พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: ดอกเบี้ยกรณีจำเลยเพิกเฉยไม่ดำเนินการตามสัญญา และการคำนวณดอกเบี้ยที่ถูกต้อง
คดีนี้โจทก์ขอให้จำเลยเวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนคราวก่อน แต่จำเลยไม่ดำเนินการจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำคดีมาฟ้อง และหลังจากนั้นอีก 1 ปี จำเลยเพิ่งมาตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เนื้อที่ 21 ตารางวา ราคาตารางวาละ 35,000 บาท กรณีเช่นนี้ไม่อาจนำบทบัญญัติตามมาตรา 10, 11 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดซื้อที่ดินที่ถูกเวนคืนจากเจ้าของหรือผู้ครอบครองที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทนซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้จัดซื้อจะต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันทำสัญญาซื้อขายมาอนุโลมใช้บังคับเพื่อคำนวณหาวันที่โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยได้ เพราะบทบัญญัติในส่วนนี้ใช้บังคับสำหรับกรณีที่มีการตกลงทำสัญญาซื้อขายอสังหาริทรัพย์กันได้ก่อนนำคดีมาฟ้องศาล เมื่อศาลพิพากษาให้จำเลยชำระค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น ฝ่ายจำเลยจึงต้องชำระดอกเบี้ยในจำนวนค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นนับจากวันที่มีการทำสัญญาซื้อขายไปอีกหนึ่งร้อยยี่สิบวัน แต่สำหรับคดีนี้โจทก์ไม่พอใจที่ฝ่ายจำเลยเพิกเฉยไม่เวนคืนที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงซื้อที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายชนะคดีก็ชอบที่จะให้ฝ่ายจำเลยชำระดอกเบี้ยนับจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิดหลายกรรม: ครอบครอง-จำหน่ายยาเสพติด แม้เป็นส่วนหนึ่งของชุดเดียวกัน ก็ถือเป็นคนละกรรมได้
แม้เมทแอมเฟตามีนจำนวน 400 เม็ด ที่จำเลยจำหน่ายให้แก่สายลับจะเป็นส่วนหนึ่งของเมทแอมเฟตามีนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายทั้งหมดก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยก็แยกเจตนาเป็นสองกรรมต่างหากจากกันได้เพราะการมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนเป็นความผิดซึ่งอาศัยเจตนาในการกระทำความผิดแตกต่างแยกจากกันได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรม หาใช่เป็นความผิดกรรมเดียวไม่
การที่จำเลยได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับตามที่ได้ตกลงกันถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จบริบูรณ์แล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาหรือเงินให้กันก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน หาใช่เป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
การที่จำเลยได้ส่งมอบเมทแอมเฟตามีนให้แก่สายลับตามที่ได้ตกลงกันถือได้ว่าเป็นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนสำเร็จบริบูรณ์แล้ว แม้จะยังไม่ได้ชำระราคาหรือเงินให้กันก็ตาม การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน หาใช่เป็นความผิดฐานพยายามจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องภาษี: การชำระหนี้ด้วยเช็คยังไม่ถือเป็นการชำระหนี้จนกว่าเช็คจะใช้ได้เงิน
ที่ พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "...ห้ามมิให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ... หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษี: ต้องชำระภาษีที่ถึงกำหนดก่อนฟ้องคดี มิเช่นนั้นขาดอำนาจฟ้อง
ที่ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 39 บัญญัติว่า "?ห้ามให้ศาลประทับเป็นฟ้องตามกฎหมาย เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งกำหนดต้องชำระ?หรือจะถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาล?" นั้น กฎหมายมุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้ตามเงื่อนไขของบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวในวรรคท้าย ทั้งนี้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินไปแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยอนุมัติให้โจทก์ผ่อนชำระค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 และโจทก์สั่งจ่ายเช็คลงวันที่ล่วงหน้าให้ไว้ซึ่งจะถึงกำหนดชำระหลังจากวันฟ้อง หนี้ค่าภาษีประจำปี 2537 ถึง 2543 จึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระดังที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องสำหรับข้อหาเกี่ยวกับค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2537 ถึง 2543
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: การชำระภาษีด้วยเช็คยังไม่ถือเป็นการชำระหนี้สิ้นสุดตามกฎหมาย
พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39 มุ่งประสงค์ให้ผู้รับประเมินได้ชำระหนี้ค่าภาษีจนหนี้ค่าภาษีที่พนักงานเก็บภาษีได้แจ้งการประเมินระงับสิ้นไปเสียก่อน หากเมื่อศาลตัดสินให้ลดค่าภาษี ผู้รับประเมินจึงจะมีสิทธิมาขอรับคืนเงินส่วนที่ลดลงมาได้เพื่อป้องกันมิให้ผู้รับประเมินใช้การฟ้องคดีต่อศาลเพื่อประวิงการชำระหนี้ค่าภาษี และตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม การชำระหนี้ค่าภาษีดังกล่าวด้วยเช็ค หนี้จะระงับเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้ว ดังนั้น หนี้ค่าภาษีประจำปีจึงยังไม่ระงับสิ้นไปและถือไม่ได้ว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นซึ่งถึงกำหนดต้องชำระ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนเงินค่าภาษีแต่ละปีภาษีเป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเกินไปจากที่กฎหมายกำหนดเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินค่าภาษีประจำปี 2535 ถึง 2543 ไปยังโจทก์ร่วมคราวเดียวกัน ถึงแม้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะแจกแจงค่าภาษีแต่ละปีภาษี แต่ก็รวมยอดเป็นค่าภาษีทั้งสิ้น 143,949,403.29 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200,000 บาท นั้น แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 ถึง 2543 รวม 9 ข้อหา ซึ่งแต่ละข้อหาแยกต่างหากจากกัน โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามรายข้อหา
อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนเงินค่าภาษีแต่ละปีภาษีเป็นการเรียกค่าขึ้นศาลเกินไปจากที่กฎหมายกำหนดเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้แจ้งการประเมินค่าภาษีประจำปี 2535 ถึง 2543 ไปยังโจทก์ร่วมคราวเดียวกัน ถึงแม้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยจะแจกแจงค่าภาษีแต่ละปีภาษี แต่ก็รวมยอดเป็นค่าภาษีทั้งสิ้น 143,949,403.29 บาท ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล 200,000 บาท นั้น แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งไว้เพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17 แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินประจำปี 2535 ถึง 2543 รวม 9 ข้อหา ซึ่งแต่ละข้อหาแยกต่างหากจากกัน โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลตามรายข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การประเมินค่าเสียหาย, การลดราคาที่ดิน, และสิทธิในการเข้าถึงถนนสาธารณะ
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการดำเนินการเวนคืน รวมทั้งบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตลอดจนเงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนจะได้รับในกรณีใดบ้างไว้แล้ว ดังนั้น เมื่อที่ดินของโจทก์จะต้องเวนคืนและได้มีการกำหนดแนวเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะเวนคืนจากจำเลยทั้งสี่ถ้าการเวนคืนที่ดินของโจทก์แต่เพียงส่วนหนึ่ง และที่ดินส่วนที่เหลือนั้นมีราคาลดลงโจทก์ก็มีสิทธิเรียกร้องหรือได้รับเงินค่าทดแทนเฉพาะสำหรับที่ดินส่วนที่เหลืออันราคาลดลงนั้นด้วยตามมาตรา 21 วรรคสาม หาจำต้องรอให้จำเลยที่ 2 ลงมือก่อสร้างหรือก่อสร้างทางลงถนนศรีนครินทร์ให้เสร็จสิ้นก่อนดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยไม่
โจทก์ยังไม่ได้ไประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่จะต้องเวนคืนนั้นตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคห้าบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายอันเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามโครงการของโจทก์ได้ ทั้งโจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือสิทธิใดเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ต้องสร้างทางเข้าออกสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้
โจทก์ยังไม่ได้ไประกอบการค้าขายหรือการงานอันชอบด้วยกฎหมายอยู่ในที่ดินที่จะต้องเวนคืนนั้นตามที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคห้าบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าเสียหายอันเนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตามโครงการของโจทก์ได้ ทั้งโจทก์จะมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนหรือสิทธิใดเพียงใดต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดไว้ ซึ่งบทกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติที่ให้อำนาจโจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่ต้องสร้างทางเข้าออกสำหรับที่ดินของโจทก์ที่เหลือจากการเวนคืนสู่ทางสาธารณะได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งสี่เปิดทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ย, อำนาจฟ้องกรณีที่ดินเหลือ
เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้น และปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองกับเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กันไว้ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนที่ดินฯ มาตรา 10 เนื่องจากไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน ตั้งแต่วันที่ 12 มีนาคม 2539 แล้ว ซึ่งตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องจ่ายเงินค่าอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมดให้แก่โจทก์ทั้งสองภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันที่ทำสัญญาซื้อขาย โจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2539 อันเป็นวันสุดท้ายที่จำเลยทั้งสองจะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญา โดยได้รับในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน ตามความในมาตรา 26 วรรคสาม อันเป็นกฎหมายพิเศษโดยไม่ต้องนำสืบถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดในวันที่ 10 กรกฎาคม 2539 แต่อย่างใด
