พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7272/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์สถานะทายาทนอกกฎหมาย: หลักฐานรับรองการเป็นบุตรและการหักล้างข้อสันนิษฐานทางทะเบียนราษฎร
โจทก์กล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกเนื่องจากโจทก์เป็นบุตรนอกกฎหมายที่เจ้ามรดกได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์ให้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ตามมาตรา 1627 ซึ่งประกอบด้วยข้อเท็จจริง 2 ส่วน ส่วนแรกคือ ข้อเท็จจริงที่ว่า โจทก์เป็นบุตรของเจ้ามรดก และส่วนที่สองคือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ของเจ้ามรดกที่รับรองว่าโจทก์เป็นบุตรของตน เช่น เจ้ามรดกเป็นผู้แจ้งเกิดให้แก่โจทก์ว่าโจทก์เป็นบุตรของตน ยอมให้ใช้ชื่อสกุล เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดู และส่งเสียให้การศึกษาเล่าเรียน ตลอดจนแนะนำและแสดงออกแก่บุคคลทั่วไปอย่างเปิดเผยว่าโจทก์เป็นบุตร
หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์
หลักฐานทางทะเบียนราษฎรระบุว่า โจทก์เป็นบุตรของ ข. กับ บ. สำเนาทะเบียนบ้านซึ่งเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 โจทก์ต้องมีพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมั่นคงและน่าเชื่อถือมานำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวจึงจะรับฟังได้ตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10756/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับทรัพย์มรดก: สิทธิทายาทและอำนาจเจ้าพนักงานบังคับคดี
โจทก์ยื่นคำร้องขอยึดที่ดินแปลงพิพาทอ้างว่าเป็นทรัพย์มรดกของ ท. ที่ตกทอดแก่ ธ. จำเลยและ ศ. จำเลยยื่นคำคัดค้านเพียงว่าจำเลยไม่มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ ไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ โจทก์ไม่มีอำนาจยึดที่ดินพิพาท จำเลยไม่ได้ปฏิเสธว่าทรัพย์พิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดกของ ท. จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นทายาทโดยธรรมของ ท. ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาท ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง ธ. เป็นผู้จัดการมรดกของ ท. มีสิทธิและหน้าที่ที่จะต้องทำการอันจำเป็นเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกของ ท. แก่ทายาทตามมาตรา 1719 และต้องรับผิดต่อทายาทตามมาตรา 1720 แม้ที่ดินพิพาท ธ. ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ท. จะจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อเป็นของ ธ. เจ้าพนักงานบังคับคดีก็มีสิทธิยึดมาบังคับชำระหนี้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4239/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประกันชีวิตหลังสมรสสิ้นสุด: ไม่เป็นสินสมรส แต่เป็นส่วนหนึ่งของกองมรดก
ป.พ.พ. มาตรา 1470 ที่กำหนดให้ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาประกอบด้วยสินส่วนตัวและสินสมรสนั้น หมายถึงทรัพย์สินที่สามีภริยามีอยู่ในขณะที่เป็นสามีภริยากัน การที่ผู้ตายถึงแก่ความตายย่อมทำให้การสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 สิ้นสุดลงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 สิทธิที่จะได้รับเงินประกันชีวิต นั้น เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นสืบเนื่องจากความมรณะของผู้ตายอันมีลักษณะเป็นการประกันชีวิต และเป็นเงินที่เกิดจากสัญญาระหว่างผู้ตายกับบุคคลภายนอกซึ่งได้รับมาหลังจากผู้ตายถึงแก่ความตายไปแล้ว จึงไม่เป็นสินสมรสระหว่างผู้ตายกับจำเลยที่ 2 ประกอบกับตามตารางกรมธรรม์ มิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ว่าให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนหรือแก่ผู้ใด จึงไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้โดยตรงและต้องนำ ป.พ.พ. มาตรา 4 วรรคสอง มาใช้บังคับ คืออาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งได้แก่มาตรา 897 วรรคหนึ่ง ซึ่งบัญญัติว่า "ถ้าผู้เอาประกันภัยได้เอาประกันภัยไว้โดยกำหนดว่า เมื่อตนถึงซึ่งความมรณะให้ใช้เงินแก่ทายาททั้งหลายของตนโดยมิได้เจาะจงระบุชื่อผู้หนึ่งผู้ใดไว้ไซร้ จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นท่านให้ฟังเอาเป็นสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดกของผู้เอาประกันภัย ซึ่งเจ้าหนี้จะเอาใช้หนี้ได้" ดังนั้น เงินประกันชีวิตดังกล่าวจึงต้องแบ่งให้แก่ทายาทของผู้ตายในฐานะสินทรัพย์ส่วนหนึ่งแห่งกองมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1), 1630 วรรคสอง และ 1635 (1) โดยโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นบิดามารดาผู้ตาย กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาผู้ตายต่างได้รับส่วนแบ่งคนละส่วนเท่า ๆ กันและเท่ากับโจทก์ที่ 1 จำเลยที่ 1 และเด็กชาย ศ. ซึ่งเป็นทายาทชั้นบุตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินมรดกโดยไม่ชอบ ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิเพิกถอนนิติกรรมได้
