พบผลลัพธ์ทั้งหมด 35 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3915/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม-อายุความ: การซื้อขายสินค้าต่างประเทศ การแก้ไขคำฟ้อง และการเริ่มนับอายุความ
แม้คำฟ้องจะบรรยายว่าจำเลยสั่งซื้อสินค้าจำพวกฟิล์มจากโจทก์ แต่ต่อมาโจทก์ได้ขอแก้ไขคำฟ้องแล้วว่า เป็นสินค้าจำพวกแผ่นรองพิมพ์เพื่อให้ตรงกับที่ระบุในสัญญาซื้อขาย แม้จะเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องภายหลังจากที่จำเลยยื่นคำให้การแล้ว ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดเล็กน้อยเพื่อให้ตรงกับข้อเท็จจริงที่ระบุในสัญญาซื้อขายท้ายคำฟ้อง จึงหาทำให้จำเลยหลงข้อต่อสู้แต่ประการใดไม่คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายและแสดงถึงรายละเอียดเกี่ยวกับใบสั่งซื้อ สินค้าที่ซื้อขาย ใบแจ้งหนี้ทางการค้าและการส่งสินค้าให้แก่จำเลย จึงเป็นคำฟ้องที่ชัดแจ้งฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การซื้อขายสินค้าดังกล่าวตกลงชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันที่ลงในใบตราส่ง คือนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 จำเลยจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 หากจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากจำเลยได้นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 จึงยังอยู่ในระยะเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การซื้อขายสินค้าดังกล่าวตกลงชำระเงินโดยโอนผ่านธนาคารเข้าบัญชีของโจทก์ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันที่ลงในใบตราส่ง คือนับแต่วันที่ 9 สิงหาคม 2544 จำเลยจึงต้องชำระเงินภายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2544 หากจำเลยไม่ชำระโจทก์อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าวจากจำเลยได้นับแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2544 เป็นต้นไป อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป โจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ สิทธิเรียกร้องดังกล่าวจึงมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) โจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 จึงยังอยู่ในระยะเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและการตรวจสอบอำนาจอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว. ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ ว. จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้มอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3882/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขนส่งทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่ง, อายุความฟ้องร้อง, และการจำกัดความรับผิดตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ผู้ขนส่งซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศรับผิดชดใช้ค่าเสียหายจากการที่สินค้าได้เสียหายและสูญหายไปในระหว่างการขนส่งตามสัญญารับขนของทางทะเลระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศสเปนอันเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ และให้จำเลยที่ 1 ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานครในฐานะตัวแทนผู้ทำสัญญารับขนดังกล่าวแทนจำเลยที่ 2 ซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศร่วมรับผิด โดยผลของ ป.พ.พ. มาตรา 824 จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางซึ่งมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศตามมาตรา 5 และมาตรา 7 (5) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ แม้ใบตราส่งจะระบุว่าต้องใช้กฎหมายของเมืองฮ่องกง แต่กรณีพิพาทเป็นการขนส่งทางทะเลจากที่แห่งหนึ่งในราชอาณาจักรไปยังที่อีกแห่งหนึ่งนอกราชอาณาจักร และปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นผู้ส่งของเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยกฎหมายที่ใช้บังคับกับสัญญารับขนของทางทะเลจึงต้องเป็น พ.ร.บ.การรับขนของทางทะลฯ ตามมาตรา 4
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3881/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายบริการ: สิทธิในเครื่องหมาย, ชื่อเสียงแพร่หลาย, และการใช้ก่อน
