คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนพจน์ อารยลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเฮโรอีนหลังการตรวจพิสูจน์ และการรับสารภาพที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
คำร้องขอฝากขังของพนักงานสอบสวนมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนการสอบสวนของพนักงานสอบสวนซึ่งศาลฎีกามีคำสั่งเรียกมาเพื่อประกอบการวินิจฉัยว่า เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีน พนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเติมต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายโดยผิดกฎหมาย กรณีจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งข้อหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3423/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาและอำนาจฟ้องในความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด แม้คำร้องขอฝากขังไม่ได้ระบุข้อหา แต่หากมีหลักฐานภายหลังก็มีอำนาจฟ้องได้
การร้องขอฝากขังเป็นเรื่องที่พนักงานสอบสวนยื่นขอต่อศาลโดยอ้างเหตุเบื้องต้นเกี่ยวกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาเพื่อขอให้ควบคุมผู้ต้องหาไว้ทำการสอบสวน ดังนั้น แม้ตามคำร้องขอฝากขังจะมิได้ระบุข้อหาความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีน แต่เมื่อผลการตรวจพิสูจน์ของกลางที่เจ้าพนักงานตรวจยึดได้เป็นเฮโรอีนพนักงานสอบสวนก็ได้แจ้งข้อหาเพิ่มเต็มต่อจำเลยทั้งสามว่า ร่วมกันมียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 (เฮโรอีน) ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และจำหน่ายโดยผิดกฎหมายจึงฟังได้ว่ามีการแจ้งขอหาและสอบสวนในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนแล้วโดยชอบโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสามในความผิดเกี่ยวกับเฮโรอีนได้ และเมื่อจำเลยทั้งสามให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาโดยไม่ต้องสืบพยานเพราะความผิดฐานมีเฮโรอีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายตามฟ้อง กฎหมายมิได้กำหนดอัตราโทษขั้นต่ำให้จำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป หรือโทษสถานที่หนักกว่าจำคุก 5 ปี ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 176

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าทรัพย์สิน: สิทธิบอกเลิกสัญญาและการผิดนัดชำระค่าเช่า
สัญญาเช่าทรัพย์สินเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่คู่สัญญาแต่ละฝ่ายต้องชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง การที่คู่สัญญาฝ่ายใดจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา สามารถทำได้ 2 กรณี คือ โดยข้อกำหนดแห่งสัญญากับโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แม้สัญญาเช่าที่จอดรถระหว่างโจทก์กับจำเลยจะไม่มีข้อกำหนดให้ผู้เช่าบอกเลิกสัญญาได้ก็ตาม แต่ก็มีบทบัญญัติตาม ป.พ.พ. มาตรา 548 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าไว้ว่า ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น หากข้อเท็จจริงต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าที่จอดรถต่อโจทก์ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยทำสัญญาเช่าที่จอดรถจากโจทก์โดยกำหนดว่าโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นผู้ทำบัตรจอดรถจำนวน 100 ใบ เพื่อมอบให้จำเลยนำไปให้ลูกค้าของจำเลย ซึ่งหากไม่มีบัตรจอดรถลูกค้าของจำเลยต้องเสียค่าจอดรถตามปกติ บัตรจอดรถย่อมเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่ต้องจัดทำบัตรจอดรถมอบให้จำเลย ปรากฏว่าระหว่างเช่า บัตรจอดรถหายไปจำนวน 83 ใบ แต่โจทก์ก็ทำบัตรใหม่ให้แก่จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าจำเลยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้ชำระเงินค่าทำบัตรจอดรถให้แก่โจทก์ก็ตามก็เป็นเรื่องที่ต้องไปว่ากล่าวกันอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยจะอ้างเหตุดังกล่าวบอกเลิกสัญญาเช่าที่จอดรถไม่ได้ เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์และโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลย สัญญาเช่าจึงยังคงมีผลบังคับตามอายุสัญญาเช่า จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจึงตกเป็นผู้ผิดนัด และการที่จำเลยไม่ให้ลูกค้าของจำเลยนำรถมาจอดในอาคารของโจทก์ไม่เป็นเหตุให้จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่าจำเลยยังต้องผูกพันชำระค่าเช่าจนกว่าจะครบสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3345/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าทรัพย์: ผู้ให้เช่าต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ใช้ประโยชน์ได้ หากไม่สามารถทำได้ ผู้เช่ามีสิทธิบอกเลิกสัญญา
คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตามสัญญาเช่าทรัพย์จะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาได้ใน 2 กรณี คือ โดยกำหนดแห่งสัญญาประการหนึ่ง กับโดยบทบัญญัติแห่งกฎหมายอีกประการหนึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 มิใช่ว่าเมื่อสัญญาเช่าไม่มีข้อกำหนดให้จำเลยมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าแล้ว จำเลยจะไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเสียเลย
ป.พ.พ. มาตรา 548 กำหนดหน้าที่และความรับผิดของผู้ให้เช่าไว้ว่า ถ้าผู้ให้เช่าส่งมอบทรัพย์สินซึ่งเช่านั้นโดยสภาพไม่เหมาะแก่การที่จะใช้เพื่อประโยชน์ที่เช่ามา ผู้เช่าจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ดังนั้น หากมีข้อเท็จจริงต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จำเลยย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาเช่าต่อโจทก์ได้
จำเลยทำสัญญาเช่าที่จอดรถจากโจทก์เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าของจำเลย ตามสัญญาเช่ากำหนดว่าโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นผู้ทำบัตรจอดรถ 100 ใบ มอบให้จำเลยนำไปให้ลูกค้า ซึ่งหากไม่มีบัตรจอดรถลูกค้าของจำเลยที่นำรถเข้าไปจอดจะต้องเสียค่าบริการจอดรถตามปกติ บัตรจอดรถย่อมเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องทำบัตรจอดรถมอบให้แก่จำเลย เมื่อบัตรจอดรถหายไป 83 ใบ และโจทก์ได้ทำบัตรจอดรถใหม่ให้แก่จำเลยแล้ว แม้โจทก์จะอ้างว่าการทำบัตรจอดรถใหม่นั้น จำเลยจะต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและให้จำเลยชำระเงินค่าทำบัตรจอดรถให้แก่โจทก์ก็เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวอีกเรื่องหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาเพราะเหตุดังกล่าว เมื่อจำเลยไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาต่อโจทก์และโจทก์มิได้บอกเลิกสัญญาเช่าต่อจำเลย สัญญาเช่าจึงยังคงมีผลบังคับ แต่จำเลยไม่ชำระค่าเช่าจำเลยจึงตกเป็นผู้ผิดนัด การที่จำเลยไม่ได้ให้ลูกค้าของจำเลยนำรถมาจอดในอาคารของโจทก์ ไม่เป็นเหตุที่จำเลยไม่ต้องชำระค่าเช่า จำต้องผูกพันชำระค่าเช่าจนกว่าจะครบสัญญาเช่า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3225/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้าและภาระการพิสูจน์ในคดีภาษีอากร ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลภาษีอากรกลาง
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 20 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2544 ข้อ 15 ได้กำหนดให้คู่ความยื่นบัญชีระบุพยานก่อนวันชี้สองสถานไม่น้อยกว่า 30 วัน เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว ถ้าคู่ความซึ่งมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาดังกล่าวได้ คู่ความดังกล่าวนั้นอาจยื่นคำร้องพร้อมทั้งบัญชีระบุพยานไม่ว่าเวลาใด ๆ ก่อนพิพากษาคดี ขออนุญาตอ้างพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้
