พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8971/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด: พยานหลักฐานสนับสนุนคำรับสารภาพ, การให้ข้อมูลช่วยเหลือเจ้าพนักงาน, และดุลพินิจศาลในการลงโทษ
จำเลยที่ 1 ได้ให้ข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษต่อพนักงานสอบสวนตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 100/2 ซึ่งบทมาตราดังกล่าวแม้จะให้ศาลมีอำนาจที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นน้อยกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นได้ก็ตาม แต่ก็เป็นดุลพินิจของศาลที่จะไม่ลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นให้น้อยกว่าอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้ก็ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8958/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมและการค้ำประกัน ศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาพยานหลักฐานและไม่ผูกมัดต้องส่งตรวจพิสูจน์เสมอไป
ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญกองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดเป็นความเห็นอันหนึ่งเท่านั้น หาเป็นการผูกมัดศาลให้ต้องส่งเรื่องราวไปตรวจพิสูจน์เสมอไปไม่ เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า ลายมือชื่อของจำเลยเท่าที่ปรากฏเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงปฏิเสธไม่ส่งลายมือชื่อของจำเลยไปตรวจพิสูจน์ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลชั้นต้นตามที่เห็นสมควร การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีไปโดยไม่ได้ส่งลายมือชื่อของจำเลยทั้งสองไปตรวจพิสูจน์จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7287/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าชดเชยลูกจ้าง: การคำนวณค่าจ้างจากค่าเที่ยว และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเนื่องจาก ส. ประสบอุบัติเหตุตกจากรถและแขนขวาได้รับบาดเจ็บ ส. จึงไม่ได้จงใจขัดคำสั่งของนายจ้าง การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ส. ปฏิเสธไม่ขับรถหัวลากเพราะได้รับค่าเที่ยวน้อยลง และ ส. แสดงใบรับรองแพทย์ภายหลังโจทก์เลิกจ้าง ส. แล้ว ส. จึงมีเจตนาฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ จึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
ส. ได้รับค่าตอบแทนในการทำงานเป็นค่าเที่ยว เที่ยวละ 100 บาท ถึง 650 บาท ตามระยะทางใกล้ไกลและความยากง่ายของงาน สำหรับการทำงาน 180 วัน ก่อนเลิกจ้างเป็นการทำงานในระหว่างเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 30 และเป็นการทำงานนอกเวลาทำงานปกติคิดเป็นร้อยละ 70 ของค่าเที่ยวทั้งหมด ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 จึงเป็นค่าจ้าง แต่ส่วนที่ตอบแทนการทำงานนอกเวลาทำงานปกติร้อยละ 70 ไม่เป็นค่าจ้าง ส่วนที่ตอบแทนการทำงานสำหรับระยะเวลาทำงานปกติร้อยละ 30 เมื่อคำนวณเป็นรายเดือนแล้วรวมกับเงินเดือนที่ ส. ได้รับจึงใช้เป็นฐานในการคำนวณค่าชดเชยได้ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6319/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนภาระจำยอมคลาดเคลื่อนและการเพิกถอนตามกฎหมายที่ดิน ศาลยกฟ้องเนื่องจากจำเลยไม่มีอำนาจเพิกถอนและขาดคู่ความ
โจทก์ฟ้องขอให้กรมที่ดินจำเลยที่ 1 และเจ้าพนักงานที่ดิน จำเลยที่ 2 จดทะเบียนเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 จดทะเบียนผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากข้อตกลงของโจทก์และเจ้าของสามยทรัพย์ที่ประสงค์จะจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินกลับจดทะเบียนทางด้านทิศตะวันออกของที่ดินแทน แต่ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 61 วรรคหนึ่ง (2) กำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอน แก้ไข เอกสารที่ได้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือเอกสารที่ได้จดแจ้งรายการทะเบียนอสังหาริมทรัพย์คลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ไม่ดำเนินการจดทะเบียนยกเลิกหรือเพิกถอนภาระจำยอม จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
ที่ดินของโจทก์ทางทิศตะวันออกมิได้มีการใช้ภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปีแล้ว แต่โจทก์มิได้ฟ้องเจ้าของที่ดินสามยทรัพย์เข้ามาเป็นคู่ความด้วย ศาลจึงพิพากษาให้ยกเลิกหรือเพิกถอนรายการจดทะเบียนภาระจำยอมนั้นให้แก่ที่ดินของโจทก์ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5778/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คหลังสลักหลังโอน และคำให้การขัดแย้ง
เช็คพิพาททั้งสองฉบับระบุจ่ายชื่อโจทก์หรือผู้ถือ จึงเป็นเช็คผู้ถือ เมื่อโจทก์เป็นผู้ถือเช็คพิพาททั้งสองฉบับในขณะที่โจทก์นำเช็คพิพาททั้งสองฉบับไปเรียกเก็บเงินจากธนาคาร แต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าโจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้แก่ธนาคาร ม. ไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อเช็คพิพาททั้งสองฉบับได้กลับมาอยู่ในความยึดถือครอบครองของโจทก์อีกในฐานะเป็นผู้รับเงิน โจทก์ย่อมกลับมาเป็นผู้ทรงเช็คพิพาททั้งสองฉบับนั้นโดยชอบด้วยกฎหมายอีกครั้งหนึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา 904
