พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความขาดเมื่อทายาทปล่อยให้บิดาครอบครองทรัพย์มรดกในฐานะเจ้าของหลังบรรลุนิติภาวะ
มารดาถึงแก่กรรม บรรดาบุตรรวมทั้งโจทก์และโจทก์ร่วมอยู่ในปกครองของบิดา บิดาได้ครอบครองทรัพย์ทั้งหมดแต่ผู้เดียวตลอดมาโดยบุตรทุกคนไม่ได้เกี่ยวข้องทรัพย์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจจัดการของบิดาแต่ผู้เดียว แสดงว่าบิดาถือตนเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตลอดมา บิดาได้แบ่งสินเดิมของมารดาให้แก่บุตรทุกคนเท่า ๆ กัน แต่สินสมรสไม่แบ่งบิดาได้ยุบร้านค้าเดิมมาเปิดร้านค้าใหม่กู้เงินบุคคลภายนอกมาลงทุนโดยไม่มีบุตรคนใดเกี่ยวข้อง พฤติการณ์เช่นนี้แสดงว่าบิดามิได้ครอบครองทรัพย์สินแทนบุตรแต่ประการใด กลับมีพฤติการณ์แสดงว่าบุตรปล่อยให้บิดาครอบครองอย่างเจ้าของ และเมือโจทก์และโจทก์ร่วมบรรลุนิติภาวะแล้ว อำนาจการปกครองโจทก์และโจทก์ร่วมของบิดาก็สิ้นสุดลงอำนาจการครอบครองทรัพย์ของโจทก์และโจทก์ร่วมก็สิ้นไปด้วย โจทก์กับโจทก์ร่วมมีสิทธิเรียกร้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของมารดาอันเป็นส่วนแบ่งของตนจากบิดาได้ แต่โจทก์และโจทก์ร่วมก็มิได้ใช้สิทธิเรียกร้องขอให้บังคับ จนล่วงเลยมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้ว คดีของโจทก์และโจทก์ร่วมจึงขาดอายุความ (อ้างฎีกาที่ 114/2482)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุตรที่ไม่ได้เกิดจากภรรยาที่จดทะเบียนสมรส การนำสืบสถานะทางกฎหมาย
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์ เป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า "ฯลฯ สมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์และไม่ได้จดทะเบียนสมรส" ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่น นำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ 1529 (5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกนายฉิม นางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629 (1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้น ก็แถลงไปตามเหตุที่ว่า นายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเอง หาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ตามความนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 536/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับมรดกของบุตรที่เกิดจากการสมรสภายหลังและไม่ได้จดทะเบียนสมรส
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องแต่เพียงว่า เด็กทั้งสามเป็นบุตรนายหร่ำสามีโจทก์ผู้วายชนม์ไปแล้ว แต่หากได้บรรยายไว้ชัดแจ้งด้วยว่าเด็กทั้งสามซึ่งเกิดแต่นายหร่ำผู้วายชนม์เป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง และในบัญชีเครือญาติก็ทำเครื่องหมายไว้ที่ท้ายชื่อโจทก์ซึ่งตรงกับเครื่องหมายที่หมายเหตุข้างล่างนั้นว่า 'ฯลฯสมรสภายหลังเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และไม่ได้จดทะเบียนสมรส' ดังนี้ ย่อมแสดงอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ประสงค์จะนำสืบว่าผู้เยาว์เหล่านั้นเป็นทายาทโดยธรรมและมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิม นางแสงตามลำดับสายในบัญชีเครือญาติได้โดยเหตุผลประการใด เช่นนำสืบว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ตามนัยมาตรา 1524,1526 หรือ1529(5) หรือเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้ว ซึ่งถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำตามมาตรา 1627 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งมีสิทธิสืบมรดกของนายฉิมนางแสงตามลำดับเครือญาติได้ตามมาตรา 1629(1) และที่โจทก์แถลงต่อศาลชั้นต้นว่าผู้เยาว์ดังกล่าวไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของนายหร่ำนั้นก็แถลงไปตามเหตุที่ว่านายหร่ำกับนางเปรมโจทก์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันดังที่หมายเหตุไว้ในบัญชีเครือญาติแล้วนั่นเองหาใช่แถลงเพื่อสละสิทธิที่จะนำสืบข้อเท็จจริงให้ได้ความตามนัยแห่งกฎหมายดังกล่าวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมาย: การรับรองบุตรและการเป็นทายาทตามกฎหมาย
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตายทะเบียนโรงเรียนทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่าเจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดกแต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 เป็นบทบัญญัติวาง ข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดกฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่าให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดกแต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1627 เป็นบทบัญญัติวาง ข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัดกฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่าให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 525/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมาย การรับรองบุตร และฐานะทางกฎหมายของบิดา-บุตร
