พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายทางพฤตินัยและสิทธิในการรับมรดก
ว.ยอมให้จำเลยใช้นามสกุลของว. และพาจำเลยไปเพิ่มเติมชื่อในทะเบียนบ้าน เปลี่ยนนามสกุลจากเดิมเป็นนามสกุลของ ว. รวมทั้งแจ้งกับอำเภอด้วยว่าเป็นบิดาจำเลย ถือได้ว่า ว. ได้รับรองว่าจำเลยเป็นบุตรโดยชัดแจ้งและถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้สืบสันดานของ ว. เหมือนบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมมีสิทธิรับมรดกของ ว. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1048/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีที่ดิน: บุตรนอกกฎหมายต้องได้รับการรับรองเพื่อมีสิทธิรับมรดก
ตามคำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างแต่เพียงว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมายของ ม. และก่อนถึงแก่กรรม ม. บิดาโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิได้กล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิรับมรดกที่ดินพิพาทแปลงนี้ในฐานะอะไร เพราะบุตรนอกกฎหมายที่มีสิทธิรับมรดกของบิดาได้จะต้องเป็นบุตรที่บิดาได้รับรองแล้วดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1627แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และตามพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบ ก็ไม่ปรากฏว่าพฤติการณ์อันใดที่แสดงว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นบุตร นอกกฎหมาย ที่บิดารับรองแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับ ที่ดินแปลงนี้ และเรื่องอำนาจฟ้องนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้าง หากแต่ศาลพิจารณาเห็นสมควรย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับบุตรบุญธรรมและสิทธิในมรดก สัญญาประนีประนอมยอมความก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรม จำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586, 1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรม มรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่ 2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 ไม่มีผลใช้บังคับ
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่ 2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619 ไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 241/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุตรบุญธรรมมีสิทธิมรดกก่อนพี่น้องร่วมบิดามารดา สัญญาแบ่งมรดกก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตเป็นโมฆะ
เจ้ามรดกได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 เป็นบุตรบุญธรรมจำเลยที่ 2 จึงมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของเจ้ามรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1586,1627 เมื่อเจ้ามรดกถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมมรดกจึงตกได้แก่จำเลยที่ 2 แต่ผู้เดียว โจทก์ที่1 ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดากับเจ้ามรดกหามีสิทธิได้รับมรดกไม่
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่กรรม โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาแบ่งทรัพย์มรดกกัน แม้สัญญาดังกล่าวจะกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทอันจะมีขึ้นในภายหน้าเข้าลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่ก็เป็นสัญญาที่ให้จำเลยที่2 ผู้มีสิทธิได้รับมรดกของเจ้ามรดกแต่ผู้เดียวจำหน่ายจ่ายโอนสิทธิในการรับมรดกในทรัพย์มรดกบางส่วนให้แก่โจทก์เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619ไม่มีผลใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าหลังมีประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณมรฎก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณมรฎก ร.ศ.121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุยธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทงกระเทือนถึง(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ " ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1585 จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมซึ่งถึงแก่กรรมหลังจากที่ใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 507/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าและการจดทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
กฎหมายลักษณะมรดก บทที่ 12 บัญญัติให้บุตรบุญธรรมมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมในภาคญาติ แต่ต่อมามีพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะมรดก ร.ศ. 121 บัญญัติให้ญาติของผู้มรณภาพตามที่กำหนดไว้เป็นชั้น ๆ ได้รับมรดกในภาคญาติ แต่สำหรับบุตรบุญธรรมไม่ได้กำหนดไว้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่านับแต่ ร.ศ. 121 เป็นต้นมา จึงไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม ต่อมาเมื่อประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และ 6 แล้ว บุตรบุญธรรมในบทบัญญัติมาตรา 1586 และ 1627 ก็หมายความเฉพาะบุตรบุญธรรมที่จดทะเบียนตามมาตรา 1585 เท่านั้น มิได้รวมถึงบุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่าซึ่งใช้อยู่ก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ด้วย เพราะพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า "บทบัญญัติแห่งบรรพนี้ไม่กระทบกระเทือนถึง............(2) การรับบุตรบุญธรรมซึ่งมีอยู่ก่อนวันใช้ประมวลกฎหมายบรรพนี้ หรือสิทธิและหนี้อันเกิดแต่การนั้น ๆ" ซึ่งมีความหมายว่า สิทธิและหน้าที่ของบุตรบุญธรรมมีอยู่ตามกฎหมายเก่าอย่างไร เมื่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ใช้บังคับแล้วก็คงมีอยู่อย่างนั้น ดังนั้น บุตรบุญธรรมของเจ้ามรดกตามกฎหมายเก่าและมิได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว (วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 3/2519)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดแก่บิดาผู้รับรองบุตรนอกสมรส
ชายหญิงมิได้จดทะเบียนสมรสตามบรรพ 5 บุตรที่บิดารับรองแล้วตาม มาตรา 1627 ซึ่งปรากฏจากข้อเท็จจริงต่างๆ เรียกค่าทำศพจากผู้ทำละเมิดให้บิดาตายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเสียจากการยินยอมแบ่งทรัพย์
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ.พฤติการณ์ที่ บ.ได้อุปการะเลี้ยงดูกับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ ถือได้ว่า บ.ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลย จำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์นำสืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับ ส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ (อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับรองบุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดก และอายุความมรดกที่ถูกละเว้นจากการยินยอมแบ่งมรดก
โจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายของ บ. พฤติการณ์ที่ บ. ได้อุปการะเลี้ยงดู กับให้การศึกษาเล่าเรียนแก่โจทก์ถือได้ว่า บ. ได้รับรองและแสดงออกว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ. โจทก์จึงเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
โจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยกล่าวว่าโจทก์เป็นบุตรของ บ.มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ. ศาลกะประเด็นไว้ว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. หรือไม่ เมื่อพิจารณาได้ความว่า โจทก์เป็นบุตรของ บ. ที่ บ. รับรองแล้ว ศาลมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าโจทก์มีสิทธิรับมรดกแทนที่ บ.ได้ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
แม้โจทก์จะฟ้องคดีมรดกเกินกำหนดอายุความ 1 ปี แต่โจทก์นำสืบให้เห็นได้ว่า ก่อนโจทก์จะฟ้องจำเลยจำเลยยังคงยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ เป็นแต่เกี่ยงว่ายังไม่พร้อมที่จะเอาชื่อโจทก์ใส่ในโฉนดที่ดินรายพิพาทเท่านั้น ดังนี้ ถือได้ว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ ไม่จำเป็นต้องทำบันทึกเป็นหลักฐานเพียงแต่โจทก์สืบให้เห็นพฤติการณ์ว่าจำเลยตกลงยินยอมให้โจทก์ได้รับส่วนแบ่งมรดกรายนี้ ก็เพียงพอให้ถือว่าจำเลยได้ละเสียแล้วซึ่งประโยชน์แห่งอายุความ(อ้างฎีกาที่ 244/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 181/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง
บุตรนอกกฎหมายซึ่งบิดารับรองโดยเลี้ยงดูร่วมบ้านให้เรียกว่าบิดา เป็นที่รู้กันทั่วไป รับมรดกของบิดาได้ตาม มาตรา 1627พี่น้องของเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทลำดับถัดไปอ้างอายุความมาตัดบุตรซึ่งเป็นทายาทลำดับที่ 1 ไม่ได้ตามมาตรา 1755