พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9823/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีต้องดำเนินการให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี การของดการยึดทรัพย์ถือว่ายังไม่ได้บังคับคดี
ป.วิ.พ. มาตรา 271 บัญญัติให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายในกำหนด 10 ปี ประการแรก เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี ประการที่สอง เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงหรือแจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว ประการที่สาม เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ดำเนินการบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาบ้าง คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2537 ให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระเงิน 506,425 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินดังกล่าว นับแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2535 เป็นต้นไป จนกว่าจะชำระให้โจทก์เสร็จ เฉพาะจำเลยที่ 4 ให้รับผิดในต้นเงินไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนดอกเบี้ยเมื่อคิดคำนวณถึงวันฟ้อง (วันที่ 25 พฤษภาคม 2536) ต้องไม่เกิน 40,344 บาท ต่อมาจำเลยทั้งสี่ไม่ชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลมีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2547 แต่ในวันดังกล่าวโจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีงดการยึดทรัพย์ดังกล่าวไว้ก่อนเพราะชื่อสถานที่ไม่ตรงกับจำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงไม่ได้ยึดทรัพย์ดังกล่าว ดังนี้ แม้โจทก์ขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 ภายในกำหนดระยะเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดก็ตาม แต่การนำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์ แต่ของดการยึดทรัพย์ย่อมเท่ากับไม่มีการยึดทรัพย์ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เมื่อโจทก์ยื่นคำแถลงใหม่อีกครั้งเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2550 ซึ่งพ้นกำหนดเวลา 10 ปี นับแต่คดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จึงไม่อาจใช้สิทธิบังคับคดีแก่จำเลยที่ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9626/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: การกระทำช่วยเหลือหลังการตกลงซื้อขาย
สายลับผู้ล่อซื้อติดต่อพูดคุยและตกลงซื้อขายตลอดจนนัดหมายสถานที่และวิธีการส่งมอบเมทแอมเฟตามีนและเงินสดของกลางกับ ป. ทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงสองคน โดยไม่ปรากฏว่าจำเลยมีส่วนร่วมในการติดต่อหรือรู้เห็นกับ ป. ในการทำความตกลงดังกล่าว และไม่ได้ความว่าจำเลยมีส่วนเกี่ยวข้องในการนำห่อเมทแอมเฟตามีนของกลางไปวางไว้ใต้สะพานลอยเพื่อส่งมอบให้แก่สายลับตามที่ ป. นัดหมายไว้ ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า หลังจากสายลับนำถุงพลาสติกใส่เงินสดของกลางไปวางไว้ที่ตู้โทรศัพท์สาธารณะตามที่ ป. แจ้งแก่สายลับแล้ว จำเลยซึ่งนั่งมาในรถกระบะของคนร้ายลงจากรถเดินเข้าไปหยิบถุงพลาสติกดังกล่าวจึงถูกเจ้าพนักงานตำรวจที่ซุ่มอยู่เข้าจับกุม โดยไม่มีหลักฐานที่เป็นข้อบ่งชี้ว่าจำเลยล่วงรู้สถานที่ส่งมอบเงินค่าซื้อเมทแอมเฟตามีนมาก่อนและเดินทางไปซุ่มรออยู่กับพวกที่บริเวณใกล้ตู้โทรศัพท์ก่อนแล้วเพื่อเตรียมเข้าไปเอาถุงใส่เงินเมื่อมีผู้นำไปวางไว้ให้ ข้อเท็จจริงที่ได้ความดังกล่าวยังไม่เพียงพอให้ฟังว่าจำเลยเป็นตัวการร่วมกับ ป. ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยแบ่งหน้าที่กันทำ แต่ตามพฤติการณ์เชื่อได้ว่า จำเลยรู้ดีว่าถุงพลาสติกที่พวกของตนบอกให้ไปหยิบมาให้นั้น เป็นถุงใส่เงินค่าซื้อเมทแอมเฟตามีนที่ผู้ซื้อนำมาวางไว้ให้แก่พวกของตน ถือว่าขณะนั้นการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนยังไม่ขาดตอน การกระทำของจำเลยเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในขณะที่ผู้อื่นกระทำความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จึงเป็นความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในฐานะเป็นตัวการร่วมจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่าจำเลยเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ศาลมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยฐานเป็นผู้สนับสนุนตามข้อเท็จจริงที่พิจารณาได้ความนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8001/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์ลดค่าเสียหายเกินกรอบประเด็นที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ ฎีกาฟังขึ้น
ข้อวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายเป็นเงิน 170,610.55 บาท สูงเกินเกณฑ์กำหนดที่ปรากฏตามทางนำสืบของโจทก์ และการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระค่าเสียหาย 119,000 บาทแก่โจทก์ เป็นการให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าที่ควรจะต้องรับผิดนั้น มิใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงในเรื่องดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาโดยกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดชดใช้ให้แก่โจทก์เป็นเงิน 119,000 บาท และจำเลยมิได้อุทธรณ์คัดค้านจำนวนเงินค่าเสียหายดังกล่าวตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด คงมีแต่โจทก์เพียงฝ่ายเดียวที่อุทธรณ์ขอเรียกค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกตามจำนวนเงินที่เรียกร้องมาในคำฟ้อง คดีจึงมีประเด็นวินิจฉัยในชั้นอุทธรณ์เพียงว่าสมควรที่จะกำหนดค่าเสียหายเพิ่มขึ้นตามที่โจทก์อุทธรณ์เรียกร้องมาหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนค่าเสียหายของโจทก์ที่ยุติไปแล้วโดยลดจำนวนเงินค่าเสียหายของโจทก์จาก 119,000 บาท ลงเหลือ 25,000 บาท จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7634/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
มติแพทยสภาไม่ใช่ข้อผูกพันศาล ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานประกอบการตัดสิน
มติของแพทยสภาไม่ใช่กฎหมายและไม่มีกฎหมายฉบับใดบัญญัติว่ามติของแพทยสภามีผลผูกพันคู่ความและศาลจะต้องรับฟังมติของแพทยสภา หากศาลเห็นว่ามติของแพทยสภาถูกต้องและเป็นธรรมก็นำมารับฟังประกอบพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ได้ แต่มติของแพทยสภาเกี่ยวกับเรื่องนี้มีข้อสงสัยว่าจะถูกต้องและเป็นธรรมหรือไม่ ศาลเพียงแต่นำมารับฟังประกอบการพิจารณาเท่านั้น โดยไม่จำต้องถือตามมติของแพทยสภา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7364/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารราชการเพื่อรับเงินชดเชยพิเศษ และการสนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า มีเจ้าพนักงานร่วมกันเป็นตัวการในการกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต จำเลยที่ 2 และที่ 3 มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดดังกล่าวแต่เป็นราษฎรจึงเป็นผู้สนับสนุนในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริตของเจ้าพนักงานดังกล่าว แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะยกฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงาน เนื่องจากพยานหลักฐานของโจทก์ยังมีความสงสัยตามสมควรว่า จำเลยที่ 1 ร่วมเป็นตัวการกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ก็ตาม ศาลก็ลงโทษจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฐานเป็นผู้สนับสนุนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากการรักษาพยาบาลที่ไม่ถูกต้อง และขอบเขตค่าสินไหมทดแทน
เหตุละเมิดคดีนี้เกิดจากวิธีรักษาพยาบาลที่ผิดพลาดของฝ่ายจำเลย ทำให้ผู้ตายถึงแก่ความตายจากการรักษาพยาบาลไม่ครบถ้วนตามหลักวิชาชีพเวชกรรม อันถือได้ว่าเป็นการตายในทันทีจากการทำละเมิด ไม่เข้ากรณีที่มิได้ตายในทันที จึงไม่มีค่ารักษาพยาบาลผู้ตายภายหลังจากผู้ตายถูกทำละเมิดจนถึงเวลาที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย อันจะเรียกเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 443 วรรคสอง ส่วนเงินค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์ชำระให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น เป็นค่าสินจ้างจากสัญญาจ้างทำของที่โจทก์จ้างให้จำเลยที่ 1 รักษาพยาบาลผู้ตายตามปกติ มิใช่ค่ารักษาพยาบาลที่ได้จ่ายไปภายหลังจากการทำละเมิดจนถึงเวลาที่ผู้ตายถึงแก่ความตาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ชดใช้คืนในฐานะเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการทำละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6712/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินเวนคืน: สิทธิได้รับค่าทดแทนตกเป็นของผู้รับโอนเดิมก่อนการเวนคืน
ในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีประกาศให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน หากเจ้าหน้าที่เวนคืนจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ตกลงกันได้หรือ วางเงินค่าทดแทนในกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ ให้ถือว่ามีการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นับแต่วันชำระเงินหรือวางเงินทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 13 วรรคท้ายประกอบมาตรา 11 วรรคสอง
ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงถูกเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงส่วนที่ถูกเวนคืนย่อมตกเป็นของฝ่ายจำเลยตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสองแปลงโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาชัยภูมิ ในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับโดยไม่ต้องมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินทั้งสองแปลงตามมาตรา 15 ในภายหลังอีก กรณีถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ส่วนที่ถูกเวนคืนรวมเนื้อที่ 111 ตารางวา ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 เป็นต้นไป
