พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานจัดให้มีการพนันและเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้: ศาลพิพากษาลงโทษทุกกรรมเป็นกระทง
จำเลยทั้งสองร่วมกันกระทำความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันสลากกินรวบและฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้การพนันสลากกินรวบอันเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน ศาลต้องพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญา: การระบุวันเวลาและข้อเท็จจริงที่ทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) บัญญัติให้ฟ้องต้องมีการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ๆ พอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี แม้คำฟ้องของคดีนี้โจทก์มิได้ระบุถึงวันที่หรือเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิด แต่ในตอนท้ายของคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายว่า พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยไว้ต่อศาลนี้แล้ว โดยได้แนบคำให้การจำเลยในชั้นสอบสวนซึ่งจำเลยให้การถึงวัน เวลา ที่จำเลยเสพเมทแอมเฟตามีนตามคำร้องซึ่งพออนุโลมได้ว่าเป็นส่วนประกอบของคำฟ้องเมื่อปรากฏว่าในสำนวนคดีอาญาซึ่งติดอยู่ตอนหน้าของสำนวนคดีนี้นั้น ตามคำร้องของพนักงานสอบสวนที่ขอผัดฟ้องและฝากขังจำเลยในขณะเป็นผู้ต้องหา ได้ระบุวัน เวลา ที่เจ้าพนักงานตำรวจได้ตรวจพบผู้ต้องหา จึงได้นำตัวมาตรวจปัสสาวะ ผลการตรวจปัสสาวะของผู้ต้องหากับสารเคมีให้ผลเป็นสีม่วงซึ่งจำเลยไม่ค้าน จำเลยย่อมจะเข้าใจได้ดีว่าวันที่หรือเวลาที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดคือเมื่อใด จึงให้การรับสารภาพ คำฟ้องของโจทก์ย่อมสมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ต้องพิจารณาบทมาตราที่ถูกต้องตามลักษณะการกระทำ
ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนฯ ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสอง ต้องเป็นพียงกรณีมีเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน เท่านั้น แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยมีทั้งอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนฯ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามมาตรา 7, 72 วรรคหนึ่งเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8320/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาวุธปืน การรับสารภาพ และการลดโทษเหมาะสมกับพฤติการณ์
ศาลชั้นต้นออกนั่งพิจารณาและสอบถามจำเลยเรื่องทนายความกับอ่านอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังแล้ว จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นได้บันทึกคำให้การจำเลยไว้ เมื่อปรากฏว่าความผิดฐานมีอาวุธปืนไม่มีหมายเลขทะเบียนปืนของเจ้าพนักงานประทับและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคหนึ่ง, มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปีฯ ส่วนฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินห้าปีฯ และฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่มีเหตุอันสมควรตาม ป.อ. มาตรา 371 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100 บาท เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาได้โดยไม่ต้องสืบพยานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นดังกล่าวไม่เสียไปแม้โจทก์จะยังมิได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7807/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำวินิจฉัยคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต้องมีเหตุผลตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. หากชอบด้วยกฎหมายถือเป็นที่สุด
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายกาค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 ก็ต่อเมื่อเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ในการทำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไว้อย่างชัดเจน คงถือเป็นหลักเกณฑ์ได้ว่า ในการใช้ดุลพินิจที่จะปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แล้วแต่กรณี จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และต้องเป็นเหตุที่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจกึ่งตุลาการ อาจเทียบเคียงได้กับการทำคำพิพากษา จึงต้องนำหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ การให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) และ (5) หากคำวินิจฉัยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายกาค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ซึ่งการให้เหตุผลในระดับที่วิญญูชนสามารถเข้าใจได้ก็ถือเป็นการให้เหตุผลที่เพียงพอแล้วมิใช่เป็นเหตุผลลอยๆ หรือคลุมเครือ หรือต้องให้เหตุผลในรายละเอียดทุกเรื่อง
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในต่างประเทศ ย่อมเป็นเรื่องของกฎหมายแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเป็นดุลพินิจของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของแต่ละประเทศ มิใช่เงื่อนไขที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าวให้ในประเทศไทยด้วย