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. เมื่อ อ.ถึงแก่ความตาย การสมรสระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ย่อมสิ้นสุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1501 มีผลให้ต้องคิดส่วนแบ่งทรัพย์สินระหว่างจำเลยที่ 1 กับ อ. ตั้งแต่วันที่การสมรสสิ้นไปด้วยเหตุความตายนั้น ในบังคับของบทบัญญัติว่าด้วยการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1625 ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งให้จำเลยที่ 1 และ อ. ได้คนละส่วนเท่ากัน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1533 ที่ดินพิพาทกึ่งหนึ่งส่วนของ อ. ย่อมเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมคือ โจทก์กับบุตรอีก 4 คน ของ อ. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และจำเลยที่ 1 คู่สมรสซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเสมือนเป็นทายาทชั้นบุตร ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599, 1629 (1) และ 1635 (1) ดังนี้ ที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ อ. จึงต้องแบ่งให้แก่ บุตรทุกคนรวมทั้งโจทก์ โจทก์และจำเลยที่ 1 คนละ 1 ใน 6 จำเลยที่ 1 จึงมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 7 ใน 12 ส่วน และมีสิทธิจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ได้เฉพาะส่วนของตนเท่านั้น การที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทรวมทั้งส่วนของโจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 ซึ่งมิใช่ทายาทโดยธรรม ของ อ. โดยไม่มีค่าตอบแทน เป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อน โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของ อ. คนหนึ่งย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเฉพาะส่วนของตนและเรียกทรัพย์มรดกของ อ. ในส่วนของตนได้ ตาม ป.พ.พ มาตรา 1300 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้เพิกถอนนิติกรรมจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 กึ่งหนึ่งของที่ดินพิพาท นั้น จึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2731/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเป็นผู้จัดการมรดก ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา และสิทธิในทรัพย์สินที่ทำมาหากัน
เอกสารสำคัญประจำตัวเด็กชาย ว. ทั้งตามสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้าน อันเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นอันต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 กับทะเบียนนักเรียนและหนังสือรับรองของโรงเรียนสาธิตอุดมศึกษา ล้วนระบุว่าเด็กชาย ว.เป็นบุตรของผู้ตาย เช่นนี้ เชื่อว่าผู้ตายได้มอบหลักฐานสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ตายประกอบการขอออกสูติบัตรของเด็กชาย ว. พนักงานเจ้าหน้าที่จึงได้ระบุชื่อผู้ตายเป็นบิดา อันเท่ากับเป็นการยอมรับว่าเด็กชาย ว. เป็นบุตรและยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลแล้วนั่นเอง แม้ไม่มีหนังสือยินยอมแยกต่างหากก็ตาม พฤติการณ์ของผู้ตายที่เลี้ยงดูผู้คัดค้านที่ 1 กับเด็กชาย ว.และยินยอมให้เด็กชาย ว. ใช้ชื่อสกุลของผู้ตายอย่างเปิดเผยแก่บุคคลทั่วไปย่อมเป็นพฤติการณ์ที่ถือได้ว่าเป็นการรับรองว่าเด็กชาย ว. เป็นบุตรของผู้ตายแล้ว ส่วนหลักฐานที่แสดงว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรของผู้ตายก็ปรากฏชัดตามสูติบัตรอันเป็นเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้น จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ทั้งในการแจ้งเกิดต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวมีเอกสารประกอบคำขอทั้งสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้คัดค้านที่ 2 และผู้ตายกับหนังสือยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลของผู้ตาย อันเป็นพฤติการณ์ที่แสดงว่าผู้ตายรับว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรของตนและยินยอมให้ใช้ชื่อสกุลด้วยความเต็มใจและอย่างเปิดเผย ถือได้ว่าเป็นพฤติการณ์ที่รับรองว่าเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. เป็นบุตรผู้ตาย ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเด็กชาย ว. เด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ.เป็นบุตรนอกกฎหมายที่ผู้ตายได้รับรองแล้ว จึงเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกของผู้ตาย ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627, 1629 (1) ดังนั้น ผู้คัดค้านที่ 1 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กชาย ว. และผู้คัดค้านที่ 2 ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กหญิง ม. และเด็กหญิง ฐ. จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียในอันที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713
หลังจากผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 จดทะเบียนหย่า ผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงอยู่กินกันฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกันอีก 6 คน โดยผู้คัดค้านที่ 8 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องนั้น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 มิได้ถือเอาทะเบียนสมรสเป็นสาระสำคัญของความผูกพันเป็นสามีภริยากัน ทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลในการอยู่กินกันและทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งทรัพย์สินนั้น หาใช่ว่าบุคคลทั้งสองจะต้องอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันตลอดเวลาและต้องกระทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันในทุกเรื่องทุกราวเสมอไป แม้หากฝ่ายหนึ่งต้องออกไปทำงานนอกบ้านแสวงหาทรัพย์สินเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้แก่ครอบครัวตามความรู้ความสามารถ ส่วนอีกฝ่ายเพียงทำหน้าที่คอยดูแลบ้านให้มีระเบียบเรียบร้อยและเลี้ยงดูบุตรอย่างไม่บกพร่อง รวมทั้งการให้คำปรึกษาหารือ ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจเป็นห่วงเป็นใยและแบ่งปันความทุกข์สุขซึ่งกันและกัน ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการอยู่ร่วมกันและช่วยกันทำมาหาได้ซึ่งทรัพย์สินแล้ว ภายหลังผู้คัดค้านที่ 4 ให้กำเนิดผู้คัดค้านที่ 8 ทั้งผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ต่างมิได้มีคู่สมรสใหม่ หากแต่ยังคงร่วมกันเลี้ยงดูบุตรทั้ง 7 คน อย่างไม่มีข้อบกพร่องตลอดมา ย่อมบ่งชี้ว่าผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภริยาเช่นเดิม ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 4 อยู่กินกับผู้ตายจนถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
หลังจากผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 จดทะเบียนหย่า ผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงอยู่กินกันฉันสามีภริยาและมีบุตรด้วยกันอีก 6 คน โดยผู้คัดค้านที่ 8 ซึ่งเป็นบุตรคนสุดท้องนั้น ย่อมเป็นข้อสนับสนุนว่า ผู้ตายกับผู้คัดค้านที่ 4 มิได้ถือเอาทะเบียนสมรสเป็นสาระสำคัญของความผูกพันเป็นสามีภริยากัน ทั้งความสัมพันธ์ของบุคคลในการอยู่กินกันและทำมาหาได้ร่วมกันซึ่งทรัพย์สินนั้น หาใช่ว่าบุคคลทั้งสองจะต้องอยู่ร่วมกันในบ้านเดียวกันตลอดเวลาและต้องกระทำสิ่งต่างๆ ร่วมกันในทุกเรื่องทุกราวเสมอไป แม้หากฝ่ายหนึ่งต้องออกไปทำงานนอกบ้านแสวงหาทรัพย์สินเพื่อสร้างฐานะความเป็นอยู่ให้แก่ครอบครัวตามความรู้ความสามารถ ส่วนอีกฝ่ายเพียงทำหน้าที่คอยดูแลบ้านให้มีระเบียบเรียบร้อยและเลี้ยงดูบุตรอย่างไม่บกพร่อง รวมทั้งการให้คำปรึกษาหารือ ส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจเป็นห่วงเป็นใยและแบ่งปันความทุกข์สุขซึ่งกันและกัน ย่อมเรียกได้ว่าเป็นการอยู่ร่วมกันและช่วยกันทำมาหาได้ซึ่งทรัพย์สินแล้ว ภายหลังผู้คัดค้านที่ 4 ให้กำเนิดผู้คัดค้านที่ 8 ทั้งผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ต่างมิได้มีคู่สมรสใหม่ หากแต่ยังคงร่วมกันเลี้ยงดูบุตรทั้ง 7 คน อย่างไม่มีข้อบกพร่องตลอดมา ย่อมบ่งชี้ว่าผู้ตายและผู้คัดค้านที่ 4 ยังคงมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภริยาเช่นเดิม ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 4 อยู่กินกับผู้ตายจนถึงวันที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย ผู้คัดค้านที่ 4 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธ์รวมในทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ร่วมกับผู้ตายและเป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6391-6392/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดก: สิทธิทายาทนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และการยินยอมให้เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ผู้คัดค้านที่ 1 และที่ 3 ได้ยื่นคำแถลงว่าผู้ร้อง และผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 3 ตกลงกันได้ โดยให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแต่เพียงผู้เดียว แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีผลเป็นการตกลงกันในประเด็นเพียงบางข้อ เพราะมีประเด็นที่ศาลจำต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงในสำนวนแล้ววินิจฉัยถึงสิทธิและคุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายเสียก่อนดังนั้น ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามยอมให้เป็นไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวได้ ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าผู้คัดค้านที่ 1 เป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 1 จึงเป็นทายาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 (1) มีสิทธิที่จะยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามมาตรา 1713 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5279/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทรับผิดหนี้ภาษีอากรของผู้ตาย แม้ไม่มีทรัพย์มรดก หรือได้รับมรดกไม่ครบถ้วน
เดิม ส. เคยฟ้องโจทก์ขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีอากร คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่าการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ชอบหรือไม่ และเป็นประเด็นที่ศาลในคดีดังกล่าวมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว ต่อมา ส. ถึงแก่ความตาย ส่วนคดีนี้แม้โจทก์จะนำหนี้ภาษีอากรค้างในคดีดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งห้าให้รับผิด แต่ตามคำฟ้องของโจทก์ยกข้ออ้างซึ่งอาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า หนี้ภาษีอากรค้างที่ ส. เป็นหนี้อยู่แก่โจทก์ยังมิได้ชำระและ ส. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้รับมรดกมีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวโดยนำทรัพย์สินกองมรดกที่ตกทอดแก่จำเลยทั้งห้ามาชำระหนี้แก่โจทก์ ประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงมีว่า จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ส. มีหน้าที่ต้องรับผิดชำระหนี้ค่าภาษีอากรของ ส. แก่โจทก์หรือไม่ ซึ่งเป็นคนละประเด็นกับในคดีก่อน แม้จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะเป็นผู้สืบสิทธิของ ส. ผู้ตายก็ตาม แต่สภาพแห่งคำฟ้องของโจทก์ในคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. ให้รับผิดในหนี้ที่ ส. มีอยู่แล้วแก่โจทก์ ซึ่งเป็นความรับผิดของทายาทโดยเฉพาะต่อกองมรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1599 และมาตรา 1600 จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
แม้คดีเดิมที่ ส. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยถึงที่สุด อันมีผลให้หนี้ภาษีอากรดังกล่าวเป็นภาษีอากรค้าง ซึ่งอธิบดีโจทก์มีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของ ส. ได้ตาม ป. รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสอง โดยมิต้องขอให้ศาลออกหมายยึดหรือสั่งก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นเพียงมาตรการทางกฎหมายที่ให้อำนาจแก่อธิบดีโจทก์ไว้เป็นพิเศษเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรให้เป็นไปโดยรวดเร็วโดยไม่ต้องนำคดีมาสู่ศาล อำนาจของอธิบดีโจทก์แม้จะมีลักษณะเสมือนเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แต่ก็ไม่มีผลทำให้โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ภาษีอากรค้างกลับกลายเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ทั้งการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดก ก็เพื่อให้ความรับผิดที่จำเลยทั้งห้าต้องรับผิดแก่โจทก์ เป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/32 ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าเป็นคดีนี้ได้
จำเลยทั้งห้าอยู่ในฐานะทายาทโดยธรรมและมีสิทธิได้รับมรดกของ ส. โจทก์ชอบที่จะฟ้องบังคับให้รับผิดชำระหนี้ภาษีอากรค้างของ ส. ได้ และคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดย่อมมีผลผูกพันโจทก์ และ ส. ซึ่งเป็นคู่ความในคดีนั้น ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ส. จึงไม่อาจรื้อฟื้นโต้แย้งต่อโจทก์เกี่ยวกับการประเมินดังกล่าวอีกได้ และจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทและผู้สืบสิทธิในกองมรดกของ ส. ก็ไม่มีสิทธิโต้แย้งดุจเดียวกัน คำให้การต่อสู้คดีของจำเลยทั้งห้าล้วนเป็นข้อต่อสู้เกี่ยวกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินทั้งสิ้น การที่จำเลยทั้งห้าไม่มีสิทธิยกเป็นข้อต่อสู้โจทก์ในคดีนี้ จึงไม่ก่อให้เกิดเป็นประเด็นแห่งคดีได้
เมื่อจำเลยทั้งห้าเป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของ ส. ซึ่งต้องรับไปทั้งทรัพย์สิน สิทธิหน้าที่และความรับผิดของ ส. โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งห้าโดยไม่ต้องคำนึงว่ากองมรดกของ ส. จะมีทรัพย์สินหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หรือจำเลยทั้งห้าในฐานะทายาทจะได้รับมรดกมาแล้วหรือไม่ และถึงแม้โจทก์ได้ใช้อำนาจยึดอายัดทรัพย์สินของ ส. ชำระหนี้ไปบ้างแล้ว และมีจำนวนเพียงพอชำระหนี้ของ ส. หรือไม่ เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งห้าอาจโต้แย้งได้ในชั้นบังคับคดี จำเลยทั้งห้าจึงต้องรับผิดชำระหนี้ของ ส. แก่โจทก์ไม่เกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1601
