พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3451-3452/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแก้ไขข้อพิพาทแรงงาน: การหยุดงาน การเจรจา และผลผูกพันทางกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางรับฟังข้อเท็จจริงในปัญหาข้อนี้ว่า เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 ลูกจ้างโจทก์ 250 คน ถึง 300 คน รวมทั้งจำเลยร่วมทั้งหมดได้ชุมนุมกันหน้าบริษัทโจทก์โดยไม่เข้าทำงานเพราะไม่พอใจที่โจทก์จะงดจ่ายเงินโบนัสในปี 2543 ลูกจ้างโจทก์ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์โดยมีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้อง 200 คนเศษ รวมทั้งจำเลยร่วมทั้งหมด มีการแต่งตั้งผู้แทนลูกจ้างเข้าร่วมในการเจรจา 8 คนในวันเดียวกันได้มีการเจรจาระหว่างผู้แทนโจทก์กับผู้แทนลูกจ้าง โดยมีพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าร่วมในการเจรจาและลงชื่อด้วย การเจรจาสามารถตกลงกันได้โดยโจทก์ตกลงจะจ่ายเงินโบนัสให้ในวันที่ 10 เมษายน 2544 และวันที่ 25 ธันวาคม 2544 โจทก์จะไม่เอาความผิดแก่ลูกจ้างทุกคนที่ไม่เข้าทำงานในวันที่ 6 ธันวาคม 2543 และให้ลูกจ้างกลับเข้าทำงานปกติในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ทั้งได้นำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างนี้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายแล้ว ต่อมาในวันที่ 10 เมษายน 2544 โจทก์ได้จ่ายเงินโบนัสให้แก่ลูกจ้างที่ทำงานในขณะนั้น ดังนี้ เห็นว่า เมื่อบรรดาลูกจ้างของโจทก์ 250 คน ถึง 300 คน ได้ยื่นข้อเรียกร้องขอเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง แล้วบรรดาลูกจ้างดังกล่าวกับโจทก์ได้เจรจากันจนสามารถบรรลุข้อตกลงกันได้และทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกันโดยที่ไม่มีข้อตกลงใดที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว ข้อตกลงดังกล่าวย่อมมีผลใช้บังคับได้ หาตกเป็นโมฆะดังที่บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่อย่างใดไม่ การที่บรรดาลูกจ้างได้รวมตัวกันหยุดงานเมื่อยังไม่มีการแจ้งข้อเรียกร้องก็ดี จำนวนผู้แทนของลูกจ้างผู้เข้าร่วมในการเจรจามีจำนวนเกินกว่าเจ็ดคนก็ดี พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานเข้าดำเนินการไกล่เกลี่ยในวันเดียวกับที่บรรดาลูกจ้างยื่นข้อเรียกร้องก็ดีนั้น แม้จะเป็นการผิดแผกแตกต่างจากขั้นตอนที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ก็ตาม ก็หามีผลเป็นเหตุให้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างซึ่งมีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมายดังที่ได้วินิจฉัยแล้วต้องตกเป็นโมฆะตามที่โจทก์อ้างในอุทธรณ์ไม่ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 9 ซึ่งเป็นคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานคดีนี้ได้
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 เวลาประมาณ 6.30 นาฬิกา จำเลยร่วมทั้งหมดกับพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้และพวกคนงานอื่นได้เริ่มมารวมตัวกันบริเวณหน้าบริษัทโจทก์ด้วยความสมัครใจเพื่อรอฟังว่าเพื่อนร่วมงานที่ชุมนุมต้องการอย่างไร หากต้องการชุมนุมต่อก็พร้อมจะชุมนุมด้วย หากจะกลับเข้าทำงานก็พร้อมที่จะเข้าทำงาน มีผู้แทนเจรจาบางคนช่วยชี้แจงถึงข้อตกลงที่ทำไว้และชักจูงให้พนักงานกลับเข้าทำงาน มีพนักงานบางคนเข้าทำงาน นาง ร. ขออนุญาตฝ่ายบริหารของโจทก์และชี้แจงให้พนักงานที่ชุมนุมทราบว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ หลังจากนั้นพนักงานทั้งหมดได้ขอกลับเข้าทำงานเมื่อเวลาประมาณ 7.15 นาฬิกา จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร ระหว่างเวลา 7 นาฬิกา ถึง 7.15 นาฬิกา แต่พนักงานเหล่านี้มิได้กระทำไปโดยมีเจตนาให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิได้มีเจตนากระทำความผิดอาญาต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง เมื่อลูกจ้างขอกลับเข้าทำงานแล้ว ฝ่ายนายจ้างจัดให้ลูกจ้างรออยู่ที่โรงอาหาร จากนั้นผู้บริหารของโจทก์ซึ่งรวมถึงกรรมการผู้จัดการได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างเหล่านี้โดยกล่าวขอให้พนักงานร่วมมือกันทำงานและลืมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเสีย โดยผู้บริหารของโจทก์พูดในลักษณะขอให้เลิกแล้วต่อกัน ให้ร่วมมือกันทำงานต่อไปโดยจะไม่นำเรื่องใด ๆ จากเหตุการณ์นี้มาเป็นข้อบาดหมางระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีก