พบผลลัพธ์ทั้งหมด 44 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารทางการ (แผ่นป้ายภาษี/ประกันภัย) แม้ไม่แก้ไขข้อความ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264
จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นภาพสีให้ปรากฏข้อความที่มีสี ตัวอักษรและขนาดเหมือนฉบับที่แท้จริงแล้วนำไปติดที่รถยนต์บรรทุกและรถพ่วง มีลักษณะที่ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดนนทบุรี นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดพะเยา นายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนกรมการประกันภัย หรือผู้อื่นได้ จึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หาใช่ว่าจำเลยจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้ผิดแผกแตกต่างไปจากต้นฉบับเอกสารที่แท้จริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
รถพ่วงของรถอยู่ในความหมายของคำว่า รถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (9) และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งเจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 90 กับต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยและติดเครื่องหมายไว้ที่รถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 12 วรรคสอง รถพ่วงของรถจึงเป็นรถที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยแยกต่างหากจากรถลากจูงการที่จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปติดที่รถยนต์บรรทุก 2 คัน และรถพ่วง 2 คัน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ได้เสียภาษีรถยนต์และทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 4 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 91
รถพ่วงของรถอยู่ในความหมายของคำว่า รถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (9) และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งเจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 90 กับต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยและติดเครื่องหมายไว้ที่รถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 12 วรรคสอง รถพ่วงของรถจึงเป็นรถที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยแยกต่างหากจากรถลากจูงการที่จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปติดที่รถยนต์บรรทุก 2 คัน และรถพ่วง 2 คัน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ได้เสียภาษีรถยนต์และทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 4 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการพิจารณาคดีนอกฟ้อง: ศาลอุทธรณ์มีอำนาจยกฟ้องหากข้อเท็จจริงเกินกว่าที่กล่าวในคำฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่และละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 รู้อยู่แล้วว่าโจทก์กับพวกไม่ได้ร่วมกันกระทำความผิดฐานฉ้อโกง แต่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กลับร่วมกันรับคำร้องทุกข์กล่าวโทษและดำเนินคดีแก่โจทก์กับพวกเป็นเหตุให้โจทก์กับพวกถูกควบคุมตัวเป็นผู้ต้องหาทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงสิทธิเสรีภาพของโจทก์กับพวกโจทก์มิได้บรรยายในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบด้วยการบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวระหว่างสอบสวนของโจทก์กับพวก แม้จะได้ความตามทางพิจารณาในชั้นไต่สวนมูลฟ้องว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 มีพฤติการณ์ในทางบ่ายเบี่ยงละเลยไม่สั่งคำร้องขอประกันตัวศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตามข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวนั้นได้ เพราะเป็นข้อเท็จจริงนอกฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง กรณีจึงมีเหตุตามกฎหมายที่จำเลยที่ 4 ไม่ควรต้องรับโทษและศาลต้องยกฟ้องโจทก์ตามมาตรา 185 วรรคหนึ่ง และปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: คลองสาธารณะแม้ไม่ได้ใช้สัญจรทางน้ำโดยทั่วไป ก็ไม่สิ้นสภาพ และไม่ก่อให้เกิดสิทธิเรียกร้องทางจำเป็น
คลองมหาชัยมีเขื่อนโครงการแก้มลิงกั้นอยู่บริเวณปากคลองแต่มีชาวบ้านบางคนใช้เรือส่วนตัวสัญจรไปมา ส่วนเขื่อนจะปิดกั้นเฉพาะกรณีเพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน มิได้ปิดตลอดเวลา คลองมหาชัยจึงเป็นทางสาธารณะตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1349 การที่ประชาชนส่วนใหญ่มิได้ใช้เป็นทางสัญจรทางน้ำ เนื่องจากไม่สะดวกเท่ากับการสัญจรทางบกหาได้ทำให้สิ้นสภาพการเป็นทางสาธารณะไปไม่ เมื่อที่ดินของโจทก์อยู่ติดคลองมหาชัยซึ่งเป็นทางสาธารณะอยู่แล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยเปิดทางจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9314/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลไม่มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาหากพิพากษาไม่ตรงตามคำฟ้อง แม้จะอ้างว่าเป็นความผิดพลาดเล็กน้อย
การที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระเงิน 2,973,482 บาท แต่โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระเงิน 2,927,761 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19ต่อปีของต้นเงิน 2,927,761 บาท และศาลชั้นต้นก็ได้พิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินตามจำนวนในคำท้ายฟ้อง จึงเท่ากับว่าศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสามชำระเงินไม่เต็มตามคำฟ้องของโจทก์ เงินที่ขาดไปไม่ใช่เป็นข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยอื่น ๆ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143ศาลย่อมไม่มีอำนาจแก้ไขได้