พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4999/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-ค่าเสื่อมราคา-ดอกเบี้ย-ความรับผิดร่วมของผู้แทน
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 บัญญัติไว้อย่างกว้างมุ่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจ่ายเงินค่าทดแทนตามความเป็นธรรมมีเจตนารมณ์เช่นเดียวกับ พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 จึงต้องนำวิธีการกำหนดเงินค่าทดแทนความเสียหายตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 มาใช้บังคับโดยอนุโลม โจทก์จึงมีสิทธิเรียกเงินค่าทดแทนสำหรับอสังหาริมทรัพย์ส่วนที่เหลือจากถูกแนวเขตสายส่งไฟฟ้าอันมีราคาลดลงได้
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม กำหนดให้คิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้มารับเงินในวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 เวลา 10 นาฬิกา แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโดยพลันในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2538 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2538
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 และการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบไฟฟ้าสายส่งของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่
พ.ร.บ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2511 มาตรา 30 ทวิ วรรคสาม กำหนดให้คิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้น นับแต่วันที่ต้องมีการจ่าย วางหรือฝากเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งโจทก์ให้มารับเงินในวันที่ 2 พฤษภาคม 2538 เวลา 10 นาฬิกา แต่โจทก์ไม่ไปรับเงินค่าทดแทนภายในกำหนดเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องวางหรือฝากเงินค่าทดแทนโดยพลันในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 3 พฤษภาคม 2538 โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 3 พฤษภาคม 2538
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าการของจำเลยที่ 1 เป็นผู้กระทำการแทนจำเลยที่ 1 และการจ่ายเงินค่าทดแทนเป็นกิจการของจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 มีหน้าที่จ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบไฟฟ้าสายส่งของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย แต่หาต้องรับผิดเป็นการส่วนตัวไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นพบของกลางที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 ทำให้พยานหลักฐานไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
การค้นพบธนบัตรของกลางในข้องปลาที่แขวนอยู่ข้างบ้านทิศตะวันออก นอกจากมิได้กระทำต่อหน้าจำเลยหรือสามีจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยก็ถูกจับและควบคุมตัวอยู่ที่หน้าบ้านนั้นเองแล้ว ยังได้ความว่าการพบธนบัตรในข้องปลาก็เป็นเรื่องที่ในชั้นแรกสิบตำรวจตรี พ. ค้นพบเพียงคนเดียวก่อน แล้วจึงเรียกกำนันที่เชิญมาเป็นพยานในการค้นมาดู หาใช่ว่าเป็นการค้นพบธนบัตรของกลางที่พบต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยานดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 102 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ไม่ พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการค้นพบธนบัตรของกลางซึ่งเจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่ศาลจะรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4540/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณอัตราเงินสมทบเงินทดแทน ต้องใช้เฉพาะเงินทดแทนที่จ่ายจริงในปีนั้น ไม่รวมค่าทดแทนในอนาคต
ตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสามนั้น เป็นการเพิ่มหรือลดอัตราเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายเป็นการเพิ่มหรือลดตามสัดส่วนการสูญเสียของนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินทดแทนโดยใช้จำนวนเงินทดแทนที่ต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่ละคนแต่ละปี สำหรับเงินทดแทนส่วนที่เป็นค่าทดแทนรายเดือนที่กำหนดจ่ายเกินกว่า 1 ปี ค่าทดแทนดังกล่าวหมายเฉพาะค่าทดแทนที่ต้องจ่ายจริงในปีนั้น ๆ เท่านั้น หาได้หมายความรวมถึงค่าทดแทนส่วนที่ยังไม่ถึงเวลาที่ลูกจ้างจะได้รับในปีนั้นด้วยไม่ คำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนที่ 167/2545 ของจำเลยที่ถือเอาเงินทดแทนที่ต้องจ่ายทั้งสิ้นจำนวน 484,368 บาท เป็นฐานในการคำนวณอัตราส่วนการสูญเสียจึงไม่ชอบ ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาเพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าว และกำหนดอัตราเงินสมทบใหม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัครรับเลือกตั้งท้องถิ่น: ต้องยื่นต่อ กกต. เท่านั้น
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 และ พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้การจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นอยู่ในอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง อันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้ให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมกับการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: คำร้องคัดค้านคุณสมบัติผู้สมัคร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องเนื่องจากเห็นว่าคดีมิได้อยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลยุติธรรม กรณีจึงไม่จำเป็นต้องส่งสำเนาอุทธรณ์ให้แก่จำเลยอุทธรณ์ เพราะเป็นเรื่องระหว่างศาลและผู้ร้องเท่านั้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้องและสั่งในคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาว่า อนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา ให้รวบรวมถ้อยสำนวนส่งศาลฎีกา กรณีถือได้ว่าศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้โดยชอบ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 ประกอบพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตามพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นคำร้องขอที่ไม่ชอบ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 144 ประกอบพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้งตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรมมีคำสั่งว่า ย. เสียสิทธิในการสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลเนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตามพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรม จึงเป็นคำร้องขอที่ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4528/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการเลือกตั้งท้องถิ่น: การยื่นคำร้องต่อศาลยุติธรรมหรือไม่ชอบตามกฎหมาย