โจทก์ได้หักค่าจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมกันในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และเข้าทำงานเกินไปจากเวลาทำงานปกติเท่ากับค่าจ้างคนละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการหักค่าจ้างนี้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่โจทก์ใช้แก่พนักงานที่เข้าทำงานสายอันมีลักษณะเป็นการทำโทษพนักงานที่ทำผิดข้อบังคับในการทำงาน โจทก์จึงมีการกระทำหรือพฤติการณ์ที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้โดยฝ่ายโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างลูกจ้างคนละ 1 ชั่วโมง สำหรับการเข้าทำงานสายในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 แล้ว โจทก์ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นแก่ลูกจ้างเหล่านี้อีก ดังนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษทางวินัยแก่จำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใดที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 มาลงโทษด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก
เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 เวลาประมาณ 6.30 นาฬิกา จำเลยร่วมทั้งหมดกับพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้และพวกคนงานอื่นได้เริ่มมารวมตัวกันบริเวณหน้าบริษัทโจทก์ด้วยความสมัครใจเพื่อรอฟังว่าเพื่อนร่วมงานที่ชุมนุมต้องการอย่างไร หากต้องการชุมนุมต่อก็พร้อมจะชุมนุมด้วย หากจะกลับเข้าทำงานก็พร้อมที่จะเข้าทำงาน มีผู้แทนเจรจาบางคนช่วยชี้แจงถึงข้อตกลงที่ทำไว้และชักจูงให้พนักงานกลับเข้าทำงาน มีพนักงานบางคนเข้าทำงาน นาง ร. ขออนุญาตฝ่ายบริหารของโจทก์และชี้แจงให้พนักงานที่ชุมนุมทราบว่าการชุมนุมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่ชอบ หลังจากนั้นพนักงานทั้งหมดได้ขอกลับเข้าทำงานเมื่อเวลาประมาณ 7.15 นาฬิกา จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร ระหว่างเวลา 7 นาฬิกา ถึง 7.15 นาฬิกา แต่พนักงานเหล่านี้มิได้กระทำไปโดยมีเจตนาให้นายจ้างได้รับความเสียหายและมิได้มีเจตนากระทำความผิดอาญาต่อโจทก์ผู้เป็นนายจ้าง เมื่อลูกจ้างขอกลับเข้าทำงานแล้ว ฝ่ายนายจ้างจัดให้ลูกจ้างรออยู่ที่โรงอาหาร จากนั้นผู้บริหารของโจทก์ซึ่งรวมถึงกรรมการผู้จัดการได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างเหล่านี้โดยกล่าวขอให้พนักงานร่วมมือกันทำงานและลืมเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อพิพาทแรงงานระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเสีย โดยผู้บริหารของโจทก์พูดในลักษณะขอให้เลิกแล้วต่อกัน ให้ร่วมมือกันทำงานต่อไปโดยจะไม่นำเรื่องใด ๆ จากเหตุการณ์นี้มาเป็นข้อบาดหมางระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างอีก โจทก์ได้หักค่าจ้างลูกจ้างที่ชุมนุมกันในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 และเข้าทำงานเกินไปจากเวลาทำงานปกติเท่ากับค่าจ้างคนละ 1 ชั่วโมง ซึ่งการหักค่าจ้างนี้เป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่โจทก์ใช้แก่พนักงานที่เข้าทำงานสายอันมีลักษณะเป็นการทำโทษพนักงานที่ทำผิดข้อบังคับในการทำงาน โจทก์จึงมีการกระทำหรือพฤติการณ์ที่ไม่ติดใจเอาโทษต่อจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้โดยฝ่ายโจทก์ได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับลูกจ้างและหักค่าจ้างลูกจ้างคนละ 1 ชั่วโมง สำหรับการเข้าทำงานสายในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 แล้ว โจทก์ไม่ติดใจลงโทษทางวินัยอย่างอื่นแก่ลูกจ้างเหล่านี้อีก ดังนี้ กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยร่วมทั้งหมดได้จงใจทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายและเมื่อโจทก์มีพฤติการณ์และการกระทำที่ไม่ติดใจเอาโทษทางวินัยแก่จำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในสำนวนคดีนี้ โจทก์ย่อมไม่อาจจะนำการกระทำใดที่บรรดาจำเลยร่วมทั้งหมดและพวกลูกจ้างโจทก์ในคดีนี้ได้กระทำลงไปในวันที่ 7 ธันวาคม 2543 มาลงโทษด้วยการเลิกจ้างบรรดาลูกจ้างดังกล่าวได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3103/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญาของผู้ล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะคดีแพ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน
