พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ป้ายโฆษณาหลังบอกเลิกสัญญา: จำเลยยังคงเป็นเจ้าของและมีหน้าที่เสียภาษีป้าย
ป้ายพิพาทเป็นป้ายที่จำเลยได้รับสิทธิติดตั้งโฆษณาในศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทางตามสัญญากับโจทก์ เพื่อประโยชน์ในทางการค้าของจำเลย จึงเป็นทรัพย์สินของจำเลยโดยตรง ซึ่งจำเลยยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายพิพาทต่อโจทก์ตลอดมา แม้มีข้อตกลงตามสัญญาข้อ 3 ว่า ให้ศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ตลอดจนส่วนควบตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่โจทก์ทันทีที่ก่อสร้างเสร็จก็ตาม แต่ป้ายพิพาทที่จำเลยติดตั้งไว้นั้นไม่มีสภาพเป็นส่วนควบและที่ตามสัญญาข้อ 15 (ข) ระบุว่า ถ้าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วให้บรรดาวัสดุก่อสร้างและสิ่งก่อสร้างที่ดำเนินการแล้วตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ทันที นั้น ตามข้อสัญญาดังกล่าวสิ่งก่อสร้างคือศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง ส่วนวัสดุก่อสร้างคือวัสดุที่ใช้ก่อสร้างศาลาที่พักผู้โดยสารรถประจำทาง แต่ป้ายโฆษณาเป็นสิ่งที่จำเลยนำมาติดตั้งเพื่อโฆษณาหาใช่วัสดุก่อสร้างไม่ จำเลยจึงยังคงเป็นเจ้าของป้ายดังกล่าวหาได้ตกเป็นของโจทก์ไม่ เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วจำเลยในฐานะเจ้าของป้ายพิพาทย่อมมีหน้าที่ต้องรื้อถอนป้ายพิพาทออกไป แต่จำเลยละเว้นเสียยังคงติดตั้งป้ายโฆษณาของตนจนปี 2544 จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษีป้ายประจำปี 2544 ตาม พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 7 เมื่อโจทก์แจ้งการประเมินภาษีป้ายให้จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง การประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่จึงเป็นอันยุติ จำเลยต้องเสียภาษีป้ายตามที่โจทก์ประเมินพร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 25 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 582/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจสอบสวน: การสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องคดีอาญา
เหตุคดีนี้เกิดในพื้นที่อำเภอเมืองอำนาจเจริญซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองอำนาจเจริญ มิได้เกิดในเขตอำนาจสอบสวนของสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญจึงไม่มีอำนาจสอบสวนความผิดซึ่งได้เกิดขึ้นในคดีนี้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ข้อที่โจทก์อ้างในฎีกาว่าเป็นกรณีพยานโจทก์ผู้จับกุมไม่แน่ใจว่าการกระทำผิดอาญาได้กระทำในท้องที่ใดระหว่างหลายท้องที่ พนักงานสอบสวนในท้องที่หนึ่งท้องที่ใดที่เกี่ยวข้องมีอำนาจสอบสวนได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 19 นั้น หมายความเฉพาะเมื่อสภาพการกระทำผิดอาญานั้นเองเป็นที่ประจักษ์ชัดอยู่ในตัวว่า เป็นการไม่แน่ว่ากระทำขึ้นในท้องที่ใดในระหว่างหลายท้องที่ต่างเขตอำนาจสอบสวน มิได้หมายความถึงกรณีที่ตัวพนักงานสอบสวนหรือผู้จับกุมสับสนในเรื่องพื้นที่เขตอำนาจของตนเสียเอง ทั้งที่เป็นการแน่นอนแล้วว่าความผิดนั้นได้กระทำในท้องที่ใด เมื่อพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรอำเภอไทยเจริญยังขืนสอบสวนความผิดนี้ การสอบสวนนั้นจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคดีนี้ไม่มีการสอบสวน เมื่อยังมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้น โจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฟ้องคดีต่อศาลตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าและการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: พฤติการณ์การทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายและการยั่วยุ
จำเลยใช้ไม้สนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดโตพอควร ตีศีรษะผู้เสียหาย 1 ครั้ง โดยเลือกตีที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ การที่กะโหลกศีรษะแตก มีเลือดคั่งในสมองจากการถูกตี แสดงว่าจำเลยตีอย่างแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ทั้งตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษาหากแพทย์ไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างทำงานก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายผู้เสียหายให้ขึ้นมาชกกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า จะลุ้นกับรุ่นพ่อ ซึ่งหมายความว่าอยากจะชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นเดียวกับพ่อของผู้เสียหาย แม้คำพูดเช่นนี้ของผู้เสียหายจะไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้นจึงไม่ใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างทำงานก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายผู้เสียหายให้ขึ้นมาชกกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า จะลุ้นกับรุ่นพ่อ ซึ่งหมายความว่าอยากจะชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นเดียวกับพ่อของผู้เสียหาย