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
จำเลยให้การว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน จำเลยไม่เคยซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์ จำเลยไม่เคยสั่งจ่ายเช็คทั้งสองฉบับตามฟ้องเพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์และลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยไม่ต้องรับผิดใด ๆ ต่อโจทก์ หากศาลฟังว่าโจทก์และจำเลยมีการซื้อขายเพชรพลอยกันจริง การซื้อขายก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท ชอบที่จำเลยจะรับผิดเพียง 3,000,000 บาท เพราะเพชรบางรายการจำเลยได้คืนให้แก่โจทก์แล้ว จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คทั้งสองฉบับ จะเห็นได้ว่า ตามคำให้การของจำเลยดังกล่าว ครั้งแรกจำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้ซื้อสินค้าใด ๆ จากโจทก์และไม่ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับมอบให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้ เท่ากับจำเลยปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ค่าซื้อสินค้า แต่ขณะเดียวกันจำเลยกลับให้การว่าจำเลยได้คืนเพชรบางรายการให้แก่โจทก์แล้ว หากฟังว่าเป็นหนี้ก็ไม่เกิน 3,000,000 บาท จำเลยไม่ต้องรับผิดเต็มจำนวนตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับ ซึ่งเท่ากับจำเลยให้การยอมรับด้วยว่า จำเลยได้ซื้อเพชรพลอยไปจากโจทก์และได้สั่งจ่ายเช็คพิพาททั้งสองฉบับให้โจทก์ไว้ เพียงแต่จำเลยต้องรับผิดใช้เงินตามเช็คพิพาททั้งสองฉบับเพียง 3,000,000 บาท ตามจำนวนสินค้าที่ซื้อไปจากโจทก์นั่นเอง เช่นนี้ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นคำให้การที่ขัดแย้งกันเองอย่างเห็นได้ชัด จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง และทำให้จำเลยไม่มีประเด็นที่จะนำสืบตามคำให้การดังกล่าวด้วย
แม้ปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จะเป็นปัญหาข้อกฎหมายแต่มิได้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาได้จึงต้องยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์เสียก่อนด้วย แต่ตามคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมีข้อความลอย ๆ เพียงว่า "ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม" ต่อท้ายข้อความอุทธรณ์เรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายและโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยมิได้กล่าวโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ได้วินิจฉัยมาแล้วว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมแล้วนั้นว่าไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องอย่างไร อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้ง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องเคลือบคลุมขึ้นวินิจฉัยแต่อย่างใด เช่นนี้ถือได้ว่าปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่นั้น มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4790/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสารภาพความผิดฐานลักทรัพย์ จำเลยต้องระบุเวลาเกิดเหตุ โจทก์มีหน้าที่นำสืบเพื่อพิสูจน์เวลา
ตามคำฟ้องโจทก์ที่บรรยายเกี่ยวกับความผิดฐานลักทรัพย์นั้นมีความหมายว่าเหตุลักทรัพย์เกิดระหว่างเวลากลางคืนก่อนเที่ยงของวันที่ 22 มกราคม 2545 ถึงเวลากลางวันของวันเดียวกัน โดยมีคำขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 334 และมาตรา 335 มาด้วย ตามคำฟ้องโจทก์เวลาเกิดเหตุลักทรัพย์นั้นจึงอาจเป็นเวลากลางคืนก่อนเที่ยง หรือเวลากลางวันก็ได้ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ตามที่โจทก์ฟ้องโดยมิได้ระบุว่าลักทรัพย์ในเวลากลางวันหรือในเวลากลางคืนจึงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ในเวลาใดแน่ โจทก์จึงมีหน้าที่นำสืบให้เห็นได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน เมื่อโจทก์ไม่สืบพยานข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4776/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ที่ดินของผู้อื่น & ค่าใช้ที่ดิน: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ, การครอบครองปรปักษ์ไม่สำเร็จ
โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความในคดีแพ่งของศาลจังหวัดนครราชสีมาซึ่งตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวได้วินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์โดยจำเลยมีสิทธิใช้ที่ดินพิพาทได้ไม่ต้องรื้อถอนบ้านที่ปลูกรุกล้ำที่ดินพิพาท คำพิพากษาคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยจะได้กล้าวอ้างเป็นประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาท แต่เมื่อศาลจังหวัดนครราชสีมามิได้ยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยมิได้อุทธรณ์ ประเด็นเรื่องการครอบครองปรปักษ์จึงยุติถึงที่สุดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นของโจทก์อยู่ เพียงแต่จำเลยคงมีสิทธิใช้ได้ต่อไปโดยไม่ต้องรื้อถอนบ้านออกไปเท่านั้น การที่จำเลยครอบครองบ้านดังกล่าวย่อมเป็นการครอบครองโดยอาศัยสิทธิของโจทก์ แม้จะครอบครองมาเกิน 10 ปีแล้ว ก็ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อบ้านของจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินของโจทก์โดยสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิที่จะได้ค่าใช้ที่ดินจากจำเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1312 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4722/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานกระทำให้ผู้อื่นตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญ และการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องตามฟ้อง