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นฯ มีเจตนารมณ์ที่ให้อำนาจการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่นให้แก่คณะกรรมการการเลือกตั้ง ตั้งแต่เริ่มจัดการการเลือกตั้งจนถึงการประกาศผลการเลือกตั้ง ผู้ที่ร้องในคดีนี้ยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่านาย ย. เสียสิทธิในการรับสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองควาย เนื่องจากขาดคุณสมบัติไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งอันเป็นการยื่นคำร้องตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นฯ มาตรา 50 ประกอบมาตรา 49 ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวบัญญัติให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง มิได้บัญญัติให้ยื่นต่อศาลยุติธรรมการที่ผู้ร้องยื่นต่อศาลยุติธรรมจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีชำระหนี้: การรู้ถึงการตายของลูกหนี้เป็นจุดเริ่มต้นนับอายุความ และผลกระทบต่อทายาทผู้รับผิดชอบ
โจทก์ได้รู้ถึงการตายของ จ. เจ้ามรดก ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2540 โจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2541 ล่วงพ้นกำหนด 1 ปีแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ จำเลยที่ 1 ทายาทของ จ. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 แม้จะไม่ได้ให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ แต่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ย่อมได้รับประโยชน์จากข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 59 (1) จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยมิชอบ ก่อความเสียหายแก่ผู้เสียหาย มีความผิดตาม ม.157, 200
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีโดยมิชอบ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาและสร้างความเสียหายแก่ผู้เสียหาย ถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 157 และ 200
การวินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการมิใช่เป็นการวินิจฉัยว่าจำเลยมีความผิดหรือเป็นผู้บริสุทธิ์ดังเช่นกระบวนการพิจารณาพิพากษาคดีของศาล แต่เป็นเพียงการวินิจฉัยมูลความผิดตามที่กล่าวหาเท่านั้น ซึ่งเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการที่วินิจฉัยสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องผู้ต้องหาคือมีเหตุผลอันสมควรเพียงพอหรือไม่ที่จะนำผู้ต้องหาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาเพื่อให้ศาลวินิจฉัยชั้นสุดท้ายว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหาหรือไม่ ดังนั้น การใช้ดุลพินิจวินิจฉัยสั่งคดีของจำเลยทีมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการลงข้อความเป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ในกรณีนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกขอบเขตของความชอบด้วยกฎหมาย และในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลยพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและยังเห็นได้อีกว่าจำเลยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การที่จำเลยใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไมฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์โดยมิชอบ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่นๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451-3452/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงสภาพจ้างที่ทำหลังการหยุดงาน แม้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย แต่มีผลผูกพัน และนายจ้างไม่ติดใจเอาโทษ
เมื่อบรรดาลูกจ้างของโจทก์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง แล้วบรรดาลูกจ้างดังกล่าวกับโจทก์ได้เจรจากันจนสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพจ้างกันโดยไม่มีข้อตกลงใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้วข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้หาตกเป็นโมฆะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่อย่างใดไม่ การที่ลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงานเมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องก็ดี จำนวนผู้แทนของลูกจ้างผู้เข้าร่วมในการเจรจากันมีจำนวนเกินกว่าเจ็ดคนก็ดี พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันเดียวกับที่บรรดาลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องก็ดีนั้น แม้จะเป็นการผิดแผกแตกต่างจากขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ก็หามีผลเป็นเหตุให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังที่ได้วินิจฉัยแล้วต้องตกเป็นโมฆะ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานคดีนี้ได้
เมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ โดยโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างสำหรับการเข้าทำงานสายแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นอีก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใด ที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปมาลงโทษทางวินิจฉัยด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และคำสั่งของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9
เมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ โดยโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างสำหรับการเข้าทำงานสายแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นอีก จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใด ที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปมาลงโทษทางวินิจฉัยด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก กรณีไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 1 และคำสั่งของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 9