โจทก์ฟ้องคดีอาญาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาบุกรุก แม้ปรากฏว่าโจทก์อยู่ในฐานะเป็นบุคคลล้มละลายที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดไปแล้วก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 (3) ที่กำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้นั้น หมายถึง เฉพาะแต่การฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีแพ่งที่เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ไม่รวมถึงการฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีอาญาด้วย และการที่ลูกหนี้ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และพิพากษาให้ล้มละลายก็ไม่มีฐานะถึงขนาดจะตกเป็นผู้ไร้ความสามารถอันจำต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลเป็นผู้มีอำนาจจัดการแทนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 5 (1) อีกทั้งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 4, 5 และ 6 มิได้มีบทมาตราใดกำหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจจัดการแทนลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่ถูกศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วด้วย ดังนั้น โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2431-2432/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งพักงานพนักงานที่ไม่ชอบด้วยข้อบังคับ และอำนาจฟ้องเพิกถอนคำสั่งทางวินัย
การที่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงหรือมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัยแก่โจทก์ ยังไม่เป็นการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ใด ๆ ของโจทก์ในฐานะพนักงานของจำเลยที่ 1 แต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่สั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบถึงโจทก์โดยตรง ดังนั้น หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนได้
ข้อบังคับกำหนดไว้ว่า เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดถูกกล่าวหาและถูกสอบสวนว่ากระทำผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้าผู้บังคับบัญชาของโจทก์คือจำเลยที่ 2 เห็นว่า หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ก็ให้พิจารณาสั่งพักงานโดยต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ถูกดำเนินคดีอาญา และโจทก์กระทำการขัดขวางหรือยับยั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน เป็นกรณีที่หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัย จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำสั่งของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ที่สั่งพักงานโจทก์ เป็นคำสั่งที่ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย และคำสั่งดังกล่าวมีผลกระทบถึงโจทก์โดยตรง ดังนั้น หากคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบ โจทก์ยื่นฟ้องขอให้เพิกถอนได้
ข้อบังคับกำหนดไว้ว่า เมื่อพนักงานหรือลูกจ้างผู้ใดถูกกล่าวหาและถูกสอบสวนว่ากระทำผิด หรือถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดอาญา หรือถูกฟ้องคดีอาญา ถ้าผู้บังคับบัญชาของโจทก์คือจำเลยที่ 2 เห็นว่า หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 ก็ให้พิจารณาสั่งพักงานโดยต้องเสนอขออนุมัติคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 ก่อน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนความผิดทางวินัย ถูกดำเนินคดีอาญา และโจทก์กระทำการขัดขวางหรือยับยั้งการสอบสวนข้อเท็จจริง หรือการสอบสวนความผิดทางวินัย เป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน เป็นกรณีที่หากให้โจทก์คงอยู่ในหน้าที่จะเป็นการเสียหายแก่ธนาคาร การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในขณะนั้นโดยได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการของจำเลยที่ 1 มีคำสั่งให้พักงานโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนทางวินัย จึงชอบด้วยกฎหมายและข้อบังคับของจำเลยที่ 1 แล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2025/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินหนึ่งพรรค
