พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษอาญาที่ศาลอุทธรณ์ผิดพลาด และคำสั่งให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย
ศาลอุทธรณ์ปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง กับไม่ได้สั่งให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แก่ผู้เสียหายตามที่โจทก์ฟ้องขอมาด้วยศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3154/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับของโจร: การกระทำที่บ่งชี้ถึงความรู้ว่าทรัพย์เป็นของผู้อื่น แม้มีส่วนแบ่งกำไร
แม้จะปรากฏว่า ส. เคยถูกฟ้องว่าร่วมกระทำผิดคดีเดียวกันนี้กับจำเลยมาก่อน คำเบิกความและคำให้การของ ส. จึงถือได้ว่าเป็นคำซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิดด้วยกันก็ตาม แต่คำซัดทอดดังกล่าวก็มิได้เป็นเรื่องการปัดความผิดของผู้ซัดทอดให้เป็นความผิดของจำเลยผู้เดียว คงเป็นการแจ้งเรื่องราวถึงเหตุการณ์ที่ตนได้ประสบมาจากการกระทำผิดของตนยิ่งกว่าเป็นการปรักปรำจำเลย คำเบิกความและคำให้การของ ส. จึงมิใช่เป็นพยานหลักฐานที่จะรับฟังไม่ได้เสียเลย เพียงแต่มีน้ำหนักน้อยและจะต้องรับฟังด้วยความระมัดระวังเท่านั้น จำเลยผิดฐานรับของโจรโดยรับเอาเมล็ดกาแฟซึ่งเป็นทรัพย์ที่ ส. ลักไปจากผู้เสียหายเป็นบางส่วนเท่านั้น โดยพยานโจทก์ไม่เพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ว่า จำเลยรับเอาไปเป็นจำนวนเท่าใดราคาเท่าใด จะบังคับให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์ทั้งหมดแก่เจ้าของทรัพย์ไม่ได้ ศาลจึงไม่กำหนดให้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างและผู้จัดการสถานธนานุบาลต่อความเสียหายจากการสับเปลี่ยนทองคำ และประเด็นอายุความ/ฟ้องซ้ำ
ฟ้องโจทก์อ้างว่าจำเลยเป็นลูกจ้างกระทำละเมิดและผิดสัญญาจ้างนิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์และจำเลยเนื่องมาจากสัญญาจ้างแรงงานอยู่ด้วยในคราวเดียวกัน ดังนี้ อายุความในการใช้สิทธิเรียกร้องต้องปรับด้วยการผิดสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น จึงต้องใช้อายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 คดีอาญาที่จำเลยถูกพนักงานอัยการฟ้องและขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป แม้เป็นการขอแทนผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 แต่ก็เป็นกรณีความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญา ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญา แม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเดียวกันคือขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหามิได้เป็นอย่างเดียวกัน ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่ฟ้องคดีในเรื่องเดียวกัน ดังนี้ กรณีไม่เป็นฟ้องซ้ำหรือฟ้องซ้อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3097-3098/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ/ซ้อน คดีแพ่งแรงงาน ไม่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา แม้คำขอท้ายฟ้องเหมือนกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยให้ยึดถือคำวินิจฉัยศาลแรงงาน
คดีอาญาพนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานความผิดเรื่องยักยอก และขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ที่ยักยอกไป ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การขอให้คืนหรือใช้ราคาทรัพย์ให้ผู้เสียหายที่พนักงานอัยการขอมาในคำฟ้องคดีอาญานั้น แม้จะถือว่าเป็นการขอแทนผู้เสียหาย ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 ก็ตามแต่ก็เป็นกรณีที่ความเสียหายนั้นเนื่องมาจากการกระทำผิดอาญาเท่านั้น ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกจ้างทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้าง ซึ่งการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ทำให้เกิดความเสียหายนี้อาจเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองทางคือในมูลละเมิดและในมูลแห่งสัญญาจ้างแรงงานที่มีต่อกันอยู่ในคดีอาญาดังกล่าวกับคดีนี้ ถึงแม้คำขอบังคับจะมีลักษณะเป็นอย่างเดียวกัน คือขอให้จำเลยที่ 2ใช้ค่าเสียหาย แต่ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่พนักงานอัยการขอบังคับในส่วนแพ่งนั้น มาจากข้ออ้างเนื่องจากการกระทำผิดทางอาญาอันเป็นการเรียกร้องในมูลหนี้ละเมิด แต่คดีนี้มีที่มาจากมูลสัญญาจ้างแรงงาน เมื่อมูลหนี้ในคำฟ้องของทั้งสองคดีเป็นคนละอย่างเช่นนี้ ประเด็นที่วินิจฉัยจึงมิใช่ประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31และคำฟ้องของโจทก์กรณีของการผิดสัญญาจ้างแรงงานนั้นเป็นอำนาจของคู่สัญญาโดยเฉพาะ พนักงานอัยการที่เป็นโจทก์ในคดีอาญาไม่อาจจะอาศัยสิทธิในเรื่องของสัญญาจ้างแรงงานมาเป็นข้ออ้างในคำขอส่วนแพ่งได้ จึงมิใช่เป็นกรณีที่เป็นการฟ้องคดีในเรื่องเดียวกันในความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง(1) ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ไม่เป็นฟ้องซ้อนและคำฟ้องของโจทก์กรณีนี้มิใช่การฟ้องคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 40 จึงนำบทบัญญัติในมาตรา 46 มาใช้กับการพิจารณาคดีนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์โดยพนักงาน: การพิสูจน์การจำหน่ายทรัพย์สินเป็นสำคัญ หากไม่สามารถพิสูจน์การจำหน่ายและยักยอกเงินได้ ศาลไม่ลงโทษ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่า จำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้ และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 702/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยักยอกทรัพย์ (ตราไปรษณียากร) ต้องพิสูจน์การจำหน่ายแล้วเบียดบังเงิน หากจำหน่ายไปแล้วเท่านั้นจึงจะมีความผิด
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยยักยอกเงินที่ได้จากการจำหน่ายตราไปรษณียากรซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยไป แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยได้จำหน่ายตราไปรษณียากรดังกล่าวไปแล้วยักยอกเอาเงินที่จำหน่ายไปเป็นของจำเลย จำเลยอาจยักยอกเอาตราไปรษณียากรไปเพื่อจำหน่ายในภายหลังก็ได้ จึงลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงส่วนนี้ไม่ได้ และจำเลยไม่ต้องใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่ผู้เสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าแรงงานมิใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกคืนแทนผู้เสียหาย
ในคดีฉ้อโกงให้ประกอบการงานนั้น ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะจ่ายให้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลยพนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าแรงงานค้างจ่ายไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกคืนในคดีอาญา
ในคดีฉ้อโกงให้ประกอบการงานนั้น ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยหลอกลวงผู้เสียหายว่าจะจ่ายให้ ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำความผิดของจำเลย พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าแรง/ค่าจ้างที่ค้างจ่าย ไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง พนักงานอัยการไม่มีอำนาจเรียกร้องแทนผู้เสียหาย
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3303/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าแรงไม่ใช่ทรัพย์สินที่เสียหายจากการฉ้อโกง ผู้เสียหายต้องฟ้องทางแพ่ง
ในคดีฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 344 พนักงานอัยการไม่มีอำนาจที่จะขอให้จำเลยใช้ค่าแรงงานหรือค่าจ้างที่จำเลยยังไม่จ่ายแก่ผู้เสียหายตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 43 เพราะค่าแรงงานหรือค่าจ้างไม่ใช่ทรัพย์สินที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดของจำเลย แต่เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายชอบที่จะไปฟ้องบังคับให้จำเลยชดใช้ในทางแพ่ง.