พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทโดยธรรมของบุตรนอกกฎหมายที่ได้รับการรับรองและการเพิกถอนนิติกรรมรับมรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลัง อันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ. นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ. อีกด้วยแม้นาย อ. นาง ก.ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนาย อ.บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ.อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 และมาตรา 1629
โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. อ้างว่า นาย อ.ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ.ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนาย อ.ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ.จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ.ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนสิทธิรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีผลให้มีสิทธิรับมรดกเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย การครอบครองแทนทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับแต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังอันดับที่ 1 คือผู้สืบสันดานซึ่งตามมาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วยดังนั้น ประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. เจ้ามรดกหรือไม่ จึงรวมไปถึงปัญหาว่าจำเลยเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วหรือไม่ด้วย จำเลยมีสำเนาทะเบียนการสมรสระหว่างจำเลยกับ ส.สามีซึ่งเป็นเอกสารมหาชนระบุว่า จำเลยเป็นบุตรนาย อ.นาง ก. และใช้นามสกุลขณะสมรสว่า "เพชรม่อม" อันเป็นนามสกุลของนาย อ.อีกด้วยแม้นายอ. นาง ก. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แต่ผู้ใหญ่บ้านก็เบิกความรับรองว่า ขณะเยาว์วัยจำเลยอาศัยอยู่กับนายอ. บิดาที่บ้าน จึงฟังได้ว่านาย อ. อุปการะเลี้ยงดูจำเลยอย่างบุตรและให้ใช้นามสกุลเดียวกัน ถือเป็นการรับรองว่าจำเลยเป็นบุตร จำเลยจึงมีสิทธิรับมรดกไม่มีพินัยกรรมของนาย อ.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และมาตรา 1629 โจทก์ฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมที่จำเลยขอรับมรดกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ.อ้างว่านายอ. ได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์แล้วไม่มีประเด็นว่าโจทก์แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเกินกว่า 1 ปี หรือไม่ ทั้งคำพยานโจทก์ ก็ไม่ได้ยืนยันว่า นาย อ. ยกที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. ให้โจทก์การที่โจทก์ครอบครองที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของนาย อ.หลังจากนายอ. ตายแล้วเท่ากับเป็นการครอบครองแทนจำเลยซึ่งเป็นทายาทนาย อ. จนกว่าโจทก์จะแสดงเจตนาเปลี่ยนการครอบครองเป็นครอบครองเพื่อตน เมื่อจำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของนาย อ. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนรับโอนที่ดินพิพาทส่วนของนาย อ. บิดาโดยชอบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการสิทธิในมรดก: บุตรที่บิดารับรองมีสิทธิเท่าบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ตายแนะนำผู้คัดค้านที่ 1 ต่อบุคคลอื่นว่าผู้ตายเป็นบิดาให้ความอุปการะเลี้ยงดูส่งเสียเล่าเรียน ทั้งระบุในใบสมัครสมาชิกฌาปนกิจสงเคราะห์ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรให้เป็นผู้รับประโยชน์ด้วย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว ย่อมถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นบิดาได้โดยไม่ต้องจดทะเบียนรับรองและไม่จำต้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเสียก่อน ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้สืบสันดาน โดยเป็นทายาทลำดับ 1 ส่วนผู้ร้องเป็นทายาทลำดับ 3 จึงไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายแม้ผู้ร้องจะมีสิทธิรับมรดกตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับผู้คัดค้านทั้งสองก็ตาม แต่สัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านทั้งสองด้วยกันเอง และทำขึ้นหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับการมีสิทธิรับมรดกแต่อย่างใดไม่ก่อให้ผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมาย ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1505/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายต้องมีหลักฐานการอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษา มิฉะนั้นไม่ถือเป็นทายาท
การรับรองบุตรนอกกฎหมายจะต้องกระทำโดยบุคคลผู้เป็นบิดาเมื่อผู้ตายซึ่งเป็นบิดาไม่ได้ให้การอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้คัดค้านหรือมอบหมายให้ผู้ใดอุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาแก่ผู้คัดค้านแทน จึงฟังไม่ได้ว่าผู้ตายได้รับรองว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรของตนโดยพฤตินัย ผู้คัดค้านจึงไม่เป็นทายาทที่มีสิทธิในมรดกของผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมและศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรแก้ไขได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยบุตรที่ได้รับการรับรอง และการพิสูจน์สถานะความเป็นบุตรจากเอกสารมหาชน
