คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาต: สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้เสียหาย
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์หรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 ทั้งตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3530/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดหางานผิดกฎหมายและการเรียกทรัพย์สินชดใช้ – ขอบเขตอำนาจอัยการ
จำเลยมีความผิดฐานจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางานพ.ศ.2528 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง 82 เท่านั้น แต่จำเลยมิได้มีความผิดฐานฉ้อโกงตามฟ้องด้วย พนักงานอัยการโจทก์จึงไม่มีอำนาจเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายเพราะไม่ใช่เป็นความผิดตามที่ระบุไว้ใน ป.วิ.อ.มาตรา 43 ทั้งตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ.2528 ก็มิได้ให้อำนาจพนักงานอัยการโจทก์ที่จะเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจรและความรับผิดทางแพ่ง: คืนทรัพย์ที่รับของโจรแล้ว ไม่อาจบังคับให้ชดใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจรตามฟ้อง ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยจะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น ดังนี้ เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้ว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนตามคำขอของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางแพ่งของผู้กระทำผิดฐานรับของโจร เมื่อทรัพย์สินถูกคืนผู้เสียหายแล้ว
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยจะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้ว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนตามคำขอของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3098/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดทางแพ่งในคดีรับของโจร: ความรับผิดจำกัดเฉพาะทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืน
จำเลยกระทำผิดฐานรับของโจร ความรับผิดทางแพ่งของจำเลยจะต้องมีอยู่เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับความผิดทางอาญาฐานรับของโจรเท่านั้น เมื่อผู้เสียหายได้รับของกลางที่จำเลยรับของโจรไว้คืนไปแล้ว จึงไม่อาจบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยังไม่ได้คืนตามคำขอของโจทก์ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3006/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงซื้อขายที่ดิน: แม้มีสัญญาซื้อคืนแต่ไม่ลบล้างการหลอกลวง โจทก์ไม่ต้องรอความเสียหายจากการซื้อคืน
จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันหลอกลวงให้โจทก์ร่วมซื้อที่ดินที่ติดลำคลองมิใช่ติดถนนสาธารณะในราคาที่สูงมาก ทั้งที่ราคาควรจะต่ำกว่าที่โจทก์ร่วมได้ชำระไป เพราะเป็นที่ดินไม่มีทางออก การสัญจรต้องข้ามคลองเท่านั้น เมื่อโจทก์ร่วมชำระค่าที่ดินไปเพราะถูกหลอกลวง ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นนับแต่วันชำระราคาที่ดิน จึงร้องทุกข์ได้แต่บัดนั้นเป็นต้นไป ไม่ต้องรอให้ครบ 1 ปี เพื่อดูว่ามีการซื้อขายที่ดินคืน และโจทก์ร่วมขาดทุนจากการขายที่ดินคืนเสียก่อน ข้อที่จำเลยที่ 2 โอนบ้าน 1 หลังให้โจทก์ร่วมก็เป็นเพียงการบรรเทาผลร้ายบางส่วนจากการกระทำผิดทางอาญาฐานฉ้อโกง มิใช่การประนีประนอมยอมความที่มีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีแพ่งและคดีอาญาของโจทก์และโจทก์ร่วมระงับไป
ศาลล่างทั้งสองบังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันคืนเงินที่ฉ้อโกงไปแก่โจทก์ร่วมตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 โดยได้หักกับราคาทรัพย์สินที่โจทก์ร่วมได้รับการชดใช้มาบ้าง ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งแห่งคำพิพากษาคดีอาญาตามมาตรา 44 วรรคสอง แม้เป็นคดีส่วนแพ่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้เข้าร่วมเป็นโจทก์เฉพาะส่วนคดีอาญาก็ตาม ศาลก็บังคับให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2278/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายจากยักยอกทรัพย์: โจทก์ฟ้องทั้งจำเลยและผู้ค้ำประกัน ศาลฎีกาเห็นควรให้ปรับและคุมความประพฤติ
ศาลล่างทั้งสองใช้ดุลพินิจให้จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์สินที่ได้ยักยอกไปแก่โจทก์ร่วมตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่เมื่อได้ความว่าการที่จำเลยต้องคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไปให้แก่โจทก์ร่วมคดีนี้ เป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายที่ผู้ค้ำประกันจำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระให้แก่โจทก์ร่วมในคดีแพ่งดังกล่าวแล้ว โจทก์ร่วมก็ไม่มีสิทธิที่จะขอบังคับเอาได้ทั้งสองทาง ความรับผิดของจำเลยในส่วนนี้เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาใน ชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6916/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงลดหนี้กับการถอนฟ้อง, การยักยอกเงินค่าเบี้ยประกัน, และการกำหนดโทษ
