พบผลลัพธ์ทั้งหมด 539 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2208/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินตามหลักเกณฑ์พระราชกฤษฎีกา แม้มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภายหลัง สิทธิขอคืนภาษีไม่เกิดขึ้น
โจทก์ขายที่ดินตามฟ้องในขณะที่ พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ใช้บังคับ และเป็นการขายตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งโจทก์จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีภายในวันที่สิบห้าของเดือนถัดไปตามมาตรา 91/10 (เดิม) แห่ง ป. รัษฎากร ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การที่โจทก์มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและไม่ชำระภาษีภายในกำหนดเวลา โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มด้วย แม้ต่อมาจะมี พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 และให้ยกเลิก พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ก็มีผลต่อการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไรตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป ไม่มีผลต่อการขายที่ดินของโจทก์และความรับผิดในการเสียภาษีของโจทก์ที่มีอยู่แล้วแต่อย่างใด โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนภาษีและจำเลยไม่ต้องคืนภาษีที่โจทก์ชำระแล้วแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1890/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส. การเป็นสมาชิกพรรคการเมืองตามกฎหมาย
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4) ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องเป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองฯ มาตรา 34 กำหนดให้หัวหน้าพรรคการเมืองแจ้งจำนวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงในรอบปีปฏิทินที่ผ่านมาพร้อมด้วยรายชื่อ อาชีพ และที่อยู่ของสมาชิกตามวิธีการที่นายทะเบียนกำหนดให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนมกราคมของทุกปี แต่ปรากฏว่ารายชื่อผู้สมัครเป็นสมาชิกพรรคในรอบปี 2548 ที่พรรค ผ. ส่งไปให้นายทะเบียนพรรคการเมืองทราบภายในกำหนดเวลาดังกล่าวไม่มีชื่อผู้ร้อง ดังนั้น แม้จะปรากฏตามบันทึกการประชุมพรรค ผ. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2548 ว่า พรรคมีมติรับผู้ร้องเป็นสมาชิกลำดับที่ 081/2548 แต่บันทึกการประชุมครั้งที่ 10/2548 เป็นเพียงการรับรองรายงานการประชุมพรรคครั้งที่ 9/2548 ลงวันที่ 11 กันยายน 2548 ซึ่งระบุเพียงเลขที่สมาชิก ไม่ปรากฏชื่อผู้ร้อง ทั้งใบสมัครสมาชิกพรรคของผู้ร้องระบุว่าผู้ร้องยื่นใบสมัครวันที่ 14 กันยายน 2549 ซึ่งเป็นวันหลังจากพรรค ผ. มีมติรับสมัครสมาชิกเลขที่ 081/2548 ไปแล้ว ดังนั้น ผู้ร้องจึงมิได้เป็นสมาชิกพรรค ผ. จึงไม่มีคุณสมบัติเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 107 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกรณีขายที่ดินพร้อมอาคารที่ปลูกสร้างเองภายใน 5 ปี
พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 224) ฯ มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเองหรือซื้อมาหรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากที่ได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมา โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทไปโดยไม่มีเจตนามุ่งค้าหรือหากำไรเพราะโจทก์โอนขายให้แก่บริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้นเอง ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลในครอบครัวของโจทก์เองทั้งสิ้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
ประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์ขายที่ดินและอาคารพิพาทไปโดยไม่มีเจตนามุ่งค้าหรือหากำไรเพราะโจทก์โอนขายให้แก่บริษัทที่โจทก์ก่อตั้งขึ้นเอง ผู้ถือหุ้นเป็นบุคคลในครอบครัวของโจทก์เองทั้งสิ้น ปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกปัญหานี้ขึ้นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิยกขึ้นต่อสู้อันเป็นการใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1766/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีธุรกิจเฉพาะ: การได้มาซึ่งอาคารจากการก่อสร้างเองถือเป็นการได้มาภายหลัง ทำให้ต้องเสียภาษีหากขายภายใน 5 ปี
ตาม พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 (6) วรรคสอง บัญญัติว่า "ในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างได้มาไม่พร้อมกัน กำหนดเวลา 5 ปี ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดิน หรืออาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง" ความหมายของการได้มาซึ่งอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตามบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมต้องหมายความรวมถึงการได้มาโดยเจ้าของที่ดินก่อสร้างเอง หรือซื้อมา หรือรับโอนมาด้วยประการใด ๆ ดังนั้น การที่โจทก์ลงทุนปลูกสร้างอาคารลงในที่ดินของโจทก์เอง ก็ต้องถือว่าโจทก์ได้อาคารหรือสิ่งปลูกสร้างมาภายหลังจากได้ที่ดินมาแล้ว เมื่อโจทก์ขายที่ดินและอาคารดังกล่าวไปภายในระยะเวลา 5 ปี นับแต่ได้อาคารมาโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีธรุกิจเฉพาะสำหรับที่ดินและอาคารนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจการออกใบอนุญาตเครื่องกระสุนปืน: ขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เป็นข้อยกเว้นหากไม่ใช่ชนิดเจาะเกราะหรือกระสุนเพลิง
เครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้นั้นต้องเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 เว้นแต่เครื่องกระสุนปืนนั้นแม้จะเป็นเครื่องกระสุนปืนขนาดที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนออกใบอนุญาตให้ได้ก็ตาม หากเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิงแล้ว ก็เป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ดังนั้น เมื่อเครื่องกระสุนปืนของกลางมีขนาด .223 (5.56 มม.) ไม่เกินขนาดอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 2 (1) ที่กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องมีเกลียวที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่เกิน 11.44 มม." และข้อ 2 (2) กำหนดว่า "อาวุธปืนชนิดลำกล้องไม่มีเกลียวดังต่อไปนี้ (ก) ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากลำกล้องไม่ถึง 20 มม. (ข) ปืนประจุปาก ปืนลูกซอง และปืนพลุสัญญาณ" จึงเห็นได้ว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนที่ใช้กับอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ ดังนั้น แม้หากจะรับฟังว่าเครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกลดังเช่นที่โจทก์ฎีกาก็ตามแต่ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า เครื่องกระสุนปืนขนาด .223 (5.56 มม.) จำนวน 12 นัด ของกลางเป็นเครื่องกระสุนปืนชนิดเจาะเกราะหรือชนิดกระสุนเพลิง ซึ่งเป็นข้อยกเว้นตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 11 ฯ ข้อ 3 ตอนท้าย ที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ไม่ได้ ศาลก็ต้องยกฟ้องโจทก์ในข้อหาความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 55, 78
