พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากการซื้อขายทรัพย์สินที่ถูกเพิกถอน และดอกเบี้ยจากการผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3 มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ต่อมา ส. ฟ้องขอให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวโดยฟ้องโจทก์ จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกเป็นจำเลย ศาลมีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยในคดีดังกล่าว และให้จำเลยในคดีดังกล่าวโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทแก่ ส. พร้อมรับเงินค่าที่ดินส่วนที่เหลือ ผลของคดีดังกล่าวย่อมทำให้สิทธิแห่งความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์หมดสิ้นไปทันที ทั้งที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทให้แก่ฝ่ายจำเลยผู้ขายไปครบถ้วนแล้ว กรณีจึงเห็นได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการกระทำของฝ่ายจำเลยผู้ขาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. โจทก์ในคดีดังกล่าวยังมิได้ชำระเงินค่าที่ดินและอาคารพิพาทส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีดังกล่าวเป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยในคดีดังกล่าวจะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีนั้น หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์คดีนี้ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
การที่ ส. สละสิทธิไม่ยอมบังคับคดีหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวโดย ส. กับโจทก์ในคดีนี้ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและอาคารพิพาทหลังจากศาลมีคำพิพากษาให้เพิกถอนการซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้ว ไม่ว่าจะเพื่อหลีกเลี่ยงการชำระค่าธรรมเนียมและภาษีที่รัฐจะได้รับจากการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์หรือลดค่าใช้จ่ายก็ตาม เป็นเรื่องที่มิได้เกี่ยวกับการที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาคืนจากจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้ ส. จะปฏิบัติตามคำบังคับของศาลในคดีดังกล่าวหรือไม่ เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวกันในคดีดังกล่าว มิใช่คดีนี้ การที่โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแล้วไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทจึงฟ้องจำเลยทั้งสามให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจึงมีอำนาจกระทำได้ มิใช่เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต
โจทก์ทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แล้วเพิกเฉย จึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดเสียดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2565/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อขาย, การเพิกถอนสิทธิกรรมสิทธิ์, และดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
โจทก์ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทโดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์จากจำเลยที่ 3มาเป็นของโจทก์และโจทก์ได้เข้าครอบครองแล้ว ต่อมาศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาคดีถึงที่สุดให้เพิกถอนการซื้อขายที่ดินและอาคารพิพาทระหว่างจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 เพื่อโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ ส. อันมีผลทำให้ความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ซึ่งเป็นจำเลยที่ 5 ในคดีดังกล่าวหมดสิ้นไปทันที โจทก์ย่อมได้รับความเสียหาย ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทคืนจากฝ่ายจำเลยผู้ขายได้ การที่ ส. ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนยังมิได้ชำระเงิน ส่วนที่เหลือให้แก่ผู้ขายหรือยังมิได้ดำเนินการบังคับคดีในคดีก่อน เป็นกรณีที่ ส. กับจำเลยทั้งห้าจะต้องไปว่ากล่าวกันต่อไปในคดีดังกล่าว หาทำให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินและอาคารพิพาทของโจทก์ที่ถูกเพิกถอนไปแล้วกลับคืนมาอีกไม่
ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
ก่อนฟ้องคดีโจทก์มีหนังสือทวงถามจำเลยที่ 1 ให้คืนเงินค่าซื้อที่ดินและอาคารพิพาทแก่โจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2540 แต่จำเลยที่ 1 เพิกเฉยจึงตกเป็นผู้ผิดนัดจะต้องเสียดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 วรรคแรก และมาตรา 204 วรรคแรก ประกอบมาตรา 224 วรรคแรก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2564/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งเงินชำระบัญชีบริษัทก่อนชำระภาษี: โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนจากผู้รับส่วนแบ่ง
ขณะที่มีการชำระบัญชีอยู่บริษัท ท. ยังเป็นหนี้ค่าภาษีอากรค้างกรมสรรพากรโจทก์อยู่จำนวนหนึ่ง เนื่องจากเสียภาษีอากรไม่ถูกต้องครบถ้วน การที่ผู้ชำระบัญชีของบริษัท ท. แบ่งเงินอันเป็นสินทรัพย์ที่เหลืออยู่ของบริษัทให้แก่จำเลยไป ไม่ว่าจำเลยจะรับไว้โดยสุจริตหรือไม่ ก็เป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1269 ถือได้ว่าจำเลยได้รับเงินส่วนแบ่งมาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้จึงถือว่าเป็นลาภมิควรได้ที่จำเลยจำต้องคืนให้แก่บริษัท ท. ผู้เป็นเจ้าของเงินตามมาตรา 406