แม้คำพูดเช่นนี้ของผู้เสียหายจะไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้นจึงไม่ใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8167-8172/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานีบรรจุสินค้าของการรถไฟฯ ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน เพราะเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องที่โจทก์ทั้งหกได้รับสัมปทานจากการรถไฟแห่งประเทศไทยเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยผู้ดำเนินการที่สถานีดังกล่าวจะทำหน้าที่ขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำสินค้าที่จะต้องส่งไปต่างประเทศโดยทางเรือมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ใช้บริการ การดำเนินกิจการของสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินธุรกิจอันเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟ คือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 และมาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ. การรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ดังนั้นสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการของการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475
ปัญหาว่าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามฟ้อง ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น โจทก์ที่ 2 ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ และสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 แม้จะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ทั้งหกเป็นผู้รับสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทานโดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีไว้ โจทก์ทั้งหกมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไว้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหกได้
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2548)
ปัญหาว่าสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยตามฟ้อง ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมายหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น โจทก์ที่ 2 ก็ยกขึ้นอุทธรณ์ได้ และสำหรับโจทก์ที่ 1 และที่ 3 ถึงที่ 6 แม้จะมิได้ยกขึ้นกล่าวอ้างในอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรเห็นสมควรยกขึ้นวินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์ทั้งหกเป็นผู้รับสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องของการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทานโดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีไว้ โจทก์ทั้งหกมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไว้ดังกล่าวให้แก่โจทก์ทั้งหกได้
(วรรคแรก ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2548)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้องคดี แม้มีการแก้ไขกฎหมายสารบัญญัติในภายหลัง
ขณะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น กฎหมายที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดมีโทษขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี ศาลชั้นต้นจึงต้องสืบพยานโจทก์ประกอบจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์กฎหมายได้แก้ไขใหม่เป็นจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 4 ปี อันเป็นกรณีที่กฎหมายสารบัญญัติที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 บังคับให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด แต่ในส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติมิได้มีบทบังคับเช่นนั้นด้วย ดังนั้น จึงต้องนำกฎหมายวิธีสบัญญัติที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยถูกฟ้องมาบังคับใช้แก่การพิจารณาคดีของจำเลยตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนความไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีในลำดับชั้นศาลใด เพื่อมิให้เกิดความลักลั่นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดียวกัน ไม่ว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนสารบัญญัติดังกล่าวในลำดับชั้นศาลใดก็ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาคดีของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงยังคงต้องฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมปล้นทรัพย์เมื่อมีการใช้อาวุธปืน แม้ผู้กระทำเป็นเพียงคนเดียว
ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ" แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายอันเป็นเหตุฉกรรจ์ได้ ความในวรรคสี่ของมาตราเดียวกันบัญญัติว่า "ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดย ฯลฯ ใช้ปืนยิง ฯลฯ ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ แสดงให้เห็นต่อเนื่องกันไปว่าถ้าผู้กระทำคนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์นั้น ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนก็ยังคงต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในมาตราเดียวกัน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของมาตรา 340 ด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน แม้ผู้ร่วมกระทำบางคนใช้อาวุธ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ มุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนถ้าผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดเมื่อจำเลยที่ ๑ ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์
