหายสมัครใจติดตามไปอยู่กินเป็นสามีภริยา
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ ได้หนีตามจำเลยที่ 1 ไปเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีภริยาอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ถือว่าเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 และเมื่อได้ความว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์เต็มใจหนีตามจำเลยที่ 1 ไปด้วยเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4426/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข่มขืนกระทำชำเราและพรากผู้เยาว์ โดยใช้กำลังประทุษร้ายและหลอกลวง
การที่จำเลยได้หลอกให้ผู้เสียหายไปพบยายโดยอ้างว่ายายต้องการพบ ทั้งที่ความจริงยายมิได้ใช้ให้จำเลยไปตามผู้เสียหายมาพบแต่อย่างใด จำเลยจึงมีเจตนาหลอกผู้เสียหายไปที่บ้านเกิดเหตุ เพื่อที่จะได้ข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการพรากผู้เสียหายไปเสียจากผู้ปกครองดูแลโดยผู้เสียหายไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 775/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์ ข่มขืนใจ และข่มขืนกระทำชำเรา ศาลแก้ไขโทษปรับและรอการลงโทษ
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเสียจากบิดามารดาโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม นั้น เมื่อจำเลยมีเจตนาและได้พรากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์ไปโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจาร ถือได้ว่าความผิดสำเร็จนับแต่จำเลยเริ่มพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปโดยมีเจตนาดังกล่าวแล้ว การกระทำของจำเลยจึงมิใช่เป็นกรรมเดียวกันกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ส่วนความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง กับความผิดฐานข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตหรือร่างกายของผู้ถูกข่มขืนใจหรือโดยใช้กำลังประทุษร้ายจนผู้ถูกข่มขืนใจต้องกระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งนั้น และข่มขืนกระทำชำเรานั้น จำเลยกระทำต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันโดยมุ่งหมายที่จะข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท นอกจากนี้ ศาลล่างทั้งสองมิได้อ้างบทกฎหมายที่เป็นบทลงโทษจำเลยในความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและปรับบทลงโทษจำเลยโดยไม่ระบุเป็นความผิดตามวรรคใดในมาตราที่ลงโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3856/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนใจโดยมีอาวุธ กรณีร่วมกระทำแต่ไม่ปรากฏพฤติการณ์อนาจาร
จำเลยเป็นเพียงผู้ขับรถจักรยานยนต์ที่ บ. นั่งซ้อนท้ายตามรถจักรยานยนต์ที่พ. ขับ และผู้เสียหายทั้งสองนั่งซ้อนท้ายไป เมื่อ พ. หยุดรถ บ. เป็นผู้เข้าไปข่มขู่ผู้เสียหายทั้งสองกับ พ. แต่จำเลยไม่ได้ร่วมข่มขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองแต่ประการใดผู้เสียหายทั้งสองสมัครใจยินยอมให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์ไปส่งที่บ้านขณะที่จำเลยขับรถตามไปทัน ผู้เสียหายที่ 1 บอก พ. ไม่ต้องหยุดรถ พ. ก็ไม่หยุด บ. บอกให้ พ. ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวขวา พ. ไม่ยอมทำตามจน บ. ต้องใช้อาวุธปืนขู่แม้ บ. กับ พ. ร่วมมือกัน แต่ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำอนาจารหรือลวนลามทางเพศต่อผู้เสียหายทั้งสอง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานร่วมกันพาผู้เสียหายทั้งสองไปเพื่อการอนาจารตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 284 วรรคแรก และฐานร่วมกันพรากผู้เยาว์อายุไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดาหรือผู้ดูแลโดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 318 วรรคสาม แต่การที่จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้ บ. นั่งซ้อนท้ายไปด้วยกัน และจำเลยจอดรถจักรยานยนต์ให้ บ. ลงจากรถไปและใช้อาวุธปืนขู่บังคับผู้เสียหายทั้งสองให้ลงจากรถจักรยานยนต์โดยจำเลยมิได้ห้ามปราม จึงถือได้ว่าจำเลยร่วมกระทำการข่มขืนใจผู้เสียหายทั้งสองให้กระทำการใดไม่กระทำการใด หรือจำยอมต่อสิ่งใดโดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายเสรีภาพ ชื่อเสียงหรือทรัพย์สินของผู้เสียหายอันเป็นความผิดต่อเสรีภาพโดยมีอาวุธตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคสอง แต่เมื่อผู้เสียหายทั้งสองไม่ยอมลงจากรถจักรยานยนต์ตามที่ บ. ข่มขืนใจ จำเลยจึงมีความผิดเพียงขั้นพยายาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารโดยไม่ได้รับความยินยอม แม้ผู้เสียหายจะไปด้วยความสมัครใจแต่ถูกพาไปเพื่อประสงค์ต่อการกระทำผิด อายุผู้กระทำผิดขณะกระทำความผิดเป็นสำคัญ
วันเกิดเหตุมีงานศพที่วัดวังมะปราง บิดามารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายไปช่วยงานศพที่วัดดังนี้การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ17ปีออกจากวัดวังมะปราง แม้ในตอนแรกผู้เสียหายจะสมัครใจไปด้วยแต่การพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและปลุกปล้ำกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้นถือว่าผู้เสียหายมิได้เต็มใจไปด้วยจำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา278,318วรรคสาม ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีอายุ19ปีลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา76ไม่ถูกต้องเพราะอายุที่ถือเป็นเกณฑ์ตามบทกฎหมายดังกล่าวคืออายุขณะที่กระทำความผิดซึ่งขณะกระทำผิดจำเลยอายุ17ปีเศษยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกผิดชอบสมควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3758/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพาผู้อื่นไปกระทำอนาจารโดยไม่ยินยอม แม้เริ่มด้วยความสมัครใจก็ถือเป็นความผิด
วันเกิดเหตุมีงานศพที่วัดวังมะปราง บิดามารดาผู้เสียหายและผู้เสียหายไปช่วยงานศพที่วัด ดังนี้ การที่จำเลยพาผู้เสียหายอายุ 17 ปี ออกจากวัดวังมะปราง แม้ในตอนแรกผู้เสียหายจะสมัครใจไปด้วย แต่การพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจารและปลุกปล้ำกระทำอนาจารแก่ผู้เสียหายโดยผู้เสียหายมิได้ยินยอมด้วยนั้น ถือว่าผู้เสียหายมิได้เต็มใจไปด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา278, 318 วรรคสาม
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีอายุ 19 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ไม่ถูกต้อง เพราะอายุที่ถือเป็นเกณฑ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว คือ อายุขณะที่กระทำความผิด ซึ่งขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกผิดชอบสมควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีอายุ 19 ปี ลดมาตราส่วนโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 76 ไม่ถูกต้อง เพราะอายุที่ถือเป็นเกณฑ์ตามบทกฎหมายดังกล่าว คือ อายุขณะที่กระทำความผิด ซึ่งขณะกระทำผิดจำเลยอายุ 17 ปีเศษ ยังอ่อนเยาว์ต่อความรู้สึกผิดชอบสมควรลดมาตราส่วนโทษให้กึ่งหนึ่ง