พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อโกงต้องมีเจตนาทำให้ผู้อื่นเสียทรัพย์ การรับสมาชิกสมาคมฌาปนกิจโดยแจ้งข้อมูลเท็จแต่ไม่ได้ทรัพย์สิน ไม่เป็นความผิด
จำเลยทั้งสองร่วมกันนำ ธ. มาสมัครเป็นสมาชิกสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์โจทก์ร่วม โดยแจ้งแก่โจทก์ร่วมว่า ธ. คือ บ. บิดาจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีสุขภาพแข็งแรงเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมหลงเชื่อจึงรับ บ. เป็นสมาชิก ความจริงแล้วขณะนั้น บ. ป่วยเป็นโรคมะเร็งในลำไส้ ไม่สามารถเดินไปไหนมาไหนได้ การหลอกลวงมีผลเพียงให้โจทก์ร่วมรับ บ. เข้าเป็นสมาชิกเท่านั้น หาได้ทำให้จำเลยทั้งสองได้ทรัพย์สินไปจากโจทก์ร่วมไม่ แม้ต่อมาโจทก์ร่วมจะจ่ายเงินสงเคราะห์ให้จำเลยที่ 1 ไปจำนวน 92,000 บาท แต่ก็เนื่องจาก บ. ถึงแก่กรรมหาใช่เนื่องจากจำเลยทั้งสองหลอกลวงไม่การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง พนักงานอัยการโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43คำขอส่วนแพ่งของโจทก์ร่วมที่ขอถือเอาตามฟ้องของพนักงานอัยการโจทก์ย่อมตกไปด้วย ศาลไม่อาจสั่งให้จำเลยทั้งสองคืนเงินจำนวน 92,000 บาท แก่โจทก์ร่วมได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำขอค่าเสียหายดอกเบี้ยในคดีแพ่งต้องห้าม หากมีคำขอชดใช้ค่าเสียหายในคดีอาญาแล้ว
คดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมใบรับน้ำมันแล้ว นำใบรับน้ำมันปลอมไปขอรับน้ำมันจากสถานีคลังน้ำมันของโจทก์โดยไม่ชอบ รวมเป็นเงินค่าน้ำมันทั้งสิ้น 724,239.38 บาทขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน946,037.69 บาท และดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีในต้นเงิน 724,239.38 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคำขอโจทก์ในคดีอาญาเรื่องก่อนคือการคืนหรือให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับ คดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษา ได้และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้วย่อมมีผลตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน หรือศาลอื่นอีก ศาลจึงไม่อาจรับวินิจฉัยคำขอเรื่องดอกเบี้ย ในคดีนี้ได้ แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญา ก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมายการฟ้องร้องในคดีแพ่งเรื่องนี้ที่ขอบังคับจำเลยในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้องฟ้องมาในคราวเดียวกับเงินต้นจึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วนเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 696/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีแพ่งซ้ำซ้อนหลังมีคำขอส่วนแพ่งในคดีอาญา ศาลต้องห้ามรับฟ้องในส่วนดอกเบี้ยและเงินต้น
คดีแพ่งเรื่องนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยปลอมใบรับน้ำมันแล้วนำใบรับน้ำมันปลอมไปขอรับน้ำมันจากสถานีคลังน้ำมันของโจทก์โดยไม่ชอบ รวมเป็นเงินค่าน้ำมันทั้งสิ้น 724,239.38 บาท ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันทำละเมิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 946,037.69 บาทและดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 724,239.38 บาท นับแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระแล้วเสร็จแก่โจทก์ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาและคำขอโจทก์ในคดีอาญาเรื่องก่อนคือการคืนหรือให้จำเลยใช้ราคาทรัพย์ ซึ่งเป็นคำขอส่วนแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลในคดีอาญามีอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาได้และเมื่อศาลในคดีอาญาได้รับคำขอส่วนแพ่งของโจทก์ดังกล่าวไว้พิจารณาโดยชอบแล้วย่อมมีผลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 173 วรรคสอง (1) จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ยื่นคำฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกันหรือศาลอื่นอีก ศาลจึงไม่อาจรับวินิจฉัยคำขอเรื่องดอกเบี้ยในคดีนี้ได้ แม้ในส่วนดอกเบี้ยที่โจทก์มิได้มีคำขอในคดีอาญาก็ตาม แต่ดอกเบี้ยนี้เป็นดอกผลที่เกิดตามเงินต้นตามกฎหมาย การฟ้องร้องในคดีแพ่งเรื่องนี้ที่ขอบังคับจำเลยในส่วนดอกเบี้ยจึงอาศัยและพึงต้องฟ้องมาในคราวเดียวกับเงินต้น จึงต้องห้ามตามคำฟ้องในส่วนเงินต้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7283/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อนและอำนาจฟ้องในคดีเช่าซื้อ: มูลหนี้ต่างกันและวัตถุประสงค์ของโจทก์