ข้อเท็จจริงปรากฏตามสำนวนว่า โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานในวันชี้สองสถานนั้นเอง อันเป็นการยื่นบัญชีระบุพยาน เมื่อระยะเวลาที่กำหนดให้ยื่นบัญชีระบุพยานได้สิ้นสุดลงแล้ว โดยโจทก์แถลงด้วยวาจาว่าเข้าใจผิดในข้อกฎหมายเกี่ยวกับวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร จึงไม่ได้ทำคำร้องหรือยื่นบัญชีระบุพยานตามที่กฎหมายกำหนด เมื่อกรณีนี้กฎหมายบังคับให้ทำเป็นคำร้องแต่โจทก์กลับแถลงด้วยวาจาจึงเป็นการไม่ชอบ โจทก์จะอ้างว่าเป็นความเข้าใจผิดของโจทก์ย่อมไม่อาจรับฟังได้ว่ามีเหตุอันสมควรที่โจทก์ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดได้
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และอ้างว่ากรณีของโจทก์มีเหตุสมควรงดหรือลดเบี้ยปรับ ภาระการพิสูจน์ให้เห็นเป็นดังข้ออ้าง ย่อมตกแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2613-2614/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการสั่งจ่ายเช็คแทนห้างหุ้นส่วนจำกัด และความรับผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.เช็ค
ตามหนังสือรับรองการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 มีอำนาจลงลายมือชื่อทำนิติกรรมใด ๆ แทนจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องมีตราประทับและไม่มีข้อจำกัดอำนาจ ทั้งจำเลยที่ 2 สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้าของจำเลยที่ 1 กรณีจึงถือได้ว่าที่จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อในเช็คพิพาทเป็นการกระทำในนามหรือแทนจำเลยที่ 1 อันเป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนโดยไม่จำต้องมีตราประทับของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงต้องมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ ร่วมกับจำเลยที่ 2 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2233/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกผูกพันด้วยคำพิพากษาถึงที่สุด แม้ยังมิได้จดทะเบียน
คดีก่อน ธนาคาร ก. เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลย โดยมีจำเลยคดีนี้เป็นผู้ร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อนแล้วว่า ที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้องเป็นของจำเลยคดีนี้ เมื่อโจทก์และจำเลยคดีนี้เป็นคู่ความในคดีดังกล่าว ผลของคำพิพากษาย่อมผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง และแม้จำเลยจะยังมิได้จดทะเบียนการได้มาซึ่งที่ดินทั้งสามแปลงตามคำพิพากษาคดีดังกล่าว โจทก์ก็ไม่อยู่ในฐานะบุคคลภายนอกซึ่งอาจอ้างสิทธิตามความใน ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสองได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินทั้งสามแปลงตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ทางไปรษณีย์และหน้าที่ในการยื่นฟ้องคดีภายในกำหนด หากไม่ได้รับการแจ้งโดยตรง มิได้เป็นเหตุสุดวิสัย
ที่ผู้ร้องอ้างว่าเหตุที่ไม่ได้ฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรกลางภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์และไม่ได้ขอขยายระยะเวลาฟ้องคดีภายในกำหนดระยะเวลาดังกล่าว เป็นเพราะไม่ได้รับทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ เนื่องจาก ส. คนงานของผู้ร้องลงชื่อรับไว้แทนแต่หลงลืมและเดินทางกลับต่างจังหวัดจึงไม่ได้นำมามอบให้แก่ผู้ร้องภายในระยะเวลาที่ผู้ร้องสามารถยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรกลางได้นั้น ไม่ใช่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074-2075/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีธุรกิจเฉพาะจากการขายที่ดินเพื่อประกอบกิจการ: การบังคับใช้พ.ร.ก.และการปฏิบัติตามหน้าที่ของผู้เสียภาษี