โจทก์นำสืบเพียงว่าโจทก์ได้ใช้และโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวสำหรับสถานบริการและสถานบันเทิงของโจทก์ตั้งแต่ปี 2535 จนถึงปัจจุบันแต่โจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าเครื่องหมายบริการพิพาทมีปริมาณการให้บริการจำนวนมากหรือโจทก์ได้ใช้หรือโฆษณาเครื่องหมายบริการดังกล่าวเป็นที่แพร่หลายจนทำให้สาธารณชนทั่วไปหรือสาธารณชนในสาขาที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยรู้จักเป็นอย่างดี และเครื่องหมายบริการดังกล่าวมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับอย่างสูงในหมู่ผู้บริโภค ฉะนั้น เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงมิได้เป็นเครื่องหมายบริการที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เครื่องหมายบริการดังกล่าวจึงมิใช่เครื่องหมายบริการที่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนตามมาตรา 8 (10) ประกอบมาตรา 6 (2) และมาตรา 80 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ และเมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดีกว่าบริษัท ว. และเครื่องหมายบริการพิพาทมิใช่เครื่องหมายบริการที่ห้ามมิให้รับจดทะเบียน การขอจดทะเบียนเครื่องหมายบริการพิพาทของบริษัท ว. จึงเป็นการกระทำโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3132/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ขาดอำนาจฟ้อง: การถอนฟ้องไม่สมบูรณ์หากคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล
การถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง ดังนี้ แม้โจทก์จะขอถอนฟ้องคดีก่อน ซึ่งมีคู่ความเดียวกันและมูลความแห่งคดีเดียวกันกับคดีนี้ ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตแล้ว แต่จำเลยที่ 1 ยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา และขณะโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีนี้ คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ฟัองโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) แม้ต่อมาคดีก่อนจะถึงที่สุดก็หาทำให้ฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องคดีนี้ซึ่งเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายมาแต่ต้น กลายเป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมายขึ้นมาใหม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยที่ 1 จะฟ้องแย้ง จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิ์ฟ้องแย้งโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3116/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งและตัวแทนในการสูญหายของสินค้า โดยมีข้อตกลงยกเว้นความรับผิด
ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าสินค้าแผ่นเหล็กจำนวน 1 แผ่นรอง น้ำหนัก 1,426 กิโลกรัม สูญหายไปโดยตู้สินค้าและดวงตราผนึกตู้อยู่ในสภาพปกติเรียบร้อย ทั้งในระหว่างการขนส่งสินค้าโดยรถบรรทุก รถบรรทุกจะนำตู้สินค้าหลบไปที่ใดก็ได้ การลักขโมยสินค้าน่าจะกระทำได้โดยสะดวกกว่าขณะตู้สินค้าอยู่ในความดูแลของเจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรือ อเล็กซานเดรีย ดังนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าสินค้าสูญหายในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของจำเลยที่ 1 ผู้ขนส่ง ก่อนที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบสินค้าไว้แก่เจ้าหน้าที่ ณ ท่าเรืออเล็กซานเดรีย จำเลยที่ 1 ผู้ขนส่งจึงต้องรับผิดเพื่อความสูญหายดังกล่าว
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำเลยที่ 1 ตัวการซึ่งอยู่ต่างประเทศและมีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศซึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 824 บัญญัติให้ตัวแทนต้องรับผิดแต่ลำพังตนเอง เว้นแต่ข้อความแห่งสัญญาจะแย้งกันกับความรับผิดของตัวแทน ดังนี้ เมื่อตามใบตราส่งพิพาทข้อ 27 ได้กำหนดเงื่อนไขยกเว้นความรับผิดของตัวแทนไว้ เท่ากับผู้ขนส่งและผู้ส่งของตกลงยกเว้นความรับผิดไว้ ย่อมเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 824 ดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดต่อผู้รับตราส่งหรือโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2730/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจร้องทุกข์ฐานละเมิดลิขสิทธิ์ และการพิสูจน์ความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ด้วยพยานหลักฐาน
