คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.อ. ม. 43

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4965/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ในสินค้าโอนเมื่อใด: การซื้อขายมีเงื่อนไขตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพ
เมื่อโจทก์ร่วมสั่งซื้อน้ำยาเคมีสไตรีนโมโนเมอร์สำหรับทำพลาสติกเม็ดจากบริษัท ช. บริษัท ช. จะว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ใช้รถยนต์บรรทุกน้ำยา-เคมีไปส่งให้โจทก์ร่วม เมื่อรถส่งน้ำยาเคมีมาถึงโรงงานของโจทก์ร่วม เจ้าหน้าที่ตรวจรับนำยาเคมีของโจทก์ร่วมจะชั่งน้ำหนักของรถรวมกับน้ำยาเคมีเสียก่อนหากปรากกฏว่าแตกต่างกับน้ำหนักที่ระบุไว้ในใบส่งของเป็นจำนวนมาก โจทก์ร่วมจะสอบถามไปยังบริษัทช. หากชั่งน้ำหนักถูกต้องเรียบร้อย โจทก์ร่วมจะตรวจสอบคุณภาพของน้ำยาเคมีว่าได้มาตรฐานถูกต้องตามความต้องการของโจทก์ร่วมหรือไม่อีก หากถูกต้องจึงจะถ่ายน้ำยา-เคมีสู่ถังเก็บนำยาของโจทก์ร่วมหากไม่ถูกต้องก็จะให้รถบรรทุกน้ำยาเคมีกลับไป การซื้อขายระหว่างโจทก์ร่วมกับบริษัท ช. จึงเป็นการซื้อขายโดยมีเงื่อนไขว่าโจทก์ร่วมจะรับมอบน้ำยาเคมีต่อเมื่อมีการตรวจสอบน้ำหนักและคุณภาพแล้ว เช่นนี้ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมีที่โจทก์ร่วมสั่งซื้อจากบริษัท ช. จะตกเป็นของโจทก์ร่วมเมื่อมีการถ่ายน้ำยาเคมีจากรถบรรทุกลงสู่ถึงเก็บน้ำยาของโจทก์ร่วมแล้ว
การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานของห้างหุ้นส่วนจำกัด ท. ขับรถบรรทุกน้ายาเคมีไปที่โรงงานของโจทก์ร่วม แล้วชั่งน้ำหนักรถรวมกับน้ำยาเคมี ปรากฏว่าน้ำหนักขาดหายไปมาก โจทก์ร่วมไม่อนุญาตให้ถ่ายน้ำยาเคมีลงสู่ถังเก็บของโจทก์ร่วมจำเลยจึงขับรถกลับไป แสดงว่าโจทก์ร่วมยังไม่ได้ตับมอบน้ำยาเคมีที่สั่งซื้อ กรรมสิทธิ์ในน้ำยาเคมียังคงเป็นของบริษัท ช. ยังไม่โอนไปยังโจทก์ร่วม โจทก์ร่วมไม่เป็นผู้เสียหายที่จะดำเนินคดีแก่จำเลยได้เมื่อน้ำยาเคมีหายไป โจทก์ย่อมไม่อาจเรียกให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาน้ำยาเคมีแก่โจทก์ร่วมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้ส่งมอบเช็ค และเจตนาไม่ชำระหนี้
จำเลยมาบ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วขอดูเช็คจำนวน 11 ฉบับที่จำเลยมอบแก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ว่ามียอดเงินรวมทั้งหมดเท่าใด ผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อมอบเช็คทั้ง 11 ฉบับให้จำเลยดู จำเลยได้เอาเก็บใส่กระเป๋าทำทีรื้อค้นของในกระเป๋าอยู่ครู่หนึ่ง เสร็จแล้วบอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าเช็คของจำเลยหมดขอมอบเช็คเอกสารหมาย จ.1 แก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้แทนซึ่งเป็นเช็คที่จำเลยทราบว่าผู้ออกเช็คเพิ่งถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุในวันเดียวกันนั้น และบอกว่าวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 จำเลยจะนำเงินมาชำระให้โดยไม่ต้องนำเช็คเอกสารหมาย จ.1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยยืนยันว่าเป็นเช็คที่ได้รับชำระหนี้มา ถึงวันนัดจำเลยไม่นำเงินมาชำระกลับบอกให้ผู้เสียหายทั้งสองนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน2532 แล้ว ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายที่ 1จึงทวงถามเงินจากจำเลย จำเลยกลับเพิกเฉยพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ให้มอบเช็ค 11 ฉบับคืนให้จำเลยโดยจำเลยเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวให้ผู้เสียหายที่ 1 มาแต่ต้น ในขณะที่กล่าวหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1นั้น แล้วเป็นเหตุให้จำเลยได้ไปซึ่งเช็ค 11 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายของผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกเช็คถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เช็คเอกสารหมาย จ.1 ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยฉ้อโกงผู้เสียหาย โจทก์ไม่อุทธรณ์คำขอดังกล่าวจึงยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้นโจทก์จะขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวในชั้นฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3352/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงโดยหลอกลวงให้มอบเช็คที่เป็นเอกสารสิทธิของผู้เสียหาย