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 ไม่ได้วางหลักเกณฑ์ในการทำคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไว้อย่างชัดเจน คงถือเป็นหลักเกณฑ์ได้ว่า ในการใช้ดุลพินิจที่จะปฏิเสธการรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น นายทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า แล้วแต่กรณี จะต้องให้เหตุผลในการปฏิเสธคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และต้องเป็นเหตุที่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ายังมีลักษณะเป็นการใช้อำนาจกึ่งตุลาการ อาจเทียบเคียงได้กับการทำคำพิพากษา จึงต้องนำหลักเกณฑ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 มาใช้บังคับโดยอนุโลม คือ การให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และคำวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 141 (4) และ (5) หากคำวินิจฉัยสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว ย่อมถือได้ว่า ชอบด้วยกฎหมายและเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายกาค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ซึ่งการให้เหตุผลในระดับที่วิญญูชนสามารถเข้าใจได้ก็ถือเป็นการให้เหตุผลที่เพียงพอแล้วมิใช่เป็นเหตุผลลอยๆ หรือคลุมเครือ หรือต้องให้เหตุผลในรายละเอียดทุกเรื่อง
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการในต่างประเทศ ย่อมเป็นเรื่องของกฎหมายแต่ละประเทศที่จะวางหลักเกณฑ์ในการพิจารณารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และเป็นดุลพินิจของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าของแต่ละประเทศ มิใช่เงื่อนไขที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต้องยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายบริการดังกล่าวให้ในประเทศไทยด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7667/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ร่วมกันจ้างวานฆ่า: พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ว่าจ้างมือปืน
จ่าสิบตำรวจ ม. และจำเลยที่ 1 ต่างเป็นบุตรเขยของผู้ตาย การที่จ่าสิบตำรวจ ม. มีส่วนเกี่ยวข้องช่วยสืบสวนหาตัวคนร้ายจึงเป็นเรื่องปรกติและสมควร พฤติกรรมของจำเลยที่ 1 ที่ถูกสงสัยหรือถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการฆ่าผู้ตายเป็นเรื่องร้ายแรง หากจำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำความผิดก็ต้องยืนยันปฏิเสธไว้จะยอมรับสารภาพไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการพูดกับจ่าสิบตำรวจ ม. หรือบุคคลใดก็ตาม ทั้งการยอมรับสารภาพโดยคิดว่าจ่าสิบตำรวจ ม. จะช่วยเหลือพาหลบหนีได้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวว่า จำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำความผิด ดังนั้น การที่จ่าสิบตำรวจ ม. สืบทราบว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ร่วมกระทำความผิดและแจ้งต่อพนักงานสอบสวนจึงเป็นการช่วยเหลือพนักงานสอบสวนสืบสวนหาข้อเท็จจริงเพื่อจับกุมดำเนินคดีกับคนร้าย จึงถือไม่ได้ว่าพนักงานสอบสวนใช้อุบายหลอกลวงให้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดและแก้ไขเลขหมายอาวุธปืน ศาลฎีกาพิพากษาแก้ข้อกฎหมายและบทลงโทษ
เลขหมายประจำปืนไม่ใช่ทะเบียนอาวุธปืนซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานจัดทำและมิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่ใช่เอกสารราชการและเอกสารสิทธิ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265 จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก และใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5799/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเช็ค: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ทรงเช็คหรือได้รับมอบอำนาจจากผู้ทรงเช็ค
จำเลยและ ป. ซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงจากบริษัท ร. ซึ่งโจทก์ร่วมเป็นกรรมการ เช็คพิพาททั้งสี่ฉบับแม้จะเป็นเช็คออกให้แก่ผู้ซื้อ แต่เป็นเช็คที่จำเลยและ ป. ร่วมกันออกเพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันเชื้อเพลิงให้แก่บริษัท ร. มิใช่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ร่วมเป็นส่วนตัว บริษัท ร. จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาท แม้โจทก์ร่วมจะเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ร. โจทก์ร่วมในฐานะส่วนตัวก็ไม่อยู่ในฐานะผู้ทรงเช็คพิพาท และมิใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยได้ พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5776/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวหรือหลายกรรม: การทำร้ายร่างกายและฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาเดียวกัน
จำเลยทั้งสองได้ชกต่อยผู้เสียหายและผู้ตาย และจำเลยที่ 2 ได้ใช้ไม้ตีผู้เสียหายและผู้ตาย จนผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายและผู้ตายถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยทั้งสองต่างเป็นการกระทำต่อผู้เสียหายและผู้ตาย โดยจำเลยทั้งสองต่างมีเจตนาชกต่อยและจำเลยที่ 2 ใช้ไม้ตีผู้เสียหายและผู้ตายในเวลาเดียวกันโดยมิได้แบ่งแยกว่าใครเป็นใคร ลักษณะของการกระทำมีเจตนาในการกระทำความผิดเป็นเจตนาเดียว การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงต่างเป็นการกระทำกรรมเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4310/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความร้องทุกข์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนถึงเจตนาให้ลงโทษ จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อการค้าเป็นความผิดอันยอมความได้ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 66 พนักงานสอบสวนจะทำการสอบสวนได้ก็ต่อเมื่อมีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ แม้ในรายงานประจำวันรับแจ้งเป็นหลักฐานระบุไว้ว่า "นาย ศ. อายุ 26 ปี... ได้รับมอบอำนาจจากบริษัท อาร์ เอส ให้แจ้งร้องทุกข์กล่าวโทษ ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์วีซีดีภาพยนตร์... เพื่อดำเนินคดีต่อไป" ก็ไม่ถือว่าเป็นคำร้องทุกข์ โดยถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7) เพราะมิได้ชัดแจ้งว่าเป็นการแจ้งความโดยเจตนา จะให้ผู้กระทำผิดได้รับโทษ เป็นเหตุให้การสอบสวนในความผิดฐานนี้ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 121 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 120