พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3814/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดโดยการแบ่งบรรจุและการบรรยายฟ้องที่ไม่ชัดเจน ศาลฎีกายกข้อหาเกินคำขอ
มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะ ปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย การที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันแบ่งเมทแอมเฟตามีนของกลางใส่ในหลอดกาแฟโดยยังมีหลอดกาแฟหลายหลอดที่เตรียมไว้เพื่อการแบ่งบรรจุเช่นนี้ ถือว่าเป็นารผลิตตามบทนิยามในมาตรา 4 ดังกล่าว
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำว่า เพื่อจำหน่ายนั้น โจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ในฟ้องข้อ 1 ก โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งสามได้บังอาจร่วมกันผลิตโดยแบ่งบรรจุและมีเมทแอมเฟตามีน 246 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย คำว่า เพื่อจำหน่ายนั้น โจทก์ได้บรรยายมุ่งถึงข้อหามีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครอง มิใช่ข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีน ทั้งในฟ้องข้อ 2 ก็ได้บรรยายย้ำว่า เจ้าพนักงานจับจำเลยทั้งสามได้พร้อมเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยทั้งสามร่วมกันผลิตและมีไว้เพื่อจำหน่าย และที่เหลือจากการจำหน่ายกับจำหน่ายด้วย จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายข้อหาผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่ายมาในฟ้องแล้ว ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 และที่ 3 มีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเพื่อจำหน่าย และลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 3 ในข้อหาดังกล่าว จึงเป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225 จำเลยที่ 1 และที่ 3 คงมีความผิดฐานร่วมกันผลิตเมทแอมเฟตามีนเท่านั้น แม้ศาลฎีกาจะไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยที่ 2 เนื่องจากต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปตลอดถึงจำเลยที่ 2 ได้ด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2872/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับเนื่องจากเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขเล็กน้อย และเป็นการบิดเบือนข้อเท็จจริง
การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกกระทงละ 3 ปี รวม 5 กระทง เป็นจำคุก 15 ปี ริบของกลางและให้จำเลยใช้เงินจำนวน 8,770,000 บาท แก่โจทก์ร่วมเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยร่วมกันใช้เงินจำนวน 7,760,000 บาท แก่โจทก์ร่วม เป็นการแก้ไขเล็กน้อย และยังคงลงโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2842/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องเฉลี่ยทรัพย์จากการบังคับคดี และสิทธิในการยื่นคำร้องก่อนวันขายทอดตลาด
คำร้องเฉลี่ยทรัพย์เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีอย่างหนึ่งซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และตามบทบัญญัติมาตรา 302 วรรคหนึ่ง ศาลที่มีอำนาจออกหมายบังคับคดีหรือมีอำนาจทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดอันเกี่ยวด้วยการบังคับคดี คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้นศาลที่ออกหมายบังคับให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 290 วรรคหนึ่ง สำหรับคดีนี้จึงได้แก่ศาลชั้นต้น ส่วนศาลจังหวัดปทุมธานีเป็นเพียงศาลที่บังคับคดีแทนการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต่อศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่าการขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดมิได้ห้ามมิให้ยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาด ทั้งสิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เกิดมีขึ้นตั้งแต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ยังไม่มีสิทธิดังกล่าว ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดจึงไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
มาตรา 290 วรรคสี่ บัญญัติหลักเกณฑ์เพียงว่าการขอเฉลี่ยทรัพย์นั้นอย่างช้าที่สุดต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา 14 วัน นับแต่วันที่มีการขายทอดตลาดมิได้ห้ามมิให้ยื่นคำร้องก่อนวันที่มีการขายทอดตลาด ทั้งสิทธิของผู้ร้องที่จะขอเฉลี่ยทรัพย์ก็เกิดมีขึ้นตั้งแต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ยังไม่มีสิทธิดังกล่าว ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ก่อนวันที่มีการขายทอดตลาดจึงไม่ขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้แทนบัตรจริงเข้าข่ายความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ
จำเลยถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขในช่องชื่อ ชื่อสกุล วันออกบัตร วันหมดอายุ และนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปถ่ายสำเนาเอกสารอีก เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับและน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยจะมิได้แก้ไขในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 265 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถกีดขวางทาง-ประมาททำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ศาลยกฟ้องข้อหาจอดรถ และให้รอการลงโทษ
ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ มาตรา 78 วรรคหนึ่ง, 160 วรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้ขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นและไม่หยุดให้ความช่วยเหลือพร้อมแสดงตัวและแจ้งเหตุต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งการจะเป็นความผิดดังกล่าวได้ ต้องเป็นผู้ขับรถที่กำลังแล่นอยู่ หาใช่กรณีผู้ขับรถที่จอดหรือหยุดรถไม่ เมื่อเหตุเกิดขณะจำเลยจอดรถ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานขับรถในทางซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่นตามบทมาตราดังกล่าว ปัญหาดังกล่าวแม้จำเลยที่ 1 จะไม่ได้ยกขึ้นในชั้นอุทธรณ์และฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องในข้อหาดังกล่าวได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง, 215, 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 674/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยในการต่อสู้คดี-การถอนตัวทนาย-การสืบพยาน-กระบวนการยุติธรรม
จำเลยทั้งสามเป็นผู้แต่งทนายความให้เข้ามาว่าความด้วยตนเอง ในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกทนายจำเลยได้ยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความโดยอ้างว่าความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ศาลชั้นต้นมิได้สอบจำเลยทั้งสามว่ามีความเห็นไม่ตรงกับทนายความอย่างไร และไม่ประสงค์จะให้เป็นทนายความต่อไปหรือไม่ ปรากฏว่าทนายจำเลยทั้งสามมิได้ฝ่าฝืนก็ยังคงทำหน้าที่เป็นทนายจำเลยทั้งสามต่อไป จนกระทั่งวันนัดสืบพยานโจทก์ทนายจำเลยทั้งสามไม่ได้มาศาลแต่มอบฉันทะให้เสมียนทนายนำคำร้องมายื่นต่อศาลขอถอนตัวจากการเป็นทนายความ การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าพยานโจทก์มาศาลพร้อมแล้ว จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยทั้งสามถอนตัวจากการเป็นทนายความ แล้วให้สืบพยานโจทก์ที่มาศาล 2 ปากโดยไม่มีทนายจำเลยทำหน้าที่ถามค้าน จึงเป็นการไม่ให้โอกาสจำเลยทั้งสามต่อสู้คดีได้เต็มที่ ทำให้จำเลยทั้งสามเสียเปรียบ ประกอบกับการที่ทนายจำเลยทั้งสามยื่นคำร้องขอถอนตัวจากการเป็นทนายความมาแล้ว 2 ครั้ง ยังไม่มีลักษณะเป็นการประวิงคดี แม้ศาลชั้นต้นจะไม่อนุญาตให้ทนายจำเลยทั้งสามถอนตัวจากการเป็นทนายความ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะต้องเลื่อนนัดสืบพยานโจทก์ที่มาศาล 2 ปากนั้นไปก่อนหรือเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะเรียกพยานโจทก์ทั้งสองปากมาในวันนัดสืบพยานจำเลยโดยให้โอกาสทนายจำเลยทั้งสามถามค้านตามคำร้องขอของทนายจำเลยทั้งสาม แต่ศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งว่าไม่มีเหตุที่จะเรียกพยานโจทก์ทั้งสองปากมาให้ทนายจำเลยทั้งสามปากถามค้าน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินการสืบพยานโจทก์โดยเรียกพยานโจทก์ทั้งสองปากมาศาลเพื่อให้ทนายจำเลยทั้งสามถามค้านพยานโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 350/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดี: ศาลต้องไต่สวนข้อโต้แย้งเรื่องทรัพย์สินที่ยึดก่อนดำเนินการขายทอดตลาด เพื่อให้การบังคับคดีถูกต้อง
