คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนพจน์ อารยลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6737/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาวางเพลิง: การวางน้ำมันเบนซินและการข่มขู่ไม่ถึงขั้นตระเตรียมวางเพลิง
จำเลยนำถุงพลาสติกบรรจุน้ำมันเบนซินไปวางบนแคร่หน้าบ้านผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยก็บุกรุกเข้าบ้านผู้เสียหายที่ 1 และทำร้ายร่างกายผู้เสียหายที่ 1 แล้วรีบหลบหนีออกจากบ้านผู้เสียหายที่ 1 ไปโดยไม่ได้สนใจถุงน้ำมันเบนซินดังกล่าวอีก แม้ขณะทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 จำเลยจะกล่าวขึ้นว่า "โกหกกู จะฆ่าและเผาให้หมด" แต่จำเลยก็มิได้แสดงอาการจะฆ่าผู้เสียหายที่ 1 ทั้ง ๆ ที่ผู้เสียหายที่ 1 เป็นผู้หญิงอยู่คนเดียว ซึ่งจำเลยอาจกระทำการฆ่าได้โดยง่าย และทั้งจำเลยก็มิได้กลับไปเปิดถุงพลาสติกเอาน้ำมันเบนซินราดหน้าบ้านผู้เสียหายที่ 2 เพื่อจุดไฟเผาดังพูด พฤติการณ์ชี้ให้เห็นว่าจำเลยหาได้มีเจตนาจะกระทำการฆ่าหรือเผาตามที่กล่าวขึ้นไม่ การกระทำของจำเลยจึงยังไม่เป็นความผิดฐานตระเตรียมเพื่อวางเพลิงเผาทรัพย์ผู้อื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6651/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องคดียาเสพติดและการลงโทษตามปริมาณสารบริสุทธิ์ ศาลต้องยึดตามที่ฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 จำนวน 2,000 เม็ด น้ำหนัก 177.9 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวจำนวน 1,000 เม็ด น้ำหนัก 88.95 กรัม โดยการขายให้แก่สายลับ ขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4, 7, 8, 15, 66, 102 เป็นการบรรยายฟ้องตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) แม้โจทก์จะนำสืบว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 45.327 กรัม ซึ่งถ้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไปให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามมาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) อันมีระวางโทษหนักกว่ามาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) ก็ตาม แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องว่าเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์เท่าใด จึงไม่อาจลงโทษตามมาตรา 66 วรรคสาม (ที่แก้ไขใหม่) ซึ่งมีระวางโทษหนักกว่ามาตรา 66 วรรคหนึ่ง (ที่แก้ไขใหม่) และเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
ความผิดหลายกระทง การลดโทษต้องลดเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษไม่ใช่รวมโทษทุกกระทงก่อนแล้วจึงลด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6094/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องคัดค้านคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ชัดเจน การบรรยายเหตุผลเก่าไม่เพียงพอ
ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ประกอบมาตรา 216 และ 225 วางหลักไว้ว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ แต่ฎีกาของจำเลยเพียงบรรยายว่าเหตุผลที่จำเลยยกขึ้นอุทธรณ์ทั้งหมดที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่าเป็นอุทธรณ์ในข้อปลีกย่อยไร้สาระนั้น จำเลยเห็นว่าล้วนแล้วแต่จะเป็นแก่นสาระน่าตั้งเป็นข้อสังเกตถึงการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจว่าได้ดำเนินการไปอย่างสุจริตโปร่งใสหรือไม่ และมีคำขอในท้ายฎีกาเพียงขอให้ศาลฎีกาให้ความเป็นธรรมแก่จำเลย ฎีกาของจำเลยไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดขึ้นคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 หรือกล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษาคดีไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายในข้อใดอย่างไร จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5881/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทางจำเป็น: ศาลฎีกาวินิจฉัยให้เปิดทางแม้ไม่ใช่ภาระจำยอม หากที่ดินถูกปิดล้อมและจำเป็นต้องใช้
โจทก์ฟ้องขอให้เปิดทางภาระจำยอมและอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นเนื่องจากที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อมไม่มีทางออกสู่สาธารณะ เป็นคำฟ้องให้ศาลเลือกวินิจฉัยจากพยานหลักฐานว่า เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็น ก็สามารถพิพากษาบังคับให้เปิดทางในฐานะทางจำเป็นได้ด้วย เมื่อที่ดินโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะ โจทก์ย่อมผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็น
การที่จำเลยฟ้องแย้งอ้างว่าการใช้ทางจำเป็นของโจทก์เป็นการทำละเมิดทำให้จำเลยเสียหายและจำเลยขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์และเรียกค่าเสียหายมาด้วย ถือได้ว่าจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกค่าทดแทนอันเกิดจากการใช้ทางจำเป็นมาด้วยแล้ว ศาลจึงกำหนดให้โจทก์ใช้ค่าทดแทนแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5672/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบกำกับภาษีปลอม – ความสัมพันธ์ผู้ซื้อ-ผู้ขาย – การใช้ใบกำกับภาษีที่ไม่ถูกต้อง
