คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนพจน์ อารยลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4169/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่นำภาษีซื้อมาหัก: การตีความมาตรา 82/3 วรรคท้าย
ป. รัษฎากร มาตรา 82/3 วรรคท้าย กำหนดว่าภาษีซื้อที่มิได้นำไปหักในการคำนวณภาษีในแต่ละเดือนภาษี เพราะมีเหตุจำเป็นตามที่อธิบดีกำหนดให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดแต่ต้องไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้มีการออกใบกำกับภาษี เห็นได้ชัดเจนว่าหมายถึงเฉพาะกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้นไว้แล้ว หากแต่มีเหตุจำเป็นทำให้ไม่สามารถนำภาษีซื้อไปหักในเดือนภาษีนั้นได้ตามมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง ก็ให้มีสิทธินำไปหักในการคำนวณภาษีในเดือนภาษีหลังจากนั้นได้ตามมาตรา 82/3 วรรคท้าย มิได้หมายถึงกรณีที่ยังมิได้มีการยื่นแบบแสดงรายการภาษีดังเช่นกรณีของโจทก์ จึงไม่อาจนำบทบัญญัติดังกล่าวมาอนุโลมใช้กับกรณีของโจทก์ได้ กรณีนี้ต้องบังคับตามหลักทั่วไปในมาตรา 82/3 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดให้ผู้ประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มโดยคำนวณจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อในแต่ละเดือนภาษีที่จำเลยประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มโดยไม่นำภาษีซื้อมาหักจากภาษีขายในแต่ละเดือนภาษีจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานกระทำชำเราและกระทำอนาจารเป็นกรรมเดียวเจตนาเดียวกัน
การที่จำเลยไล่กอดปล้ำกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่ยังไม่สำเร็จความใคร่ แล้วจำเลยบังคับให้ผู้เสียหายใช้ปากกับอวัยวะเพศของจำเลยจนจำเลยสำเร็จความใคร่ การกระทำของจำเลยทุกขั้นตอนดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในคราวเดียวกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำอนาจารจึงเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในการกระทำชำเรา ไม่อาจแยกออกเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำชำเราซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4083/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมเดียวความผิดหลายบท: การกระทำชำเราอนาจารต่อเนื่อง ความผิดฐานชำเราครอบคลุมอนาจาร
การที่จำเลยไล่กอดปล้ำกระทำอนาจารและกระทำชำเราผู้เสียหาย แต่ยังไม่สำเร็จความใคร่ แล้วจำเลยบังคับให้ผู้เสียหายใช้ปากกับอวัยวะเพศของจำเลยจนจำเลยสำเร็จความใคร่ การกระทำของจำเลยทุกขั้นตอนดังกล่าวเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องในคราวเดียวกันโดยความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราผู้เสียหายนั่นเอง การกระทำอนาจารจึงเป็นการกระทำที่รวมอยู่ในการกระทำชำเรา ไม่อาจแยกออกเป็นการกระทำต่างกรรมต่างเจตนา การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานกระทำชำเราซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ตาม ป.อ. มาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3889/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ซื้อขายเผื่อชอบ-ยักยอก: เมื่อมีข้อสงสัยต้องยกประโยชน์ให้จำเลย
จำเลยรับนาฬิกาข้อมือจำนวน 7 เรือน ของผู้เสียหายไปเพื่อให้สามีตรวจดูโดยมีเจตนาจะซื้อขายกันและมีข้อตกลงจะใช้เวลาในการตรวจดูประมาณ 14 วัน หากจำเลยไม่ตกลงซื้อจะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบว่าไม่ซื้อหรือส่งนาฬิกาคืน ถ้าครบกำหนด 14 วัน แล้วจำเลยไม่แจ้งต่อผู้เสียหายและไม่ส่งมอบนาฬิกาคืน ย่อมถือว่าจำเลยตกลงซื้อนาฬิกาทั้ง 7 เรือน อันเป็นผลให้การซื้อขายเผื่อชอบมีผลบริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 จำเลยมีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้เสียหาย หากไม่ชำระผู้เสียหายต้องไปว่ากล่าวแก่จำเลยในทางแพ่งตามสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จำเลยไม่มีความผิดฐานยักยอก
