คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วิชัย วิวิตเสวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุด: การประพฤติผิดสัญญาต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด
สัญญาจะซื้อขายห้องชุดในโครงการอาคารชุดศรีเจริญคอนโดทาวน์ที่โจทก์ทำกับจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงว่าจำเลยที่ 1 จะดำเนินการก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จภายในกำหนด ส่วนโจทก์จะผ่อนชำระราคาให้แก่จำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 1 สร้างห้องชุดเสร็จแล้วในระหว่างสัญญา คงมีกำแพงด้านหน้าอาคารชุดเท่านั้นที่ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ เพียงนี้ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาอันจะเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ เพราะการประพฤติผิดสัญญาของคู่สัญญาอันจะเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิเลิกสัญญาได้นั้น ต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด แม้การก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จจะหมายความรวมถึงการสร้างทรัพย์ส่วนกลางซึ่งเป็นกำแพงด้านหน้าอาคารชุด แต่กำแพงดังกล่าวเป็นเพียงทรัพย์ส่วนที่จะเอื้ออำนวยในการใช้ห้องชุด อีกทั้งหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์มิได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงกำแพงด้านหน้าอาคาร แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาการก่อสร้างกำแพงดังกล่าวเป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดหากทราบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อนี้จะไม่เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ดังนั้น การที่กำแพงดังกล่าวยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามสัญญาในขณะที่จำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปรับโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุด ก็ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาแก่จำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1094/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกเลิกสัญญาซื้อขายห้องชุดเนื่องจากไม่ก่อสร้างกำแพงส่วนกลาง ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่ถือเป็นข้อสำคัญถึงขนาด
การประพฤติผิดสัญญาของคู่สัญญาอันจะเป็นเหตุให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้นั้น การประพฤติผิดสัญญาดังกล่าวจะต้องเป็นข้อสำคัญถึงขนาด สำหรับการก่อสร้างกำแพงด้านหน้าอาคารที่โจทก์และจำเลยที่ 1 โต้เถียงกันว่าเป็นทรัพย์ส่วนกลางหรือไม่ แม้การก่อสร้างอาคารชุดให้แล้วเสร็จจะหมายถึงการสร้างทรัพย์ส่วนกลางด้วย แต่โดยสภาพของทรัพย์ส่วนกลางกรณีนี้เป็นเพียงทรัพย์ส่วนที่จะเอื้ออำนวยในการใช้ห้องชุด และในหนังสือเลิกสัญญาโจทก์ระบุแต่เพียงว่า จนบัดนี้จำเลยที่ 1 ยังก่อสร้างไม่แล้วเสร็จและไม่สามารถดำเนินการโอนกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่โจทก์ โดยมิได้ระบุเฉพาะเจาะจงถึงกำแพงด้านหน้าอาคาร แสดงว่าโจทก์มิได้ถือเอาการก่อสร้างกำแพงด้านหน้าอาคารนี้เป็นเรื่องสำคัญถึงขนาดหากทราบว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาข้อนี้จะไม่เข้าทำสัญญากับจำเลยที่ 1 ดังนั้น แม้หากกำแพงด้านหน้าอาคารชุดจะเป็นทรัพย์ส่วนกลางจริง การที่จำเลยที่ 1 ไม่ก่อสร้างกำแพงดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามสัญญา ไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิต แม้แยกสถานที่ผลิตและขาย