ผู้คัดค้านได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ก. เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2542 และได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 ต่อมาผู้คัดค้านได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ท. เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2549 และวันเดียวกันนั้น ผู้คัดค้านได้ยื่นหลักฐานการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้คัดค้านจึงมีรายชื่อเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเกินกว่า 1 พรรค ถือได้ว่าผู้คัดค้านมิได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่พรรคเดียวนับถึงวันรับสมัครเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน ผู้คัดค้านจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2010/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. - การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง 90 วัน - หลักฐานการสมัคร
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน คดีนี้ผู้ร้องอ้างว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. วันที่ 8 มกราคม 2529 โดยมีหลักฐานสำคัญที่ผู้ร้องแสดงต่อศาลคือ สำเนาทะเบียนรายชื่อสมาชิกพรรค สำเนาบัตรประจำตัวสมาชิก และบันทึกผลการตรวจสอบทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง แต่ในสมุดทะเบียนสมาชิกพรรค ปรากฏว่าชื่อผู้ร้องมีรอยลบข้อความเดิม แล้วเขียนชื่อผู้ร้องขึ้นใหม่ โดยใช้หมึกที่แตกต่างจากชื่ออื่น และลายมือเขียนก็เป็นของคนละคนกัน ซึ่งไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงมีการแก้ไขชื่อผู้ร้องเช่นนั้น และมีการแก้ไขชื่อผู้ร้องดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด นับเป็นข้อพิรุธเกี่ยวกับข้อเท็จจริงการเป็นสมาชิกพรรค ป. ของผู้ร้อง แม้ผลการตรวจสอบสมาชิกพรรคแบบแบ่งเขตเลือกตั้งปรากฏว่ามีเพียง 5 ราย ซึ่งไม่ใช่ผู้ร้องที่ไม่มีเอกสารใบสมัครสมาชิก ทะเบียนสมาชิก หรือบัตรสมาชิกพรรคก็ตาม แต่เอกสารดังกล่าวเป็นการตรวจสอบเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2549 อันเป็นเวลาภายหลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ไม่อาจรับฟังได้ว่า พรรค ป. ได้รับผู้ร้องเป็นสมาชิกวันที่ 8 มกราคม 2529 จริงตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง สำหรับบัตรประจำตัวสมาชิกซึ่งผู้ร้องอ้างว่าบัตรเดิมสูญหาย จึงมีการจัดทำบัตรขึ้นใหม่ภายหลังจากที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรแล้ว โดยวันที่ออกบัตร คือ วันที่ 8 มกราคม 2529 นั้น เป็นไปตามทางปฏิบัติของพรรค ป. จึงไม่อาจใช้เป็นหลักฐานแสดงว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. วันที่ 8 มกราคม 2549 ตามที่ผู้ร้องกล่าวอ้าง เมื่อข้อเท็จจริงไม่อาจรับฟังว่า ผู้ร้องเป็นสมาชิกพรรค ป. ผู้ร้องจึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1797/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันสำเร็จรูป: การตีความเจตนาของคู่สัญญาและขอบเขตความรับผิด
สัญญาค้ำประกันที่โจทก์ทำให้ไว้แก่จำเลย ข้อ (1) ระบุว่า "ผู้ค้ำประกันยอมเข้าค้ำประกันหนี้สินทุกชนิดบรรดาที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ได้เป็นหนี้ต่อธนาคารอยู่แล้วก่อนวันทำสัญญานี้ และหรือเป็นหนี้อยู่ในขณะทำสัญญานี้และรวมทั้งหนี้สินที่ลูกหนี้จะได้เป็นหนี้ต่อธนาคารหลังจากวันทำสัญญานี้เป็นต้นไป..." สัญญาค้ำประกันดังกล่าวเป็นแบบฟอร์มของสัญญาสำเร็จรูปที่จำเลยทำขึ้นเพื่อใช้เป็นหนังสือค้ำประกันได้ทุกประเภท ข้อความในสัญญามีลักษณะเขียนครอบคลุมให้ลูกหนี้ต้องรับผิดทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ซึ่งอาจไม่ตรงกับเจตนาของคู่สัญญา เมื่อปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาเพียงค้ำประกันหนี้ที่อาจเกิดขึ้นจากการที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. ขอให้จำเลยออกหนังสือค้ำประกันการยื่นซองประกวดราคาก่อสร้างหรือค้ำประกันการปฏิบัติตามสัญญาก่อสร้างเท่านั้น มิได้มีเจตนาที่ค้ำประกันหนี้สินอย่างอื่นที่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. มีต่อจำเลย การที่จำเลยนำเงินฝากประจำของโจทก์ไปหักชำระหนี้เงินกู้และหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. จึงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1523/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาเจตนาเจ้ามรดกและความสัมพันธ์กับทายาท