การที่โจทก์ซื้อน้ำมันจากสถานีบริการน้ำมันของ จ. แล้ว จ. นำใบกำกับภาษีของบุคคลอื่นมามอบให้แก่โจทก์ โดยโจทก์มิได้ซื้อน้ำมันจากผู้ออกใบกำกับภาษี ใบกำกับภาษีดังกล่าวจึงออกโดยผู้ที่มิได้ขายน้ำมันให้แก่โจทก์โดยตรง การที่ใบกำกับภาษีดังกล่าวระบุชื่อโจทก์เป็นผู้ซื้อจึงไม่ถูกต้องตรงกับความเป็นจริง ถือได้ว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5577/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีโรงเรือนค้างชำระ: เจ้าของใหม่ร่วมรับผิดเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ แม้พ้น 4 เดือน
พระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 45 บัญญัติว่า "ถ้าค่าภาษีค้างอยู่และยังมิได้ชำระขณะเมื่อทรัพย์สินได้โอนกรรมสิทธิ์ไปเป็นเจ้าของคนใหม่โดยเหตุใดๆ ก็ตาม ท่านว่าเจ้าของคนเก่าและคนใหม่เป็นลูกหนี้ค่าภาษีนั้นร่วมกัน" การที่จำเลยที่ 1 ไม่ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันถัดจากวันที่ได้รับแจ้งการประเมิน จึงเป็นเงินภาษีค้างชำระ ต่อมาจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างให้แก่จำเลยที่ 2 และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 โอนให้แก่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 3 โอนให้แก่จำเลยที่ 4 เป็นทอดๆ ไป ดังนี้ จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงตกอยู่ในฐานะเป็นเจ้าของคนเก่าและคนใหม่ อันต้องรับผิดในหนี้ค่าภาษีค้างร่วมกันกับจำเลยที่ 1 โดยมิพักต้องคำนึงว่าการโอนกรรมสิทธิ์ในโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวได้มีขึ้นก่อนหรือภายหลังจากครบกำหนด 4 เดือน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินสำหรับสถานศึกษาเอกชนที่แสวงหากำไร การประเมินภาษีที่ถูกต้อง
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการ โจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่ายกว่า 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5576/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานศึกษาเอกชนแสวงหากำไรและให้เช่าพื้นที่ ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (3)
ตามมาตรา 9 (3) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนฯ ทรัพย์สินของโรงเรียนสาธารณะซึ่งกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อผลกำไรส่วนบุคคล และใช้เฉพาะในการศึกษาเท่านั้นที่ได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน มหาวิทยาลัยโจทก์มีกำไรจากการดำเนินกิจการเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ในปี 2545 ที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการโจทก์มีรายได้สูงกว่ารายจ่าย 700 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาถึง 300 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าเป็นกิจการเพื่อแสวงหาผลกำไรส่วนบุคคลมากกว่าจะเป็นกิจการสาธารณะ ทั้งโจทก์ยังนำเอาอาคารเรียนไปให้บุคคลภายนอกเช่าทำเป็นศูนย์การค้า มีร้านอาหาร ร้านเสริมสวย ร้านแว่นตา ร้านถ่ายรูป ธนาคาร ที่ทำการไปรษณีย์ ซึ่งเห็นได้ว่าอาคารของโจทก์มิได้ใช้เฉพาะเพื่อการศึกษาเพียงอย่างเดียว จึงไม่ได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตต่อเนื่องทางทะเล: การกระทำความผิดต้องมีส่วนหนึ่งส่วนใดเกิดขึ้นในราชอาณาจักร หรือผลกระทบเกิดขึ้นในราชอาณาจักร
การจะถือว่าความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ก็ต่อเมื่อส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดที่บริเวณตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอประทิว จังหวัดชุมพร แต่ทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักร และผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรจึงถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4905/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจการพิจารณาคดีอาญา: ความผิดต้องกระทำในราชอาณาจักร หรือผลกระทบต้องเกิดในราชอาณาจักร จึงจะดำเนินคดีได้
การจะถือว่าความผิดใดได้กระทำในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 ต้องปรากฏว่าส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดนั้นได้กระทำในราชอาณาจักรหรือผลแห่งการกระทำเกิดในราชอาณาจักร คดีนี้โจทก์บรรยายฟ้องระบุว่าเหตุทุกข้อหาเกิดในราชอาณาจักรที่บริเวณ ตำบลใดไม่ปรากฏชัด อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าเหตุเกิดในเขตต่อเนื่องของประเทศไทยไม่มีส่วนหนึ่งส่วนใดของความผิดได้กระทำในราชอาณาจักรและผลแห่งการกระทำก็ไม่ได้เกิดในราชอาณาจักรตาม ป.อ. มาตรา 5 แต่อย่างใด จะถือว่าจำเลยกระทำความผิดในราชอาณาจักรไม่ได้
of 16