พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4823/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนขายฝากผิดพลาด เจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน มีหน้าที่รับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมให้แก่ที่ดินของประชาชนในเขตพื้นที่ เมื่อปรากฏหลักฐานชัดแจ้งในสารบัญจดทะเบียนทั้งในโฉนดที่ดินฉบับหลวงและฉบับเจ้าของว่าที่ดินที่โจทก์ผู้รับซื้อฝากและ น. ผู้ขายฝากมายื่นคำร้องขอจดทะเบียนขายฝากต่อจำเลยที่ 1 เป็นที่ดินที่ น. ผู้ขายฝากได้มาโดยการเช่าซื้อจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม อันตกอยู่ในบังคับห้ามโอนตามมาตรา 39 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ โดยวิสัยของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานที่ดินของกรมที่ดินจำเลยที่ 2 ย่อมทราบและตระหนักดีว่าจะรับจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมการขายฝากให้แก่โจทก์และ น. ไม่ได้ เพราะเป็นนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่จำเลยที่ 1 กลับดำเนินการรับจดทะเบียนการขายฝากให้การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการของกรมที่ดิน จำเลยที่ 2 โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย อันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
โจทก์ลงชื่อรับรองข้อความด้านหลังสัญญาขายฝากที่ดินว่าในการทำสัญญาโจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดการผิดพลาดและผิดตัวเจ้าของที่ดินโจทก์ขอรับผิดเองไม่เกี่ยวแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ข้อความระบุไว้ชัดเฉพาะกรณีเกิดการผิดตัวเจ้าของที่ดินผู้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น หามีผลคุ้มครองถึงการปฏิบัติหน้าที่ผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนในกรณีอื่นนอกจากนี้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่โจทก์ทำกับ น. เป็นโมฆะต้องถูกเพิกถอนเป็นความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 แล้ว
โจทก์ลงชื่อรับรองข้อความด้านหลังสัญญาขายฝากที่ดินว่าในการทำสัญญาโจทก์ได้ติดต่อกับเจ้าของที่ดินโดยตรง หากเกิดการผิดพลาดและผิดตัวเจ้าของที่ดินโจทก์ขอรับผิดเองไม่เกี่ยวแก่พนักงานเจ้าหน้าที่นั้น ข้อความระบุไว้ชัดเฉพาะกรณีเกิดการผิดตัวเจ้าของที่ดินผู้เป็นคู่สัญญาเท่านั้น หามีผลคุ้มครองถึงการปฏิบัติหน้าที่ผิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้รับจดทะเบียนในกรณีอื่นนอกจากนี้ไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าหนังสือสัญญาขายฝากที่โจทก์ทำกับ น. เป็นโมฆะต้องถูกเพิกถอนเป็นความเสียหายเกิดจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 และพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ในฐานะหน่วยงานของรัฐรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์จึงชอบด้วย พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ มาตรา 5 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดภูมิลำเนาเพื่อยื่นคำร้องพิสูจน์สัญชาติ: พิจารณาจากถิ่นที่อยู่เดิมและมูลคดี
ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาลงโทษจำคุกผู้ร้อง 2 ปี ผู้ร้องถูกอายัดตัวมาดำเนินคดี และถูกฟ้องคดีอาญาที่ศาลจังหวัดนครปฐมไม่ใช่ผู้ร้องสมัครใจมายึดถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดนครปฐม ต่อมาได้รับการปล่อยชั่วคราว ไม่ใช่กรณีถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลจังหวัดนครปฐมหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย จึงไม่ถือว่าเรือนจำจังหวัดนครปฐมเป็นภูมิลำเนาตามมาตรา 47
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน จึงถือว่ามูลคดีของผู้ร้องเกี่ยวกับการขอพิสูจน์สัญชาติเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน จึงถือว่ามูลคดีของผู้ร้องเกี่ยวกับการขอพิสูจน์สัญชาติเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาและอำนาจศาล: การพิจารณาคำร้องพิสูจน์สัญชาติในเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเคยถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คำฟ้องระบุว่าผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 1 ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาลงโทษผู้ร้องจำคุก 2 ปี ผู้ร้องถูกอายัดตัวมาดำเนินคดีที่จังหวัดนครปฐม ไม่ใช่ผู้ร้องสมัครใจมายึดถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดนครปฐม และผู้ร้องมิได้ประกอบอาชีพใดเป็นกิจลักษณะที่จังหวัดนครปฐมที่จะถือว่าเป็นแหล่งสำคัญของถิ่นที่อยู่ การที่ผู้ร้องถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดนครปฐมแต่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ก็ไม่ใช่กรณีถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะถือว่าเรือนจำจังหวัดนครปฐมเป็นภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ผู้ร้องจึงไม่มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครปฐม
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลจังหวัดนครปฐม อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทยเกิดที่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน แสดงว่ามูลคดีอาญาของผู้ร้องเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย ไม่ใช่ศาลจังหวัดนครปฐม
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลจังหวัดนครปฐม อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทยเกิดที่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน แสดงว่ามูลคดีอาญาของผู้ร้องเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย ไม่ใช่ศาลจังหวัดนครปฐม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4803/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลบังคับใช้ประกาศกฎหมาย: กำหนดวันเริ่มต้นหีบอ้อยและโทษปรับย้อนหลัง
ตาม พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาตรา 17 วรรคท้าย กำหนดว่า การกำหนดตาม (11), (13) คือ การกำหนดวันเริ่มต้นการหีบอ้อยและน้ำตาลทราย การกำหนดชนิด คุณภาพ และปริมาณน้ำตาลทรายที่ให้โรงงานผลิต ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งแสดงว่าประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับได้ต่อเมื่อมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว และวันที่มีผลบังคับใช้ก็คือวันที่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา การที่จะออกประกาศให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังและเป็นโทษแก่ผู้ถูกบังคับนั้นย่อมเป็นการไม่ชอบ ดังนั้น เมื่อมีการลงประกาศดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 21 มกราคม 2537 ต้องถือว่าประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2537 เป็นต้นไป การที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งให้โจทก์ชำระเบี้ยปรับจากการที่โจทก์หีบอ้อยตั้งแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2536 ถึงวันที่ 20 ธันวาคม 2536 อันเป็นการกระทำก่อนวันที่ประกาศมีผลบังคับใช้ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4683/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษทางอาญาตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ ศาลต้องลงโทษทั้งจำคุกและปรับเสมอ
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100/1 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ" ดังนั้น เมื่อความผิดที่จำเลยกระทำในคดีนี้มีระวางโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง ให้จำคุกและปรับ ศาลจึงต้องจำคุกและปรับจำเลยด้วยเสมอ จะลงโทษจำคุกเพียงอย่างเดียวหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4647/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่ายและการพิจารณาโทษรอการลงโทษ ศาลฎีกาแก้เป็นไม่รอการลงโทษเนื่องจากปริมาณยาเสพติดไม่น้อย
จำเลยกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต จำนวน 20 เม็ด ซึ่งมิใช่จำนวนเล็กน้อย ศาลฎีกาจึงไม่เห็นพ้องด้วยกับศาลอุทธรณ์ภาค 7 ที่รอการลงโทษให้แก่จำเลย แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาโดยตรงว่าไม่สมควรรอการลงโทษให้แก่จำเลยก็ตาม แต่การที่โจทก์ฎีกาว่าการกระทำความผิดของจำเลยเป็นความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ฎีกาในทำนองขอให้เพิ่มเติมโทษแก่จำเลยแล้ว ศาลฎีกาจึงชอบที่จะพิพากษาแก้เป็นไม่รอการลงโทษให้จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกในคดียาเสพติด และการกำหนดโทษปรับเพื่อใช้บังคับคุมประพฤติ
ความผิดของจำเลยในคดีนี้ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 66 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่า ความผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้นจึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยก็มีอำนาจกำหนดโทษปรับ เพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะโทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้เป็นโทษที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4626/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษและบทลงโทษปรับในคดีครอบครองยาเสพติดเพื่อจำหน่าย ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษเดิมได้
ความผิดของจำเลยฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่สี่ปีถึงจำคุกตลอดชีวิตและปรับตั้งแต่สี่แสนบาทถึงห้าล้านบาท และตามมาตรา 100/1 บัญญัติว่าความผิดตาม พระราชบัญญัติดังกล่าวที่มีโทษจำคุกและปรับ ให้ศาลลงโทษจำคุกและปรับด้วยเสมอ โดยคำนึงถึงการลงโทษในทางทรัพย์สินเพื่อป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ ที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่ปรับด้วยนั้น จึงไม่ถูกต้อง ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ก็ตาม แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นสมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยก็มีอำนาจกำหนดโทษปรับเพื่อรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้ ไม่เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะโทษที่จำเลยได้รับตามคำพิพากษาศาลฎีกานี้เป็นโทษที่เบากว่าโทษตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4362/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินหลังเกิดเหตุ และการไม่รู้เห็นเป็นใจในการกระทำผิดของผู้เป็นเจ้าของเดิม
ตาม ป.อ. มาตรา 36 เหตุที่จะขอให้ศาลสั่งคืนทรัพย์สินได้ นอกจากความเป็นเจ้าของแล้วยังต้องได้ความว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดซึ่งมีความหมายถึงเจ้าของทรัพย์ที่ยื่นคำร้อง และรวมถึงผู้ที่เป็นเจ้าของทรัพย์ในขณะความผิดเกิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4327/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยเลิกจ้าง: งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานปกติธุรกิจ แม้มีสัญญาจ้างครบกำหนด ก็ต้องจ่ายค่าชดเชยหากเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
งานรักษาความปลอดภัยเป็นงานที่จำเลยรับจ้างทำเป็นปกติธุรกิจของจำเลยไม่ใช่งานที่ทำเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุดหรือถือเอาความสำเร็จของงานตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสุดท้าย จำเลยจ้างโจทก์ให้ทำงานเป็นลูกจ้างในงานดังกล่าว เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ปรากฏว่าโจทก์กระทำผิดหรือกระทำการอันมีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 119 จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ตามมาตรา 118