การปล้นทรัพย์จะขาดตอนแล้วหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้ความซึ่งมิได้จำกัดด้วยระยะทาง แม้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ออกมาเกือบถึงถนนสายป่าโมก - สุพรรณบุรีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันที่เกิดเหตุซึ่งทางฝ่ายผู้เสียหายกับพวกยังอาจติดตามขัดขวางการปล้นทรัพย์นั้นได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพาเอาทรัพย์ไป การปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่ขาดตอน
การปล้นทรัพย์จะขาดตอนแล้วหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้ความซึ่งมิได้จำกัดด้วยระยะทาง แม้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ออกมาเกือบถึงถนนสายป่าโมก - สุพรรณบุรีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันที่เกิดเหตุซึ่งทางฝ่ายผู้เสียหายกับพวกยังอาจติดตามขัดขวางการปล้นทรัพย์นั้นได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพาเอาทรัพย์ไป การปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่ขาดตอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบุกรุกที่ราชพัสดุที่เทศบาลได้รับอนุญาตใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.365(3)
หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และ 5 จึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลน้ำพองซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาท มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลน้ำพองโดยปกติสุข เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ราชพัสดุกับการรบกวนการครอบครอง: การจำแนกประเภททรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6855/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระจำยอมจากการจัดสรรที่ดิน: การจัดสรรที่ดินสร้างภาระจำยอมโดยอัตโนมัติเพื่อประโยชน์การเข้าถึงทางสาธารณะ
น. บิดาจำเลยแบ่งที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อย 11 แปลง โดยมีที่ดินแปลงหนึ่งซึ่งเป็นที่พิพาทไม่มีลักษณะเป็นที่ดินอยู่อาศัยแต่เป็นทางผ่านที่ดินทั้ง 10 แปลง ไปเชื่อมกับทางสาธารณะ แล้วนำที่ดินที่เหลือ 10 แปลง ออกให้เช่า เมื่อ น. ถึงแก่กรรม จำเลยซึ่งเป็นทายาท น. ได้รับโอนมรดกที่ดินทั้ง 11 แปลงดังกล่าวมา แล้วทำการแบ่งแยกโฉนดที่ดินใหม่จำนวน 10 แปลง โอนขายแก่ผู้ซื้อรวมทั้งโจทก์ การกระทำของ น. และจำเลยจึงเป็นการจัดสรรที่ดินตามความหมายของประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 1
เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเชื่อมต่อกับทางสาธารณะ น. บิดาจำเลยมีเจตนาที่จะให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นที่จัดสรรมีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวก ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงถือเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน และตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลงตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง
เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้เนื่องจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391
แม้ในคดีนี้จะมีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องว่า โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจยกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 มาปรับว่าทางพิพาทเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
เมื่อที่ดินพิพาทซึ่งเชื่อมต่อกับทางสาธารณะ น. บิดาจำเลยมีเจตนาที่จะให้เจ้าของที่ดินแปลงอื่นที่จัดสรรมีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยสะดวก ที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงถือเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน และตกอยู่ในภาระจำยอมแก่ที่ดินจัดสรรทุกแปลงตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 วรรคหนึ่ง
เมื่อทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมได้เนื่องจากการจดทะเบียนภาระจำยอมถือว่าเป็นการอันจำเป็นเพื่อรักษาและใช้ภาระจำยอมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1391
แม้ในคดีนี้จะมีประเด็นข้อพิพาทตามฟ้องว่า โจทก์ได้ภาระจำยอมโดยอายุความหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจยกประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 มาปรับว่าทางพิพาทเป็นสาธารณูปโภคที่ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเพื่อการจัดสรรที่ดิน ทางพิพาทจึงตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินทุกแปลงได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้