คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ศุภชัย สมเจริญ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาฆ่าและการกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ: พฤติการณ์การทำร้ายด้วยอาวุธอันตรายและการยั่วยุ
จำเลยใช้ไม้สนซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 70 เซนติเมตร ซึ่งมีขนาดโตพอควร ตีศีรษะผู้เสียหาย 1 ครั้ง โดยเลือกตีที่ศีรษะอันเป็นอวัยวะสำคัญ การที่กะโหลกศีรษะแตก มีเลือดคั่งในสมองจากการถูกตี แสดงว่าจำเลยตีอย่างแรง จำเลยย่อมเล็งเห็นผลแห่งการกระทำของตนว่าอาจเป็นเหตุให้ผู้เสียหายถึงแก่ความตายได้ ทั้งตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษาหากแพทย์ไม่ผ่าตัดสมองรักษาให้ทันท่วงที ผู้เสียหายอาจถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่า
จำเลยกับผู้เสียหายรับจ้างทำงานก่อสร้างสะพานด้วยกัน ก่อนเกิดเหตุจำเลยเร่งให้เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งและผู้เสียหายทำงาน แล้วโต้เถียงกับผู้เสียหาย จำเลยท้าทายผู้เสียหายให้ขึ้นมาชกกันบนคันคลอง แต่ผู้เสียหายยังคงนั่งก้มหน้าทำงานและพูดว่า จะลุ้นกับรุ่นพ่อ ซึ่งหมายความว่าอยากจะชกต่อยกับจำเลยที่มีอายุรุ่นเดียวกับพ่อของผู้เสียหาย แม้คำพูดเช่นนี้ของผู้เสียหายจะไม่เหมาะสมบ้าง แต่ก็เป็นเพียงการยั่วโทสะจำเลยเท่านั้น การที่จำเลยหยิบไม้เดินลงไปตีศีรษะผู้เสียหายในขณะนั้นจึงไม่ใช่การกระทำความผิดโดยบันดาลโทสะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางอาญาของผู้ร่วมปล้นทรัพย์เมื่อมีการใช้อาวุธปืน แม้ผู้กระทำเป็นเพียงคนเดียว
ตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคสอง บัญญัติว่า "ถ้าในการปล้นทรัพย์ผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดมีอาวุธติดตัวไปด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ" แสดงให้เห็นเจตนาของกฎหมายว่ามุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคน เพราะผู้กระทำอาจใช้อาวุธนั้นทำร้ายผู้เสียหายอันเป็นเหตุฉกรรจ์ได้ ความในวรรคสี่ของมาตราเดียวกันบัญญัติว่า "ถ้าการปล้นทรัพย์ได้กระทำโดย ฯลฯ ใช้ปืนยิง ฯลฯ ผู้กระทำต้องระวางโทษ ฯลฯ แสดงให้เห็นต่อเนื่องกันไปว่าถ้าผู้กระทำคนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์นั้น ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนก็ยังคงต้องร่วมรับผิดในการกระทำนั้นตามเจตนารมณ์ของกฎหมายในมาตราเดียวกัน เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์ จำเลยที่ 2 จึงต้องมีความผิดตามบทบัญญัติในวรรคสี่ของมาตรา 340 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7750/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมปล้นทรัพย์โดยมีอาวุธปืน แม้ผู้ร่วมกระทำบางคนใช้อาวุธ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสี่ มุ่งเอาผิดแก่ผู้ร่วมปล้นทรัพย์ทุกคนถ้าผู้กระทำแม้แต่คนหนึ่งคนใดใช้ปืนยิงจำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดเมื่อจำเลยที่ ๑ ใช้ปืนยิงในการปล้นทรัพย์
การปล้นทรัพย์จะขาดตอนแล้วหรือไม่ ย่อมต้องพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดีตามข้อเท็จจริงที่ได้ความซึ่งมิได้จำกัดด้วยระยะทาง แม้จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของจำเลยที่ 1 ออกมาเกือบถึงถนนสายป่าโมก - สุพรรณบุรีแล้ว แต่ก็ยังอยู่ในบริเวณสถานีบริการน้ำมันที่เกิดเหตุซึ่งทางฝ่ายผู้เสียหายกับพวกยังอาจติดตามขัดขวางการปล้นทรัพย์นั้นได้ ยังอยู่ในขั้นตอนของการพาเอาทรัพย์ไป การปล้นทรัพย์ของจำเลยทั้งสองกับพวกจึงยังไม่ขาดตอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบุกรุกที่ราชพัสดุที่เทศบาลได้รับอนุญาตใช้ประโยชน์ ไม่ใช่การบุกรุกสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ม.365(3)
หนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ.2518 มาตรา 4 และ 5 จึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่สาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อเทศบาลตำบลน้ำพองซึ่งได้รับอนุญาตจากกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพิพาท มีหนังสือแจ้งให้จำเลยออกจากที่ดิน จำเลได้รับหนังสือดังกล่าวแล้วไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของเทศบาลน้ำพองโดยปกติสุข เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7742/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ราชพัสดุกับการรบกวนการครอบครอง: การจำแนกประเภททรัพย์สินของแผ่นดินเพื่อกำหนดความผิดทางอาญา
แม้ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงระบุว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะก็ตาม แต่เมื่อที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ตาม พ.ร.บ. ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 มาตรา 4 และ 5 ที่ดินพิพาทจึงเป็นเพียงทรัพย์สินของแผ่นดิน มิใช่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) (3) ที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ เมื่อจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท การกระทำของจำเลยจึงเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 365 (3) ประกอบมาตรา 362
of 16