คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิวิตเสวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 538/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. กรณีถูกถอนสถานภาพผู้สำเร็จการศึกษาและกระทบคุณสมบัติ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 ที่กำหนดให้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งต้องส่งสำเนาคำร้องและแจ้งกำหนดวันเวลานัดและศาลที่จะยื่นคำร้องให้ผู้สมัครทราบก่อนวันนัดยื่นคำร้องไม่น้อยกว่า 3 วัน เป็นกรณีที่ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดหรือศาลแพ่งก่อนวันเลือกตั้งมากกว่า 10 วันทำการ แต่คดีนี้ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งยื่นคำร้องก่อนวันเลือกตั้งไม่มากกว่า 10 วันทำการ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2541 มาตรา 34/1 กำหนดว่า ก่อนการเลือกตั้ง ถ้าผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งเห็นว่าผู้สมัครขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาเพื่อพิจารณาวินิจฉัยให้เพิกถอนการสมัครรับเลือกตั้งของผู้นั้นได้ ประกอบด้วยข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณาและวินิจฉัยสิทธิรับสมัครรับเลือกตั้ง คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2547 ข้อ 14 วรรคสุดท้าย กำหนดให้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาโดยตรง ผู้ร้องจึงสามารถยื่นคำร้องได้ตามกฎหมายและกรณีไม่อยู่ภายใต้บังคับของข้อ 14 วรรคหนึ่งและวรรคสอง การยื่นคำร้องของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ผู้คัดค้านสมัครรับเลือกตั้งโดยอาศัยคุณสมบัติของผู้สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คือ ได้รับปริญญารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง ดังนั้น เมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีของผู้คัดค้านถูกถอน และปริญญาบัตรเลขที่ 6/2543 ที่ออกให้แก่ผู้คัดค้านได้ถูกยกเลิกตามประกาศมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแล้ว การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและยกเลิกปริญญาบัตรดังกล่าวย่อมมีผลตราบเท่าที่ยังไม่มีการเพิกถอน หรือสิ้นผลลงโดยเรื่องเวลาหรือโดยเหตุอื่นตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 42 วรรคสอง เมื่อไม่ปรากฏว่าการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจหรือมิชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชยังไม่ดำเนินการอย่างใดอันอาจมีผลให้การถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรได้ถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลง การเพิกถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและการยกเลิกปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจึงยังมีผลอยู่ ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แม้มหาวิทยาลัยรามคำแหงมิได้ดำเนินการถอนสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) และปริญญาบัตรก็ตาม แต่การรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาในหลักสูตรดังกล่าวเป็นการรับโดยอาศัยวุฒิการศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในเมื่อสถานภาพการเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาบัตรรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) ดังกล่าว ถูกถอนโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งมีผลให้ผู้คัดค้านไม่มีสถานะเป็นผู้จบปริญญาตรีแล้ว มหาวิทยาลัยรามคำแหงย่อมไม่อาจรับผู้คัดค้านเข้าศึกษาหลักสูตรปริญญาโทได้ การเป็นผู้สำเร็จการศึกษาและปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของผู้คัดค้านจึงตกไปในตัว ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหง อีกเช่นกัน ที่ผู้ร้องเห็นว่า ผู้คัดค้านไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 107 (3) ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน และความสมบูรณ์ของคำฟ้องอาญาที่อ้างถึงคำสั่งทางปกครอง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลย เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 196 ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความต้องโต้แย้งคำสั่งไว้ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นได้โดยไม่ต้องโต้แย้งคำสั่งนั้น
