พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7354/2562
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำชำเราเด็กและคำเบิกความของผู้เสียหาย: การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐาน
คำถามของโจทก์ที่ว่า ก่อนที่จำเลยจะนำอวัยวะเพศสอดใส่เข้าไปภายในอวัยวะเพศของผู้เสียหายที่ 1 นั้น จำเลยได้กระทำสิ่งใดก่อนหรือไม่ เป็นคำถามที่มิได้ชี้นำหรือกำหนดแนวทางให้ผู้เสียหายที่ 1 ตอบ และมิได้เพียงแต่ให้ผู้เสียหายที่ 1 ตอบว่าใช่หรือไม่ใช่เท่านั้น แต่ผู้เสียหายที่ 1 จะตอบอย่างไรก็ได้จึงมิใช่คำถามนำ คำเบิกความของผู้เสียหายที่ 1 จึงมีน้ำหนักให้รับฟังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9208-9209/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาหมดอายุตามกฎหมาย พนักงานสอบสวนต้องคืนหลักประกัน
การปล่อยชั่วคราวของพนักงานสอบสวนนั้น สามารถให้ปล่อยชั่วคราวได้สูงสุดเพียง 6 เดือนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 113 วรรคหนึ่ง เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาประกันตัวผู้ต้องหาเป็นอันสิ้นสุดลง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนไม่อาจควบคุมตัวผู้ต้องหาต่อไปได้ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องมาขอปล่อยผู้ต้องหาด้วยการนำโฉนดที่ดินมาให้จำเลยยึดถือไว้อีก จำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินพิพาทแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันที่ไม่ติดอากรแสตมป์ ใช้เป็นหลักฐานได้ หากเป็นเพียงเอกสารลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกัน
หนังสือค้ำประกันที่จำเลยที่ 2 ทำให้ไว้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ฝ่ายเดียวลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน จึงเป็นเพียงหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 วรรคสอง เท่านั้น มิใช่หนังสือสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 อันจะถือเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามความมุ่งหมายแห่ง ประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 103,104 และ 118 แต่อย่างใด ดังนั้น แม้หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติการของเจ้าพนักงานตำรวจต้องแสดงตัวชัดเจน การต่อสู้ขัดขวางจึงจะผิด
สิบตำรวจตรี ย. และสิบตำรวจตรี ส. ไม่ได้แสดงหลักฐานหรือบอกกล่าวแก่จำเลยขณะจะเข้าตรวจค้นว่าตนเป็นเจ้าพนักงานตำรวจกระทำการตามหน้าที่ และมิได้แต่งเครื่องแบบตำรวจ เมื่อจำเลยไม่มีทางรู้ได้ว่าสิบตำรวจตรี ย. และ
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
สิบตำรวจตรี ส. เป็นเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะปฏิบัติตามหน้าที่ พฤติการณ์ที่มีชายแปลกหน้า 2 คน เดินตรงเข้าหาจำเลยขณะจำเลยขับรถจักรยานยนต์เข้าจอดที่หน้าร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ จึงอาจทำให้จำเลยเข้าใจได้ว่าจะเข้ามาทำร้าย และเมื่อจำเลยวิ่งหนี ชายดังกล่าวก็วิ่งไล่หมายจับกุมเช่นนี้ แม้จำเลยต่อสู้ขัดขวางไม่ให้จับกุม จำเลยก็หามีความผิดฐานต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานในการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่
ข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่า พยานโจทก์เบิกความไว้ชัดเจนว่า ขณะวิ่งไล่จับกุมจำเลยเจ้าพนักงานตำรวจผู้จับกุมได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจขอตรวจค้นตามคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ตอบพนักงานอัยการผู้แทนโจทก์ถามติง แต่ในชั้นพยานเบิกความตอบคำถามซักและคำถามค้าน หาปรากฏข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 บัญญัติว่า ในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้าน ดังนั้นโจทก์จึงไม่อาจยกเอาคำเบิกความของสิบตำรวจตรี ย. ที่ว่าได้แจ้งให้จำเลยทราบว่า พยานเป็นเจ้าพนักงานตำรวจแล้วมาเป็นประโยชน์แก่คดีโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2499/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานต้องมีเจตนาและรู้ว่าเป็นเจ้าพนักงาน การถามติงพยานต้องสอดคล้องกับคำถามค้าน
ข้อเท็จจริงตามคำเบิกความของพยานที่ตอบโจทก์ถามติงซึ่งไม่ปรากฏในชั้นที่พยานเบิกความตอบคำถามค้าน จะนำมาเป็นประโยชน์แก่คดีของโจทก์ไม่ได้ เนื่องจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 118 ซึ่งต้องนำมาใช้กับคดีอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 15 บัญญัติว่าในการที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานจะถามติงพยาน ห้ามมิให้คู่ความฝ่ายนั้นใช้คำถามอื่นใดนอกจากคำถามที่เกี่ยวกับคำพยานเบิกความตอบคำถามค้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6655/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสืบพยานผู้พิการและการไม่คัดค้านการเลื่อนสืบพยาน
ศาลชั้นต้นให้โจทก์ใช้คำถามนำในการซักถามผู้เสียหายที่เป็นพยานโจทก์ซึ่งเป็นอัมพาตไม่อาจพูดจาหรือเปล่งเสียงได้ แต่ตอบคำถามโดยวิธีพยักหน้า ยักคิ้ว หรือการนิ่งเฉย เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 118 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
ทนายจำเลยถามค้านพยานปากผู้เสียหายบ้างแล้ว ผู้เสียหายหลับไป ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่า ทนายจำเลยหมดคำถามก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านว่ายังมีคำถามและขอถามค้านต่อไป หรือขอเลื่อนไปถามค้านต่อนัดหน้าก็ได้ เมื่อโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือนัดหน้าจำเลยก็ไม่ค้าน ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายได้หาเป็นการขัดต่อกฎหมายไม่
