คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1627

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม vs. ทายาทลำดับหลัง การถอดถอนผู้จัดการมรดก และการพิสูจน์สิทธิ
โจทก์ที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ 3 ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว หากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก โจทก์ที่ 2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้
การที่โจทก์ที่ 2 ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า พินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่ 2 มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้น จึงไม่ถือว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก
การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดก โจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผู้จัดการมรดกเท่านั้น การที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3419/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทบุตรบุญธรรม vs. ทายาทลำดับหลัง การถอดถอนผู้จัดการมรดก และอำนาจศาล
โจทก์ที่2เป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ1ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1629จำเลยซึ่งเป็นบุตรน้องสาวของเจ้ามรดกเป็นทายาทอันดับ3ย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกรายนี้แม้จำเลยจะครอบครองที่ดินมรดกบางแปลงตั้งแต่เจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ก็หาใช่มีส่วนได้เสียโดยตรงในทรัพย์มรดกไม่แม้ศาลได้มีคำสั่งตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการมรดกแล้วหากปรากฏในภายหลังว่าจำเลยไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกโจทก์ที่2ซึ่งพิสูจน์ฟังได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าจำเลยย่อมเป็นผู้มีส่วนได้เสียฟ้องหรือร้องขอให้ศาลถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้และศาลย่อมมีอำนาจที่จะถอดถอนและสั่งตั้งโจทก์ที่2เป็นผู้จัดการมรดกแทนจำเลยได้ การที่โจทก์ที่2ได้เบิกความชั้นศาลเป็นพยานโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้นว่าพินัยกรรมที่โจทก์ในคดีดังกล่าวนำสืบอ้างเป็นพยานในศาลนั้นเป็นพินัยกรรมอันแท้จริงของเจ้ามรดกและต่อมาศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าพินัยกรรมนั้นเป็นพินัยกรรมปลอมก็ตามแต่โจทก์ที่2มิได้เป็นผู้ปลอมหรือใช้หรืออ้างพินัยกรรมปลอมนั้นจึงไม่ถือว่าโจทก์ที่2ปิดบังหรือยักย้ายทรัพย์มรดกอันจะถูกกำจัดมิให้ได้มรดก การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโจทก์เพียงแต่บรรยายถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงและพฤติการณ์อันจำเป็นและสมควรจะต้องมีผุ้จัดการมรดกเท่านั้นการที่ศาลจะตั้งบุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกย่อมแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกและภายใต้บังคับบทบัญญัติที่ชี้แนวทางให้ศาลปฏิบัติในการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1718ไม่จำต้องเป็นบรรยายบทบังคับให้ศาลจำต้องปฏิบัติไว้ในฟ้องด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1914/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิผู้จัดการมรดก: บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย vs. บุตรที่ผู้ตายรับรองและเจตนาปิดบังทายาท
การที่จะอาศัยข้อเท็จจริงตามพฤติการณ์ฟังว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1555 จะต้องมีการฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย เท่านั้น แต่พฤติการณ์ที่ผู้ตายอุปการะเลี้ยงดูให้การศึกษา ให้ผู้ร้องใช้นามสกุล และผู้ตายแสดงต่อบุคคลอื่น ๆ ว่า ผู้ร้องเป็นบุตร ก็ฟังได้ว่าผู้ตายรับรองว่าผู้ร้องเป็นบุตร นอกกฎหมายของตนตามมาตรา 1627 ผู้ร้องจึงเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ตามมาตรา 1713 ได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 กำหนดถึงตัวบุคคลว่าผู้ใดเป็นผู้มีสิทธิร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมิได้มีการบังคับว่าต้องยื่นบัญชีแสดงเครือญาติโดยละเอียดและ ถือว่าการยื่นบัญชีเครือญาติเป็นสาระสำคัญ การที่ผู้ร้องยื่นบัญชีเครือญาติของตนแต่ฝ่ายเดียวโดยไม่ยื่นบัญชีเครือญาติของผู้คัดค้านทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นทายาทของผู้ตายนั้นเมื่อไม่มีข้อเท็จจริงอื่น ๆ นำมาให้รับฟังโดยแจ้งชัดว่าผู้ร้องมีเจตนาจะปิดบังมิให้ทายาทอื่นรับมรดก ซึ่งผู้ร้องไม่สมควรเป็นผู้จัดการมรดก กรณีจึงยังไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนมิให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643 หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง
บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรม: ไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรง จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่
ผู้สืบสันดานโดยตรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1643หมายถึงผู้สืบสันดานในทางสืบสายโลหิตโดยแท้จริง บุตรบุญธรรมนั้นกฎหมายถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตร ที่ชอบด้วยกฎหมาย มีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมแต่บุตรบุญธรรมหาใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของผู้รับบุตรบุญธรรมไม่ จึงไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 2/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมที่ไม่จดทะเบียนหลังใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่มีสิทธิรับมรดก หากไม่ได้จดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งใหม่
โจทก์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า และมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ มาตรา 1598/27 ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1469/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย: ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาและการแสดงออกถึงการยอมรับว่าเป็นบิดา ทำให้บุตรมีสิทธิได้รับมรดก
ชายไปอยู่กินกับหญิง และแสดงความสัมพันธ์ฉันสามีภริยาในที่ต่าง ๆ อย่างเปิดเผยเป็นการยอมรับว่าหญิงเป็นภริยา มีการจัดเลี้ยงฉลองการตั้งครรภ์ เป็นการแสดงออกถึงการรับรองว่าโจทก์ซึ่งเป็นทารกในครรภ์มารดาเป็นบุตรของตน โจทก์จึงเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 และเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับมรดกตามมาตรา 1629(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมาย และความรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3789/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรองบุตรนอกกฎหมายและการรับผิดของทายาทในหนี้สินของผู้ตาย
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1627 หาใช่มุ่งหมายเฉพาะบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้จดทะเบียนรับรองบุตรแล้วเท่านั้นไม่ แต่ยังหมายความรวมถึงบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองโดยพฤติการณ์ที่ปรากฏแก่บุคคลทั่วไปว่าเป็นบุตรด้วย
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องยืม ให้จำเลยรับผิดที่ผู้ตายกู้ยืมเงินของโจทก์ไปศาลแพ่งพิพากษายกฟ้องโดยเห็นว่าเช็ค 2 ฉบับที่ผู้ตายสั่งจ่ายให้โจทก์มิใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืมคดีถึงที่สุด โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้เรื่องตั๋วเงิน ให้จำเลยชำระหนี้ตามเช็คที่ผู้ตายสั่งจ่ายไว้ดังนี้ สิทธิของโจทก์ที่อ้างตามฟ้องคดีนี้กับคดีก่อนไม่เหมือนกัน ประเด็นที่วินิจฉัยในคดีทั้งสองเรื่องก็อาศัยเหตุต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ศาลได้วินิจฉัยไว้แล้วว่า โจทก์ฟ้องจำเลยให้รับผิดในฐานะที่เป็นผู้สืบสันดานและทายาทของผู้ตาย ดังนั้นความรับผิดของจำเลยแต่ละคนจึงจำกัดอยู่เพียงไม่เกินทรัพย์มรดกของผู้ตายที่ตนได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1601 และ1738 วรรคสองอยู่แล้ว หาจำเป็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยซ้ำกับบทบัญญัติแห่งกฎหมายไม่ การที่โจทก์จะบังคับคดีเอาแก่ทายาทคนใดได้มากน้อยเพียงใด ย่อมเป็นไปตามกฎหมายและเป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ไม่ใช่เรื่องที่จะต้องว่ากล่าวกันในชั้นนี้
of 20