พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในคดีฟื้นฟูกิจการ การดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนที่ไม่โปร่งใส
ข้อเท็จจริงที่ผู้ร้องทั้งสองกล่าวอ้างในคดีนี้เป็นข้อเท็จจริงที่มีอยู่และได้กล่าวอ้างแล้วขณะผู้ร้องที่ 1 ยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เพียงแต่ในการยื่นคำร้องคดีนี้ผู้ร้องทั้งสองนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาวิเคราะห์คนละเชิงหรือเรียบเรียงข้อเท็จจริงด้วยถ้อยคำที่แตกต่างกัน โดยการยื่นคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 ผู้ร้องที่ 1 เพียงผู้เดียวยื่นคำร้องในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ ส่วนคดีนี้ได้เพิ่มผู้ร้องที่ 2 เข้ามา แต่ผู้ร้องทั้งสองต่างอ้างสิทธิอย่างเดียวกันว่าเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ผู้ร้องที่ 2 จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นเดียวกับผู้ร้องที่ 1 ตามบทนิยามแห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 90/1 ถือได้ว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความในคดีเดิม แม้คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองมิได้ระบุว่าขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยใช้คำว่า ขอให้มีคำสั่งให้ผู้บริหารแผนดำเนินการตามแผนด้วยความสุจริตและยุติธรรม กับให้กำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนให้ได้ราคาตลาดที่แท้จริงตามกฎหมาย เป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายและสูงกว่าราคาที่กำหนดไว้หุ้นละ 3.30 บาท โดยประมูลขายหุ้นให้แก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามหลักธุรกิจการค้าปกติ โปร่งใส เป็นธรรม ก็ตาม แต่การที่จะกำหนดราคาขายหุ้นส่วนทุนตามแผนให้ได้ราคาตลาดโดยประมูลขายหุ้นแก่ผู้สนใจร่วมลงทุนตามที่ผู้ร้องทั้งสองขอมาในคดีนี้ก็จะต้องยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 เสียก่อน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองคดีต่างมีความประสงค์อย่างเดียวกันคือขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนสัญญาซื้อขายหุ้นส่วนทุนฉบับลงวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ส่วนการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและการดำเนินการขายหุ้นส่วนทุนตามแผน คำร้องทั้งสองฉบับได้กล่าวอ้างทำนองเดียวกันว่าผู้บริหารแผนไม่เปิดโอกาสให้มีการประมูลหรือแข่งขันเสนอราคาเพื่อให้ได้ราคาสูงสุด กำหนดราคาหุ้นที่จะซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดโดยไม่มีหลักเกณฑ์หรือวิธีการคำนวณ กลุ่มผู้ร่วมลงทุนหรือผู้ซื้อเป็นหน่วยงานของรัฐที่ผู้บริหารแผนเป็นผู้ถือหุ้นหรือมีอำนาจกำกับดูแล มีลักษณะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ที่มีความเกี่ยวพันกับผู้บริหารแผน เป็นการดำเนินการที่ไม่โปร่งใส ไม่สุจริต ทำให้ลูกหนี้และผู้ค้ำประกันเสียหาย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลต้องวินิจฉัยตามคำร้องทั้งสองฉบับจึงเป็นประเด็นเดียวกัน คือ ผู้บริหารแผนดำเนินการจัดหาผู้ร่วมลงทุนและทำข้อตกลงขายหุ้นส่วนทุนตามแผนโดยชอบหรือไม่ เมื่อศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นดังกล่าวตามคำร้องฉบับลงวันที่ 31 สิงหาคม 2548 เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2548 แล้วการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องคดีนี้ต่อศาลล้มละลายกลางในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2548 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลาย ฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4534/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่การพิสูจน์มูลหนี้ในคดีล้มละลาย: พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือและนำเสนอในเวลาที่ถูกต้อง
เจ้าหนี้ผู้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายมีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาแสดงหรือนำพยานหลักฐานมาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้กู้ยืมเงินแต่พยานของเจ้าหนี้ไม่ใช่ผู้รู้เห็นในการทำสัญญากู้ยืมเงินระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ (จำเลย) ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมีข้อความว่าลูกหนี้สัญญาจะจ่ายเงินจำนวนที่ระบุในตั๋วแต่ละฉบับให้แก่เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ยไม่อาจถือเอาตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน ทั้งจำนวนเงินที่เจ้าหนี้อ้างว่าให้ลูกหนี้กู้ยืมเฉพาะต้นเงินมีจำนวนมากถึง 1,385,061,779.44 บาท แต่ไม่ปรากฏว่าได้มีการเรียกให้ลูกหนี้จัดหาหลักประกันการชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่เจ้าหนี้ ส่วนเอกสารงบการเงินและบัญชีเจ้าหนี้ไม่มีประกันของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้แนบท้ายคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการอ้างเอกสารเข้ามาภายหลังที่เจ้าหนี้แถลงหมดพยานในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ และศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอรับชำระหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่ชอบที่เจ้าหนี้จะนำเอกสารดังกล่าวมาอ้างในภายหลังได้ พยานหลักฐานของเจ้าหนี้จึงไม่มีน้ำหนักและเหตุผลที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่ามูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ไว้มีอยู่จริง และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3519/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: เจ้าหนี้ในราชอาณาจักรไม่มีสิทธิได้รับการขยายเวลาเกิน 2 เดือน
อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขยายระยะเวลาให้เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ออกไปเกินกว่ากำหนดเวลา 2 เดือน จะมีได้ก็แต่กรณีที่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักร
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
ผู้ร้องเป็นนิตบุคคลไทยมีสำนักงานใหญ่อยู่ในกรุงเทพมหานคร จึงเป็นบุคคลที่อยู่ในราชอาณาจักรตั้งแต่มีการฟ้องคดีตลอดมาจนถึงวันที่มีการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำขอรับชำระหนี้มิใช่เจ้าหนี้จำพวกอยู่นอกราชอาณาจักร จึงไม่มีเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายระยะเวลายื่นคำรับชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่จากการเปลี่ยนตั๋วสัญญาใช้เงินเป็นบัตรเงินฝาก ทำให้หนี้เดิมระงับสิ้นไป เจ้าหนี้เดิมไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ธนาคาร ม. เป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินของลูกหนี้ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายเงินให้แก่ ว. โดยลูกหนี้สัญญากับธนาคาร ม. ว่าจะชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ธนาคาร ม. ต่อมาธนาคาร ม. ได้ใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ ว. หลังจากนั้นธนาคาร ม. และลูกหนี้ได้ตกลงกันให้ธนาคารเจ้าหนี้เข้ามารับผิดชอบชำระหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวแทนลูกหนี้ โดยออกบัตรเงินฝากให้แก่ธนาคาร ม. เป็นการทำสัญญาเปลี่ยนสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งหนี้อันเป็นการแปลงหนี้ใหม่ มีผลให้มูลหนี้อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 349 วรรคหนึ่ง ธนาคาร ม. ไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว เจ้าหนี้ในฐานะเป็นผู้รับโอนสินทรัพย์และหนี้สินของธนาคาร ม. จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้โดยอาศัยมูลหนี้ดังกล่าวเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน ทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิด
เจ้าหนี้ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้กับบริษัท ร. มีข้อตกลงผ่อนเวลาชำระหนี้ให้แก่บริษัทดังกล่าวโดยลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันมิได้ตกลงด้วยหรือให้ความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรลูกหนี้ย่อมหลุดพ้นจากความรับผิดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในหนังสือสัญญาค้ำประกันและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 700 วรรคหนึ่ง แม้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระบุว่า ภาระหนี้และสิทธิประโยชน์ในมูลหนี้เดิมระหว่างเจ้าหนี้ทุกรายกับบริษัท ร. ยังไม่ระงับสิ้นไป หากบริษัท ร. ไม่ชำระหนี้ตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เจ้าหนี้ทุกรายมีอำนาจนำมูลหนี้เดิมไปฟ้องร้องได้ แต่ลูกหนี้มิได้ร่วมตกลงหรือเป็นคู่สัญญาด้วยจึงไม่อาจใช้บังคับแก่ลูกหนี้ได้ เมื่อลูกหนี้หลุดพ้นจากความรับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันแล้วเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ในมูลหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3335/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่อุทธรณ์เหตุแก้ข้อกฎหมายใหม่ การบังคับคดีล้มละลายหลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแล้ว
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 ที่ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสิบเด็ดขาดไว้ชั่งคราวจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติ มาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ศาลรัฐธรรมนูญได้มีคำวินิจฉัยที่ 63/2548 แล้วว่า บทบัญญัติมาตรา 8 และมาตรา 10 แห่ง พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และต่อมาศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ยกคำร้องของจำเลยที่ 3 แล้ว การที่จำเลยที่ 3 ยื่นฎีกาโดยอ้างเหตุผลในข้อกฎหมายขึ้นมาใหม่ว่า ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยทั้งสิบกระทำความผิดต่อ พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ขอให้มีคำพิพากษาให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์งดการบังคับคดี การรวบรวม หรือการจำหน่ายทรัพย์สินของจำเลยทั้งสิบไว้จนกว่าคดีหลักจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดนั้น ข้อกฎหมายดังกล่าวเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าแบบลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ ศาลล้มละลายพิพากษาล้มละลายได้เมื่อมีหนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว สัญญาดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 572