ทนายจำเลยถามค้านพยานปากผู้เสียหายบ้างแล้ว ผู้เสียหายหลับไป ศาลชั้นต้นบันทึกไว้ว่า ทนายจำเลยหมดคำถามก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยคัดค้านว่ายังมีคำถามและขอถามค้านต่อไป หรือขอเลื่อนไปถามค้านต่อนัดหน้าก็ได้ เมื่อโจทก์ขอเลื่อนไปสืบพยานที่เหลือนัดหน้าจำเลยก็ไม่ค้าน ศาลรับฟังคำเบิกความของผู้เสียหายได้หาเป็นการขัดต่อกฎหมายไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิถามค้านพยานในศาล: ศาลมีอำนาจจำกัดคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท และโจทก์ต้องคัดค้านหากเห็นว่าไม่ชอบ
ศาลชั้นต้นจดบันทึกไว้ว่า ทนายโจทก์ถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ศาลเตือนและออกข้อกำหนดให้ทนายโจทก์ถามพยานตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด แต่ทนายโจทก์ยังถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอยู่เช่นเดิม จึงถือว่าจบคำถามดังนี้ เมื่อทนายโจทก์ไม่ได้ร้องคัดค้าน หรือให้จดคำถามและข้อคัดค้านไว้ จึงไม่ปรากฎคำถามใดที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดไม่ให้ทนายโจทก์ถามค้านและทนายโจทก์คัดค้านคำชี้ขาดไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 118 วรรคท้าย จึงไม่มีคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่โจทก์จะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาเพื่อให้ยกคำพิพากษาศาลล่างและให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7083/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการควบคุมคำถามพยาน และผลของการไม่คัดค้านคำชี้ขาด
ในการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ถ้าศาลชั้นต้นเห็นว่าคำถามใดเป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี ศาลชั้นต้นมีอำนาจไม่ให้ใช้คำถามนั้น และไม่บันทึกคำพยานปากนั้นได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 118 วรรคสาม
การที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ศาลเตือนและออกข้อกำหนดให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามพยานตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด แต่ทนายโจทก์ทั้งสองยังถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอยู่เช่นเดิม จึงถือว่าจบคำถามค้านนั้น ทนายโจทก์ทั้งสองไม่ได้ร้องคัดค้าน หรือให้จดคำถามและข้อคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำถามใดที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดไม่ให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้าน และทนายโจทก์ทั้งสองคัดค้านคำชี้ขาดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 118 วรรคท้าย จึงไม่มีคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่โจทก์ทั้งสองจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาเพื่อให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้านไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาท ศาลเตือนและออกข้อกำหนดให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามพยานตามประเด็นข้อพิพาทที่กำหนด แต่ทนายโจทก์ทั้งสองยังถามค้านพยานไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทอยู่เช่นเดิม จึงถือว่าจบคำถามค้านนั้น ทนายโจทก์ทั้งสองไม่ได้ร้องคัดค้าน หรือให้จดคำถามและข้อคัดค้านไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าคำถามใดที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดไม่ให้ทนายโจทก์ทั้งสองถามค้าน และทนายโจทก์ทั้งสองคัดค้านคำชี้ขาดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 118 วรรคท้าย จึงไม่มีคำชี้ขาดของศาลชั้นต้นที่โจทก์ทั้งสองจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาเพื่อให้ยกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และให้พิจารณาพิพากษาใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องหนี้ทายาท: การพิสูจน์วันที่รู้ถึงการตายของเจ้าหนี้เป็นประเด็นสำคัญ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสามบัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดกเท่านั้นการที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่27 เมษายน2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาออายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3384/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีมรดก: การรู้หรือควรรู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องสืบพยาน
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคสาม บัญญัติห้ามมิให้เจ้าหนี้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงความตายของเจ้า มรดกเท่านั้น การที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ส. ตายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2527 เป็นการแสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่าเจ้ามรดกตายเมื่อไรอันเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามในฐานะ ทายาทและผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้น ส่วนข้อเท็จจริงที่โจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกโจทก์ไม่ได้กล่าวถึง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ได้รู้หรือควรจะได้รู้ถึงการตายของเจ้ามรดกเมื่อใดเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดี โจทก์จำเลยนำสืบได้ การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นโดยยังไม่ทราบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประเด็นแห่งคดีดังกล่าวจึงไม่ชอบควรให้โจทก์จำเลยสืบพยานในประเด็นแห่งคดีทุกประเด็นให้สิ้นกระแสความก่อนแล้วจึงพิจารณาพิพากษาไปตามรูปคดี.