พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7238/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืน กระทำชำเรา และพรากผู้เยาว์ พร้อมประเด็นอายุความสามารถของโจทก์ร่วม
ความผิดฐานพรากผู้เยาว์โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วยเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 318 วรรคสาม ตามฟ้องก็ดี ความผิดฐานพรากผู้เยาว์ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เยาว์เต็มใจไปด้วยตามมาตรา 319 วรรคแรก ที่พิจารณาได้ความก็ดีมีองค์ประกอบความผิดร่วมกันประการหนึ่งว่า "ผู้ใดพรากผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล..." ซึ่งจะเห็นได้ว่าวัตถุแห่งการกระทำความผิดกฎหมายทั้งสองมาตรานี้ที่กฎหมายมุ่งคุ้มครองคืออำนาจปกครองของบิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลนั่นเอง มิใช่ตัวผู้เยาว์ผู้ถูกพราก ดังนั้น ผู้เสียหายคือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำความผิดทั้งสองมาตรานี้ตามมาตรา 2 (4) แห่ง ป.วิ.อ. จึงได้แก่บิดามารดา ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลผู้เยาว์ทั้งสองในขณะที่จำเลยทั้งสามกับพวกร่วมกันกระทำความผิด หาใช่ตัวผู้เยาว์คือโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
ขณะที่โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตนั้น โจทก์ร่วมทั้งสองยังมีอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือบรรลุนิติภาวะโดยการสมรสตาม ป.พ.พ. มาตรา 19 และมาตรา 20 และผู้เสียหายในคดีอาญาซึ่งยังเป็นผู้เยาว์จะขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการต้องกระทำโดยผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) การที่โจทก์ร่วมทั้งสองซึ่งยังเป็นผู้เยาว์ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วยตนเอง จึงมิได้เป็นไปตามบทบังคับว่าด้วยความสามารถของบุคคลตามกฎหมาย แต่ศาลฎีกาจะยกคำร้องหรือไม่รับพิจารณาเสียทีเดียวยังไม่ได้ ชอบที่ศาลฎีกาจะสั่งแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนตามนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 56 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แต่เมื่อนับอายุของโจทก์ร่วมทั้งสองในขณะที่คดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์ร่วมทั้งสองมีอายุเกิน 20 ปี พ้นจากภาวะผู้เยาว์และบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นและไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะต้องมีคำสั่งให้แก้ไขข้อบกพร่องในเรื่องความสามารถของโจทก์ร่วมทั้งสองอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7180/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครองที่ยังไม่เคยฟ้องศาลปกครอง ถือไม่ชอบ
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่า คำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับคำฟ้องดังกล่าวด้วยว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานข่มขืนและฆ่าเพื่อปกปิดความผิด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานความผิดต่างกรรม
การกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทลงโทษในความผิดอาญา, การลดโทษจำเลย, และอำนาจแก้ไขของศาลฎีกาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง, 72 ทวิ วรรคสอง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ตามข้อเท็จจริงจึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน อันเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ แต่โจทก์มิได้ฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลยกคำคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลถือเป็นที่สุด ไม่อุทธรณ์ได้
คำร้องของผู้ร้องเป็นคำร้องคัดค้านว่าการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลเขาทรายเป็นไปโดยมิชอบอันเป็นการยื่นคำร้องคัดค้านตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 มาตรา 57 ซึ่งมาตรา 58 บัญญัติว่า เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้าน ให้ดำเนินการพิจารณาตามประมวลวิธีพิจารณาความแพ่งโดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งหรือผู้ได้รับเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด และผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไป ตามบทบัญญัติ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดินและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท ส. ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดสรรที่ดินชื่อโครงการไดร์อิน ต่อมาปี 2528 บริษัท ส. ปิดโครงการดังกล่าวโดยที่ยังขายที่ดินไม่หมด ผู้ถือหุ้นในบริษัท ฯ จึงตกลงแบ่งปันทรัพย์สินของบริษัท ส. ในส่วนที่เหลืออยู่ โจทก์ได้รับแบ่งปันที่ดินประมาณ 20 แปลง แต่เนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัท ส. จะใส่ชื่อโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไม่ได้ เพราะเป็นปรปักษ์แก่กันตามหนังสือของกรมที่ดิน และเวลาขายต่อจะต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดินอีกครั้งหนึ่ง โจทก์จึงจะได้กระจายใส่ชื่อบุคคล ซึ่งโจทก์ไว้วางใจให้ถือแทนหลายราย ข. เป็นลูกจ้างโจทก์คนหนึ่ง ซึ่งโจทก์ให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินแปดแปลงแทนโจทก์ และโจทก์ได้จำนองที่ดินดังกล่าวค้ำประกันหนี้ของโจทก์ที่ธนาคาร และโจทก์นำสืบว่านอกจากที่ดินทั้งแปดแปลงแล้ว โจทก์ยังดำเนินการให้ผู้อื่นถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนอีกหลายแปลง การกระทำของโจทก์เป็นกรณีที่โจทก์สมคบกับ ข. และผู้อื่นกระทำการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดิน และหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 80 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน การที่โจทก์ฟ้องเพื่อขอคืนที่ดินทั้งแปดแปลงจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งยึดทรัพย์ที่ดินทั้งแปดแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6924/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลีกเลี่ยงกฎหมายจัดสรรที่ดินและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
โจทก์ได้รับที่ดินมาจากการแบ่งปันทรัพย์ของบริษัทฯ ซึ่งดำเนินธุรกิจจัดสรรที่ดิน แต่เนื่องจากโจทก์เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทฯ โจทก์จึงให้นาย ข. ลูกจ้างโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน และโจทก์ให้นาย ข. จดทะเบียนจำนองที่ดินเพื่อเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่ธนาคาร การกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นกรณีที่โจทก์สมคบกับนาย ข. และผู้อื่นกระทำการหลีกเลี่ยงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและหลีกเลี่ยงเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 80 ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้น (ปัจจุบันคือ มาตรา 74) เพื่อให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เมื่อต่อมาจำเลยที่ 2 ยึดที่ดินดังกล่าวเพื่อชำระค่าภาษีอากรค้างของนาย ข. การที่โจทก์ฟ้องเพื่อขอคืนที่ดินทั้งแปดแปลง จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองเพิกถอนคำสั่งตามคำขอท้ายฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6866/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการใช้ที่ดิน: การพิจารณาประเภทที่ดิน (นา/บ้าน) และอัตราค่าทดแทนตามประกาศ
พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 มีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง กล่าวคือ ต่างมุ่งประสงค์ให้การกำหนดและจ่ายเงินทดแทนอย่างเป็นธรรมแก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สินหรือผู้ทรงสิทธิอื่น แต่มาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มิได้บัญญัติถึงรายละเอียดของหลักเกณฑ์ที่จะนำมาใช้คำนึงในการกำหนดและจ่ายเงินค่าทดแทนอย่างเป็นธรรมไว้ดังเช่น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนการใช้ที่ดินตาม พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ มาตรา 30 อย่างเป็นธรรม จึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์เช่นเดียวกันกับที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) กรณีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ วันอันเป็นฐานที่ตั้งในการพิจารณาราคาของอสังหาริมทรัพย์และสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ มาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (4) คือ วันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน อันเป็นวันเริ่มต้นของการกำหนดแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนมีผลใช้บังคับ ซึ่งคือวันที่ประกาศกำหนดเขตสำรวจทั่วไปเพื่อเลือกแนวหรือที่ตั้งระบบไฟฟ้าในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา 28 (2) (ข) แห่ง พ.ร.บ.การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6805/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเพื่อห้ามจดทะเบียนที่ดิน: เหตุผลไม่เพียงพอเมื่อเจ้าพนักงานที่ดินระงับการดำเนินการแล้ว
คดีก่อนโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ขอให้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง น. เป็นคดีอุทลุม ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง น. กับ ธ. โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนศาลฎีกาพิพากษาให้ระงับการจดทะเบียน การแก้ไขเปลี่ยนแปลงทางทะเบียนที่ดินพิพาท คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา คดีนี้ โจทก์ทั้งสามฟ้อง กรมที่ดินจำเลยที่ 1 อธิบดีกรมที่ดินจำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานที่ดินจำเลยที่ 3 ขอให้จดทะเบียนที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของโจทก์ทั้งสาม โดย ธ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วม คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น โจทก์ทั้งสามยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไว้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 254 (3) กรณียังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวมาใช้ในคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5818/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลจำกัดในการพิจารณาคดีหลังการกระทำเสร็จสิ้น การฟ้องขอปรับปรุงสิ่งแวดล้อมหลังถ่ายทำภาพยนตร์เสร็จแล้วจึงไม่มีประโยชน์
บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 290 และ พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 มาตรา 23 แสดงให้เห็นว่า ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลโจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่ในการคุ้มครองดูแลและบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 และที่ 2 อ้างว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 พยายามทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายในเขตหาดมาหยาที่โจทก์ที่ 1 และที่ 2 มีหน้าที่รับผิดชอบ โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งห้ามมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 กระทำหรือขอให้บังคับจำเลยที่ 4 ที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติได้ ซึ่งรวมทั้งฟ้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ได้ด้วย
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป
คำว่า "ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม" ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 46 ยังไม่มีคำนิยามความหมายหรือขอบเขตที่แน่นอน ทั้งบทบัญญัติมาตรานี้มีเงื่อนไขที่ต้องมีกฎหมายบัญญัติออกมาตามมาตรานี้ เมื่อในขณะที่โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 ซึ่งเป็นบุคคลในชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมของจังหวัดกระบี่และอาศัยอยู่บริเวณรอบอ่าวมาหยายื่นฟ้องยังไม่มีกฎหมายบัญญัติออกมาใช้บังคับ จึงไม่อาจถือได้ว่ามีการโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 แล้ว โจทก์ที่ 3 ถึงที่ 19 จึงยังไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฟ้องของโจทก์ทั้งสิบเก้าได้บรรยายถึงสภาพแห่งข้อหา คือจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ได้อนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องเดอะบีชในอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ทำให้เปลี่ยนแปลงสภาพของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกระทบต่อสิทธิประโยชน์และคุณภาพชีวิตของโจทก์ทั้งสิบเก้า คำขอบังคับให้จำเลยทั้งห้าปรับปรุงแก้ไขหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมตามธรรมชาติ โดยค่าใช้จ่ายของจำเลยที่ 4 และที่ 5 และให้เพิกถอนใบอนุญาตให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าถ่ายทำภาพยนตร์ดังกล่าว และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายถึงการทำละเมิด ค่าเสียหายหรือความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมเป็นมูลค่าเท่าใดก็มิใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้ามิได้ฟ้องว่าจำเลยทั้งห้าทำละเมิดทำให้โจทก์ทั้งสิบเก้าเสียหายโดยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน แต่โจทก์ทั้งสิบเก้าฟ้องขอให้ปรับปรุงหาดมาหยาให้กลับคืนสภาพเดิมแม้โจทก์ทั้งสิบเก้าจะมิได้บรรยายว่าสภาพเดิมตามธรรมชาติของหาดมาหยาเป็นอย่างไร ถูกปรับเปลี่ยนอย่างไร อันเป็นเหตุให้น้ำ อาหาร อากาศ ชายหาด ต้นไม้ ภูเขา ระบบนิเวศน์ หรือสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงเสียหาย หรือเกิดมลพิษอย่างไรก็ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะโจทก์ทั้งสิบเก้าอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ทั้งสิบเก้าชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 ที่ห้ามมิให้ฝ่ายจำเลยกระทำการใดเพื่อกระทำการปรับปรุง ตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยา หากไม่วางเงินประกันความเสียหายไม่น้อยกว่า 100,000,000 บาท นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยที่ 5 ได้กระทำการปรับปรุงตกแต่งบริเวณอ่าวมาหยาไปแล้ว และได้ถ่ายภาพยนตร์เสร็จเรียบร้อยทั้งได้ออกไปจากบริเวณอ่าวมาหยาแล้วตั้งแต่ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นพิพากษาจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์จะสั่งให้จำเลยทั้งห้าปฏิบัติตามคำขอข้อนี้
โจทก์ที่ 1 และที่ 2 ฟ้องคดีอ้างว่าคำสั่งทางปกครองของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่อนุญาตให้จำเลยที่ 4 เข้าไปถ่ายภาพยนตร์บริเวณอ่าวมาหยาไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นโมฆะ ขอให้เพิกถอน มีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้จำเลยที่ 4 และที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในบริเวณหาดมาหยา แต่เมื่อจำเลยที่ 5 เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ตามใบอนุญาตเสร็จเรียบร้อยจนนำออกฉายทั่วโลกแล้ว การเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จึงไม่บังเกิดผลในทางปฏิบัติจึงไม่มีประโยชน์ที่จะพิจารณาคำขอดังกล่าวต่อไป