ตามคำฟ้องและคำฟ้องอุทธรณ์ปรากฏว่าโจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ โดยนำเอาวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูป คือขนมปัง เบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น เมื่อได้สินค้าสำเร็จรูปแล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูป พนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะการดำเนินงานกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์ จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบฯ ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศ ฉบับที่ 2 ฯ การประกอบกิจการของโจทก์ไม่ใช่การซื้อวัตถุดิบมาแล้วขายไปในสภาพวัตถุดิบ ไม่ใช่การซื้อมาขายไปโดยไม่มีการเปลี่ยนสภาพสินค้า ซึ่งเป็นลักษณะร่วมของประเภทกิจการร้านสรรพสินค้าและร้านสินค้าเบ็ดเตล็ดตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 หมวด 1500 การค้า จึงไม่ใช่การค้าซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่นตามที่ระบุไว้ในรหัส 1503 กิจการของโจทก์จึงไม่ใช่ประเภทที่อยู่ในรหัส 1503 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ออกจากกัน กับโจทก์ได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะการดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่นๆ ได้ จำเลยที่ 1 ชอบที่จะกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ได้อ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1093/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดรหัสประเภทกิจการประกันสังคม: กิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่ต้องใช้รหัสการผลิตอาหาร ไม่ใช่รหัสการค้า
โจทก์ประกอบกิจการผลิตขนมปังเบเกอรี่โดยนำวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของขนมปังเบเกอรี่มาผ่านกระบวนการผลิตด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร เปลี่ยนสภาพวัตถุดิบให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปคือขนมปังเบเกอรี่ อันเป็นกระบวนการเพิ่มมูลค่าวัตถุดิบซึ่งเป็นงานในส่วนของโรงงานผลิตของโจทก์ โจทก์นำสินค้าสำเร็จรูปไปกำหนดราคาแสวงหากำไรจากสินค้าสำเร็จรูปนั้น แล้วฝ่ายขายจึงนำไปแลกเปลี่ยนมาเป็นเงินตรา หากปราศจากสินค้าสำเร็จรูปพนักงานฝ่ายขายก็ไม่สามารถปฏิบัติงานขายได้ การที่พนักงานฝ่ายขายติดต่อรับคำสั่งซื้อจากลูกค้าแล้วแจ้งฝ่ายโรงงานผลิต เป็นวิธีการกำหนดปริมาณการผลิตสินค้าและกำหนดจำนวนสินค้าสำเร็จรูปที่ฝ่ายโรงงานผลิตต้องจัดส่งไปให้ฝ่ายขาย ฝ่ายขายไม่อาจปฏิบัติงานได้ถ้าไม่มีสินค้าสำเร็จรูปไปขาย กิจการฝ่ายโรงงานผลิตกับฝ่ายขายของโจทก์ต้องปฏิบัติงานต่อเนื่องกัน ไม่สามารถแยกออกจากกันโดยไม่เกี่ยวข้องกันได้ ตามลักษณะที่กล่าวมากิจการของฝ่ายโรงงานผลิตจึงเป็นงานหลัก การกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์จึงมีได้เพียงรหัสเดียวตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง อัตราเงินสมทบ อัตราเงินฝาก วิธีการประเมินและการเรียกเก็บเงินสมทบ ลงวันที่ 12 กันยายน 2537 ข้อ 5 วรรคหนึ่ง โดยอยู่ในหมวด 0200 การผลิตอาหาร เครื่องดื่ม และยาสูบ รหัส 0203 ประเภทกิจการการผลิตเครื่องดื่ม การผลิต การถนอมอาหาร ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น อัตราเงินสมทบร้อยละ 0.5 ของค่าจ้าง ตามตาราง 1 ท้ายประกาศที่แก้ไขตามประกาศฉบับที่ 2 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 การที่โจทก์แยกสถานที่ตั้งของฝ่ายโรงงานผลิตและสถานที่ตั้งของฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ออกจากกัน กับได้แยกการทำงานของแต่ละสถานที่ออกจากกัน ไม่ทำให้ลักษณะดำเนินกิจการของฝ่ายโรงงานผลิตแยกออกโดยไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายขายและฝ่ายอื่น ๆ ได้ ที่สำนักงานประกันสังคมกำหนดรหัสประเภทกิจการของโจทก์เป็นรหัส 0203 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: กรณีคดีปกครอง ศาลชั้นต้นต้องสอบถามโจทก์ก่อน หากเคยฟ้องศาลปกครองแล้วจึงส่งเรื่องให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาด
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง โดยต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องแล้วเห็นว่าคำฟ้องของโจทก์มีลักษณะเป็นคดีปกครอง แล้วมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่าโจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครอง ศาลต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวว่าให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีปกครอง - การส่งเรื่องระหว่างศาล และการแจ้งให้ฟ้องต่อศาลปกครอง