จำเลยมาบ้านผู้เสียหายทั้งสองแล้วขอดูเช็คจำนวน 11 ฉบับที่จำเลยมอบแก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ว่ามียอดเงินรวมทั้งหมดเท่าใดผู้เสียหายที่ 1 หลงเชื่อมอบเช็คทั้ง 11 ฉบับให้จำเลยดู จำเลยได้เอาเก็บใส่กระเป๋าทำทีรื้อค้นของในกระเป๋าอยู่ครู่หนึ่ง เสร็จแล้วบอกผู้เสียหายที่ 1 ว่าเช็คของจำเลยหมด ขอมอบเช็คเอกสารหมาย จ.1 แก่ผู้เสียหายที่ 1 ไว้แทนซึ่งเป็นเช็คที่จำเลยทราบว่าผู้ออกเช็คเพิ่งถึงแก่ความตายโดยอุบัติเหตุในวันเดียวกันนั้น และบอกว่าวันที่ 3 พฤศจิกายน 2532 จำเลยจะนำเงินมาชำระให้โดยไม่ต้องนำเช็คเอกสาร-หมาย จ.1 ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารโดยจำเลยยืนยันว่าเป็นเช็คที่ได้รับชำระหนี้มา ถึงวันนัดจำเลยไม่นำเงินมาชำระกลับบอกให้ผู้เสียหายทั้งสองนำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร ผู้เสียหายที่ 1 ให้ผู้เสียหายที่ 2 นำเช็คดังกล่าวไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2532 แล้ว ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้เสียหายที่ 1 จึงทวงถามเงินจากจำเลย จำเลยกลับเพิกเฉยพฤติการณ์ดังกล่าวถือว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 ให้มอบเช็ค11 ฉบับคืนให้จำเลยโดยจำเลยเจตนาที่จะไม่ชำระหนี้ตามเช็คดังกล่าวให้ผู้เสียหายที่ 1 มาแต่ต้น ในขณะที่กล่าวหลอกลวงผู้เสียหายที่ 1 นั้น แล้วเป็นเหตุให้จำเลยได้ไปซึ่งเช็ค 11 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิ ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินตามกฎหมายของผู้เสียหายที่ 1 ไปจากผู้เสียหายที่ 1 โดยจำเลยทราบดีอยู่แล้วว่าผู้ออกเช็คถึงแก่ความตายไปก่อนแล้ว เช็คเอกสารหมาย จ.1 ไม่สามารถเรียกเก็บเงินจากธนาคารได้ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานฉ้อโกง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยฉ้อโกงผู้เสียหาย โจทก์ไม่อุทธรณ์คำขอดังกล่าวจึงยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น โจทก์จะขอให้จำเลยคืนเงินดังกล่าวในชั้นฎีกาอีกไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินชำรุดของราชการโดยสุจริตและนำเงินชำระค่าทรัพย์สินใหม่ ไม่ถือเป็นความผิดฐานยักยอก
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้โดยเปิดเผยและสุจริตใจเพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติขายตามระเบียบของทางราชการ แล้วจำเลยนำเงินที่ขายได้ซื้อรถตัดหญ้าในราคาสูงกว่าราคาที่ขายเรือได้ 400 บาท ให้แก่ทางราชการในทันที แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือของผู้อื่น จึงไม่ผิด ป.อ. มาตรา 147
จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรม-ชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินราชการชำรุดโดยสุจริตและนำเงินซื้อทรัพย์สินทดแทน ไม่เป็นความผิดฐานยักยอกทรัพย์
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้โดยเปิดเผยและสุจริตใจเพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติขายตามระเบียบของทางราชการแล้วจำเลยนำเงินที่ขายได้ซื้อรถตัดหญ้าในราคาสูงกว่าราคาที่ขายเรือได้ 400 บาท ให้แก่ทางราชการในทันทีแสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือของผู้อื่น จึงไม่ผิดประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147 จำเลยได้นำเรือลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าที่ขายไปให้แก่กรมชลประทานแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือแก่ทางราชการกรมชลประทานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1522/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทรัพย์สินราชการชำรุดโดยไม่มีเจตนาทุจริต และนำเงินซื้อทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ราชการ ทำให้ไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147