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 33 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด" และ ป.วิ.อ. มาตรา 227 วรรคสอง ก็บัญญัติว่า "เมื่อมีความสงสัยตามสมควรว่าจำเลยได้กระทำผิดหรือไม่ ให้ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย" ดังนั้น เมื่อมีข้อสงสัยว่าผู้เสียหายซึ่งเป็นผู้ขายให้จำเลยผู้ซื้อยืมสินค้าไปตรวจดูเพื่อตัดสินใจว่าจะซื้อหรือไม่หรือไม่เป็นกรณีที่มีการตกลงซื้อขายเผื่อชอบกันแล้ว กรณีก็ต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย โดยฟังว่าข้อตกลงระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยเป็นเรื่องสัญญาซื้อขายเผื่อชอบ จะนำ ป.พ.พ. มาตรา 11 มาใช้ตีความเพื่อลงโทษจำเลยไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินใช้เกษตรกรรมภายใน 5 ปี: การพิจารณาการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตามกฎหมาย
โจทก์ขายที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมให้แก่ พ. ภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้รับโอนมาจากบิดาตาม พ.ร.ฎ.ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางการค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244)ฯ มาตรา 3 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากรฯ มีดังต่อไปนี้...(5) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการ แต่ไม่รวมถึงที่ดินที่ผู้นั้นใช้ในเกษตรกรรม (6) การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) หรือ (5) ที่ได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เนื้อความในกฎหมายแสดงให้เห็นโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่า การขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากได้ความว่าเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ถือเป็นการขายที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการ แต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้วจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายอสังหาริมทรัพย์เพื่อเกษตรกรรมและการพิจารณาเพื่อผลกำไรตาม พ.ร.ก.
ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 244) พ.ศ. 2534 มาตรา 3 แสดงโดยแจ้งชัดว่าการขายอสังหาริมทรัพย์ใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ใน (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงให้พิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปี นับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในระยะเวลาดังกล่าวก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไร เมื่อจำเลยรับว่าที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่ดินที่ใช้ในเกษตรกรรมต้องตามความใน (5) แล้ว กรณีจึงไม่ต้องด้วยการขายตามหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3635/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ขายภายใน 5 ปีหลังได้มา
การขายอสังหาริมทรัพย์รายใดหากไม่เข้าลักษณะตามที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มาตรา 3 (1) ถึง (5) ว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรแล้ว จึงจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน (6) ต่อไปว่าการขายนั้นได้กระทำภายใน 5 ปีนับแต่วันที่ได้อสังหาริมทรัพย์มาหรือไม่ หากเป็นการขายภายในกำหนดเวลาดังกล่าว ก็ให้ถือว่าเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรอันพึงต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย ดังนั้น เมื่อที่ดินแปลงที่โจทก์ขายเป็นที่นาที่ใช้ในเกษตรกรรมซึ่งเป็นที่ดินที่โจทก์ใช้ประกอบกิจการแต่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตามความใน (5) ที่กฎหมายกำหนดให้ได้รับการยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ใน (6) อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายหากเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์เดิม และการกระทำของหุ้นส่วนผู้จัดการถือเป็นความผิดของนิติบุคคล
ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อ 3 กล่าวอ้างในเบื้องต้นว่า จำเลยที่ 2 ขอฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 กลับกล่าวระบุเพียงว่าจำเลยที่ 2 ไม่อาจพ้องกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น และโต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นโดยคัดลอกถ้อยคำต่างๆ ที่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ภาค 2 ชนิดคำต่อคำมาไว้ในฎีกา ซึ่งข้ออุทธรณ์ดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้วินิจฉัยไว้แล้วทั้งสิ้น กรณีจึงถือว่าฎีกาของจำเลยที่ 2 มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216
จำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใดๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจของจำเลยที่ 2 ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 ส่วนการที่มีตราประทับของจำเลยที่ 1 ในการแต่งตั้งทนายความก็เป็นเรื่องที่มิได้มีกำหนดเป็นข้อจำกัดไว้ในหนังสือรับรองการจดทะเบียนจึงไม่อาจลบล้างผลของการที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดทางอาญาร่วมกับจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3488/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีหลังจำเลยเสียชีวิต: ผลต่อความชอบด้วยกฎหมายของการอ่านคำพิพากษา
จำเลยถึงแก่กรรมในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องขอให้หมายเรียกทายาทเข้ามาเป็นคู่ความแทนจำเลยผู้มรณะไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อพิจารณาสั่ง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งคำร้องไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 5 จนกระทั่งศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทำคำพิพากษาเสร็จแล้วส่งมาให้ศาลชั้นต้นอ่านจึงถือไม่ได้ว่าศาลอุทธรณ์ภาค 5 ทราบเรื่องจำเลยมรณะอันจะทำให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 ไปโดยทราบแล้วว่าจำเลยมรณะและยังไม่มีผู้เข้าเป็นคู่ความแทนเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 แล้วให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 เพื่อดำเนินการตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3483/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งแยกที่ดินมรดก: ศาลฎีกาชี้ขาดเนื้อที่ถูกต้องตามแผนที่ใหม่ แก้คำพิพากษาเดิม
คดีนี้โจทก์ทั้งสี่บรรยายว่า โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยทั้งสอง โจทก์ทั้งสี่ขอแบ่งการครอบครองที่ดินกับจำเลยทั้งสองแต่จำเลยทั้งสองเพิกเฉย โจทก์ทั้งสี่มีคำขอบังคับให้จำเลยทั้งสองไปแบ่งแยก ส่วนจะแบ่งแยกอย่างไร โจทก์ทั้งสี่ก็ได้แนบแผนที่วิวาทแสดงแนวเขตที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้วมาท้ายฟ้องและที่โจทก์ทั้งสี่อ้างถึงคำพิพากษาในคดีก่อนด้วยก็เพียงเพื่อให้ปรากฏว่าศาลในคดีก่อนได้วินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอย่างไร ฟ้องโจทก์ทั้งสี่จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสองเป็นคู่ความในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ทั้งสี่และจำเลยทั้งสองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 ซึ่งศาลพิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยครอบครองเป็นสัดส่วน เมื่อคดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้แบ่งแยกที่ดินดังกล่าว จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยกข้อต่อสู้ให้เป็นอย่างอื่นได้ คงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่า ที่ดินพิพาทของโจทก์มีเนื้อที่เท่าใด แผนที่วิวาทในคดีก่อนของโจทก์ระบุว่ามีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา แต่เนื้อที่ตามแผนที่วิวาท จล.1 ระบุว่า 2 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา ซึ่งโจทก์ลงชื่อรับรองในแผนที่วิวาทดังกล่าว จึงฟังได้ว่าที่ดินส่วนของโจทก์ทั้งสี่มีเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 88 ตารางวา และต้องแบ่งตามแผนที่วิวาทดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยวินิจฉัยว่า เนื้อที่ของที่ดินส่วนของโจทก์ประมาณ 2 ไร่ 2 งาน 54 ตารางวา และให้จำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนแบ่งแยกตามเนื้อที่ดินในคดีก่อนไม่ต้องด้วยความเห็นของศาลฎีกา และเนื่องจากเป็นคำพิพากษาที่เกี่ยวด้วยการชำระหนี้ไม่อาจแบ่งแยกได้จึงให้มีผลบังคับกับจำเลยที่ 2 ด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 245 (1)
of 16