สำเนาทะเบียนบ้านเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 127ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง เป็นหน้าที่ของคู่ความฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายันต้องนำสืบความไม่ถูกต้องของเอกสาร เมื่อไม่มีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักเพียงพอมาสืบหักล้างจึงต้องถือว่าสำเนาทะเบียนบ้านนั้นถูกต้องแล้ว ผู้ตายได้รับรองว่าต.เป็นบุตรของตนต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายเมื่อต.ตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของ ต.จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่ ต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบสิทธิในมรดกของบุตรที่เกิดจากภรรยาและเมียน้อย ผู้ตายรับรองสิทธิ
ผู้ตายได้แสดงออกกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า นาย ต. เป็นบุตรของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ตาย และให้ใช้นามสกุลของผู้ตายด้วย เมื่อครั้นนาย ต. แต่งงานกับมารดาของผู้คัดค้านก็ได้มาอยู่กินกันที่บ้านของผู้ตายตลอดจนผู้คัดค้านเกิด ผู้ตายก็แสดงออกว่าผู้คัดค้านเป็นหลานของผู้ตาย จึงฟังได้ว่านาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อนาย ต. ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่นาย ต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1312/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรและการสืบสิทธิมรดกโดยชอบธรรม
ผู้ตายได้แสดงออกกับชาวบ้านในละแวกนั้นว่า นาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายและพักอาศัยอยู่ด้วยกันกับผู้ตาย และให้ใช้นามสกุลของผู้ตายด้วย เมื่อครั้นนาย ต.แต่งงานกับมารดาของผู้คัดค้านก็ได้มาอยู่กินกันที่บ้านของผู้ตายตลอดจนผู้คัดค้านเกิด ผู้ตายก็แสดงออกว่าผู้คัดค้านเป็นหลานของผู้ตาย จึงฟังได้ว่านาย ต.เป็นบุตรของผู้ตายซึ่งผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย เมื่อนาย ต.ถึงแก่ความตายก่อนผู้ตาย ผู้คัดค้านจึงมีสิทธิรับมรดกของผู้ตายแทนที่นาย ต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1118/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และการปฏิบัติต่อบุตร
ผู้ตายพามารดาผู้คัดค้านที่ 3 ไปคลอดที่โรงพยาบาลกับแจ้งว่าเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 ออกค่าใช้จ่ายการคลอด และรับกลับจากโรงพยาบาล ส่งเสียให้เงินค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาเล่าเรียนตลอดมา ทั้งยังพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปสมัครงานโดยใบสมัครงานระบุว่าผู้ตายเป็นบิดาของผู้คัดค้านที่ 3 นอกจากนี้ผู้ตายยังเคยพาผู้คัดค้านที่ 3 ไปเที่ยวเป็นประจำ พฤติการณ์ที่ผู้ตายปฏิบัติต่อผู้คัดค้านที่ 3 เป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ตายได้รับรองว่าผู้คัดค้านที่ 3 เป็นบุตรของตนแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิทายาทบุตรนอกกฎหมายรับรองแล้ว และสิทธิผู้จัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว ถือว่า เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 หาจำต้องไปฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าผู้ร้องเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่ชายร่วมบิดามารดากับผู้ตาย ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับผู้อื่นเป็นผู้จัดการมรดกผู้ตายตามมาตรา 1713
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ แม้จะให้เป็นพับกันไปก็ตาม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมิได้สั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ก็มิได้สั่งแก้ไขในเรื่องนี้ จึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองมีสิทธิมรดกเช่นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียในการจัดการมรดก
ผู้ร้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายรับรองแล้วจึงถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1ตามมาตรา 1629 หาจำต้องฟ้องคดีขอให้รับเป็นบุตรหรือต้องมีคำสั่งศาลว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายเสียก่อนไม่ ผู้คัดค้านเป็นเพียงพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ตายไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตายตามมาตรา 1630 จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกหรือร่วมกับ บ. ผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ว่าคู่ความจะมีคำขอหรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมิได้สั่งและศาลอุทธรณ์ก็มิได้แก้ไขจึงเป็นการไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาแก้ไขได้