จำเลยขายซากเรือที่ชำรุดใช้การไม่ได้แล้วโดยเปิดเผยได้ราคาสูงกว่าราคาที่สำนักงานชลประทานที่ 7 เคยขาย เพียงแต่ไม่ได้ขออนุมัติ และได้รับอนุมัติให้ขายตามระเบียบแบบแผนของทางราชการเท่านั้น ทั้งเมื่อขายได้เงินแล้ว จำเลยก็นำเงินจำนวนดังกล่าวซื้อรถตัดหญ้าราคาสูงกว่าเงินที่ได้จากการขายเรือให้แก่ทางราชการทันที แสดงว่าจำเลยไม่มีเจตนาทุจริตเบียดบังเอาทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่น ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 147 จำเลยซื้อรถตัดหญ้ามาให้แก่ทางราชการและนำเรือพอนทูนลำใหม่มาใช้แทนเรือลำเก่าแล้ว กรมชลประทานจึงไม่เสียหายอีกต่อไป จำเลยจึงไม่ต้องคืนหรือใช้ราคาเรือพอนทูนแก่กรมชลประทานอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายักยอกเงิน - ยินยอมให้ใช้เงินก่อนแล้วคืนภายหลัง ไม่ถือเป็นความผิดอาญา
จำเลยเป็นพนักงานทำหน้าที่เหรัญญิกและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของโจทก์ร่วม จำเลยรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก ท. ซึ่งนำมาวางค้ำประกันการเข้าทำงานกับโจทก์ร่วม แต่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวโดยไม่นำเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามคำสั่งของส.หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วมเมื่อส. สอบถามจำเลยจำเลยก็แจ้งให้ทราบว่าขอเอาไปใช้ก่อนเพราะครอบครัวเดือดร้อนและจะนำมาคืนให้สิ้นเดือนมีนาคม 2532 ส. มิได้ดำเนินการอะไรเมื่อถึงกำหนดจำเลยผิดนัด ส. ก็ยังกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาคืนภายในวันที่ 29 เมษายน 2532 ครั้งถึงกำหนดจำเลยยังไม่นำเงินมาคืนอีกและจะออกจากงาน ส. ก็ขอร้องให้จำเลยทำงานต่อไปจนกระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม 2532 จำเลยไม่มาทำงาน ในวันที่ 13มิถุนายน 2532 ส. จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ตามพฤติการณ์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยนำเงินจำนวน 20,000 บาทไปใช้ก่อนแล้วเอามาคืนให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้การที่จำเลยผิดนัดไม่นำเงินมาคืนให้โจทก์ร่วมและต่อสู้ว่าไม่ได้เอาเงินจำนวนดังกล่าวไป ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงเป็นเรื่องที่จะกล่าวกันทางแพ่งไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนี้ พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท คืนให้ผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 623/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนายักยอกทรัพย์ – การยินยอมให้ใช้เงินก่อนแล้วผิดนัด – ไม่ถึงขั้นความผิดอาญา
จำเลยเป็นพนักงานทำหน้าที่เหรัญญิกและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของโจทก์ร่วม จำเลยรับเงินจำนวน 20,000 บาท จาก ท. ซึ่งนำมาวางค้ำประกันการเข้าทำงานกับโจทก์ร่วม แต่จำเลยนำเงินจำนวนดังกล่าวไปใช้ส่วนตัวโดยไม่นำเข้าบัญชีของโจทก์ร่วมตามคำสั่งของ ส. หุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ร่วมเมื่อ ส. สอบถามจำเลย จำเลยก็แจ้งให้ทราบว่าขอเอาไปใช้ก่อนเพราะครอบ-ครัวเดือดร้อนและจะนำมาคืนให้สิ้นเดือนมีนาคม 2532 ส. มิได้ดำเนินการอะไรเมื่อถึงกำหนดจำเลยผิดนัด ส. ก็ยังกำหนดเวลาให้จำเลยนำเงินมาคืนภายในวันที่ 29 เมษายน 2532 ครั้งถึงกำหนดจำเลยยังไม่นำเงินมาคืนอีกและจะออกจากงาน ส. ก็ขอร้องให้จำเลยทำงานต่อไป จนกระทั่งวันที่ 2 พฤษภาคม 2532จำเลยไม่มาทำงาน ในวันที่ 13 มิถุนายน 