คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิวิตเสวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง: สัญญาซื้อขายผูกพันให้รื้อถอนทั้งหมด แม้เวนคืนแค่บางส่วน
จำเลยเป็นเจ้าของที่ดินเนื้อที่ 3 งาน 52 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้าน 2 ชั้น 1 หลัง ที่ดินดังกล่าวถูกเวนคืนเนื้อที่ 102 ตารางวา และสิ่งปลูกสร้าง 1 ใน 3 อยู่ในเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืน จำเลยขอให้โจทก์เวนคืนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือ อ้างว่าใช้การไม่ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 19 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทั้งหลัง โจทก์และจำเลยทำสัญญาซื้อขายและค่าทดแทนทรัพย์สินที่จะต้องเวนคืนฯ โดยจำเลยยอมรับเงินค่าทดแทนที่ดินและค่าทดแทนสำหรับการรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างทั้งหลัง ซึ่งสัญญากำหนดให้จำเลยต้องรื้อถอนและขนย้ายสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ลงนามในสัญญา ต่อมาจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างเฉพาะส่วนที่อยู่ในเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืนแต่หาได้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือไม่ อ้างว่ารัฐไม่มีความจำเป็นต้องใช้สิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือซึ่งอยู่นอกเขตที่ดินที่จะต้องเวนคืน ดังนี้ หากแปลความกฎหมายดังกล่าวตามที่จำเลยอ้าง ย่อมจะไม่เป็นธรรมแก่สังคมและเป็นช่องทางให้เจ้าของที่ดินหลีกเลี่ยงบทบังคับแห่งกฎหมาย ทั้งที่ตนเป็นฝ่ายได้รับประโยชน์จากบทกฎหมายดังกล่าว ซึ่งจะเป็นการแปลความที่ไม่สอดคล้องกับสามัญสำนึกและความเป็นธรรม เมื่อจำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือออกไปตามกำหนด จำเลยจึงเป็นผู้ผิดสัญญาและถือว่าได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างส่วนที่เหลือออกไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969-1972/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อเทศบาลเกี่ยวกับที่ดินริมน้ำที่กลายเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 50 (2), 53 บัญญัติให้เทศบาลมีหน้าที่ต้องจัดให้มีและบำรุงทางบกทางน้ำ อีกทั้งกระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งให้เทศบาลมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินตาม ป.ที่ดิน ที่อยู่ภายในเขตเทศบาล และอธิบดีกรมเจ้าท่าได้มอบหมายอำนาจเจ้าท่าตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 ให้เทศบาลดูแลรักษาแม่น้ำลำคลองในเขตเทศบาล เทศบาลย่อมมีหน้าที่ดูแลรักษาตามกฎหมาย ตามคำสั่ง และตามที่ได้รับมอบหมาย จึงมีอำนาจฟ้องเกี่ยวกับที่ดินนั้นได้ ทั้งการฟ้องคดีก็ไม่จำต้องระบุว่าได้รับมอบอำนาจจากกรมเจ้าท่าอีก
ที่ดินมีโฉนดของ ป. บางส่วนถูกน้ำเซาะพังลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดินส่วนที่หายไปในน้ำแม้จะมิได้ให้เจ้าพนักงานที่ดินแบ่งหักออกจากโฉนดที่ดินตามความเป็นจริง ก็มิได้แสดงว่าที่ดินของ ป. ยังคงมีเนื้อที่อยู่เต็มตามโฉนดที่ดิน แต่คงมีอยู่ตามสภาพที่เหลืออยู่ตามความจริงเท่านั้นเพราะที่ดินบางส่วนพังจนกลายเป็นลำน้ำที่มีการใช้สัญจรไปมาของเรือแพเป็นเวลานานจนกระทั่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปแล้ว โจทก์ทั้งสามซื้อที่ดินตามโฉนดจาก ป. ย่อมไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกน้ำเซาะจนหายไปในแม่น้ำเจ้าพระยาแล้ว แม้ต่อมาแม่น้ำมีสภาพตื้นเขินเนื่องจาก มีการทำเขื่อนภูมิพลกั้นน้ำ ทำให้กระแสน้ำไหลเบาลงจนน้ำในแม่น้ำแห้ง เรือไม่สามารถผ่านไปมาได้ ทั้งมีการดูดทรายอีกด้านหนึ่งของเกาะมาปิดทางน้ำเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึก ที่ดินดังกล่าวก็ยังคงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่ดี การที่โจทก์ทั้งสามถมดินในที่ดินพิพาท จึงเป็นการกระทำละเมิดต่อเทศบาลจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลือกใช้สิทธิเรียกร้องค่าชดเชยตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ฟ้องศาลหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ทางเดียว
ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 123 ถึง 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งระหว่างใช้สิทธิฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือจะยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานก็ได้แต่เพียงทางเดียว จะใช้สิทธิพร้อมกันทั้งสองทางไม่ได้ การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่ายและเงินประกัน ซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ เป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จึงไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด
สำหรับโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 เมื่อปรากฏว่าได้ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงาน โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้โจทก์ดังกล่าวจะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเอง ก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1939-1954/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีแรงงานหลังยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน: การเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งและการมีอำนาจฟ้อง
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 ถึงมาตรา 125 มีลักษณะกำหนดให้ลูกจ้างจะต้องเลือกฟ้องคดีต่อศาลแรงงานหรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแต่เพียงทางเดียว การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าชดเชยสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าจ้างค้างจ่าย และเงินประกันซึ่งเป็นเงินตามสิทธิใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541เป็นกรณีที่เลือกใช้สิทธิดำเนินการต่อจำเลยด้วยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานแล้ว จึงไม่มีสิทธิที่จะนำคดีมาฟ้องศาลแรงงานอีกจนกว่าการดำเนินการของพนักงานตรวจแรงงานจะสิ้นสุด เมื่อระหว่างที่พนักงานตรวจแรงงานพิจารณาคำร้องนั้น โจทก์ที่ 1 ถึง ที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ได้นำมูลกรณีเลิกจ้างอันเดียวกันนี้มายื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแรงงานกลางอีก ศาลแรงงานกลางจึงไม่มีอำนาจพิจารณาคำฟ้องของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 ที่ฟ้องเรียกเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 แต่ไม่ตัดสิทธิที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 และโจทก์ที่ 9 ถึงที่ 14 จะนำคดีมาฟ้องใหม่ภายในกำหนดอายุอายุความ
โจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 ถอนคำร้องที่ยื่นต่อพนักงานตรวจแรงงานก่อนยื่นคำฟ้อง ดังนั้น ในขณะยื่นคำฟ้องจึงไม่มีคำร้องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของพนักงานตรวจแรงงานโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จึงมีอำนาจฟ้อง แม้ว่าโจทก์ที่ 5 ถึงที่ 8 ที่ 15 และที่ 16 จะไม่ระบุในคำขอถอนคำร้องดังกล่าวว่าประสงค์จะดำเนินคดีทางศาลเองก็ไม่ทำให้อำนาจฟ้องเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1793/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดขึ้น ณ ที่ใด แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างถิ่น
แม้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ที่จังหวัดจันทบุรี และได้ทำคำขอ / สัญญาการใช้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูลาร์อันมีลักษณะเป็นคำเสนอต่อตัวแทนของโจทก์ที่จังหวัดจันทบุรี แต่ตัวแทนของโจทก์ส่งคำขอให้โจทก์ตรวจสอบและอนุมัติการทำสัญญากับจำเลยที่ภูมิลำเนาของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตศาลแขวงพระนครเหนือ และโจทก์เป็นผู้เปิดสัญญาณดังกล่าวอันมีลักษณะเป็นคำสนองที่ก่อให้เกิดความผูกพันตามสัญญาระหว่างกัน ทั้งยังเป็นต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง มูลคดีย่อมเกิดขึ้นในศาลแขวงพระนครเหนืออีกศาลหนึ่งโจทก์ชอบที่จะเสนอคำฟ้องต่อศาลแขวงพระนครเหนือได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1747/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ขอให้ไต่สวนคำร้องใหม่ ถือเป็นการขอให้พิจารณาคดีใหม่ ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย จำเลยจึงอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวมีผลเท่ากับให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและพิจารณาคดีใหม่ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งให้รับอุทธรณ์ของจำเลยก็ตาม ก็เป็นการรับอุทธรณ์มาโดยไม่ชอบ
การที่จำเลยฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกอุทธรณ์ของจำเลยนั้น เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 (ก) ท้าย ป.วิ.พ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์เมื่อไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตราซึ่งมีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วัน นับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราที่ประทับข้อความดังกล่าว มิใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบ การที่เจ้าพนักงานศาลไม่แจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบและคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่สั่งต่อมาว่าผู้ร้องทิ้งอุทธรณ์ จึงไม่ใช่การพิจารณาที่ผิดระเบียบ