ระหว่างที่โจทก์ขายที่ดินพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไร (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 มีผลบังคับใช้เป็นกฎหมายแล้ว โดยในมาตรา 3 (5) กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเป็นการขายอสังริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนบุคคลที่เป็นผู้ขายและมีหน้าที่เสียภาษีนั้น หมายถึงบุคคลตามที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 91/1 วรรคสอง ประกอบมาตรา 77/1 คือบุคคลธรรมดา คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลหรือนิติบุคคล การขายที่ดินที่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลธรรมดามีไว้ในการประกอบกิจการจึงเป็นการขายที่เป็นทางค้าหรือหากำไรซึ่งตกอยู่ในบังคับแห่งพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว แม้ภายหลังจะมีพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 342) พ.ศ.2541 ออกมาบังคับใช้แทนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 ก็ไม่มีผลลบล้างการบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมที่มีผลสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมา
ภาษีธุรกิจเฉพาะอันเกิดจากการขายอสังหาริมทรัพย์ที่โจทก์มีไว้ในการประกอบกิจการ เป็นภาษีที่เรียกเก็บจากเงินได้พึงประเมินของผู้ประกอบธุรกิจเฉพาะนั้นๆ โดยผู้ประกอบกิจการจะต้องไปยื่นชำระภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไปตาม ป.รัษฎากร มาตรา 91/10 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของโจทก์ที่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเป็นรายเดือนภาษีพร้อมกับชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ เมื่อโจทก์เพิกเฉยไม่ทำหน้าที่ตามบทกฎหมายกำหนดไว้จนกระทั่งกรมสรรพากรจำเลยได้รับรายงานการซื้อขายที่ดินดังกล่าวจากกรมที่ดินและทำการตรวจสอบประเมินภาษีในภายหลัง โจทก์จะกล่าวโทษว่าเป็นความผิดของจำเลยไม่ได้ จึงไม่มีเหตุที่จะงดหรือลดเบี้ยปรับแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2074-2075/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขายที่ดินเพื่อประกอบกิจการ เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้มีกฎหมายใหม่ไม่มีผลย้อนหลัง
โจทก์ทั้งสองเป็นสามีภริยากัน ที่ดินของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 รวมกันจำนวน 17 แปลง มีเนื้อที่ต่อเนื่องเป็นแปลงเดียวกัน มีการเทพื้นคอนกรีตเสริมเหล็กเต็มพื้นที่ แม้ว่าโจทก์ทั้งสองจะใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งในการปลูกบ้านเป็นที่อยู่อาศัย แต่ก็ได้ใช้ประกอบการค้าของบริษัททั้งของโจทก์เอง และบริษัทที่โจทก์ทั้งสองเป็นกรรมการบริษัทอยู่ด้วย โดยไม่ได้แบ่งแยกว่าส่วนใดใช้ประกอบกิจการหรือไม่ อีกทั้งยังให้บริษัท ก. เช่าที่ดินเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียงในส่วนที่เป็นที่ตั้งของบ้านและสำนักงานบริษัทของโจทก์ แม้จะมีที่ดินบางส่วนว่างอยู่ แต่ก็ถือว่าโจทก์ทั้งสองใช้ที่ดินทั้ง 17 แปลงในการประกอบกิจการทั้งหมดทุกแปลง เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 โจทก์ทั้งสองขายที่ดินทั้ง 17 แปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่กรุงเทพมหานครจึงเป็นการขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นทางค้าหรือหากำไรตามมาตรา 91/2 (6) ซึ่งตกอยู่ในบังคับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 3 (5) แห่ง พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 244) พ.ศ.2534 ที่บังคับใช้อยู่ในขณะนั้น แม้ภายหลังจะมี พ.ร.ฎ. (ฉบับที่ 342) พ.ศ. 2541 ออกมาบังคับใช้แทนตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2542 กำหนดให้การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะตาม มาตรา 91/2 (6) แห่ง ป.รัษฎากร มีแต่เฉพาะการขายของนิติบุคคลนั้น ก็เป็นเพียงกรณีที่รัฐประสงค์จะแก้ไขการจัดเก็บภาษีตามนโยบาย ไม่มีผลลบล้างบทบังคับใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับเดิมที่มีผลสมบูรณ์ในช่วงเวลาที่ผ่านมาแต่อย่างใด
of 16