คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิวิตเสวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4325/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ: การยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี และเหตุอันสมควร
ผู้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพที่ยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า แต่หากผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีเหตุอันสมควรหรือมีความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไม่ได้ เมื่อตามบัตรประกันสังคมไม่มีข้อความใดที่บอกให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนได้ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ข้อความนี้กลับมีระบุไว้เป็นคำเตือนในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ซึ่งลูกจ้างผู้ประกันตนจะเห็นคำเตือนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายใน 1 ปีนี้ได้ก็ต่อเมื่อมายื่นคำขอเท่านั้น ซึ่งเป็นการเห็นที่ไม่ก่อให้เกิดการรับรู้ก่อนการยื่นคำขอ ดังนั้น จึงมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ทราบว่าต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน และมีเหตุอันสมควรที่โจทก์ต้องใช้สิทธิยื่นคำขอล่าช้า จึงนำระยะเวลาที่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพเพราะไม่ทราบว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพและต้องยื่นคำขอภายใน 1 ปี มาตัดสิทธิของโจทก์ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำท้าในคดีแพ่ง: คำเบิกความเจ้าพนักงานที่ดินไม่ถือเป็นผลสำเร็จตามคำท้า หากไม่สามารถระบุผลการรังวัดที่ชัดเจน
คู่ความตกลงท้ากันโดยถือเอาผลของการรังวัดที่ดินแปลงพิพาทของเจ้าพนักงานที่ดินว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ตั้งอยู่ในเขตหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งทางราชการได้ออกให้แก่จำเลยหรือไม่ เป็นข้อแพ้ชนะในคดี เมื่อเจ้าพนักงานที่ดินออกไปรังวัดทำแผนที่ที่ดินพิพาท แล้วมาเบิกความว่า ที่ดินแปลงพิพาทไม่สามารถรังวัดหรือตรวจสอบได้ว่าอยู่ในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งทางราชการได้ออกให้แก่จำเลยหรือไม่ และไม่ทราบว่าที่ดินแปลงพิพาทมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์แล้วหรือไม่ โดยไม่ปรากฏเหตุผลว่าเหตุใดจึงไม่สามารถรังวัดหรือตรวจสอบได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีการตรวจสอบแนวเขตที่ดินในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของจำเลย เช่นนี้กรณีจึงไม่อาจถือว่าคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินทำให้เกิดผลสำเร็จตามคำท้าที่ศาลชั้นต้นจะพิพากษาตามคำท้าได้
เมื่อคำท้าไม่บรรลุผลสำเร็จตามคำท้า กรณีย่อมถือเสมือนหนึ่งว่าไม่มีคำท้าอยู่เลย ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แม้เจ้าพนักงานที่ดินเบิกความเสร็จ และทนายโจทก์แถลงหมดพยานโดยจำเลยมิได้แถลงอะไร ซึ่งมีผลเท่ากับว่าคู่ความไม่ติดใจสืบพยานหลักฐานต่อไป ศาลก็จำต้องวินิจฉัยชี้ขาดคดีไปตามรูปคดีก็ตาม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าการดำเนินกระบวนพิจารณาที่คู่ความได้ดำเนินการไปดังกล่าวอาจเกิดจากการสำคัญผิดในผลแห่งคำท้าโดยเข้าใจว่าคำเบิกความของเจ้าพนักงานที่ดินทำให้เกิดผลสำเร็จตามคำท้าก็ได้ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลฎีกาจึงให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาฎีกาให้คู่ความฟัง เพื่อให้คู่ความได้ทราบและเข้าใจถึงผลแห่งคำท้าเสียก่อนว่าคำท้ายังไม่บรรลุผลสำเร็จ แล้วให้คู่ความแถลงถึงการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4145/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจชอบด้วยกฎหมาย แม้ลายพิมพ์นิ้วมือไม่ชัดเจน หากมีพยานรับรองและสืบยืนยันได้
