คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ธนพจน์ อารยลักษณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 153 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม: สิทธิไล่เบี้ยจากผู้รับเช็ค (สลักหลัง) ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 57(3)
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้แก่โจทก์ ดังนั้น หากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5417/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นคู่ความ: หลักเกณฑ์การใช้สิทธิไล่เบี้ยและผลกระทบต่อความรับผิด
การที่จะเรียกบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความเข้ามาในคดีนั้นจะต้องแสดงเหตุผลว่าตนอาจฟ้องหรือถูกคู่ความเช่นว่านั้นฟ้องตนได้เพื่อการใช้สิทธิไล่เบี้ยหรือเพื่อใช้ค่าทดแทน ถ้าหากศาลพิจารณาให้คู่ความเช่นว่านั้นแพ้คดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3) แต่ตามคำร้องของจำเลยทั้งสองที่ขอให้เรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยทั้งสองนั้นได้ความว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทให้แก่บริษัท ผ. ต่อมาบริษัท ผ. ได้สลักหลังโอนให้โจทก์ ดังนั้นหากศาลพิพากษาให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามเช็คพิพาทให้แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองในฐานะผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทจึงไม่อาจใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาจากบริษัท ผ. ผู้สลักหลังได้ กรณีจึงไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะเรียกบริษัท ผ. เข้ามาเป็นคู่ความในคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4970/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์กับการบริการ: การพิจารณาเพื่อการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์นำอาคารสำนักงานใหญ่ของตนให้บริษัทในเครือหลายบริษัทเช่าพื้นที่ แม้โจทก์จะได้ทำสัญญาให้บริการในด้านอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ด้วย แต่ก็แบ่งแยกเป็นสัญญาเช่าอาคารต่างหากจากสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก นอกจากนี้การที่โจทก์จะเข้าตรวจสถานที่เช่าก็ต้องแจ้งให้ผู้เช่าทราบล่วงหน้าก่อน ส่วนกรณีที่มีกำหนดวันและเวลาใช้อาคารสถานที่ระหว่างวันจันทร์ถึงวันศุกร์เวลา 7 ถึง 18 นาฬิกา ไว้ด้วย ก็เป็นข้อสัญญาที่ระบุอยู่ในสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวก สำหรับระเบียบปฏิบัติที่กำหนดว่าผู้เช่าจะต้องบอกกล่าวแก่พนักงานของโจทก์ให้มาเปิดและปิดอาคารสถานที่และดูแลให้ความสะดวกในส่วนของการบริการ โดยเสียค่าบริการเพิ่มจากเวลาปกตินั้น เป็นเพียงการกำหนดเพื่อความสะดวกแก่การใช้อาคารในพื้นที่เช่าตามที่โจทก์มีภาระต้องจัดพนักงานมาคอยให้บริการตามสัญญาให้บริการและอำนวยความสะดวกที่ทำขึ้นต่างหากจากสัญญาเช่าอาคารเท่านั้น มิใช่ข้อจำกัดสิทธิของผู้เช่าสัญญาระหว่างโจทก์กับบริษัทในเครือดังกล่าวต้องตามหลักเกณฑ์ในลักษณะการเช่าทรัพย์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 537 จึงเป็นการที่โจทก์ให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 81 (1) (ต) ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับประกอบกิจการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4095/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดก: คดีเรียกร้องคืนทรัพย์มรดกไม่ใช่การแบ่งทรัพย์มรดกระหว่างทายาท
ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย..." คำว่า คดีมรดก ตามบทบัญญัติดังกล่าวหมายความว่า คดีที่พิพาทกันระหว่างทายาทที่มีสิทธิในทรัพย์มรดกด้วยกันด้วยเรื่องสิทธิเรียกร้องส่วนแบ่งทรัพย์มรดก ฉะนั้น จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นภริยาของทายาทคือจำเลยที่ 1 จึงมิใช่ทายาทผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกของ บ. และโจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกของ บ. ฟ้องคดีนี้เพื่อเรียกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินจากจำเลยทั้งสองเพื่อนำมาแบ่งปันแก่ทายาทของ บ. กรณีมิใช่เรื่องเรียกร้องส่วนแบ่งในทรัพย์มรดก จำเลยที่ 2 ไม่อาจยกอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 วรรคหนึ่ง ขึ้นกล่าวอ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4073/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์เรื่องอายุเยาวชนขัดคำให้การเดิม และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
การที่จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ว่า ขณะกระทำความผิดตนมีอายุเพียง 16 ปีเศษ ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 โอนคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวเพื่อพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 15 และลดมาตราส่วนโทษลงกึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 75 เป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นอุทธรณ์ซึ่งขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 และมิใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ.มาตรา 15 การที่จำเลยที่ 2 ยังคงยกปัญหาข้อเดียวกันนั้นขึ้นฎีกาเป็นข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์ภาค 4 มิได้วินิจฉัยปัญหานั้น จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามนั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4019/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยอายุต่ำกว่า 18 ปี และหลักการลดมาตราส่วนโทษเนื่องจากอายุในทุกกระทงความผิด