แม้พนักงานอัยการจะเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิด ฐานยักยอกเครื่องรับโทรทัศน์สี และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ที่ยักยอกไป การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหาย ที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญาแม้จะถือว่า เป็นการขอแทนผู้เสียหายตามที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา เท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาเช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สี ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน อันเป็นการฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาทางแพ่ง ถึงแม้คำขอบังคับ จะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 1 คืนเครื่องรับโทรทัศน์สีหรือใช้ราคา แต่ข้ออ้างที่อาศัย เป็นหลักแห่งข้อหานั้นมิได้เป็นอย่างเดียวกัน ในคดีอาญานั้น ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการ ขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น เป็นที่เห็นได้ว่ามาจากข้ออ้าง เนื่องจากการกระทำผิดอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาเช่าซื้อในเมื่อมูลหนี้ ในคำฟ้องทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประกอบกับคำฟ้อง ของโจทก์ กรณีของการผิดสัญญาเช่าซื้อนั้นเป็นอำนาจของ คู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญา ไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาเช่าซื้อมาเป็นข้ออ้าง ในคำขอส่วนแพ่งได้จึงมิใช่เป็นการฟ้องในเรื่องเดียวกัน ในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน หนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 ระบุว่า ขาย โอน จำนองจำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่นและข้อ 8 ระบุว่า ประกอบกิจการค้า เครื่องจักร เครื่องยนต์เครื่องมือกล เครื่องทุ่นแรง ยานพาหนะ เครื่องกำเนิด และเครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ การที่โจทก์ให้เช่าซื้อ เครื่องรับโทรทัศน์สีอันเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นการจำหน่าย ทรัพย์สินโดยประการอื่นและเป็นการประกอบกิจการค้าตามความหมาย ในหนังสือบริคณห์สนธิของโจทก์ข้อ 2 และข้อ 8 จึงเป็นการกระทำซึ่งอยู่ในวัตถุประสงค์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง คดีส่วนอาญาศาลพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดและลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานยักยอกทรัพย์ ส่วนคดีแพ่งโจทก์ฟ้องขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่เช่าซื้อโดยอาศัยสัญญาเช่าซื้อ อันเป็นสิทธิเรียกร้องที่ไม่ต้องอาศัยมูลความผิดทางอาญาในความผิดฐานยักยอก จึงไม่ใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จะนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6553/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รอการลงโทษและชดใช้ค่าเสียหายเกินราคาทรัพย์ที่ลักไป ศาลฎีกาแก้เป็นปรับและคุมความประพฤติ
แม้จำเลยที่ 1 ร่วมกับพวกลักทรัพย์ของโจทก์ร่วมไปหลายครั้ง แต่ราคาทรัพย์รวมทั้งสิ้นเพียง 18,812 บาทและหลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้เงินจำนวน 100,000 บาทแก่โจทก์ร่วม จนโจทก์ร่วมพอใจและไม่ติดใจดำเนินคดีทั้งทางแพ่งและทางอาญาแก่จำเลยที่ 1 แสดงว่าจำเลยที่ 1รู้สำนึกถึงความผิดที่ตนกระทำและพยายามบรรเทาผลร้ายแห่งความผิดนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เคยต้องโทษจำคุก มาก่อน ทั้งประกอบอาชีพสุจริตมาโดยตลอด นิสัยและความประพฤติ โดยทั่วไปไม่ปรากฏข้อเสียหาย จึงสมควรรอการลงโทษและคุมความประพฤติจำเลยที่ 1 ไว้ เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ชดใช้ค่าเสียหายเป็นจำนวนเกินกว่า ราคาทรัพย์ที่ลักไปให้แก่โจทก์ร่วมแล้ว จึงไม่ชอบที่ ศาลล่างทั้งสองจะพิพากษาให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ ดังกล่าวแก่โจทก์ร่วมอีกอันเป็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย ความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกาย่อมแก้ไขเสียให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5924/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาที่ศาลฎีกายกฟ้องแล้ว โจทก์ไม่สามารถรื้อฟ้องประเด็นเดิมได้