แม้ลายพิมพ์นิ้วมือในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ เป็นเพียงรอยเปื้อนหมึกไม่เห็นลายของนิ้วมือ แต่ใต้ลายพิมพ์ ก็มีคำอธิบายในวงเล็บว่า เป็นลายพิมพ์นิ้วมือของบุคคล ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่ารอยดังกล่าวเป็นรอยของลายพิมพ์นิ้วมือ มิใช่รอยเปื้อนหมึก เมื่อโจทก์มีพยานลงลายมือชื่อรับรองสองคนและโจทก์มีพยานมาเบิกความประกอบเอกสารว่าลายพิมพ์ดังกล่าวเป็นลายพิมพ์นิ้วหัวแม่มือข้างขวาของโจทก์ซึ่งนำสืบได้เพราะเป็นรายละเอียด การลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4029/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ที่ถึงที่สุดแล้ว ผูกพันจำเลยต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 ให้จำเลยจ่ายค่าจ้างแก่โจทก์แล้ว เมื่อจำเลยมิได้นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่ง คำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตามมาตรา 125 วรรคสอง และผูกพันจำเลยให้ต้องปฏิบัติตาม จำเลยจะอุทธรณ์ว่ายังมีประเด็นที่ศาลแรงงานภาค 9 ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันเสียก่อน ซึ่งเป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานอันถึงที่สุดแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์บนที่ดินของรัฐต้องทำตามแบบ หากไม่ทำสัญญาตกเป็นโมฆะ และสิทธิครอบครองต้องเข้ายึดถือจริง
ที่ดินพิพาทอยู่ในนิคมสร้างตนเองและอยู่ในความดูแลครอบครองของกรมประชาสงเคราะห์ ซึ่งได้จัดสรรให้ ฮ. ใช้ประโยชน์ ฮ.ได้ปลูกบ้านพิพาทและให้จำเลยครอบครองเปิดเป็นร้านอาหาร ต่อมา ฮ. ทำสัญญาขายฝากบ้านพิพาทพร้อมสิทธิในที่ดินแก่โจทก์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง แม้อสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวจะปลูกสร้างบนที่ดินของทางราชการก็ตาม การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่งเช่นกัน แต่เมื่อสัญญาระหว่าง ฮ. กับโจทก์เป็นการซื้อขายกันเองจึงตกเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาทได้ และแม้กรมประชาสงเคราะห์จะทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาทในลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ก็ตาม ก็เป็นเพียงบุคคลสิทธิ โจทก์ก็ไม่อาจบังคับบุคคลอื่นนอกจากคู่สัญญาได้ เมื่อจำเลยยังคงครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทและโจทก์ยังไม่อาจเข้าครอบครองทรัพย์สินดังกล่าวได้ โจทก์ย่อมยังไม่ได้มาซึ่งสิทธิครอบครองในบ้านและที่ดินพิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์ในบ้านและที่ดินพิพาท จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากบ้านและที่ดินพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3970/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายขายฝากโมฆะ-สิทธิครอบครอง-อำนาจฟ้อง: จำเลยครอบครองก่อนโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า หนังสือสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากที่มีลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด การทำสัญญาซื้อขายกันเองเป็นโมฆะ โจทก์ไม่อาจกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ในบ้านที่ซื้อขายกันตามสัญญาขายฝากดังกล่าวได้ ส่วนหนังสืออนุญาตให้ใช้ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่กรมประชาสงเคราะห์ตกลงยอมให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินพิพาทได้ มีลักษณะเป็นสัญญาเช่าทรัพย์สิน ซึ่งเป็นบุคคลสิทธิ โจทก์ไม่อาจบังคับผู้อื่นนอกจากคู่สัญญาได้ จำเลยครอบครองที่ดินและบ้านพิพาทอยู่ก่อนโดยโจทก์ยังมิได้เข้าครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท ถือไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญาเช่าของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่โจทก์ฎีกาว่า อ. ผู้ให้จำเลยเช่าที่ดินพร้อมบ้านพิพาท มิได้รับโอนสิทธิและได้รับอนุญาตจากกรมประชาสงเคราะห์การครอบครองของ อ. จึงเป็นการครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมาตั้งแต่ต้น การเข้าอยู่อาศัยในที่ดินและบ้านพิพาทของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์นั้น มิได้เป็นการโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่วินิจฉัยมาแต่อย่างใด เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ฮ. เป็นสัญญาขายฝากอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดอย่างหนึ่ง จึงต้องทำตามแบบตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคหนึ่ง ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมตกเป็นโมฆะ