ขณะกระทำความผิดจำเลยที่ 3 อายุต่ำกว่าสิบแปดปีจึงเข้าหลักเกณฑ์ ตาม ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม ที่จะเปลี่ยนระวางโทษสำหรับจำเลยที่ 3 เป็นจำคุกห้าสิบปี แต่กรณีของจำเลยที่ 2 มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปี จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ตาม ป.อ. มาตรา 18 วรรคสาม ที่จะเปลี่ยนเป็นระวางโทษจำคุกห้าสิบปีเช่นเดียวกับจำเลยที่ 3 ได้
การลดมาตราส่วนโทษตาม ป.อ. มาตรา 76 เป็นการลดมาตราส่วนโทษเพราะเหตุอายุของผู้กระทำความผิด เมื่อศาลใช้ดุลพินิจลดมาตราส่วนโทษให้แก่จำเลยที่ 2 แล้วก็จำต้องลดโทษให้ทุกกระทงความผิด แม้ความผิดฐานมีอาวุธปืนและฐานพาอาวุธปืนจะยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจขอเข้าบังคับคดีของผู้เสียหาย: คดีความผิดอื่นที่ไม่ใช่ความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43
ป.วิ.อ.มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่ คดีลักทรัพย์ ฯลฯ ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 ไม่ใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 43 ไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 50 ผู้ร้องจึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้เสียหายรุกล้ำคลองชลประทานในการบังคับคดี: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้เสียหายในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น
ป.วิ.อ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น อันได้แก่คดีลักทรัพย์ วิ่งราว ปล้นทรัพย์ โจรสลัด กรรโชก ฉ้อโกง ยักยอกหรือรับของโจร คดีที่ผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ. การชลประทานหลวงฯ จึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 50

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3973/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการบังคับคดีของกรมชลประทานในคดีรุกล้ำคลองชลประทานตาม ป.วิ.อ. มาตรา 50
ป.วิ.อ. มาตรา 50 บัญญัติว่า ในกรณีที่ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สินหรือใช้ราคาแก่ผู้เสียหายตามมาตรา 43 และ 44 ให้ถือว่าผู้เสียหายนั้นเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น ผู้เสียหายที่จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามมาตราดังกล่าวจะต้องเป็นผู้เสียหายเฉพาะในความผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 เท่านั้น กรมชลประทานผู้ร้องเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานรุกล้ำคลองชลประทานตาม พ.ร.บ.การชลประทานหลวง พ.ศ.2485 อันมิใช่ความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 ไม่ต้องด้วยมาตรา 50 จึงไม่มีอำนาจขอเข้าดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นบังคับคดีเพื่อให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำตามคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3794/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานีขนส่งสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดิน หากเกี่ยวข้องกับการขนส่งของรถไฟโดยตรง
การดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องเกี่ยวเนื่องกับระบบการขนส่งสินค้ากล่องเชื่อมโยงต่อกับท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เพื่อสนับสนุนกิจการนำเข้าและส่งออกของประเทศและการเติบโตของท่าเรือแหลมฉบัง โดยผู้ดำเนินการที่สถานีนี้จะทำหน้าที่ขนถ่ายและแยกสินค้าที่บรรจุมาในตู้สินค้าที่บรรทุกมาจากต่างประเทศโดยทางเรือมาที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง แล้วขนขึ้นรถไฟมาที่สถานีดังกล่าวเพื่อนำส่งให้แก่ผู้นำเข้าหรือนำสินค้าที่จะต้องส่งไปต่างประเทศโดยทางเรือมาบรรจุในตู้สินค้าเพื่อขนขึ้นรถไฟไปที่ท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง โดยคิดค่าบริการจากผู้ที่ใช้บริการ เป็นการดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขนส่งของรถไฟคือการรับขนส่งสินค้าตามมาตรา 6 (2) และ มาตรา 9 (7) แห่ง พ.ร.บ.การรถไฟแห่งประเทศไทยฯ สถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องตามฟ้องจึงเป็นทรัพย์สินของการรถไฟแห่งประเทศไทยที่ใช้ในกิจการรถไฟโดยตรง ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามมาตรา 9 (2) แห่ง พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และ มาตรา 225 วรรคสอง
โจทก์เป็นผู้รับเหมาสัมปทานเข้าดำเนินกิจการสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามคำชี้ขาดให้แก่จำเลยที่ 1 แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยตามสัญญาสัมปทาน โดยเข้าใจว่าการรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ต้องชำระตามกฎหมาย เมื่อสถานีดังกล่าวได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินตามกฎหมาย จำเลยที่ 1 จึงไม่มีสิทธิยึดเงินค่าภาษีจำนวนดังกล่าวไว้ โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคืนเงินดังกล่าวจากจำเลยที่ 1 และมีอำนาจฟ้องศาลบังคับให้จำเลยที่ 1 คืนเงินค่าภาษีที่ได้รับไปให้แก่โจทก์ได้ ส่วนจำเลยที่ 2 นั้นมิได้เป็นผู้รับเงินค่าภาษีจากโจทก์ ทั้งการแจ้งประเมินและการแจ้งคำชี้ขาดดังกล่าวเป็นการปฏิบัติราชการตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในการคืนเงินดังกล่าวให้แก่โจทก์
of 16