ผู้ร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้อง แต่คำร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี มิใช่เป็นเรื่องระหว่างศาลกับผู้ร้อง เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องนำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายใน 7 วัน นับแต่วันรับทราบคำสั่ง ผู้ร้องก็ต้องปฏิบัติตาม ซึ่งผู้ร้องอุทธรณ์เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2545 และจะมารับทราบคำสั่งศาลทุก 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่ง จึงถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลชั้นต้นแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2545 ดังนั้นเมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วยมาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1668/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ติดตามคำสั่งศาล & การทิ้งฟ้องอุทธรณ์กรณีกระทบสิทธิคู่ความ
ในอุทธรณ์ของผู้ร้อง เจ้าพนักงานศาลได้ประทับตรามีข้อความว่า ถ้าศาลไม่อาจสั่งในวันนี้ได้ ผู้ยื่นจะมารับทราบคำสั่งศาลภายใน 7 วันนับแต่วันยื่น และทุกๆ 7 วัน หากไม่มาให้ถือว่าทราบคำสั่งแล้ว โดยมีลายมือชื่อทนายผู้ร้องลงชื่อรับทราบ จึงเป็นหน้าที่ของผู้ร้องที่จะต้องมาติดตามดูคำสั่งศาลและมารับทราบคำสั่งศาลเอง หากไม่มาให้ถือว่าผู้ร้องทราบคำสั่งศาลแล้วตามตราประทับข้อความดังกล่าวหาใช่เป็นหน้าที่ของเจ้าพนักงานศาลที่จะต้องแจ้งคำสั่งศาลให้ผู้ร้องทราบแต่อย่างใดไม่
แม้ผู้ร้องจะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องขอแสดงอำนาจพิเศษของผู้ร้องโดยยกคำร้องของผู้ร้องก็ตาม แต่คำร้องของผู้ร้องดังกล่าวที่ยื่นเข้ามากระทบถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดี หาใช่เป็นเรื่องระหว่างผู้ร้องกับศาลเท่านั้นไม่ เมื่อผู้ร้องไม่นำส่งสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด จึงเป็นการทิ้งฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบด้วย มาตรา 246

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเปลี่ยนจากไม่มีข้อพิพาทเป็นมีข้อพิพาทเมื่อมีคำคัดค้าน ทำให้ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีราคาทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4)
การที่ศาลแขวงสุพรรณบุรีไม่รับโอนคดีและส่งสำนวนคืนศาลจังหวัดสุพรรณบุรีจึงเป็นเรื่องที่ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับคดีของผู้ร้องไว้พิจารณา แม้อุทธรณ์ของผู้ร้องจะมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนมาจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาต้องวินิจฉัยว่าระหว่างศาลจังหวัดสุพรรณบุรีกับศาลแขวงสุพรรณบุรี ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีนี้ต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คดีนี้ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1665/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีครอบครองปรปักษ์ราคาทรัพย์สินไม่เกิน 2 แสน ศาลชั้นต้นชอบที่จะโอนคดีให้ศาลแขวงพิจารณา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีขอให้มีคำสั่งว่าที่ดินเนื้อที่เฉพาะส่วนประมาณ 4 ไร่ เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยการครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องขอ ในวันนัดพร้อมคู่ความแถลงร่วมกันว่าที่ดินพิพาทมีราคาไม่เกิน 200,000 บาท ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง จึงให้โอนคดีไปพิจารณาที่ศาลแขวงสุพรรณบุรี แต่ศาลแขวงสุพรรณบุรีเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวงจึงไม่รับโอนคดีและคืนสำนวนไปยังศาลจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีมีคำสั่งนัดพร้อมและแจ้งวันนัดให้คู่ความทราบ กรณีเป็นเรื่องศาลจังหวัดสุพรรณบุรีและศาลแขวงสุพรรณบุรีต่างไม่รับพิจารณาคดีของผู้ร้อง แม้เนื้อหาอุทธรณ์ของผู้ร้องจะเป็นทำนองโต้แย้งคำสั่งของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่ไม่ยอมรับโอนคดี แต่เมื่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีรับสำนวนคืนจากศาลแขวงสุพรรณบุรีแล้ว ทั้งคดีมีปัญหาวินิจฉัยว่าระหว่างศาลดังกล่าว ศาลใดจะต้องพิจารณาคดีต่อไป ผู้ร้องชอบที่จะอุทธรณ์คดีนี้โดยยื่นที่ศาลจังสุพรรณบุรีได้
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิ์อันเป็นการยื่นคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (2) ต่อศาลจังหวัดสุพรรณบุรีอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทตามมาตรา 188 (1) แต่เมื่อผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านเข้ามา คดีจึงเปลี่ยนเป็นคดีมีข้อพิพาทโดยมีทุนทรัพย์สินที่พิพาทไม่เกิน 200,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจของศาลแขวงสุพรรณบุรีที่จะพิจารณาพิพากษาตาม พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 17 ประกอบมาตรา 25 (4) ศาลจังหวัดสุพรรณบุรีชอบที่จะโอนคดีไปให้ศาลแขวงสุพรรณบุรีพิจารณาต่อไปได้
of 146