พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4464/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด โดยคำนึงถึงการชำระหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการให้โอกาสชำระหนี้
เหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 เป็นข้อที่ศาลชอบที่จะหยิบยกในชั้นพิจารณาเอาความจริงตามคำฟ้องโจทก์ก่อนที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ดังนี้ แม้ภายหลังจากศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาดแล้ว โจทก์จะได้รับชำระหนี้ครบจำนวนตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ แต่ก็ไม่อาจถือเป็นเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6753/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีแพ่งและการฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้ที่รับโอนสิทธิไม่ต้องยื่นคำร้องสวมสิทธิก่อน
ตาม พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ.2541 มาตรา 7 ซึ่งบัญญัติว่า ในการโอนสินทรัพย์จากสถาบันการเงินไปให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ ถ้ามีการฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทน... และในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาบังคับตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว ก็ให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษานั้น... ก็เพื่อให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้องมาสามารถบังคับคดีในคดีแพ่งในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไปได้เท่านั้น ส่วนการที่โจทก์นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย เมื่อโจทก์ได้รับโอนสิทธิเรียกร้องมาแล้ว โจทก์ย่อมใช้สิทธิต่างๆ ที่เจ้าหนี้เดิมมีอยู่ได้ หาจำต้องยื่นคำร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก่อนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4866/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราค่าธรรมเนียมรวบรวมทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ใช้บทบัญญัติเดิมก่อนมีการแก้ไขเมื่อฟ้องคดีก่อน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มาตรา 12 มีการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 179 (3) จากข้อความเดิมที่ว่า "ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน...สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คิดในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินนั้น..." มาเป็นมาตรา 179 (4) มีข้อความใหม่ว่า "ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สิน... สำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่าย ให้คิดในอัตราร้อยละสองของราคาทรัพย์สินนั้น... " และมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 บัญญัติว่า "บทบัญญัติมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับแก่บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องไว้ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และให้ใช้บทบัญญัติมาตรา 179 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดีดังกล่าว" คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2543 ก่อนวันที่ พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2547 มีผลใช้บังคับ ค่าธรรมเนียมในการรวบรวมทรัพย์สินสำหรับทรัพย์สินที่ไม่มีการขายหรือจำหน่ายจึงต้องใช้บทบัญญัติมาตรา 179 (3) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่มีการฟ้องคดีบังคับแก่คดี คือค่าธรรมเนียมดังกล่าวให้คิดในอัตราร้อยละสามครึ่งของราคาทรัพย์สินนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4862/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้ต่างประเทศในคดีล้มละลาย: สิทธิในการรับชำระหนี้หลังการโอน
มาตรา 178 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 บัญญัติว่า "เจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรจะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้..." ย่อมหมายถึงเฉพาะเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเท่านั้นที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 โดยต้องพิสูจน์ว่า เจ้าหนี้ในประเทศไทยก็มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามกฎหมายและในศาลแห่งประเทศของเจ้าหนี้ต่างประเทศผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ในทำนองเดียวกัน และเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวได้รับหรือมีสิทธิจะได้รับทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้นั้นนอกราชอาณาจักรเป็นจำนวนเท่าใดหรือไม่ และถ้ามี ตนยอมส่งทรัพย์สินหรือส่วนแบ่งจากทรัพย์สินของลูกหนี้ดังกล่าวมารวมไว้ในกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในราชอาณาจักร
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
บริษัท อ. เจ้าหนี้เดิมซึ่งเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้โดยได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อเจ้าหนี้เดิมได้โอนสิทธิเรียกร้องตามมูลหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าเป็นเจ้าหนี้แทนเจ้าหนี้เดิมแล้ว ผู้ร้องในฐานะผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องจึงมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ไม่ว่าผู้ร้องจะเป็นเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ร้องไม่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขมาตรา 178
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4853/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้ค่าหุ้นในคดีล้มละลาย: มาตรา 1119 วรรคสอง ห้ามโดยเด็ดขาด