ขณะที่ ฮ. โอนสิทธิในบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ และกรมประชาสงเคราะห์ทำหนังสืออนุญาตให้โจทก์ใช้ประโยชน์ในที่ดินและบ้านดังกล่าว โจทก์ไม่อาจเข้าครอบครองทำประโยชน์ได้เนื่องจากจำเลยครอบครองอยู่ แสดงว่าโจทก์ไม่เคยเข้าไปยึดถือครอบครองบ้านและที่ดินพิพาทเลย โจทก์ย่อมไม่ได้สิทธิครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1367 การที่จำเลยยังคงครอบครองและทำประโยชน์อยู่ในบ้านและที่ดินอยู่นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิ้นสุดสัญญาเช่า สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ การแจ้งไม่ต่อสัญญาไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระหว่างโจทก์และจำเลยระงับไปเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่าและไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยจะต้องต่อสัญญาเช่าให้โจทก์ การที่จำเลยซึ่งเป็นส่วนราชการไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์อีกต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าสิ้นสุด-เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิไม่ต่อสัญญา-ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง
สัญญาเช่าเดิมระงับเพราะสิ้นกำหนดเวลาเช่า และไม่มีเงื่อนไขหรือข้อผูกพันว่าจำเลยที่ 1 จะต้องต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ยอมต่อสัญญาเช่าให้แก่โจทก์ต่อไปย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่ 1 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย การที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ทราบว่าไม่ประสงค์จะต่อสัญญาเช่าที่ดินให้แก่โจทก์ จึงไม่ใช่คำสั่งทางปกครองที่โจทก์จะขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3739/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนสมรสและรับบุตรบุญธรรม: ความยินยอมของบิดามารดาและการสืบสันดาน
แม้ตามสำเนาทะเบียนการสมรสจะปรากฏลายมือชื่อฝ่ายชายคือ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ร้องขอจดทะเบียนแต่เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ในบันทึกด้านหลังของทะเบียนสมรสดังกล่าวเจ้าหน้าที่ได้บันทึกถ้อยคำที่จำเลยที่ 1 และผู้ตายให้ไว้ว่าคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีความสมัครใจและเต็มใจที่จะจดทะเบียนสมรสกัน โดยทั้งจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นหลักฐาน บันทึกดังกล่าวได้ทำในวันและเวลาต่อเนื่องกับรายการจดทะเบียนสมรสด้านหน้า จึงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 และผู้ตายได้ให้ถ้อยคำและปฏิบัติตามเงื่อนไขแห่งกฎหมายในเรื่องการจดทะเบียนสมรสด้วยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายโดยถูกต้องตามกฎหมายแล้ว ความบกพร่องที่ผู้ตายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ที่ด้านหน้าทะเบียนสมรสดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุถึงทำให้การจดทะเบียนสมรสไม่มีผลสมบูรณ์เป็นโมฆะแต่อย่างไร
ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1583 (เดิม) ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น บัญญัติว่า ถ้าผู้ที่บุตรบุญธรรมยังไม่บรรลุนิติภาวะ การรับบุตรบุญธรรมจะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดา ถ้าไม่มีบิดามารดา ผู้แทนโดยชอบธรรมจะให้ความยินยอมก็ได้ และมาตรา 1585 (เดิม) บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์เมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย เมื่อพิจารณาประกอบ พ.ร.บ.จดทะเบียนครอบครัวฯ มาตรา 22 แล้วจะเห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวกำหนดแต่เพียงว่า การจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากบิดามารดาเท่านั้น มิได้บังคับว่าคำยินยอมต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีลายมือชื่อของบิดามารดาให้ความยินยอมแต่อย่างไร ดังนั้น เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 กับ ม. ซึ่งเป็นบิดามารดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จดทะเบียนหย่าและแยกกันอยู่โดยมีบันทึกหลังทะเบียนหย่าว่าให้จำเลยที่ 1 รับเลี้ยงจำเลยที่ 2 และที่ 3 ส่วน ม. รับเลี้ยงบุตรคนเล็ก และต่อมาจำเลยที่ 1 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายและผู้ตายได้จดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งจำเลยที่ 4 ในฐานะนายทะเบียนได้ดำเนินการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้แก่ผู้ตายโดยที่ให้เฉพาะจำเลยที่ 1 บิดาเป็นผู้ลงลายมือชื่อให้ความยินยอมแต่เพียงผู้เดียว โดยเห็นว่าตามบันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่ามีผลทำให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียว แม้ข้อความในบันทึกหลังทะเบียนหย่ามิอาจถือได้ว่า ม. ตกลงยินยอมให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้มีอำนาจปกครองจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพียงผู้เดียวก็ตาม แต่ปรากฏว่านับแต่ผู้ตายจดทะเบียนรับจำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรบุญธรรมจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายเป็นเวลากว่า 29 ปี ม. ก็มิได้ว่ากล่าวคัดค้านการรับบุตรบุญธรรม และยังทำหนังสือยืนยันว่าทราบเรื่องและให้ความยินยอมมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน และเหตุที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ก็เพราะขณะที่จดทะเบียนหย่ากับจำเลยที่ 1 ม. ตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 อยู่ในการเลี้ยงดูของจำเลยที่ 1 นั้น หมายถึงการให้เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรแต่ผู้เดียวด้วยและไม่ขอคัดค้าน รวมทั้งยังขอร้องสอดเข้ามาเป็นจำเลยร่วมโดยยืนยันการจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรม พฤติการณ์จึงฟังได้ว่า ม. ได้ให้ความยินยอมด้วยแล้วในการรับบุตรบุญธรรมของผู้ตาย การรับบุตรบุญธรรมดังกล่าวจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3433/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: สิทธิรับเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
เงินทดแทนที่ดินในส่วนที่รังวัดแบ่งแยกที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนแล้วมีเนื้อที่เพิ่มขึ้นจากที่คำนวณไว้ในเบื้องต้นอีก 10 ตารางวา เป็นเงินที่จำเลยทั้งสามต้องจ่ายให้แก่โจทก์อันเนื่องจากการดำเนินการเวนคืนที่ดินของโจทก์โดยอาศัย พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งมีบทบัญญัติเรื่องดอกเบี้ยเป็นการเฉพาะ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับดอกเบี้ยจึงต้องเป็นไปตามกฎหมาย แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ ตามสัญญาซื้อขายที่ดินตามฟ้องเป็นกรณีการตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะถูกเวนคืนกันได้ตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งเจ้าหน้าที่จะต้องจ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินทั้งหมดให้แก่โจทก์ภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ทำสัญญา ซึ่งครบกำหนดในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ดังนั้น หากฝ่ายจำเลยดำเนินการรังวัดจำนวนเนื้อที่ดินของโจทก์ในส่วนนี้ถูกต้องครบถ้วนมาตั้งแต่แรกแล้ว เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ต้องจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินในส่วนเนื้อที่ 10 ตารางวา ซึ่งคำนวณในเบื้องต้นขาดไปเป็นเงิน 800,000 บาท ให้แก่โจทก์ภายในวันที่ 8 มีนาคม 2539 ด้วย เมื่อยังไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้ให้แก่โจทก์ จึงต้องถือว่าเงินค่าทดแทนที่ดินจำนวนนี้เป็นเงินที่จำเลยจ่ายล่าช้ากว่ากำหนดเวลาตามมาตรา 11 วรรคหนึ่ง ซึ่งตามมาตรา 33 โจทก์มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของจำนวนเงินดังกล่าวนับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาการจ่ายเงิน คือนับแต่วันที่ 9 มีนาคม 2539 แต่โจทก์ฟ้องดอกเบี้ยส่วนนี้ร้อยละ 13.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้อง จึงพิพากษาให้ได้ไม่เกินคำขอ
จำเลยทั้งสามฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แต่เพียงว่าจำเลยทั้งสามไม่ต้องชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินค่าทดแทนที่ดินนับตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2543 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหลังจากวันที่โจทก์ฟ้องคดีนั้นแล้ว ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังจากวันฟ้องไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา เท่ากับว่าฎีกาของจำเลยทั้งสามเป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.
of 146