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญากับโจทก์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จก็ตาม แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบและที่ตามสัญญาข้อ 15 (ข) ระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที นั้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวสิ่งก่อสร้างคือศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ส่วนวัสดุก่อสร้างคือวัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณาหาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าวหาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญา เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จ แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบ และแม้จะมีข้อสัญญาระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันทีนั้น สิ่งก่อสร้างคือ ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางส่วนวัสดุก่อสร้างคือ วัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณา หาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าว หาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนล่วงเข้าปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้ายฯ มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยจึงต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน ไม่จำกัดสิทธิของสถาบันการเงินเดิม
การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 321) พ.ศ.2541 มาตรา 3 (6) มิใช่หมายความว่า ทรัพย์สินที่ขายต้องเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2548)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 11/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมาย
เมื่อพิจารณา พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239)ฯ มาตรา 3 (6) ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 321)ฯ ประกอบกับเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ. ฉบับนี้แล้ว จะเห็นได้ว่ารัฐต้องการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มในการขายทรัพย์สินที่ดำเนินการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนและลดภาระให้แก่องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินในอันที่จะแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินให้ได้ผลสำเร็จในอันที่จะแก้ไขปัญหาระบบสถาบันการเงินให้ได้ผลสำเร็จโดยเร็วและเนื่องจากองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจัดตั้งขึ้นโดย พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการและชำระบัญชีบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการในกรณีที่บริษัทดังกล่าวไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้ ดังนี้ การขายสินทรัพย์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หมายความว่า การขายทรัพย์สินของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการโดยองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หาใช่หมายความว่า ทรัพย์สินที่ขายเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การเพื่อปฏิรูประบบสถาบันการเงินไม่ ฉะนั้นเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้จัดการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการแล้วนำสิทธิการเช่าที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินส่วนหนึ่งของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ออกขายทอดตลาด แม้จะเป็นการว่าจ้างโจทก์ ให้เป็นผู้ดำเนินการขายทอดตลาดแทนก็ต้องถือว่าเป็นการดำเนินการขายโดยองค์การ เพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินนั้นเอง การขายเช่นนี้มีผลให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. มิต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 (6) ดังนี้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างดำเนินการขายทอดตลาดสิทธิการเช่าพื้นที่พิพาทแทนองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินจึงไม่ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 แห่งป.รัษฎากรฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้จะมอบหมายให้เอกชนดำเนินการ
การขายทรัพย์สินขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถานบันการเงินซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 321) พ.ศ.2541 มาตรา 3 (6) มิใช่หมายความว่า ทรัพย์สินที่ขายต้องเป็นกรรมสิทธิ์ขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้จัดการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการโดยนำสิทธิการเช่าที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ออกขายทอดตลาด เมื่อโจทก์เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ขายทอดตลาดแทน ก็ต้องถือว่าเป็นการดำเนินการขายโดยองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงินนั้นเอง ย่อมมีผลให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. มิต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534
โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าว่าจำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระภาษีต่างๆ แทนโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรแก่โจทก์
องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงินได้จัดการแก้ไขฟื้นฟูฐานะของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ที่ถูกระงับการดำเนินกิจการโดยนำสิทธิการเช่าที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์สินของบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. ออกขายทอดตลาด เมื่อโจทก์เป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ขายทอดตลาดแทน ก็ต้องถือว่าเป็นการดำเนินการขายโดยองค์การเพื่อการปฏิรูปสถาบันการเงินนั้นเอง ย่อมมีผลให้บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ต. มิต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 3 (6) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ.2534
โจทก์ไม่ต้องรับผิดชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 83/5 แห่งประมวลรัษฎากร แม้จำเลยจะมีข้อตกลงกับโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายสิทธิการเช่าว่าจำเลยจะเป็นผู้รับผิดชอบในการชำระภาษีต่างๆ แทนโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องเรียกให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มและเงินเพิ่มพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์ชำระให้แก่กรมสรรพากรแก่โจทก์