แม้จำเลยจะได้แถลงรับว่า ทะเบียนการเกิด การตาย ทะเบียนโรงเรียน ทะเบียนสำมะโนครัว เป็นเอกสารที่แท้จริง ก็ฟังได้แต่เพียงว่า โจทก์ได้แจ้งไว้ว่า เจ้ามรดกเป็นบุตรของโจทก์ จำเลยมิได้แถลงรับด้วยว่า โจทก์เป็นบิดาชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกทั้งก็ยังได้ความว่า โจทก์กับ ส. มารดาของเจ้ามรดกได้อยู่กินกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย แสดงอยู่ในตัวว่าโจทก์เป็นบิดานอกกฎหมายของเจ้ามรดก และในคำให้การของจำเลยก็ว่า ทายาทโดยชอบธรรมของเจ้ามรดกไม่มีบุคคลใดอีกนอกจากจำเลย ซึ่งแสดงว่าจำเลยมีข้อต่อสู้ว่าโจทก์มิใช่ทายาทของเจ้ามรดก หาใช่จำเลยสละข้อต่อสู้ที่ว่าโจทก์ไม่ใช่ทายาทของเจ้ามรดกนั้นเสียไม่
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)
แม้โจทก์เป็นผู้ให้กำเนิดแก่เจ้ามรดก แต่โจทก์กับเจ้ามรดกก็ไม่มีฐานะเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ซึ่งบัญญัติถึงบิดากับบุตรว่า เป็นทายาทซึ่งกันและกัน หมายถึงเป็นบิดาและบุตรต่อกันตามกฎหมาย มิฉะนั้นก็ไม่เป็นทายาท และไม่มีสิทธิรับมรดกซึ่งกันและกัน
บิดากับบุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ตามปกติไม่มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายต่อกันอย่างใดเลย และไม่มีสิทธิได้รับมรดกซึ่งกันและกันด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 เป็นบทบัญญัติวางข้อข้อยกเว้นให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่บิดารับรองแล้วให้มีสิทธิได้รับมรดกของบิดา จึงต้องตีความโดยเคร่งครัด กฎหมายบทนี้บัญญัติไว้แต่ว่า ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายนี้มิได้บัญญัติให้ถือว่าเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วย (อ้างฎีกาที่ 1271/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส และสิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา เมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์ แต่ไม่สบายจึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่าบิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 372/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส: สิทธิในการรับมรดก
บิดามารดาของผู้เยาว์ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ผู้เยาว์จึงไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดาเมื่อปรากฏหลักฐานทางสูติบัตรและทะเบียนสำมะโนครัวว่าผู้เยาว์เป็นบุตรและมีพฤติการณ์ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไป ว่า บิดามารดาผู้เยาว์เป็นสามีภริยากัน อยู่ร่วมเรือนเดียวกันโดยเปิดเผย บิดาผู้เยาว์ได้แนะนำมารดาผู้เยาว์ต่อบุคคลอื่นว่าเป็นภริยา บิดาผู้เยาว์ เคยไปที่สำนักงานทะเบียนท้องถิ่นเพื่อแจ้งการเกิดของผู้เยาว์แต่ไม่สบาย จึงต้องกลับเสียก่อนแล้วให้คนอื่นไปแจ้งการเกิดแทน ดังนี้ ฟังได้ว่า บิดาได้รับรองผู้เยาว์เป็นบุตรแล้ว จึงถือได้ว่าผู้เยาว์เป็นผู้สืบสันดาน เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องรับมรดกตามบัญชีเครือญาติ แม้ไม่มีสถานะบุตรบุญธรรม ศาลต้องพิจารณาประเด็นการเป็นทายาท
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่ง กับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติ โจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาทของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้ว เพราะบัญชีเครือญาติก็เป็นส่วนหนึ่งขอคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องจริงหรือไม่
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรม แต่เมื่อปรากฏว่า โจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 207/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องมรดกทั้งฐานะบุตรบุญธรรมและทายาทตามบัญชีเครือญาติ: ศาลต้องพิจารณาประเด็นทั้งสอง
โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกของ พ. โดยอ้างว่าเป็นบุตรบุญธรรมของ พ. ประการหนึ่งกับอ้างว่าเป็นทายาทของ พ. ตามบัญชีเครือญาติ ท้ายฟ้องด้วยอีกประการหนึ่ง ตามบัญชีเครือญาติโจทก์แสดงว่า พ. มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันหลายคนรวมทั้ง ว. บิดาโจทก์ ว. ตายไปแล้ว ซึ่งพอเป็นที่เข้าใจถึงการเป็นทายาทของโจทก์ว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดก ของ พ. แทนที่ ว. ถือได้ว่าโจทก์ได้บรรยายถึงสภาพการเป็นทายาท ของโจทก์ว่าเป็นมาโดยลำดับอย่างไรไว้ในคำฟ้องแล้วเพราะบัญชีเครือญาติ ก็เป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องจริงหรือไม่
แม้โจทก์จะไม่มีสิทธิรับมรดกของ พ. ในฐานะเป็นบุตรบุญธรรมแต่เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกในฐานะที่เป็นทายาทตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องมาด้วย คดีจึงมีประเด็นซึ่งจะต้องพิจารณาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นทายาทรับมรดกแทนที่ ว. บิดา ตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องจริงหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 136/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีผลทางมรดก
การที่บิดาให้การศึกษา ให้ความอุปการะเลี้ยงดู และยอมให้ใช้นามสกุลเช่นนี้ แสดงว่าเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว และถือได้ว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย