พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานหลอกลวงจัดหางานต่างประเทศ ไม่ใช่ความผิดฐานฉ้อโกง และไม่อาจเรียกร้องค่าเสียหายได้
แม้บทบัญญัติมาตรา 91 ตรี แห่งพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ซึ่งระบุให้ผู้ที่หลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานหรือสามารถส่งไปฝึกงานในต่างประเทศได้ และโดยการหลอกลวงนั้นได้ไปซึ่งเงินหรือทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้ถูกหลอกลวงนั้น จะมีถ้อยคำว่า "หลอกลวงผู้อื่น" ก็ตาม แต่ก็มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 และพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางานฯ ก็มิได้ให้พนักงานอัยการโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย โจทก์จึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1347/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด พ.ร.บ.จัดหางานฯ มิใช่ความผิดฉ้อโกง อัยการขอคืนเงินผู้เสียหายไม่ได้
พ.ร.บ. จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา91 ตรี มิใช่ความผิดฐานฉ้อโกงตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 43 และ พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ก็มิได้บัญญัติให้พนักงานอัยการมีสิทธิเรียกให้จำเลยคืนหรือชดใช้เงินคืนแก่ผู้เสียหาย พนักงานอัยการจึงไม่อาจขอให้ศาลบังคับให้จำเลยคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1243/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลักทรัพย์ในสำนักงานรัฐวิสาหกิจ ไม่ถือเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ราชการ
สำนักงานประปาสงขลาเป็นส่วนงานของการประปาส่วนภูมิภาคซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจ มิใช่สถานที่ราชการ การที่จำเลยเข้าไปลักทรัพย์ในบริเวณสำนักงานดังกล่าวในเวลากลางคืน จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่ ราชการคงเป็นความผิดเพียงลักทรัพย์ในเวลากลางคืนตาม ป.อ. มาตรา 335(1) วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ยอมความได้เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง แต่ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจำนวน103,478 บาท จากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างผู้เสียหายและจำเลยในคดีฉ้อโกง ทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งระงับ
ผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8760/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำพิพากษาเรื่องค่าสินไหมทดแทน เมื่อทรัพย์สินส่วนหนึ่งถูกส่งคืนแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์ฟ้องโดยมีคำขอให้จำเลยคืนรถจักรยานยนต์และเสื้อยืดที่ถูกปล้นไปหรือใช้ราคาแทนแก่ผู้เสียหาย เมื่อได้ฟังว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ร่วมกับพวกปล้นทรัพย์ของผู้เสียหายตามฟ้องจริงและได้ความว่าผู้เสียหายได้รับรถจักรยานยนต์ที่ถูกปล้นคืนไปแล้ว จำเลยจึงควรรับผิดคืนหรือใช้ราคาทรัพย์เพียงเท่าที่ผู้เสียหายยังไม่ได้คืน ปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8435/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกเช็ค - ความผิดฐานยักยอกทรัพย์และเอาไปเสียซึ่งเอกสาร - การคืนเงินที่ถูกยักยอก
ผู้เสียหายได้สั่งจ่ายเช็คพิพาทมอบให้จำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ จำเลยเป็นผู้ครอบครองเช็คพิพาทในฐานะตัวแทนของผู้เสียหายและจำเลยมีหน้าที่ต้องนำเช็คพิพาทไปมอบให้แก่เจ้าหนี้ของผู้เสียหาย การที่จำเลยนำเช็คพิพาทไปเข้าบัญชีของจำเลยเพื่อเรียกเก็บเงินและได้มีการเรียกเก็บเงินตามเช็คพิพาทได้ ถือได้ว่าเป็นการเบียดบังเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปโดยทุจริต จึงเป็นความผิดฐานยักยอกเช็คพิพาท มิใช่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ และการที่จำเลยเอาเช็คพิพาทของผู้เสียหายไปเรียกเก็บเงินย่อมเป็นการทำให้เช็คพิพาทนั้นไร้ประโยชน์ที่จะใช้ได้อีก จึงเป็นความผิดฐานเอาไปเสียซึ่งเอกสารของผู้อื่น ตาม ป.อ. มาตรา 188 อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 188 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
จำเลยยักยอกเช็คพิพาทของผู้เสียหายแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค ผู้เสียหายย่อมจะต้องถูกธนาคารตามเช็คหักเงินจากบัญชีของผู้เสียหายไปตามจำนวนเงินที่สั่งจ่ายในเช็ค เท่ากับว่าผู้เสียหายต้องสูญเสียเงินจำนวนตามเช็คนั้นไปเนื่องจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง พนักงานอัยการจึงมีสิทธิขอให้จำเลยคืนหรือใช้เงินตามเช็คแก่ผู้เสียหายได้ ตาม ป.วิ. อ. มาตรา 43
ตามคำร้องของผู้เสียหายที่ยื่นเข้ามาประกอบเพื่อขอให้ศาลอนุญาตปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างอุทธรณ์ มิใช่เป็นการยอมความตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักทรัพย์ต่อเนื่อง-สนับสนุน-ใช้ยานพาหนะ-ริบของกลาง-คำขอค่าเสียหาย-ความผิดฐานลักทรัพย์
จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสายไฟฟ้าเก่าของผู้เสียหายที่วางอยู่ตามพื้นโรงงานมาวางบนเหล็กร้อน ทำให้เปลือกสายไฟฟ้าไหม้ ละลายหมดเหลือแต่ลวดทองแดงที่เป็นซากของสายไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเอาทรัพย์นั้นไปขาย แต่ก็มิใช่แปรสภาพไปเป็นของอื่น ถือว่า เริ่มลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นับแต่ที่นำสายไฟฟ้าไปวางบนเหล็กร้อนแล้ว และเป็นความผิดต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งขนย้ายลวดทองแดงออกจากโรงงานไปขึ้นรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่นอกรั้วโรงงาน แต่จำเลยที่ 1 รออยู่ห่างจากจุดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โยนทรัพย์ออกมาประมาณ 100 เมตร ไม่อาจช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ไม่ใช่แบ่งหน้าที่กันทำในส่วนที่เป็นการกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการคงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น
การที่จำเลยทั้งสามคบคิดกันลักลวดทองแดงของผู้เสียหายโดยให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้โรงงาน เพื่อบรรทุกทรัพย์ไป ย่อมเล็งเห็นเจตนาได้ว่า ประสงค์จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังกล่าว
สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากที่เป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่นแล้ว เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อจะใช้ เป็นพาหนะบรรทุกลวดทองแดงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลักไปไม่ได้ใช้ เป็น เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรงจึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
การที่จำเลยทั้งสามคบคิดกันลักลวดทองแดงของผู้เสียหายโดยให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้โรงงาน เพื่อบรรทุกทรัพย์ไป ย่อมเล็งเห็นเจตนาได้ว่า ประสงค์จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังกล่าว
สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากที่เป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่นแล้ว เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อจะใช้ เป็นพาหนะบรรทุกลวดทองแดงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลักไปไม่ได้ใช้ เป็น เครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรงจึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์ เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ ตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 16/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานลักทรัพย์-สนับสนุนการกระทำผิด, การใช้ยานพาหนะ, และการชดใช้ค่าเสียหายจากการกระทำผิด
จำเลยที่ 2 และที่ 3 นำสายไฟฟ้าเก่าของผู้เสียหายที่วางอยู่ตามพื้นในโรงงานมาวางบนเหล็กร้อน ทำให้เปลือกสายไฟฟ้าไหม้ละลายหมดเหลือแต่ลวดทองแดงที่เป็นซากของสายไฟฟ้าเพื่อความสะดวกในการเอาทรัพย์นั้นไปขายก็มิใช่แปรสภาพไปเป็นของอื่น ถือว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เริ่มลงมือกระทำความผิดฐานลักทรัพย์นับแต่ที่นำสายไฟฟ้าไปวางบนเหล็กร้อนและเป็นความผิดต่อเนื่องกันมาจนกระทั่งขนย้ายลวดทองแดงออกจากโรงงานไปขึ้นรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ที่นอกรั้วโรงงาน แต่จำเลยที่ 1 รออยู่ห่างจากจุดที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โยนทรัพย์ออกมาประมาณ 100 เมตร ไม่อาจช่วยเหลือกันได้ทันท่วงที ไม่ใช่แบ่งหน้าที่กันทำในส่วนที่เป็นการกระทำความผิด จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดฐานเป็นตัวการ คงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น
การที่จำเลยทั้งสามคบคิดกันลักลวดทองแดงของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างโดยให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้โรงงานเพื่อบรรทุกทรัพย์ไปย่อมเล็งเห็นเจตนาได้ว่า ประสงค์จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังกล่าว
สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากที่เป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่น เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อจะใช้เป็นพาหนะบรรทุกลวดทองแดงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลักไป จำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรง จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
การที่จำเลยทั้งสามคบคิดกันลักลวดทองแดงของผู้เสียหายซึ่งเป็นนายจ้างโดยให้จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้โรงงานเพื่อบรรทุกทรัพย์ไปย่อมเล็งเห็นเจตนาได้ว่า ประสงค์จะใช้รถจักรยานยนต์เป็นยานพาหนะเพื่อการพาทรัพย์นั้นไป จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันลักทรัพย์นายจ้างในเวลากลางคืนโดยใช้ยานพาหนะตาม ป.อ. มาตรา 336 ทวิ ส่วนจำเลยที่ 1 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการลักทรัพย์ดังกล่าว
สายไฟฟ้าของผู้เสียหายที่ถูกจำเลยลักนำไปเผาลอกเอาเปลือกออกยังคงเหลือซากที่เป็นลวดทองแดงอยู่ มิได้ถูกทำลายสูญหายไปทั้งหมดหรือแปรสภาพไปเป็นของอื่น เมื่อผู้เสียหายได้รับลวดทองแดงคืนแล้ว พนักงานอัยการโจทก์จะขอให้คืนหรือใช้ราคาเต็มของสายไฟฟ้าแก่ผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 43 อีกไม่ได้ แม้ผู้เสียหายจะได้รับความเสียหายอันเกิดจากการกระทำความผิดของจำเลยเนื่องจากนำสายไฟฟ้าไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์เดิมไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่ผู้เสียหายจะต้องไปว่ากล่าวเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเอาเองเป็นคดีใหม่
จำเลยที่ 1 ขับรถจักรยานยนต์มารออยู่ใกล้ที่เกิดเหตุเพื่อจะใช้เป็นพาหนะบรรทุกลวดทองแดงที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ลักไป จำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถจักรยานยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรง จึงถือไม่ได้ว่ารถจักรยานยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบ ตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4500/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและการคืนเงินค่าบริการ ศาลฎีกายกประเด็นความผิดฐานจัดหางานและแก้ไขจำนวนเงินที่ต้องคืน
ปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ในความผิดร่วมกันจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง แม้จะไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง
คำฟ้องข้อ 1(ข) บรรยายว่า จำเลยทั้งสองจัดหางานให้แก่คนหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาโดยเรียกและรับค่าบริการเป็นค่าตอบแทนจากคนหางานโดยจำเลยทั้งสองมิได้รับอนุญาตจาก นายทะเบียนจัดหางานตามกฎหมาย แต่คำฟ้องของโจทก์ข้อ 1 (ก) ที่ว่าจำเลยทั้งสองโดยเจตนาทุจริตหลอกลวงประชาชนด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จและปกปิดความจริงอันควรบอกให้แจ้งว่าจำเลยทั้งสองสามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยจะได้รับเงินเดือนเป็นค่าจ้างไม่ต่ำกว่าเดือนละ 35,000 บาท ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถจัดส่งคนหางานไปทำงานในประเทศสหรัฐอเมริกาตามที่หลอกลวงได้ เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาจัดหางานให้แก่ผู้เสียหายซึ่งเป็นคนหางาน คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้รับเงินจากผู้เสียหายเท่านั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82
คดีคงลงโทษจำเลยทั้งสองได้เฉพาะฐานร่วมกันหลอกลวงประชาชนว่าหางานในต่างประเทศ ดังนั้น ปัญหาว่าการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 30, 82 และมาตรา 91 ตรี เป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบทตามฎีกาของจำเลยทั้งสองหรือไม่ จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
จำเลยทั้งสองได้คืนเงินให้ผู้เสียหายบางส่วนแล้ว แต่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนหรือใช้เงินที่ยังไม่ได้คืนแก่ผู้เสียหายโดยไม่ได้หักเงินที่จำเลยทั้งสองคืนให้ผู้เสียหายจึงไม่ชอบ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกายกขึ้นเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 225 ประกอบด้วยมาตรา 195 วรรคสอง