คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สมคักดิ์ เนตรมัย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5187/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลเพิกถอนการไม่รับฎีกาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาที่ไม่เป็นเหตุพิเศษ
วันที่ 25 ตุลาคม 2545 จำเลยที่ 1 ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง วันที่ 31 ตุลาคม 2545 จำเลยทั้งสองยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2545 ว่าจำเลยทั้งสองยื่นฎีกาเกินกำหนดเวลาที่ศาลอนุญาตให้ขยายถึงวันที่ 28 ตุลาคม 2545 จึงไม่รับ วันที่ 25 พฤศจิกายน 2545 จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาต่อมาวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาฉบับลงวันที่ 25 ตุลาคม 2545 ว่าเพื่อให้คดีเป็นไปโดยรวดเร็ว จึงถือกรณีการสั่งตามคำร้องเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2545 เป็นไปโดยหลงผิด จึงให้เพิกถอนคำสั่งเดิมและอนุญาตให้ขยายระยะเวลาฎีกาถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 และสั่งในฎีกาของจำเลยทั้งสองฉบับลงวันที่ 31 ตุลาคม 2545 ว่า เพื่อมิให้การดำเนินคดีล่าช้าเป็นผลเสียแก่คู่ความ จึงถือว่ากรณีเป็นการสั่งโดยผิดหลง อาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 เพิกถอนคำสั่งไม่รับฎีกา สั่งใหม่ให้รับฎีกาของจำเลยทั้งสอง แล้วศาลชั้นต้นสั่งในอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาว่า เนื่องจากศาลรับฎีกาของจำเลยทั้งสอง กรณีจึงไม่มีเหตุตามอุทธรณ์อีก อุทธรณ์ไม่เป็นสาระแก่คดีจึงไม่รับ การที่ศาลชั้นต้นเพิ่งมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมที่ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของจำเลยที่ 1 และสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2545 มีลักษณะเป็นการเพิกถอนคำสั่งเดิมย้อนหลังแทนที่จะส่งอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวมายังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งตามมาตรา 252 และเหตุผลที่สั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมไม่ใช่เกิดจากการผิดหลงไม่ต้องด้วยมาตรา 27 จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยตามมาตรา 247 ประกอบมาตรา 236 และคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาก็ไม่ชอบด้วยเช่นกัน ศาลฎีกาให้เพิกถอนคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวตามมาตรา 243 (1) และมาตรา 27 ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
จำเลยที่ 1 อ้างเหตุขอขยายระยะเวลาฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 จัดทำฎีกาเสร็จแล้ว แต่ต้องนำเสนอกรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1 ตรวจก่อน ปรากฏว่ากรรมการดังกล่าวเดินทางไปประกอบธุรกิจที่ต่างจังหวัด ทนายจำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถเสนอให้ตรวจได้เหตุดังกล่าวเป็นเรื่องธุรกิจของจำเลยที่ 1 เอง มิใช่พฤติการณ์พิเศษที่จะขยายระยะเวลาฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4821/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการพิจารณาคำร้องคนอนาถา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกเป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์โดยเฉพาะต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องดำเนินคดีอนาถาเป็นที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว การนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมจึงไม่อาจทำได้
จำเลยเคยได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นถึงหากจะฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย จึงไม่มีเหตุที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย ยื่นคำร้องรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดบังคับคดีแล้ว แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทที่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4152/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาเมื่อมีคู่ความคัดค้าน เป็นการขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และคำแก้อุทธรณ์แล้วมีคำสั่งให้ส่งสำนวนเสนอศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ แต่จำเลยยื่นคำแถลงคัดค้านคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมคำแก้อุทธรณ์แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้ การที่ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ของผู้ร้องต่อศาลฎีกาจึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องส่งสำเนาคำร้องและคำฟ้องให้จำเลยเพื่อคัดค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สั่งในอุทธรณ์" และมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาตามที่โจทก์ขอ" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีของบริษัทจัดการกองทุนรวม กรณีผิดสัญญาหุ้นกู้: บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
การจัดการและการรับผิดชอบในการดำเนินการของกองทุนรวมเป็นอำนาจของบริษัทหลักทรัพย์ซึ่งได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ให้จัดตั้งและจัดการกองทุนรวมตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มาตรา 117 ประกอบด้วยมาตรา 124 วรรคสอง และมาตรา 125 (1) บริษัทหลักทรัพย์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งปฏิบัติผิดเงื่อนไขตามหนังสือข้อสนเทศเสนอขายหุ้นกู้ต่อกองทุนรวมได้ มิใช่กองทุนรวมจะต้องฟ้องคดีเองในนามของกองทุนรวมซึ่งเป็นนิติบุคคล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2956/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกสัญญาสมัครใจไม่มีผลให้เกิดค่าเสียหาย หากไม่มีการผิดสัญญาหรือหนี้ค้างชำระ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคสี่ มิได้ให้สิทธิพิเศษที่จะเรียกค่าเสียหายในกรณีที่คู่สัญญาตกลงเลิกสัญญากันโดยลูกหนี้มิได้ค้างชำระหนี้หรือผิดสัญญา การที่โจทก์กับจำเลยสมัครใจเลิกสัญญากัน แม้โจทก์จะอ้างว่าได้รับความเสียหายเพราะจำเลยเลิกสัญญาก่อนกำหนด ทำให้โจทก์ไม่ได้รับค่าเช่าอีก 42 งวด แต่เมื่อเป็นการเลิกสัญญาโดยจำเลยไม่ได้ผิดสัญญา อีกทั้งค่าเช่า 42 งวด เป็นหนี้ที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระในเวลาที่มีการเลิกสัญญากัน จึงไม่ใช่หนี้ค้างชำระที่จำเลยต้องรับผิด จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2906/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญากู้เงิน: การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเมื่อลูกหนี้ผิดนัดไม่ใช่เบี้ยปรับ
ตามสัญญากู้เงินข้อ 1 นะบุว่า ในระยะ 3 ปีแรกนับแต่วันทำสัญญากู้เงิน โจทก์มึสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราคงที่หลังจากนั้นโจทก์จึงมีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ แต่ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใด ตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ให้สิทธิโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ล่วงพ้น 3 ปี ดังนั้น เมื่อจำเลยผิดนัดแล้ว โจทก์จึงปรับอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นเป็นร้อยละ 13.50 ต่อปี อันเป็นการใช้สิทธิตามสัญญากู้เงินข้อ 3 ซึ่งหากจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ยังไม่มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นในขณะนั้นได้ การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นจึงมิใช่เป็นการเรียกเอาดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินอันเป็นดอกผลนิตินัยตามปกติ แต่มีลักษณะเป็นการเรียกเอาค่าสินไหมทดแทนที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่การที่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้อันเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 ที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.50 ต่อปี เป็นเบี้ยปรับซึ่งกำหนดไว้สูงเกินส่วนและใช้ดุลพินิจลดจำนวนลงจึงชอบด้วยมาตรา 383
กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดให้โจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีได้ก็ต่อเมื่อศาลเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยปัญหาเรื่องดอกเบี้ยโดยพิเคราะห์จากเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานแล้วเห็นว่าเป็นเบี้ยปรับ เป็นการวินิจฉัยอยู่ในประเด็นตามคำฟ้อง มิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่
of 5