บริษัท ท. หรือผู้ชำระบัญชีมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงิน ส่วนแบ่งซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ท. ในฐานลาภมิควรได้และหากบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้น เป็นเหตุให้กรมสรรพากรโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้โดยโจทก์จะต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 และมาตรา 234แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยรับไปโดยมิชอบหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมทั้งโจทก์มิได้ขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดี จึงต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์เองโดยตรง ซึ่งโจทก์หามีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยเช่นนั้นไม่ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้คืนให้แก่โจทก์
บริษัท ท. หรือผู้ชำระบัญชีมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงิน ส่วนแบ่งซึ่งเป็นสินทรัพย์ของบริษัท ท. ในฐานลาภมิควรได้และหากบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้องนั้น เป็นเหตุให้กรมสรรพากรโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรค้างต้องเสียประโยชน์ โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนบริษัท ท. ลูกหนี้ได้โดยโจทก์จะต้องขอหมายเรียกบริษัท ท. เข้ามาในคดีด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 233 และมาตรา 234แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ฟ้องคดีแทนบริษัท ท. เพราะบริษัท ท. ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งที่จำเลยรับไปโดยมิชอบหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง รวมทั้งโจทก์มิได้ขอหมายเรียกบริษัทดังกล่าวซึ่งเป็นลูกหนี้โดยตรงของโจทก์เข้ามาในคดี จึงต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกให้จำเลยคืนเงินส่วนแบ่งสินทรัพย์ที่ได้รับจากผู้ชำระบัญชีโดยมิชอบให้แก่โจทก์เองโดยตรง ซึ่งโจทก์หามีอำนาจที่จะฟ้องจำเลยเช่นนั้นไม่ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่ทางนิติกรรมหรือตามกฎหมายที่จะต้องคืนเงินสินทรัพย์ของบริษัท ท. ที่ตนได้รับไว้คืนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเลือกตั้งเกินกำหนดเวลาและขาดคุณสมบัติผู้ฟ้องร้อง ศาลไม่รับฟ้องและยืนตามคำพิพากษาเดิม
ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลาตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์เห็นว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1184/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่รับฟ้องคดีเลือกตั้งเนื่องจากฟ้องพ้นกำหนดและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกคำร้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า โจทก์ยื่นฟ้องเกินกำหนดเวลา ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลฯ จึงไม่รับฟ้อง ส่วนศาลอุทธรณ์ภาค 1 เห็นว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลย พิพากษายืน จึงมีผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกฟ้อง โจทก์ฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางข้อเท็จจริงและการจัดสรรที่ดิน การใช้ประโยชน์ที่ดินและขอบเขตสิทธิของเจ้าของสามยทรัพย์
การที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวซึ่งมีสภาพติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลง ขึ้นไปโดยมีทางเท้าและถนนผ่านตึกหน้าโครงการ เป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะ ถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้นทางเท้าและถนนซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินจึงต้องตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลง ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1 และข้อ 30 โจทก์ซื้อที่ดินจากผู้ที่รับโอนที่ดินมาจากห้างหุ้นส่วนจำกัด อ. ภารจำยอมจึงตกติดไปยังโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 เมื่อที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทางภารจำยอมที่ตกแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลงรวมทั้งที่ดินของจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทได้
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางเท้าตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะใช้ทางเท้าและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรกโดยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่วัสดุผ้าใบกันฝนที่จำเลยนำมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถว เป็นการกระทำขึ้นภายหลัง จำเลยไม่มีสิทธิกระทำให้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยจึงต้องรื้อออกไป แม้จะมีการติดตั้งผ้าใบกันฝนที่ตึกแถวของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทางเท้าตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินของจำเลย จำเลยมีสิทธิที่จะใช้ทางเท้าและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรกโดยไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์ แต่วัสดุผ้าใบกันฝนที่จำเลยนำมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถว เป็นการกระทำขึ้นภายหลัง จำเลยไม่มีสิทธิกระทำให้รุกล้ำเข้าไปในที่ดินซึ่งเป็นภารยทรัพย์ เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ จำเลยจึงต้องรื้อออกไป แม้จะมีการติดตั้งผ้าใบกันฝนที่ตึกแถวของจำเลย แต่โจทก์ไม่ได้รับความเสียหาย โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมทางข้อเท็จจริงและผลกระทบต่อกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่จัดสรร
ตึกแถวของจำเลยอยู่บนที่ดินแปลงย่อยที่จัดจำหน่ายรวม 121 คูหา แบ่งแยกจากที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ซึ่งมีทางเท้าและถนนผ่านตึกหน้าโครงการเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินทางเท้าและถนนซึ่งตั้งอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ต้องตกเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินที่จัดสรรทุกแปลงตามประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ข้อ 1 และข้อ 30 โจทก์ซื้อที่ดินโฉนดเลขที่ 4858 ภารจำยอมตกติดไปยังโจทก์ด้วย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและไม่มีอำนาจห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทางเท้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำให้การจำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249วรรคสอง
โจทก์เจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนกับต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387และมาตรา 1390 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ ส่วนจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทางเท้าบนที่ดินพิพาทและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรก แต่ไม่มีสิทธินำวัสดุผ้าใบกันฝนมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถวในภายหลัง เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามมาตรา 1388
โจทก์เจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตนกับต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้นเพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387และมาตรา 1390 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายจากจำเลยไม่ได้ ส่วนจำเลยเจ้าของสามยทรัพย์มีสิทธิใช้ทางเท้าบนที่ดินพิพาทและกันสาดปูนซึ่งมีสภาพติดกับตึกแถวมาแต่แรก แต่ไม่มีสิทธินำวัสดุผ้าใบกันฝนมาติดตั้งไว้หน้าตึกแถวในภายหลัง เพราะทำให้เกิดภาระเพิ่มขึ้นแก่ภารยทรัพย์ตามมาตรา 1388
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1023/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: สิทธิการใช้ทาง และข้อจำกัดสิทธิเจ้าของที่ดิน
ล. ก่อสร้างตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์ ลงบนที่ดินแปลงย่อยซึ่งแบ่งจากที่ดินแปลงใหญ่รวม 121 คูหา เรียงติดต่อกัน การที่ อ. จัดจำหน่ายที่ดินพร้อมตึกแถวตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป โดยมีทางเท้าและถนนผ่านหน้าตึก โครงการ ชี้ให้เห็นว่าเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจะจัดให้มีสาธารณูปโภคหรือบริการสาธารณะจึงถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดิน ดังนั้น ทางเท้าที่ดินพิพาทของโจทก์ ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของจำเลยโดยผลของกฎหมายตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ปัญหานี้ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยจะ มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลย จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นฎีกาได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าปรับจากสัญญาประกันตัว: การกำหนดค่าปรับ การแจ้งหนี้ และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาขอปล่อยชั่วคราว ส. ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนกับโจทก์ ในวงเงิน 120,000 บาท เมื่อถึงกำหนด นัดส่งตัว ส. ในวันที่ 17 เมษายน 2542 ธ. ไม่นำตัว ส. มาส่งโจทก์จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระ ตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงิน 120,000 บาท มาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 ธ. เพิกเฉย ธ. จึงต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงิน 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 974/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยจากค่าปรับสัญญาประกัน: การกำหนดค่าปรับ, การแจ้งหนี้, และการผิดนัดชำระ
ธ. ทำสัญญาประกันตัวผู้ต้องหากับโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนด ถ้าผิดนัดยินยอมชดใช้เงิน 120,000 บาท การที่ ธ. ไม่ส่งตัวผู้ต้องหาในวันที่ 17 เมษายน 2542 ซึ่งเป็นวันที่กำหนด จึงเป็นการผิดนัดตามสัญญาประกันอันจะต้องเสียค่าปรับนับแต่วันนั้น แต่จำเลยจะผิดนัดต้องเสียดอกเบี้ยค่าปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ก็ต่อเมื่อโจทก์กำหนดค่าปรับและแจ้งให้ ธ. ทราบแล้วไม่ชำระตามมาตรา 204 โจทก์มีหนังสือทวงถามให้ ธ. นำเงินมาชำระในวันที่ 25 มิถุนายน 2542 เมื่อ ธ. ไม่ชำระจึงเป็นการผิดนัดต้องรับผิดดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามมาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากเงินค่าปรับ 120,000 บาท นับแต่วันที่ 26 มิถุนายน 2542