ข้ออ้างตามคำร้องของจำเลยที่ 1 ที่ว่าทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีนำออกขายทอดตลาดมิใช่ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดมา ขอให้ศาลมีคำสั่งงดการขายทอดตลาดไว้ก่อนเพื่อให้จำเลยที่ 1 ไปดำเนินการเรื่องนี้ทางกฎหมาย ข้อกล่าวอ้างดังกล่าวถือว่าเป็นข้อโต้แย้งในชั้นบังคับคดีเกี่ยวด้วยทรัพย์สินที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะนำออกขายทอดตลาดว่าเป็นทรัพย์สินที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดมาหรือไม่ ซึ่งจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง ศาลชั้นต้นจึงชอบที่จะไต่สวนคำร้องของจำเลยที่ 1 ให้สิ้นกระแสความเสียก่อนแล้วมีคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำร้องของจำเลยที่ 1 ประกอบรายงานข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีแล้วมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ชั่วคราวโดยมิได้ทำการไต่สวนคำร้อง จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 318/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิโจทก์ร่วม – การไม่ส่งสำเนาอุทธรณ์ – การแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา – ความไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้สหกรณ์การเกษตร ข. ผู้เสียหาย เข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการโจทก์ แต่ในการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นอุทธรณ์นั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยแล้ว ศาลชั้นต้นเพียงแต่สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้เฉพาะแก่เจ้าพนักงานอัยการโจทก์เท่านั้น หาได้สั่งให้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้แก่โจทก์ร่วมด้วยไม่ และศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยลดโทษให้แก่จำเลยกึ่งหนึ่ง ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษาคดีไปโดยมิได้ส่งสำเนาอุทธรณ์ของจำเลยให้โจทก์ร่วมเพื่อแก้อุทธรณ์ด้วยนั้น จึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 200
ในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้แก่โจทก์ร่วมทราบด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ในการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้คู่ความฟัง ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งวันนัดฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้แก่โจทก์ร่วมทราบด้วย จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 182 ประกอบมาตรา 215 ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเพื่อให้ปฏิบัติเสียให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 307/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดเช็ค: ต้องมีหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย การรับสภาพหนี้ไม่สร้างหนี้ใหม่
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 การออกเช็คที่จะเป็นความผิดนั้นจะต้องเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายด้วย ข้อเท็จจริงที่ว่าการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย จึงเป็นองค์ประกอบการกระทำความผิดหาได้เป็นเพียงรายละเอียดที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาไม่ การที่โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ตามสัญญารับสภาพหนี้และแนบสำเนาสัญญารับสภาพหนี้มาท้ายฟ้อง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดตามบทบัญญัติดังกล่าว เพราะการรับสภาพหนี้มิได้ก่อให้เกิดมูลหนี้ขึ้นใหม่ เพียงแต่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (1) เท่านั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 133/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งหมายนัดไต่สวนที่ไม่ถูกต้องตามภูมิลำเนาของผู้รับหมาย ทำให้ผู้รับหมายไม่ได้รับโอกาสคัดค้านกระบวนการพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคหนึ่ง โดยมีสำเนาทะเบียนบ้านแนบท้ายคำร้องซึ่งมีข้อความระบุว่าผู้ร้องย้ายภูมิลำเนาจากบ้านเลขที่ 17/115 ไปที่บ้านเลขที่ 30/5 ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ปิดหมายตามคำแถลงของโจทก์ นอกจากนี้ตามบันทึกการปิดหมายของเจ้าหน้าที่ศาลก็ระบุว่า เจ้าหน้าที่ศาลได้รับแจ้งจากบุคคลใกล้เคียงว่า ผู้ร้องได้ย้ายบ้านใหม่แล้ว กรณีเช่นว่านี้นับว่ามีเหตุผลตามสมควรที่ศาลชั้นต้นจะทำการไต่สวนให้ได้ข้อเท็จจริงที่แน่ชัดเสียก่อนว่าในขณะที่มีการส่งหมายนัดไต่สวนนั้น ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ ณ บ้านที่มีการส่งหมายนัดและสำเนาคำร้องหรือไม่ เพราะหากข้อเท็จจริงได้ความตามคำร้องย่อมเป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบและทำให้ผู้ร้องเสียหายเพราะไม่มีโอกาสได้คัดค้านคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดของโจทก์ การที่ศาลชั้นต้นด่วนมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยไม่ทำการไต่สวนคำร้องให้ทราบข้อเท็จริงแน่ชัดเสียก่อนเช่นนี้ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่ชอบ