ในการใช้เงินเป็นค่าหุ้น ป.พ.พ. มาตรา 1119 วรรคสอง บัญญัติห้ามโดยเด็ดขาดมิให้หักหนี้กับบริษัทโจทก์ในฐานะผู้ถือหุ้นบริษัท จำเลยจึงไม่อาจยกบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 102 มาขอหักหนี้กับหนี้สิทธิไล่เบี้ยตามสัญญาค้ำประกันที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้แล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4852/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาล้มละลายต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด หากไม่เข้าข้อยกเว้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การอุทธรณ์คำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลล้มละลายคู่ความสามารถอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) มิฉะนั้นจะอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากศาลฎีกา คดีนี้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลล้มละลายกลางที่พิพากษาให้จำเลยล้มละลาย กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งศาลฎีกาพิจารณาแล้วไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ ที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยมานั้น เป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4665/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: หนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่ง, การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย, การขาดนัดสู้คดี, และผลของการไม่ยกข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณา
จำเลยอุทธรณ์อ้างว่า มูลหนี้ที่โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องนำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายเป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งซึ่งพิพากษาให้ธนาคารเจ้าหนี้เดิมคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่ต้องไม่เกินกว่าอัตราสูงสุดที่ธนาคารเจ้าหนี้เดิมมีสิทธิคิดได้ ต่อมาได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารเจ้าหนี้เดิมเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดหลายครั้งโดยมีอัตราต่ำกว่าร้อยละ 18.5 ต่อปี โจทก์คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้อง มูลหนี้ตามฟ้องมีจำนวนไม่แน่นอน กรณีจึงมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายนั้น ในชั้นพิจารณาจำเลยไม่ยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา ข้อเท็จจริงที่จำเลยอ้างว่าได้มีประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของธนาคารเจ้าหนี้เดิมเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดหลายครั้งหลังจากศาลแพ่งมีคำพิพากษาก็เพิ่งปรากฏในอุทธรณ์ของจำเลยเท่านั้น ดังนั้น มูลหนี้ตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้เงินสามารถกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้วทั้งกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ผู้มีส่วนได้เสียต้องคัดค้านเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก่อนยื่นคำร้องต่อศาล
พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 158 บัญญัติว่า "ผู้มีส่วนได้เสียคนใดเห็นว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่มีสิทธิยึดทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใด ให้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้รับคำคัดค้านแล้วให้สอบสวนและมีคำสั่ง ถ้าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ให้ถอนการยึด ผู้นั้นมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันได้ทราบคำสั่งนั้น..." ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางโดยไม่ได้คัดค้านต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อนจึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะยกคำร้องของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4652/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายหุ้นในแผนฟื้นฟูกิจการ: สัญญาไม่ขัดต่อแผนหากชำระราคาครบถ้วนตามกำหนด
แผนฟื้นฟูกิจการส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) กำหนดว่า การชำระราคาซื้อหุ้นทั้งหมดของส่วนทุนตามแผนต้องชำระเป็นเงินสดครั้งเดียวทั้งจำนวนในวันที่มีการซื้อขายนั้นซึ่งจะไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผนและตามสัญญาซื้อขายหุ้นฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 4.3.3 ได้กำหนดการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายว่า ผู้ซื้อแต่ละรายจะดำเนินการชำระราคาหุ้นที่ซื้อขายในราคาซื้อขายหุ้นสุดท้ายโดยการโอนเงินสดทั้งจำนวนเข้าบัญชีของผู้ขายตามรูปแบบและวิธีการที่กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหลักและผู้ร่วมลงทุนใหม่ตกลงกันก่อนวันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ และ ข้อ 1.9 "วันที่การซื้อขายหุ้นเป็นผลสำเร็จ" หมายถึง วันที่การโอนหุ้นที่ซื้อขายและชำระราคาค่าหุ้นที่ซื้อขายตามข้อกำหนดในสัญญาจะต้องไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนสิ้นระยะเวลาการดำเนินการตามแผน เมื่อปรากฏว่ากลุ่มผู้ร่วมลงทุนได้ชำระค่าหุ้นที่ซื้อโดยโอนเงินสดครั้งเดียวเข้าบัญชีเงินฝากของลูกหนี้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2548 ภายในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 8 สัปดาห์ ก่อนวันสิ้นระยะเวลาดำเนินการตามแผน คือวันที่ 30 มิถุนายน 2548 ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยข้อเสนอขอแก้ไขแผนเพื่อขยายระยะเวลาดำเนินการตามแผนแล้ว สัญญาซื้อขายหุ้นฉบับพิพาทจึงสอดคล้องไม่ขัดต่อข้อกำหนดของแผนส่วนที่ 3 ข้อ ฐ (ก) (1) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4651/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในคดีล้มละลาย: ศาลพิพากษายืนตามคำสั่งเดิม เนื่องจากประเด็นวินิจฉัยซ้ำกับคำร้องก่อนหน้า
คำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ป. เป็นผู้ยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ต่อมาผู้ร้องเป็นผู้ยื่นคำร้องโดยอ้างสิทธิว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับ ป. ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความเดิมที่ ป. เคยยื่นคำร้องไว้ แม้คดีนี้ผู้ร้องมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนทุเลาการขายหุ้นไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด กับให้ผู้บริหารแผนกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนใหม่อีกครั้งให้ได้ราคาที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท เปิดโอกาสให้ผู้สนใจร่วมลงทุนโดยวิธีการประมูลตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน ผู้ร่วมลงทุนใหม่จะเข้ามาครอบงำกิจการของลูกหนี้ เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริตทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้ว การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 9 ธันวาคม 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้าม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14