คดีก่อนพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 เป็นคดีอาญาและได้มีคำขอในคดีส่วนแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาให้ศาลสั่งคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้โจทก์ร่วมในคดีอาญาดังกล่าวในฐานะผู้เสียหายมาด้วยแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาแทนโจทก์ร่วมในคดีนั้นซึ่งเป็นโจทก์คดีนี้ด้วย เมื่อคดีอาญาดังกล่าวศาลฎีกาได้วินิจฉัยแล้วว่า จำเลยที่ 1 ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พิพากษายกฟ้อง โจทก์คดีนี้จึงมีฐานะเป็นคู่ความและต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวด้วย และแม้ว่าจำนวนทรัพย์ตามคำฟ้องในคดีอาญากับคดีนี้ไม่ตรงกัน กล่าวคือ ในคดีอาญาพนักงานอัยการขอให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยเพียง 4 เม็ด แต่คดีนี้โจทก์ได้ขอให้จำเลยคืนเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเพราะในคดีอาญาศาลฎีกาตำหนิพยานโจทก์ว่าจำนวนเพชรพลอยตามเอกสารหมาย จ. 9 ในคดีนั้นซึ่งมีจำนวน 23 เม็ด ไม่ตรงกับเพชรพลอยของกลางซึ่งมีเพียง 4 เม็ด ในคดีนี้โจทก์จึงได้รวมเพชรเม็ดเล็กจำนวน 19 เม็ด เข้ามาด้วย ก็เป็นเรื่องเดียวกันและโจทก์สามารถขอให้จำเลยที่ 1 คืนหรือใช้ราคาในคดีอาญาได้อยู่แล้วเพราะเป็นโจทก์ร่วมในคดีนั้นด้วยแต่ไม่ขอ ดังนั้น การที่โจทก์รื้อร้องฟ้องคดีแพ่งเป็นคดีนี้เพื่อให้จำเลยที่ 1 คืนเพชรพลอยทั้ง 23 เม็ด หรือใช้เงินแก่โจทก์ จึงเป็นการฟ้องในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยมาแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันจึงต้อง ห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องกันอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกคืนทรัพย์ฝากไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้มีคดีอาญาเรื่องยักยอกแล้ว
แม้ในคดีอาญาเรื่องก่อนพนักงานอัยการโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกและมีคำขอให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายด้วยก็ตาม แต่เมื่อในคำพิพากษาในคดีอาญาเรื่องนั้นวินิจฉัยว่า คดีมีเหตุอันควรสงสัยว่าจำเลยอาจไม่ได้เบียดบังข้าวเปลือกของโจทก์ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้แก่จำเลยเมื่อไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่ว่าจำเลยต้องรับผิดในทางแพ่งด้วยหรือไม่ การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเพื่อให้รับผิดเป็นคดีแพ่งจึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนข้าวเปลือกที่ฝากไว้ ถ้าคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคาข้าวเปลือก เป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกคืนทรัพย์ที่ฝากไว้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ ไม่ใช่เรียกร้องให้จำเลยชำระค่าสินไหมทดแทน ดังนั้น เมื่อจำเลยยังไม่คืนทรัพย์ที่รับฝาก โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเรียกคืนได้ตลอดเวลาที่ทรัพย์ดังกล่าวยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์อยู่ ส่วนการให้ชดใช้ราคานั้นเป็นขั้นตอนที่โจทก์จะขอบังคับคดีเอาแก่จำเลยเมื่อจำเลยคืนทรัพย์ที่ฝากไม่ได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ปิดแสตมป์ ไม่เป็นหลักฐานทางแพ่ง, รื้อฟ้องคดีซ้ำต้องห้าม