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2763/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าลีสซิ่งไม่ใช่เช่าซื้อ, การพิพากษาล้มละลาย, หนี้สินล้นพ้นตัว
สัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งถือได้ว่าเป็นสัญญาเช่าทรัพย์อย่างหนึ่งที่โจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าให้คำมั่นว่าจะขายทรัพย์ที่เช่าให้แก่จำเลยที่ 1 ผู้เช่าเมื่อครบกำหนดการเช่าแล้ว และกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่ายังไม่ตกเป็นของผู้เช่าจนกว่าจะแสดงเจตนารับคำมั่นของผู้ให้เช่าจนเกิดเป็นสัญญาซื้อขาย เงินค่าเช่าก็ไม่อาจถือว่ารวมค่าแห่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าไว้ด้วย และผู้เช่าไม่อาจบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดการเช่าได้ เมื่อสัญญาเช่าทรัพย์แบบลีสซิ่งดังกล่าวมิใช่สัญญาเช่าซื้อ การที่ศาลล้มละลายกลางนำบทบัญญัติมาตรา 574 แห่ง ป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 5 เช่าซื้อ มาปรับใช้แก่มูลหนี้ตามฟ้องแล้ววินิจฉัยว่ามูลหนี้ตามฟ้องยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน และพิพากษายกฟ้องนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว
จำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้ค่าเช่าตั้งแต่งวดที่ 3 ถึง 19 และยังคงค้างชำระค่าเช่ารวม 6,881,401.90 บาท ดังนี้ แม้มูลหนี้ดังกล่าวจะยังมิได้คำนวณเบี้ยปรับตามสัญญา จำเลยที่ 1 ก็เป็นหนี้โจทก์เป็นจำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 โดยยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมและไม่จำกัดจำนวนต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระหนี้ค่าเช่าที่ค้างชำระดังกล่าวต่อโจทก์ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ตามสัญญาที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2696/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลเมื่อมีคำสั่งรับอุทธรณ์คดีล้มละลาย และการจำหน่ายคดีซ้ำซ้อน
เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 ที่อุทธรณ์ต่อศาลฎีกาคดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลฎีกาที่จะทำคำสั่งหรือคำพิพากษาต่อไป การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งจำหน่ายคดีในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 แล้ว คำสั่งของศาลล้มละลายกลางจึงไม่ชอบให้เพิกถอนคำสั่งของศาลล้มละลายกลางดังกล่าว
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 3940/2549 ซึ่งศาลล้มละลายกลางในคดีดังกล่าวมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีนี้ กรณีต้องจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ในคดีนี้เป็นบุคคลเดียวกับจำเลยในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลาง คดีหมายเลขแดงที่ 3940/2549 ซึ่งศาลล้มละลายกลางในคดีดังกล่าวมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาดในคดีนี้ กรณีต้องจำหน่ายคดีของจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 15 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2273/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการขอให้ศาลจำหน่ายชื่อออกจากบัญชีลูกหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ต้องรอหนังสือยืนยันหนี้จากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ที่บุคคลซึ่งถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้จะใช้สิทธิทางศาลเพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อของตนออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีหนังสือปฏิเสธหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องสอบสวนแล้วมีหนังสือแจ้งยืนยันจำนวนหนี้ไปยังบุคคลนั้นอีกครั้งก่อนด้วย ดังนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังจากผู้ร้องมีหนังสือปฏิเสธตามหนังสือทวงหนี้ของผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้องเนื่องจากผู้คัดค้านได้นำสิทธิเรียกร้องที่ลูกหนี้มีต่อผู้ร้องออกประมูลขายโดยวิธีอื่นไปแล้วตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ตามมาตรา 123 ผู้ร้องจึงยังไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายชื่อผู้ร้องออกจากบัญชีลูกหนี้ของลูกหนี้ได้
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28
ที่ผู้ร้องฎีกาขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามขั้นตอนใน พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 และขอให้เพิกถอนคำสั่งของผู้คัดค้านที่ทวงถามหนี้มายังผู้ร้องนั้น ล้วนเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 28