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ส่วนเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืน เป็นเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคสาม ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ไม่ได้กำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้ให้แก่โจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองต้องใช้สิทธิอุทธรณ์ของเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมตามมาตรา 25 วรรคหนึ่งก่อน เมื่อโจทก์ทั้งสองไม่ได้อุทธรณ์ขอเงินค่าทดแทนส่วนนี้ต่อรัฐมนตรีฯ การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนส่วนนี้จากจำเลยทั้งสองต่อศาลจึงเป็นการข้ามขั้นตอนโดยไม่ได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพชั้นจับกุมหลังแก้ไขกฎหมาย: ศาลฎีกาพิจารณาตามกฎหมายเดิมได้ หากคำรับสารภาพได้มาโดยชอบก่อนบังคับใช้กฎหมายใหม่
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) พ.ศ. 2547 ออกใช้บังคับ มาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยกเลิกความในมาตรา 84 แห่ง ป.วิ.อ. และให้ใช้ความใหม่แทน โดยวรรคสุดท้ายของมาตรา 84 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป บัญญัติว่า ถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าถ้อยคำอื่นจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี แสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่มุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานต่อเมื่อบทบัญญัติเรื่องการแจ้งสิทธิแก่ผู้ถูกจับตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 83 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว หาได้มีความหมายว่าขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองด้วยไม่ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 โดยชอบแล้ว ประกอบกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 84 วรรคสุดท้ายที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ ต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยทั้งสองตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษได้ตามกฎหมายเดิม
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2548)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีค้ายาเสพติด: การพิจารณาโทษจำเลยชาวไทยใหญ่ อ่อนทางความคิด และโทษสถานหนักจากปริมาณยา
บทบัญญัติ ป.วิ.อ. มาตรา 84 วรรคสุดท้ายที่แก้ไขใหม่ไม่มีผลย้อนหลังไปกระทบกระทั่งถึงคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยที่เจ้าพนักงานผู้จับได้มาโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตามมาตรา 226 โดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษจำเลยทั้งสองได้ตามกฎหมายเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด การลดโทษจากสภาพจำเลย และการใช้กฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิด
ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา มี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 22) ฯ ออกใช้บังคับมาตรา 19 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยกเลิกความในมาตรา 84 แห่ง ป.วิ.อ. และให้ใช้ความใหม่แทนโดยวรรคสุดท้ายของมาตรา 84 ที่แก้ไขใหม่ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2547 เป็นต้นไป บัญญัติว่าถ้อยคำใด ๆ ที่ผู้ถูกจับให้ไว้ต่อเจ้าพนักงานผู้จับ หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจในชั้นจับกุมหรือรับมอบตัวผู้ถูกจับ ถ้าถ้อยคำนั้นเป็นคำรับสารภาพของผู้ถูกจับว่าตนได้กระทำความผิดห้ามมิให้รับฟังเป็นพยานหลักฐาน แต่ถ้าถ้อยคำอื่น จะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกจับได้ต่อเมื่อได้มีการแจ้งสิทธิตามวรรคหนึ่ง หรือตามมาตรา 83 วรรคสอง แก่ผู้ถูกจับ แล้วแต่กรณี แสดงให้เห็นว่ากฎหมายที่แก้ไขใหม่ มุ่งประสงค์ที่จะห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของผู้ถูกจับมารับฟังเป็นพยานหลักฐานต่อเมื่อบทบัญญัติเรื่องการแจ้งสิทธิแก่ ผู้ถูกจับตามมาตรา 84 วรรคหนึ่ง หรือมาตรา 83 วรรคสอง ที่แก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับแล้วหาได้มีความหมายว่าขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาคดีนี้ ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับแล้ว ต้องห้ามมิให้นำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยทั้งสองด้วยไม่ เพราะเป็นพยานหลักฐานที่เจ้าพนักงานผู้จับได้จัดทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายก่อนวันที่กฎหมายที่แก้ไขใหม่มีผลใช้บังคับ และโจทก์ได้ส่งอ้างเป็นพยานหลักฐานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 226 โดยชอบแล้ว ประกอบกับกฎหมายที่แก้ไขใหม่ ไม่มีบทบัญญัติให้นำมาตรา 84 วรรคสุดท้าย ที่แก้ไขใหม่มาใช้บังคับ ต้องใช้หลักทั่วไปว่ากฎหมายไม่มีผลย้อนหลัง ศาลฎีกาจึงนำคำรับสารภาพในชั้นจับกุมของจำเลยทั้งสองตามบันทึกการตรวจค้นและจับกุมมารับฟังเป็นพยานหลักฐานประกอบการลงโทษได้ตามกฎหมายเดิม