พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5223/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ: การพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเพื่อยืนยันความเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
กฎกระทรวงกำหนดให้ป่า ด. ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวงเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ดังนั้น การพิจารณาว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. หรือไม่นั้น ต้องพิจารณาจากแผนที่ท้ายกฎกระทรวงด้วย เมื่อที่ดินพิพาทอยู่ในแนวเขตตามแผนที่ท้ายกฎกระทรวง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่า ด. ซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน การเข้ายึดถือครอบครองย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยออกคำสั่งให้โจทก์ออกจากที่ดินพิพาทจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความของพนักงานอัยการต้องมีการแต่งตั้งทนายความตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ.พนักงานอัยการฯ มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ.ทนายความฯ ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความที่ไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ทำให้กระบวนการพิจารณาคดีไม่ชอบ
ตามพระราชบัญญัติพนักงานอัยการ พ.ศ.2498 มาตรา 11 (2) (3) เมื่อพนักงานอัยการเห็นสมควรจะรับแก้ต่างให้ก็ได้ พนักงงานอัยการจึงมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความ ตามพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ.2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 ปรากฏว่าก่อนที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำให้การและบัญชีพยานจำเลยที่ 2 ลงนามแต่งตั้งให้ น. พนักงานอัยการจังหวัดศรีสะเกษเป็นทนายความไว้แล้ว แต่ครั้นเมื่อมีการยื่นคำให้การและบัญชีพยานดังกล่าว กลับกลายเป็น ร. อัยการผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคดีแพ่งเขต 3 สาขาศรีสะเกษ เป็นผู้ลงชื่อในคำให้การและบัญชีพยาน โดยจำเลยที่ 2 มิได้ลงนามแต่งตั้งให้ ร. เป็นทนายความของตน จึงมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 61 จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5167/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจพนักงานอัยการดำเนินคดีแทนเจ้าพนักงานต้องมีการแต่งตั้งทนายความถูกต้องตามกฎหมาย
ในการดำเนินคดีแพ่งแทนรัฐบาล หรือในการดำเนินคดีแพ่งหรือคดีอาญาแทนเจ้าพนักงานผู้ซึ่งถูกฟ้องในเรื่องการที่ได้กระทำไปตามหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งพนักงานอัยการรับแก้ต่างตาม พ.ร.บ. พนักงานอัยการ พ.ศ. 2498 มาตรา 11 (2) (3) พนักงานอัยการมีฐานะอย่างเดียวกับทนายความตาม พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ. 2528 ที่จะมีอำนาจดำเนินคดีในศาลได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตั้งทนายความให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 61
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5165/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดฐานพาไปเพื่อการอนาจารและพรากผู้เยาว์ เมื่อผู้เสียหายสมัครใจติดตามไปอยู่กินเป็นสามีภริยา
ผู้เสียหายอายุ 17 ปีเศษ ได้หนีตามจำเลยที่ 1 ไปเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 มีภริยาอยู่ก่อน การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่ถือว่าเป็นการพาผู้เสียหายไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 และเมื่อได้ความว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้เยาว์เต็มใจหนีตามจำเลยที่ 1 ไปด้วยเพื่ออยู่กินเป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 1 การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5026/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: นิยามทรัพย์สินใช้สิ้นเปลืองตาม ป.พ.พ. และข้อตกลงสภาพการจ้าง
จำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างว่าโจทก์ใช้ตำแหน่งหน้าที่พิจารณาอนุมัติการยืมทรัพย์สินที่ไม่สามารถยืมได้ เพราะเป็นทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลืองออกนอกบริเวณโรงงาน แต่จำเลยไม่ได้นำระเบียบข้อบังคับมาแสดง ทั้งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างของจำเลยก็มิได้ระบุนิยามคำว่า ทรัพย์สินประเภทใช้สิ้นเปลืองไว้ จึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 ซึ่งหมายถึงทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป แต่ทรัพย์สินที่โจทก์อนุมัติให้ พ. ยืม คือ สายไฟฟ้า ท่อหุ้มสายไฟฟ้า ปลั๊กไฟฟ้าตัวผู้ ปลั๊กไฟฟ้าตัวเมีย เบ้าปลั๊กไฟฟ้า ไม่ใช่ทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไป จึงไม่ใช่ทรัพย์สินประเภทยืมใช้สิ้นเปลือง การกระทำของโจทก์จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน ทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย การเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าโทรศัพท์ ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4886/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ่ายเงินสมทบประกันสังคมโดยนายจ้างแม้ไม่ใช่จากค่าจ้าง ไม่กระทบสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีตาย
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 47 เป็นเพียงการกำหนดวิธีการและหน้าที่ของนายจ้างที่จะดำเนินการนำส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนและในส่วนของนายจ้างแก่สำนักงานประกันสังคมว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร และยังบัญญัติให้นายจ้างมีอำนาจที่จะหักค่าจ้างของลูกจ้างอันเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ทั้งตามพระราชบัญญัติดังกล่าวก็หามีบทบัญญัติใดที่พอจะแปลว่าเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนจะต้องเป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของผู้ประกันตนเพียงประการเดียวเท่านั้น หากนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของผู้ประกันตนนอกจากค่าจ้างของผู้ประกันตนแล้วจะเป็นเหตุให้ผู้ประกันตนมิได้รับประโยชน์ทดแทนจากกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 54 แต่อย่างใดไม่ เมื่อนายจ้างส่งเงินสมทบในส่วนของ ท. ลูกจ้างถึงเดือนกันยายน 2544 แม้จะเป็นเงินของนายจ้าง มิใช่เป็นเงินที่หักมาจากค่าจ้างของ ท. โดยมีเจตนาที่จะช่วยเหลือ ท. ให้ได้รับการรักษาจากโรงพยาบาลตามสิทธิอันเป็นการแสดงถึงความเอื้ออาทรของนายจ้างต่อลูกจ้าง จึงหาใช่เป็นการกระทำที่ไม่สุจริตและไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่ เมื่อ ท. ถึงแก่ความตายในวันที่ 2 มกราคม 2545 ย่อมเป็นกรณีที่ ท. ได้จ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่าหนึ่งเดือนภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนถึงแก่ความตาย โจทก์ผู้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ท. ย่อมมีสิทธิได้ประโยชน์ทดแทนในกรณีตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4874/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างโดยอาศัยเหตุผลทางธุรกิจและการไม่นำโครงการอาสาสมัครลาออกมาใช้โดยเท่าเทียมกัน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้ออุทธรณ์ที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลล่าง
ปัญหาตามอุทธรณ์ของผู้คัดค้านที่อ้างว่า ผู้ร้องมีโครงการอาสาสมัครลาออกเพื่อลดขนาดขององค์กรผู้ร้องและพนักงานก็ลาออก เมื่อผู้คัดค้านไม่สมัครใจลาออกก็ต้องถือว่าผู้คัดค้านได้ปฏิบัติตามโครงการดังกล่าวแล้ว หากผู้ร้องจะบังคับให้ผู้คัดค้านออกก็เท่ากับว่าผู้ร้องเลือกปฏิบัติไม่เอาโครงการดังกล่าวมาใช้เท่าเทียมกัน การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งให้เลิกจ้างผู้คัดค้านได้ ถือว่าเป็นคำสั่งที่ขัดต่อโครงการอาสาลาออกและขัดต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญในข้อบุคคลย่อมเสมอกันในทางกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านไม่ได้ให้การไว้ ทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านมิได้แถลงรับว่ามีโครงการดังกล่าวจริงอุทธรณ์ของผู้คัดค้านจึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงานกลาง ทั้งมิใช่ข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: ช่วงเวลากระทำผิดต่างกัน แม้รับของโจรคดีก่อนและคดีหลัง
ในคดีอาญาคดีก่อนศาลฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุกระทำผิดฐานรับของโจรในคดีดังกล่าวเกิดระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรระบุว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน เมื่อจำเลยรับสารภาพผิดตามฟ้องฐานรับของโจร ก็ต้องถือว่าจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวในช่วงเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องคดีนี้ด้วย ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีดังกล่าว การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับการกระทำความผิดของจำเลยในคดีอาญาคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: การรับของโจรช่วงเวลาต่างกัน ไม่ถือเป็นกรรมเดียวกัน
คดีก่อนศาลฟังข้อเท็จจริงตามคำฟ้องและคำรับสารภาพของจำเลยว่าเหตุรับของโจรเกิดระหว่างวันที่ 29 มีนาคม 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลาประมาณ 18 นาฬิกา แต่คดีนี้คำฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรระบุว่า เหตุเกิดระหว่างวันที่ 30 เมษายน 2544 เวลากลางวัน ถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2544 เวลากลางวัน เมื่อจำเลยรับสารภาพตามฟ้องฐานรับของโจร ก็ต้องถือว่าจำเลยรับสารภาพว่าได้กระทำผิดในข้อหาดังกล่าวในช่วงเวลาที่โจทก์กล่าวในคำฟ้องคดีนี้ด้วย ซึ่งเป็นคนละช่วงเวลากับการที่จำเลยรับของโจรในคดีก่อน ดังนั้น แม้โจทก์ไม่ได้นำสืบว่าจำเลยได้รับทรัพย์ของกลางทั้งสองคดีนั้นไว้ต่างกรรมต่างวาระกันและเจ้าพนักงานจับจำเลยและยึดของกลางคดีทั้งสองสำนวนได้ในคราวเดียวกัน แต่ข้อเท็จจริงก็ยังไม่เพียงพอที่จะรับฟังว่าจำเลยรับของโจรคดีนี้ในวันเดียวกันและในคราวเดียวกันกับการรับของโจรคดีนี้ในคดีก่อน การกระทำความผิดของจำเลยในคดีนี้จึงมิใช่เป็นการกระทำกรรมเดียวกับในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