คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1627

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3158/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วโดยบิดาได้แสดงต่อผู้อื่นว่าโจทก์เป็นบุตรและให้ใช้นามสกุลโจทก์จึงมีสิทธิรับมรดกแทนที่บิดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627,1629 และมาตรา 1639

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3753/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการฟ้องขอแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ ส.และส. บิดาได้รับรองแล้วถือว่าโจทก์เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของ ส.และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของส.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627,1629(1) โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับมรดกในทันทีที่ ส. ถึงแก่ความตายตามมาตรา1599 วรรคแรก หาจำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกก่อนไม่ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยแบ่งทรัพย์ที่เป็นมรดกแก่โจทก์ได้ จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความโดยอ้างเพียงว่า จำเลยได้แสดงเหตุผลแจ้งชัดโดยละเอียดไว้ในอุทธรณ์ข้อ 2.4 แล้ว จึงถือเอาข้อความในอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของฎีกาด้วย ฎีกาของจำเลยมิได้โต้แย้งว่าคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่วินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและสิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก
การที่ ค. เจ้าบ้านแจ้งย้ายผู้คัดค้านเข้ามาอยู่ในบ้านต่อนายทะเบียนในฐานะบุตรของตน ถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ค. บิดารับรองแล้ว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานของ ค. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกในฐานะทายาทของ ค. ตามมาตรา 1713 เมื่อผู้คัดค้านบรรลุนิติภาวะแล้ว มีอาชีพรับราชการและไม่เป็นบุคคลต้องห้ามตามมาตรา 1718 จึงมีเหตุสมควรตั้งผู้ร้องกับผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของ ค. ร่วมกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองในการขอเป็นผู้อนุบาลผู้ไร้ความสามารถ
โจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วของส. ผู้ไร้ความสามารถ ซึ่งหากเป็นจริงก็เป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งให้ ส.ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 ได้ และโดยนัยเดียวกันแม้จำเลยเป็นผู้อนุบาลของ ส. ตามคำสั่งศาลอยู่แล้วก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควร โจทก์ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลและตั้งโจทก์เป็นผู้อนุบาลได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1340/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเพิกถอนผู้อนุบาล: บุตรที่รับรองแล้วมีสิทธิขอเป็นผู้อนุบาลแทนได้
โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรที่รับรองแล้วของ ส. เป็นผู้สืบสันดานของ ส.มีสิทธิรับมรดกของส. กรณีต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 1627ซึ่งบัญญัติให้ถือว่าบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมมีอำนาจยื่นคำร้องขอต่อศาลให้ศาลสั่งให้ ส. ซึ่งเป็นบุคคลวิกลจริตเป็นคนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 29 ได้ และโดยนัยเดียวกัน แม้จำเลยเป็นผู้อนุบาลของ ส. ตามคำสั่งศาลอยู่แล้วก็ตาม ถ้า มีเหตุอันสมควร โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียก็ย่อมมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้อนุบาลและตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นผู้อนุบาลต่อไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย, สิทธิในทรัพย์มรดก, และอายุความในการฟ้องแบ่งมรดก
พฤติการณ์ที่ พ. พาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆ เหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรของตนเช่นนี้ถือได้ว่า พ. ได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 พ.ร.บ. ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5ฯ มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติมาตรา 4 และ มาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. ให้ใช้บรรพ 5 แห่งป.พ.พ. พุทธศักราช 2477 ดังนั้นการแบ่งสินสมรสของ พ. กับนาง ฉ. ซึ่งสมรสกันก่อนวันใช้ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิมจึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งให้คนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ ไม่ปรากฏว่า พ.กับนางฉ. มีสินเดิมจึงต้องฟังว่าทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อ พ.ถึงแก่กรรม สินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนโดยเป็นของ พ. สองส่วนอีกส่วนหนึ่งเป็นของ นาง ฉ. โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งทรัพย์มรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ พ. จำเลยตกอยู่ ในฐานะผู้ครอบครองมรดกแทนทายาททั้งหลายดังนี้จำเลยไม่อาจจะยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 740/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย สิทธิในมรดก และการแบ่งสินสมรสก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