ตามหนังสือมอบอำนาจช่วงที่ ค. มอบอำนาจช่วงให้ ท. มีอำนาจร้องทุกข์แทนมีข้อความว่า เพื่อให้มีอำนาจดำเนินการแทน "ผู้มอบอำนาจ" ซึ่งเมื่อพิจารณาประกอบกับหนังสือมอบอำนาจที่ทำขึ้นระหว่างผู้เสียหายกับ ค. แล้ว ก็ระบุในหนังสือมอบอำนาจว่า ผู้เสียหายเป็น "ผู้มอบอำนาจ" และ ค. เป็น "ผู้รับมอบอำนาจ" ดังนั้น การพิจารณาว่าผู้เสียหายได้มอบอำนาจให้ร้องทุกข์โดยชอบหรือไม่ จึงต้องพิจารณาทั้งหนังสือมอบอำนาจและหนังสือมอบอำนาจช่วงประกอบกันมิใช่พิจารณาเฉพาะหนังสือมอบอำนาจช่วงฉบับเดียว เมื่อ ท. แจ้งความร้องทุกข์แทนผู้เสียหาย มิใช่ร้องทุกข์แทน ค. เป็นการส่วนตัว การมอบอำนาจให้ร้องทุกข์ของผู้เสียหายจึงชอบด้วยกฎมหาย และถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์แล้ว พนักงานสอบสวนย่อมมีอำนาจสอบสวนและพนักงานอัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการกระทำซ้ำงานเพลงลงเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์จึงเป็นพยานหลักฐานสำคัญในคดีที่จะพิสูจน์ความผิดของจำเลย แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจยึดมามิใช่ของจำเลยที่ขายไป โจทก์ไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กล่าวหามาเป็นของกลาง พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักมั่นคง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 269/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนเครื่องหมายการค้าและการจำหน่ายสินค้าละเมิด ศาลแก้ไขโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหาย
มาตรา 3 วรรคสอง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ ให้ใช้มาตรา 109 และ 110 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวแทนบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการเลียนเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนภายในราชอาณาจักรตามมาตรา 274 และการปฏิบัติต่อสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าดังกล่าวตามมาตรา 275 แห่ง ป.อ. แล้ว ในการปรับบทกฎหมายจึงไม่ต้องอ้างบทบัญญัติในมาตรา 274 และ 275 แห่ง ป.อ. อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4888/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิทางศาลตามมาตรา 55 ต้องมีกฎหมายรองรับสิทธิในการใช้สัญลักษณ์ทางการค้า
การใช้สิทธิทางศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 นั้น ต้องพิจารณาจากกฎหมายสารบัญญัติ ดังกล่าว คือ จะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาล โดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้ เมื่อไม่มีกฎหมายใด ๆ บัญญัติรับรองว่าหากผู้ร้องประสงค์จะใช้สัญลักษณ์ทางการค้าแล้ว ให้ผู้ร้องใช้สิทธิทางศาล โดยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่า ผู้ร้องมีสิทธิใช้สัญลักษณ์ทางการค้านั้นได้ ดังนั้น ผู้ร้องทั้งสองจะเริ่มคดีโดยทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 55 หาได้ไม่ หากสัญลักษณ์ทางการค้าของผู้ร้องทั้งสองเข้าข่ายที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเครื่องหมายการค้า ผู้ร้องก็ชอบที่จะไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4311/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีความผิดอันยอมความได้ การฟ้องซ้ำหลังศาลจำหน่ายคดีไม่ทำให้สิทธิฟ้องเกินอายุความ
ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 272, 326 และ 328 ต่างเป็นความผิดอันยอมความได้ ซึ่งผู้เสียหายจะต้องร้องทุกข์หรือฟ้องคดีเสียภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำผิด มิฉะนั้นคดีเป็นอันขาดอายุความตามมาตรา 96 โจทก์รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวจำเลยผู้กระทำความผิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2545 แต่ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2545 เกินกว่า 3 เดือน โดยมิได้ร้องทุกข์ไว้ก่อน คดีโจทก์จึงขาดอายุความ แม้โจทก์จะเคยฟ้องคดีต่อศาลจังหวัดธัญบุรีภายในอายุความ แต่ศาลจังหวัดธัญบุรีมีคำสั่งว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลจังหวัดธัญบุรีจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ ก็ไม่ทำให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีเกินกำหนดอายุความตามกฎหมาย