โจทก์บรรยายฟ้องว่า นายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีเพื่อมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ และผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้มีคำส่งระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเพื่อรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด โดยโจทก์ได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งดังกล่าวของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้เท้าความอ้างเหตุว่า มีการดำเนินการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดมลภาวะและความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชนและประเทศชาติโดยรวม ในตอนท้ายคำสั่งมีข้อความว่า จึงมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยเด็ดขาด จากคำสั่งดังกล่าวมีความหมายอยู่ในตัวว่าให้ระงับการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ แม้ตอนท้ายของคำสั่งจะมิได้ระบุคำว่าระบบความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำเอาไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาดังกล่าวจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้องและเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น ที่โจทก์บรรยายฟ้องต่อมาว่า จำเลยเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ 9 บ่อ แต่ละบ่อมีเนื้อที่ประมาณ 4 ไร่ ในเขตหมู่ที่ 1 ตำบลหนองน้ำใหญ่ อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อันเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาย่อมมีความหมายว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำซึ่งเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นเอง คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้วหาเคลือบคลุมไม่
คำสั่งของนายกรัฐมนตรี และคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาที่แนบท้ายฟ้อง เป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร หาใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องครบถ้วน การอ้างอิงคำสั่งนายกฯ/ผู้ว่าฯ เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนบท้ายฟ้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร ถือเป็นข้อเท็จจริงประกอบให้ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตามมาตรา 158 (6) ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้เท้าความอ้างเหตุถึงการมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่โดยเด็ดขาด แม้ตอนท้ายของคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจะมิได้ระบุคำว่าความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้อง และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 531/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อมูลผู้ค้าไม่เพียงพอ: ศาลไม่อาจลดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ มาตรา 100/2 แม้จำเลยให้ข้อมูล
แม้ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ให้การในชั้นสอบสวนว่า จำเลยที่ 1 ซื้อเมทแอมเฟตามีนของกลางมาจากนาย ก. ในราคาถุงละ 8,500 บาท แล้วนำมาแบ่งจำหน่าย และจำเลยที่ 1 ได้บอกตำหนิรูปพรรณของนาย ก. แก่พนักงานสอบสวนด้วยก็ตาม แต่ไม่ปรากฏว่านาย ก. ที่จำเลยที่ 1 อ้างมีตัวตนจริงหรือไม่ และได้มีการขยายผลจับกุมนาย ก. ได้หรือไม่อย่างไร จึงรับฟังไม่ได้ว่าการให้การดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลที่สำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อเจ้าพนักงานตำรวจหรือพนักงานสอบสวน ย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 น้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 469/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับจากสัญญาประนีประนอมยอมความ: ดอกเบี้ยคิดได้เฉพาะเมื่อผิดนัด
ข้อตกลงกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่จำเลยทำไว้แก่โจทก์ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญายินยอมให้โจทก์ดำเนินคดีเรียกเงินที่ค้างชำระตามสัญญาประนีประนอมยอมความได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวก่อน และจำเลยยินยอมให้คิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี จากต้นเงินสุทธิค้างชำระนับแต่ผิดนัดไปจนกว่าจะชำระเสร็จสิ้น ข้อตกลงเช่นว่านี้ แสดงว่าถ้าจำเลยไม่ผิดนัดโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยดังกล่าวจากจำเลยดอกเบี้ยที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเสียหายจาการไม่ชำระหนี้ที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดและการรับผิดชอบหนี้ของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีคำสั่งให้เลิกจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ ป.พ.พ. มาตรา 1249 ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชีส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้นก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่าง ๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดาหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวน ตามมาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 365-388/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดไม่ทำให้หนี้ระงับ หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดยังคงต้องรับผิดชอบหนี้ของห้าง