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 3/2547)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจัดการศพของผู้เปลี่ยนศาสนา: ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิร้องขอจัดการศพตามศาสนาที่เปลี่ยนไปได้
จำเลยที่ 1 มิได้เป็นทายาทของผู้ตายและไม่มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการทำศพผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 อยู่กินฉันสามีภริยากับผู้ตายมานานกว่า 10 ปี โดยผู้ตายนั้นมานับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 นับได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอต่อศาลให้ตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการทำศพผู้ตายได้ หากจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์ซึ่งเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิรับมรดกมากที่สุด อันมีอำนาจหน้าที่จัดการทำศพของผู้ตายไม่สมควรเป็นผู้จัดการทำศพตาม ป.พ.พ. มาตรา 1649 วรรคสอง การที่จำเลยที่ 1 ยื่นคำให้การต่อสู้คดีพอถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอตามบทกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อศพผู้ตายได้มีการจัดการฝังแล้วตามหลักศาสนาอิสลามที่ผู้ตายนับถือจึงหมดความจำเป็นที่จะนำศพผู้ตายขึ้นมาจัดการทำศพ โจทก์ไม่มีอำนาจเรียกให้ส่งมอบศพผู้ตายให้แก่โจทก์เพื่อจัดการทำศพอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้ทายาทรับผิดตามสัญญาจะซื้อขายที่ผู้ตายทำไว้ และอายุความของฟ้องร้อง
ที่ดินเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ไม่ปรากฏว่า อ. ได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ใด เมื่อ อ. ตายที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมของ อ. ทันทีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1599 วรรคหนึ่ง จำเลยเป็นผู้สืบสันดานและเป็นทายาทโดยธรรมของ อ. มีสิทธิได้รับมรดกของ อ. ในลำดับแรกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1) มีสิทธิได้รับมรดกในที่ดินทันทีตั้งแต่ อ. ถึงแก่ความตาย และจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมของอ. มีหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายที่ อ. ทำไว้ ในอันที่จะต้องจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วย การบังคับให้จำเลยจดทะเบียนให้โจทก์ถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทด้วยเป็นการบังคับในส่วนอันเป็นสิทธิของจำเลยในฐานะทายาทโดยธรรมคนหนึ่งของ อ. ซึ่งมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเท่านั้น มิได้กระทบกระเทือนถึงสิทธิของทายาทอื่นในที่ดินพิพาท และไม่ได้เป็นเรื่องที่สภาพแห่งหนี้ไม่เปิดช่องให้กระทำได้
การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
การฟ้องให้ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6028/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมรดก: การครอบครองของทายาทและสิทธิในการเข้าทำประโยชน์
ล.มิได้ยกที่ดินพิพาทส่วนของตนให้แก่โจทก์ เมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมตกเป็นมรดกแก่ทายาททุกคน แม้โจทก์จะเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาททั้งแปลงก็ตาม แต่ที่ดินในส่วนของ ล.ถือได้ว่าเป็นการครอบครองแทนทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกทุกคน โจทก์จึงหาได้สิทธิโดยการครอบครองปรปักษ์ไม่จำเลยทั้งสามเป็นบุตรของ ล.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.ย่อมมีสิทธิในที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ที่เป็นทรัพย์มรดกนั้น จึงมีสิทธิที่จะเข้าทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสาม
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ ล.ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.นั้น ล.ได้ยกให้แก่โจทก์ก่อนถึงแก่กรรม เมื่อศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และ ล. แต่ ล.ไม่ได้ยกให้แก่โจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไปถึงว่าที่ดินพิพาทส่วนของ ล.เป็นมรดกของ ล.จึงเป็นการวินิจฉัยโดยผลของกฎหมาย เพราะถึงแม้จะไม่ได้วินิจฉัยไว้ แต่โดยผลของกฎหมายแล้วเมื่อ ล.ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทส่วนของ ล.ย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ล.นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น