พฤติการณ์ที่ผู้ตายพาโจทก์ไปมอบตัวตามโรงเรียนต่าง ๆเหมือนบิดากับบุตรโดยทั่วไปได้ปฏิบัติกัน และปฏิบัติต่อโจทก์อย่างโจทก์เป็นบุตรโดยให้โจทก์ใช้นามสกุลของผู้ตายและเป็นผู้อุปถัมภ์ค่าเล่าเรียน เครื่องแต่งตัว เครื่องเล่าเรียน ถือได้ว่าผู้ตายได้รับรองโจทก์ซึ่งเป็นบุตรนอกกฎหมายว่าเป็นบุตรของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 แล้ว ผู้ตายกับ ฉ. สมรสกันก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ซึ่งตามพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519มาตรา 4 บัญญัติว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่ไม่กระทบกระเทือนถึงบทบัญญัติ มาตรา 4และมาตรา 5แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พุทธศักราช 2477ดังนั้น การแบ่งสินสมรสของผู้ตายกับ ฉ. จึงต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 หาใช่แบ่งคนละส่วนเท่ากันตามมาตรา 1533 ไม่ทั้งสองฝ่ายต่างไม่มีสินเดิมด้วยกัน เมื่อผู้ตายถึงแก่ความตายสินสมรสต้องแบ่งเป็นสามส่วนเป็นของผู้ตายสองส่วน อีกส่วนหนึ่งเป็นของ ฉ. แม้คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2527 วินิจฉัยถึงสิทธิของ ฉ.ซึ่งฟ้องขอเพิกถอนการโอนที่ดินแปลงอื่นและเรียกที่ดินคืนจากจำเลยในคดีดังกล่าวว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวครึ่งหนึ่งแต่ไม่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงไม่ใช่คำพิพากษาที่แสดงหรือวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทว่า ฉ. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทครึ่งหนึ่ง จึงไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145(2) ที่จะนำคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมายันโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ โจทก์ฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกจากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้ครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทไม่อาจจะยกอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นต่อสู้โจทก์ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรโดยพฤตินัย อำนาจจัดการสินส่วนตัว และสิทธิในการรับมรดกของทายาท
การที่ ผ. เป็นผู้ไปแจ้งการเกิดของโจทก์โดยระบุว่าตนเองเป็นบิดา ยินยอมรับโจทก์ว่าเป็นบุตรอยู่ในทะเบียนบ้าน และระหว่างสงครามก็พาโจทก์และภรรยาอพยพครอบครัวไปด้วยกัน พฤติการณ์แสดงว่าโจทก์เป็นบุตรที่ ผ. รับรองแล้ว ทรัพย์มรดกของ ผ. เป็นสินส่วนตัวของโจทก์ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการจัดการสินส่วนตัวของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีอำนาจจัดการเองได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากสามี ผู้ที่จะยกอายุความ 1 ปี ขึ้นต่อสู้ได้ก็แต่เฉพาะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าจำเลยเป็นเพียงน้องเจ้ามรดก ไม่มีสิทธิได้รับมรดกเพราะยังมีโจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทลำดับเหนือกว่าอยู่ จำเลยจะยกเอาอายุความมรดกมาต่อสู้โจทก์ผู้เป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกหาได้ไม่ เหตุที่จำเลยฟ้องเรียกเอาทรัพย์มรดกของ ผ.จากอ.ผู้จัดการมรดกเพราะเข้าใจโดยสุจริตว่าโจทก์ได้หายสาบสูญไปจำเลยจึงมีสิทธิที่จะเรียกเอาเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่จำเลยต้องออกไปตามความจำเป็นในการจัดการทรัพย์มรดก โดยถือเป็นค่าใช้จ่ายทั้งหลายอันควรแก่การรักษาทรัพย์สิน รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการทำศพ ผ.ด้วย ส่วนค่าใช้จ่ายและค่าผลประโยชน์ของจำเลยนั้น จำเลยหามีสิทธิทีจะนำมาหักไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 248/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: พฤติการณ์ต้องแสดงเจตนาชัดเจนต่อสาธารณชน มิใช่เพียงการให้ความอุปถัมภ์ทั่วไป
แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่า ก. เป็นบิดาโจทก์ แต่พฤติการณ์ที่ ก. แสดงออกมีเพียงว่า ก. นำเงินไปให้มารดาโจทก์ที่โรงพยาบาลในวันที่โจทก์เกิด และก่อนมารดาโจทก์จะออกจากโรงพยาบาล ก. ก็ได้ไปเยี่ยมอีกครั้งหนึ่ง เมื่อออกไปอยู่บ้าน ก. ก็ไปเยี่ยมและส่งเสียมารดาโจทก์และโจทก์ เมื่อโจทก์เข้าเรียนเมื่ออายุ 4 ปี ก. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายตลอดมาจน ก. ถึงแก่กรรม เพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ ก. รับรองแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิในกองมรดก
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 1 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้ แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่ แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2 ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดก และต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตาม แต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก และภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย
of 20