แม้ศาลจะมีคำสั่งให้เลิกห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 แต่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1249 ก็ให้พึงถือว่าจำเลยที่ 1 ยังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี ส่วนการตั้งบุคคลอื่นเป็นผู้ชำระบัญชีนั้น ก็มีผลเพียงให้ผู้นั้นเป็นผู้มีอำนาจในการกระทำการต่างๆ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1259 และจำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการไม่มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เท่านั้น จำเลยที่ 2 ยังคงเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งต้องรับผิดในบรรดหนี้ของจำเลยที่ 1 ไม่จำกัดจำนวนตามมาตรา 1077 (2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: รายได้ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ พ.ศ. 2496 แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคม ตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าว ก่อนวันพระราชกฤษฎีกานี้บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว และตามมาตรา 9 บัญญัติว่า "ให้กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร" ซึ่งเป็นที่เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคม แต่ตามมาตรา 11 ก็กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้วรายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใด จึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 กรณีเช่นนี้ ศาลแรงงานย่อมออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 292-339/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีกับองค์การของรัฐ: ทรัพย์สินที่ได้จากการดำเนินงานยังไม่เป็นของแผ่นดิน
จำเลยที่ 1 เป็นองค์การของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.ฎ.จัดตั้งองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ฯ แม้ตามมาตรา 8 จะกำหนดให้กระทรวงคมนาคมโอนกิจการ สิทธิ หน้าที่ ทรัพย์สิน สินทรัพย์ และหนี้สิน ซึ่งเกิดจากการดำเนินกิจการขององค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ซึ่งสังกัดอยู่ในกระทรวงคมนาคมตลอดจนพนักงานขององค์การดังกล่าวก่อนวันใช้ พ.ร.ฎ. บังคับให้แก่จำเลยที่ 1 และตามมาตรา 9 กำหนดทุนของ ร.ส.พ. เป็นจำนวนเงินห้าสิบล้านบาท โดยรัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิมสิบล้านบาท และจ่ายเพิ่มเติมเป็นคราว ๆ ตามจำนวนที่รัฐบาลเห็นสมควร ซึ่งเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 มีทุนห้าสิบล้านบาทโดยทุนทั้งหมดรัฐบาลเป็นผู้จ่ายให้ และทรัพย์สินของจำเลยที่ 1 บางส่วนได้รับโอนจากกระทรวงคมนาคมก็ตาม แต่ตามมาตรา 11 กำหนดให้รายได้ที่จำเลยที่ 1 ได้รับจากการดำเนินกิจการให้ตกเป็นของจำเลยที่ 1 เพื่อสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ส่วนตามมาตรา 12 กำหนดให้เมื่อหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้แล้ว รายได้ของจำเลยที่ 1 เหลือเท่าใดจึงให้นำส่งเป็นรายได้ของรัฐ แสดงให้เห็นว่ารายได้ของจำเลยที่ 1 ก่อนหักค่าใช้จ่ายยังไม่เป็นของแผ่นดินอันจะยึดไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1307 ศาลแรงงานกลางออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดอายัดทรัพย์จำเลยที่ 1 ในส่วนดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากไม่แจ้งเหตุไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามประกาศกกต.เฉพาะเขต
พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 21 และ 22 กำหนดให้ผู้ที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งและผู้ที่ไม่ใช้สิทธิเลือกตั้งแจ้งเหตุที่ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งไว้ประจำเขตเลือกตั้ง ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดอุดรธานีประกาศให้ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านเฉพาะในเขตเทศบาลนครอุดรธานีแจ้งเหตุต่อบุคคลรับแจ้งเหตุลำดับที่ 55 ถึง 61 ณ สถานที่รับแจ้งเหตุ สำนักทะเบียนท้องถิ่น เทศบาลนครอุดรธานี การที่ผู้ร้องซึ่งมีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานีได้มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปแจ้งเหตุต่อ ล. บุคคลผู้รับแจ้งเหตุลำดับที่ 4 ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอเมืองอุดรธานี ซึ่งมีหน้าที่รับแจ้งเหตุเฉพาะนอกเขตเทศบาลนครอุดรธานี แต่ไม่มีหน้าที่รับแจ้งเหตุของผู้มีภูมิลำเนาในเขตเทศบาลนครอุดรธานี จึงถือไม่ได้ว่าการแจ้งเหตุของผู้ร้องดังกล่าวเป็นการแจ้งเหตุตามมาตรา 21 และมาตรา 22 การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้ง แต่ไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหลังสุดและไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปใช้สิทธิเลือกตั้งต่อบุคคลผู้มีอำนาจและหน้าที่รับแจ้งเหตุในเขตเทศบาลนครอุดรธานีตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่งตั้งประจำจังหวัดอุดรธานี ผู้ร้องย่อมเสียสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 68 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 23
(คำสั่งศาลฎีกา)
of 146