ในชั้นตรวจคำฟ้อง เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีปกครองซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อน และศาลต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้ว และศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง นอกจากนี้ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจ ศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ. 2542 มาตรา 12 วรรคสอง ต่อไปเสียก่อนเช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983-984/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับผู้จะซื้อ สิทธิเช่าย่อมไม่ผูกพันเจ้าของที่ดินเดิม
จำเลยที่ 19 ได้ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจาก ส. แต่ขณะนั้น ส. เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทจากโจทก์ที่ 1 (ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โจทก์ในสำนวนหลัง) โดยสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทระหว่าง ส. กับโจทก์ที่ 1 มีข้อตกลงว่าในระหว่างการผ่อนชำระเงินค่าที่ดิน ส. จะต้องไม่ทำนิติกรรมใด ๆ ก่อให้เกิดภาระผูกพันที่ดินพิพาทด้วย ดังนั้น สัญญาเช่านาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงเป็นเพียงบุคคลสิทธิที่มีผลผูกพันระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เท่านั้น หาได้มีผลผูกพันโจทก์ที่ 1 ไม่
ส. มีสิทธิครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาจะซื้อจะขายไม่ใช่สัญญาเช่า ดังนั้น แม้ ส. จะให้จำเลยที่ 19 เช่าที่ดินพิพาททำนาก็หาใช่เป็นการที่ผู้เช่านำทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นไปให้เช่าช่วง อันจะมีผลทำให้การเช่าที่ดินระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 เข้าลักษณะเป็นการเช่าตามความหมายแห่ง พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 ทั้งโจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 19 ใช้ที่ดินพิพาทเพื่องานเกษตรกรรมทำนาโดยได้รับค่าเช่า และมิได้กระทำนิติกรรมอื่นใดต่อกันอันจะเป็นการอำพรางการเช่านาด้วย ดังนั้น การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทำนาระหว่าง ส. กับจำเลยที่ 19 จึงมิได้มีผลถือว่าเป็นการเช่านาระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยที่ 19 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 5 จำเลยที่ 19 จึงมิได้รับสิทธิและความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ไม่ชอบเมื่อไม่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์ชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยแพ้คดีและให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนโจทก์โดยกำหนดค่าทนายความ 3,000 บาท จำเลยอุทธรณ์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 เมื่อจำเลยไม่นำเงินดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบจำเลยจะอ้างว่าจำเลยชำระค่าธรรมเนียมตามที่เจ้าหน้าที่ศาลคิดคำนวณหาได้ไม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกอุทธรณ์โดยไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้ชอบแล้ว ส่วนฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้นกำหนดให้ค่าฤชาธรรมเนียมเป็นพับ จึงไม่มีเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจำเลยจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษา ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยในส่วนฟ้องแย้งจึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแยกฟ้องคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดต่างกรรมต่างวาระ และการใช้ดุลพินิจในการลดโทษ
การกระทำความผิดอาญาในคดีก่อนเป็นคนละตอนกับการกระทำความผิดคดีนี้ เมทแอมเฟตามีนก็เป็นคนละจำนวนกัน จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระ โจทก์จึงมีอำนาจแยกฟ้องเป็นคนละคดีได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 134/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญา เหตุจำเลยมิได้ยกข้อต่อสู้ในศาลล่าง
จำเลยฎีกาว่าผู้รับหนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์มิใช่ผู้มีอำนาจกระทำแทนจำเลย ถือว่าจำเลยไม่เคยทราบถึงการบอกเลิกสัญญา ปัญหานี้จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
of 146