กฎหมายบัญญัติเรื่องการตั้งผู้จัดการมรดกไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 1713 วรรคสอง ว่า การตั้งผู้จัดการมรดกนั้น ถ้ามีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งตามข้อกำหนดพินัยกรรม และถ้าไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมก็ให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร เมื่อได้ความว่าผู้ร้องซึ่งเป็นบุตรคนโตของผู้ตายไม่ค่อยได้ติดต่อกับผู้ตาย รวมทั้งไม่ได้ไปร่วมในงานบำเพ็ญกุศลของผู้ตาย โดยผู้ร้องพักอาศัยอยู่กับยายตั้งแต่เล็กและแต่งงานแยกครอบครัวไปตั้งแต่ปี 2509 แสดงว่าผู้ร้องค่อนข้างมีความสัมพันธ์ที่ห่างเหินกับผู้ตาย การที่จะให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกน่าจะไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดกผู้ตาย กอปรกับผู้ร้องก็รับว่าทายาทผู้ตายมีความเห็นแตกต่างเป็นสองฝ่าย อีกทั้งผู้ร้องมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและไม่น่าไว้วางใจ ทำให้มีเหตุเชื่อว่าหากตั้งผู้ร้องให้ร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายแล้ว การจัดการมรดกน่าจะไม่ราบรื่นและไม่เป็นไปตามเจตนาของเจ้ามรดก การตั้งผู้คัดค้านแต่ฝ่ายเดียวให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายจึงน่าจะเหมาะสมกว่า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างพนักงานหญิงก่อนอายุเกษียณโดยอาศัยระเบียบที่ไม่เป็นธรรม ขัดต่อหลักความเท่าเทียมทางเพศ
พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2518 เป็นบทบัญญัติทั่วไป รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งสามารถกำหนดคุณสมบัติและเหตุที่จะพ้นจากตำแหน่งพนักงานนอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อมติคณะรัฐมนตรีมิให้นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่ใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจทั่วไปมาใช้บังคับแก่รัฐวิสาหกิจที่เกิดจากการแทรกแซงเข้าถือหุ้นเกินร้อยละ 50 ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเช่นจำเลย จำเลยจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของระเบียบเดิม ส่วนในข้อที่เกี่ยวกับความแตกต่างกันระหว่างการเกษียณอายุของพนักงานที่เป็นหญิงและเป็นชายตามระเบียบดังกล่าวนั้น แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับพนักงานฉบับแก้ไข พ.ศ.2530 กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบรูณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วน ไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้ในข้อนี้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง แต่การเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะขัดแย้งต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน อุทธรณ์ของโจทก์ข้อนี้จึงเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งโจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง และในเมื่อการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมแล้วก็เป็นเรื่องที่ศาลแรงงานกลางจะต้องใช้ดุลพินิจสั่งให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1486/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากอายุและเพศขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญและหลักความเท่าเทียม
แม้จำเลยจะมีระเบียบเกี่ยวกับบำเหน็จพนักงาน กำหนดให้พนักงานหญิงทั่วไปซึ่งมีตำแหน่งต่ำกว่าผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ แต่สำหรับตำแหน่งของโจทก์คือตำแหน่งหัวหน้าส่วนที่เรียกว่าผู้จัดการส่วนไม่ปรากฏว่าโดยลักษณะหรือสภาพของงานในตำแหน่งนี้ไม่อาจกำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณอายุเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์อย่างพนักงานชายได้ ในเมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยอาศัยระเบียบนี้จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม อนึ่ง อุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่าการเลิกจ้างโจทก์ของจำเลยเป็นการเลิกจ้างโดยอาศัยระเบียบซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย โดยขัดแย้งกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน เป็นอุทธรณ์ในปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน โจทก์ย่อมอุทธรณ์ได้ แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นพิจารณาของศาลแรงงานกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1247/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาจำกัดเฉพาะการวินิจฉัยคุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น
พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาฯ มาตรา 34 และ 34/1 กำหนดให้ศาลฎีการับวินิจฉัยเฉพาะกรณีที่มีการโต้แย้งกันเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเท่านั้น หาได้กำหนดให้ศาลฎีกามีอำนาจรับวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อด้วยไม่