จำเลยได้มาปรากฏตัวต่อหน้าพนักงานสอบสวน ณ สถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆ พนักงานสอบสวนจึงแจ้งข้อหาให้ทราบและควบคุมตัวดำเนินคดีสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงเป็นสถานที่ที่จำเลยถูกจับ พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลทุ่งมหาเมฆจึงมีอำนาจทำการสอบสวนได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 18 วรรคสอง พนักงานอัยการมีอำนาจฟ้อง โจทก์ร่วมและจำเลยแถลงในรายงานกระบวนพิจารณาว่า โจทก์ร่วมยังติดใจหนี้อีกเพียง 381,699 บาท และจะถอนคำร้องทุกข์ต่อเมื่อจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ร่วมแล้วไม่มีข้อความว่าโจทก์ร่วมตกลงสละสิทธิในการดำเนินคดีต่อจำเลยในทันที การที่จำเลยจะต้องชำระเงินให้โจทก์ร่วมจนครบจึงถือเป็นเงื่อนไขในการถอนคำร้องทุกข์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์ร่วมจึงไม่ถูกผูกพันที่ต้องถอนคำร้องทุกข์และถือไม่ได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่เมื่อโจทก์ได้แสดงเจตนาสละสิทธิเรียกร้องในหนี้บางส่วน โดยยังติดใจในหนี้อีกเพียง 381,699 บาท การแสดงเจตนาดังกล่าวย่อมมีผลผูกพัน เมื่อจำเลยนำเงินมาชำระแก่โจทก์ร่วมเพียง 30,000 บาทจึงเหลือเงินจำนวน 351,699 บาท ที่จำเลยต้องคืนให้แก่โจทก์ร่วม จำเลยฎีกาว่า จำเลยทำผิดเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ มีเหตุอันจำเป็นบังคับ จำเลยใช้เงินคืนโจทก์ร่วมบางส่วนแล้ว การรับสารภาพเป็นส่วนหนึ่งของวิธีที่จำเลยจะใช้เงินแก่โจทก์แสดงว่าจำเลยไม่เคยรู้สึกสำนึกผิด ทั้งจำเลยได้ยักยอกเงินค่าเบี้ยประกันที่ผู้เอาประกันชำระให้แก่โจทก์ร่วมมีจำนวน 84 ราย เป็นเงินจำนวน 763,399 บาท โทษจำคุก6 เดือน จึงเหมาะสมและไม่มีเหตุรอการลงโทษจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5401/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการหลอกลวงจัดหางานไปทำงานต่างประเทศ ศาลยืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดด้วยการแสดงข้อความอัน เป็นเท็จว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดไปทำงานใน ประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ เป็นงานที่มีรายได้ เมื่อผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำงานได้ทันที โดยจำเลยทั้งสองปกปิดข้อความจริงว่าจำเลยทั้งสอง ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดหาคนงานไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้จาก นายทะเบียนจัดหางานกลางจากการหลอกลวงดังกล่าวทำให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ด หลงเชื่อและมอบเงินจำนวนต่าง ๆ ให้แก่จำเลยทั้งสอง ดังนั้น การกระทำของ จำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง มิใช่ผิดเฉพาะสัญญาทางแพ่งแต่อย่างใด ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดยอมจ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเนื่องจากประสงค์จะเดินทางไปทำงานในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ตามที่จำเลยทั้งสองรับรอง หากผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดทราบความจริงว่าถูกจำเลยทั้งสองหลอกลวงแล้ว ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดคงไม่เดินทางไปยังประเทศดังกล่าวและไม่จ่ายเงินค่าตั๋วเครื่องบินให้แก่จำเลยทั้งสองเป็นแน่ แม้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดได้ใช้ตั๋วเครื่องบินดังกล่าวเดินทางไปและกลับระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ แต่การเดินทางของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดดังกล่าวมิได้เกิดจากความสมัครใจของตนที่จะเดินทางไปหางานทำด้วยตนเอง แต่เกิดจากการที่ถูกจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงฉ้อโกง ดังนั้น เงินค่าตั๋วเครื่องบินของผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดที่ต้องสูญเสียไปจึงเป็นเงินที่เกิดจากการหลอกลวง ของจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดย่อมมีสิทธิที่จะเรียกค่าตั๋วเครื่องบินดังกล่าวคืนจากจำเลยทั้งสอง ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดเดินทางไปประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้เนื่องจากหลงเชื่อตามที่จำเลยทั้งสองหลอกลวงเป็นเหตุให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดต้องเสียเวลาในการทำมาหากิน ทั้งผู้เสียหายบางคนยังถูกจับและถูกขังอยู่ในประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ทำให้ต้องสูญเสียอิสรภาพ จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายปกครองมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ประชาชน แต่จำเลยที่ 1 กลับมากระทำความผิดเสียเองโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่ในการหลอกลวงเพื่อให้ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดหลงเชื่อ หลังเกิดเหตุจำเลยทั้งสองก็มิได้บรรเทาผลร้าย ชดใช้หรือเสนอที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหายทั้งสิบเอ็ดแต่อย่างใดกรณีไม่มีเหตุที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3746/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความยักยอกทรัพย์: ผู้เสียหายทราบความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 การร้องทุกข์ล่าช้าทำให้คดีขาดอายุความ
การที่ผู้เสียหายมอบเงินจำนวน 250,000 บาท ให้จำเลยผู้เป็นสมุห์บัญชีธนาคารและเป็นเพื่อนบ้านไปฝากเข้าบัญชีของผู้เสียหายที่ธนาคารตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2536 แต่จำเลยก็ไม่นำเงินเข้าบัญชีให้ในวันนั้นหรือในวันรุ่งขึ้นแล้วผัดผ่อนเรื่อยมา ซึ่งอย่างช้าภายในเดือนสิงหาคม 2536 ผู้เสียหายก็ต้องทราบว่าจำเลยเบียดบังเอาเงินนั้นเป็นของตนหรือบุคคล ที่สามโดยทุจริตอันเป็นความผิดฐานยักยอกแล้ว ฉะนั้น การที่ ผู้เสียหายรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2536 แต่ผู้เสียหายเพิ่งร้องทุกข์เมื่อวันที่6 กันยายน 2538 คดีโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 และเมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อม ระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงาน อัยการโจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
of 33