2532 ส. จึงไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ตามพฤติการณ์จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมยินยอมให้จำเลยนำเงินจำนวน20,000 บาท ไปใช้ก่อนแล้วเอามาคืนให้ครบจำนวนภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้การที่จำเลยผิดนัดไม่นำเงินมาคืนให้โจทก์ร่วมและต่อสู้ว่าไม่ได้เอาเงินจำนวนดังกล่าวไป ก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาทุจริตที่จะยักยอกเงินของโจทก์ร่วม จึงเป็นเรื่องที่จะกล่าวกันทางแพ่ง ไม่เป็นความผิดอาญาฐานยักยอก ดังนี้ พนักงานอัยการจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกเงินจำนวน 20,000 บาท คืนให้ผู้เสียหาย (โจทก์ร่วม) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 445/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: การรับเงินยักยอกรู้แหล่งที่มา, หลายกรรมต่างกัน, และการบังคับคดี
ส. ภรรยาจำเลยมีหน้าที่จำหน่ายสินค้าและรับเงินค่าสินค้าของโจทก์ร่วม ได้รับเงินสดค่าสินค้าจากลูกค้าของโจทก์ร่วมไว้แล้วไม่นำเงินสดที่รับไว้ส่งมอบให้แก่แคชเชียร์ แต่เบียดบังเอาเงินสดนั้นไปเป็นของตนเองหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต จึงเป็นการยักยอกทรัพย์ของโจทก์ร่วม บัญชีกระแสรายวันของจำเลยมีรายการหมุนเวียนทางการเงินมากการนำเงินเข้าฝากและถอนเงินจากบัญชีแต่ละรายการมีจำนวนมากกว่ารายได้ตามปกติของจำเลยและส.ส.นำเงินฝากเข้าบัญชีจำเลยช่วงระยะเวลาเดียวกับที่ ส.ยักยอกเงินของโจทก์ร่วมและเมื่อส.นำเงินเข้าฝากแล้ว จำเลยได้ออกเช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีใกล้เคียงกับจำนวนเงินที่ ส. นำเข้าฝาก การถอนเงินโดยสั่งจ่ายเช็คบางฉบับจำเลยก็สั่งจ่ายเพื่อชำระค่าที่ดินพร้อมตึกแถวที่จำเลยกับ ส. ไปติดต่อซื้อด้วยกัน โดยที่ดินพร้อมตึกแถวดังกล่าว มีราคาสูงเกินกว่าฐานะและรายได้ตามปกติของจำเลยกับ ส.ที่จะซื้อได้ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยได้รับเอาเงินฝากนั้นไว้ทุกคราวที่ ส.นำเข้าฝากโดยจำเลยรู้ว่าส. ได้เงินนั้นมาจากการยักยอกโจทก์ร่วม จำเลยจึงมีความผิดฐานรับของโจร ส. นำเงินเข้าฝากในบัญชีของจำเลยต่างวันเวลากัน จำเลยจึงมีความผิดหลายกรรมต่างกัน ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏชัดว่าการบังคับคดี ส. ได้เงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ร่วมเท่าใด ครบถ้วนแล้วหรือไม่ จะฟังว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมหาได้ไม่และหากโจทก์ร่วมบังคับคดี ส.แล้วจะบังคับคดีจำเลยได้อีกเพียงใดนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีอาญาฐานยักยอก: ผู้เสียหายต้องร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่รู้ความผิดและตัวผู้กระทำ
โจทก์ร่วมซื้อบ้าน เลขที่ 308 จากการขายทอดตลาด จำเลยเองก็ทราบ เมื่อจำเลยอาศัยอยู่ในบ้านเลขที่ 308 ก็ถือว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองบ้านดังกล่าว การที่จำเลยบอกโจทก์ร่วมว่าบ้านที่จำเลยอาศัยอยู่ไม่ใช่บ้านเลขที่ 308 แต่เป็น บ้านเลขที่ 121 ของส. นั้น เห็นได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้โจทก์ร่วมรื้อถอนบ้านเลขที่ 308 เพื่อที่จำเลยจะได้รับประโยชน์ การกระทำของจำเลยถือได้ว่าเป็นการเบียดบังบ้านเลขที่ 308 เป็นของตนหรือผู้อื่นโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอก ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 โจทก์ร่วมจะไปรื้อถอนบ้านครั้งแรกวันที่ 28 เมษายน 2527จึงถือได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกตั้งแต่วันนั้น แต่โจทก์ร่วมเพิ่งมาร้องทุกข์เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2530 คดีจึงขาดอายุความ เมื่อคดีขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(6) พนักงานอัยการโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกทรัพย์สินหรือราคาแทนโจทก์ร่วมตาม มาตรา 43
of 33