เมื่อผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น แต่ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนตามมาตรา 18 (1) และไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามต่อไป มิได้เรียกร้องเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่ผู้ร้อง
ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงถูกเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน กรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงส่วนที่ถูกเวนคืนย่อมตกเป็นของฝ่ายจำเลยตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยได้วางเงินค่าทดแทนที่ดินทั้งสองแปลงโดยนำไปฝากไว้กับธนาคารออมสิน สาขาชัยภูมิ ในนามของโจทก์ซึ่งเป็นวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับโดยไม่ต้องมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนที่ดินทั้งสองแปลงตามมาตรา 15 ในภายหลังอีก กรณีถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ส่วนที่ถูกเวนคืนรวมเนื้อที่ 111 ตารางวา ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1304 (2) นับแต่วันที่ 7 กันยายน 2541 เป็นต้นไป
เมื่อผู้ร้องรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินทั้งสองแปลงภายหลังจากพระราชกฤษฎีกาฯ สิ้นผลใช้บังคับ ผู้ร้องย่อมมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทั้งสองแปลงเฉพาะส่วนที่เหลือจากการเวนคืนเท่านั้น แต่ผู้ร้องไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ดังนั้นผู้ร้องจึงไม่ใช่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนตามมาตรา 18 (1) และไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา ส่วนโจทก์เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืนย่อมมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นตามคำพิพากษาศาลฎีกา
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ภายหลังจากที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเป็นการขอเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนที่โจทก์เดิมเพื่อดำเนินการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสามต่อไป มิได้เรียกร้องเกินไปกว่าสิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีอยู่ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ผู้ร้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์อย่างคดีมีทุนทรัพย์จึงไม่ถูกต้อง และเมื่อผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ตามคำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 มาแล้ว จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6052/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์จากการฟอกเงิน: สัญญาเช่าซื้อยังไม่สิ้นสุด สิทธิยังเป็นของผู้เช่าซื้อเดิม
คดีนี้เป็นการยึดรถยนต์พิพาทเพราะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายยาเสพติดมาชำระค่าเช่าซื้อรถยนต์พิพาท มิใช่การนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิด หรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย ผู้คัดค้านที่ 3 ผู้ให้เช่าซื้อจึงมิอาจอ้างว่าสัญญาเลิกกันตามสัญญาข้อ 6 ที่กำหนดให้สัญญาสิ้นสุดลงในกรณีนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปใช้เป็นพาหนะในการกระทำความผิดหรือใช้รถยนต์ในลักษณะที่ผิดกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดจากการชุมนุมประท้วง วางเพลิง และขัดขวางเจ้าพนักงาน: การพิจารณาความผิดกรรมเดียว
จำเลยที่ 1 ร่วมอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและเป็นผู้จุดไฟเผาทรัพย์สินของผู้อื่นอันเป็นการเข้าร่วมมั่วสุมกันตั้งแต่สิบคนขึ้นไปและกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 215 วรรคสอง 217 และ 358 ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจได้ประกาศผ่านเครื่องกระจายเสียงว่าไม่ให้กลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงกระทำผิดกฎหมายซึ่งเป็นการสั่งให้เลิกมั่วสุมในการก่อเหตุวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้มั่วสุมและกระทำการก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมืองแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 216 ที่มุ่งประสงค์ลงโทษผู้ที่ขัดขืนคำสั่งของเจ้าพนักงานอันเป็นการกระทำที่ยังไม่ถึงขั้นความผิดสำเร็จตามมาตรา 215
การวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
การวางเพลิงเผาทรัพย์และทำให้เสียทรัพย์ เป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดฐานร่วมกันมั่วสุมตั้งแต่สิบคนขึ้นไปกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5694/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงความผิดฐานในชั้นอุทธรณ์และฎีกาต้องดำเนินการโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และโจทก์ประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นการขอให้เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้