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่ สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 มาตรา 9 แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 117แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาดโจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 118 กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิด ตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ ยกฟ้องโจทก์เสียได้ เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับ ที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุด โดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงิน แก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อน มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับใน คดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3528/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันไม่ติดแสตมป์ใช้เป็นพยานหลักฐานไม่ได้ และการฟ้องซ้ำประเด็นที่ตัดสินแล้วในคดีอาญา
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ป.รัษฎากร ข้อ 17 กำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นผู้ที่ต้องเสียอากร โดยมีข้อยกเว้นไม่ต้องเสียอากรสำหรับตราสารค้ำประกันหนี้เนื่องแต่การที่สหกรณ์ให้สมาชิกกู้ยืมหรือยืมเท่านั้น แต่ตามหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทเป็นการค้ำประกันความเสียหายอันอาจเกิดขึ้นตามสัญญาจ้างจำเลยเป็นผู้จัดการของโจทก์ จึงไม่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากร และไม่มีกฎหมายกำหนดให้จดทะเบียนสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น แม้โจทก์ซึ่งเป็นสหกรณ์จะเป็นคู่สัญญาก็ไม่ได้รับยกเว้นที่จะไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์หรือค่าธรรมเนียมตาม พ.ร.บ สหกรณ์พ.ศ.2511 มาตรา 9
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
แม้โจทก์จะได้ขออนุญาตนำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรเพื่อให้มีผลเป็นตราสารที่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ตาม ป.รัษฎากรมาตรา 117 แต่โจทก์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำเอกสารนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นตัดสินชี้ขาด โจทก์นำหนังสือค้ำประกันไปเสียอากรและเงินเพิ่มอากรภายหลังที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว หนังสือค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นตราสารที่มิได้ปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์ ย่อมใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากร มาตรา 118
กรณีจำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ก็ยังมีหน้าที่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามหนังสือค้ำประกันตามฟ้อง ดังนี้ เมื่อหนังสือค้ำประกันใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีนี้มิได้แล้ว คดีย่อมไม่มีทางที่จะให้จำเลยต้องรับผิดตามฟ้องได้ จึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์เสียได้
เงินที่จำเลยยักยอกไปตามฟ้องเป็นเงินจำนวนเดียวกับที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหายักยอกทรัพย์ โดยมีคำขอทางแพ่งให้จำเลยคืนเงินดังกล่าว คดีถึงที่สุดโดยศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด ให้จำเลยคืนหรือใช้เงินแก่ผู้เสียหาย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในคดีก่อนมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ให้รับผิดชำระเงินจำนวนเดียวกับในคดีอาญา จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีแพ่งในประเด็นที่ศาลในคดีอาญาได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงต้องห้ามตามป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2392/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกทรัพย์คืนในคดีฉ้อโกง ต้องมีการสูญเสียทรัพย์สินจริงก่อน
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ยื่นฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดฐานฉ้อโกง ป.วิ.อ.มาตรา 43 ให้อำนาจโจทก์ขอเรียกทรัพย์สินหรือราคาคืนต่อเมื่อผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินหรือราคาเพราะเหตุเกิดจากการฉ้อโกงนั้นแล้วเท่านั้น ส่วนการที่ผู้เสียหายถูกฉ้อโกงหลอกลวงให้นำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้เงินกู้ของจำเลย โดยไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์สินเป็นจำนวนเงินตามที่โจทก์ขอเรียกคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอเรียกให้จำเลยใช้เงินจำนวนนี้