โจทก์ได้บรรยายฟ้องและขอให้ลงโทษจำเลยฐานกระทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจกลัวโดยการขู่เข็ญตาม ป.อ. มาตรา 392 ด้วย เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดฐานดังกล่าวตามฟ้อง แต่ศาลชั้นต้นมิได้ปรับบทกฎหมายลงโทษจำเลยในความผิดตามมาตรานี้แต่กลับกำหนดโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวจึงเป็นการไม่ชอบ และศาลอุทธรณ์ภาค 6 ก็มิได้แก้ไขให้ถูกต้อง เพียงแต่วงเล็บข้อความไว้ในคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 6 ในส่วนที่กล่าวถึงคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ที่ถูกมาตรา 392 ด้วย ซึ่งไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 392 อีกบทหนึ่ง อันเป็นกรรมเดียวกับความผิดตาม ป.อ. มาตรา 376 ให้ลงโทษฐานกระทำให้ผู้อื่นเกิดความตกใจกลับโดยการขู่เข็ญ อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3873/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา: ศาลฎีกายกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความ แม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264, 265, 268 และ 341 มีอายุความฟ้อง 10 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) จำเลยกระทำความผิดระหว่างต้นเดือนมกราคม 2537 ถึงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2538 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 14 มีนาคม 2548 คดีของโจทก์สำหรับจำเลยในความผิดข้อหาดังกล่าว จึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ชอบที่ศาลจะต้องยกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036-3038/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจโดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ชอบด้วยกฎหมาย หากดำเนินการตามขั้นตอนและไม่กลั่นแกล้ง
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ หาได้บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกระทำโดยนายจ้างหรือสหภาพแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 25 วรรคสาม แต่เพียงประการเดียวไม่ แต่กฎหมายดังกล่าวยังได้บัญญัติถึงกระบวนแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ในมาตรา 23 (5) อีกทางหนึ่งด้วย โดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจ "ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง" ดังนั้น หากคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ปรับปรุงสภาพการจ้างใดโดยกระทำด้วยการปรึกษาหารือกันโดยชอบ กล่าวคือ มีการพิจารณาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและมีเหตุผลเพียงพออีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างตามกระบวนการนี้ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนในรัฐวิสาหกิจรวมถึงฝ่ายบริหารด้วย ไม่ว่าการปรับปรุงสภาพการจ้างนั้นจะทำให้สภาพการจ้างต่ำกว่าเดิมหรือลดประโยชน์ของลูกจ้างก็ตาม เมื่อปรากฏว่าการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ลงวันที่ 28 สิงหาคม 2546 ได้กระทำโดยมีการเสนอการปรับปรุงเป็นวาระการประชุมต่อคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของจำเลย และคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ของจำเลยได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้แก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ลงวันที่ 5 มีนาคม 2540 โดยให้ใช้หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่าเล่าเรียนบุตรของผู้ปฏิบัติงานซึ่งหมายถึงพนักงานการเคหะแห่งชาติและลูกจ้างทุกประเภทที่ได้ประจำทำงานในการเคหะแห่งชาติมาแล้วเป็นเวลาติดต่อกันตั้งแต่หนึ่งปีขึ้นไป ให้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรตามที่กระทรวงการคลังกำหนดแทนหลักเกณฑ์เดิมที่มีสิทธิได้รับตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด โดยคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ให้นำเสนอการแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวต่อคณะกรรมการเคหะแห่งชาติต่อไป และต่อมาคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ประชุมแล้วให้ความเห็นชอบในการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2546 ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าการปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวเป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตาม พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 (2) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนตามมาตรา 13 วรรคท้าย กระบวนการปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ที่แก้ไขใหม่นี้จึงมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ทั้งสามด้วย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจอ้างสิทธิขอรับเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตรตามฟ้องโดยอาศัยข้อบังคับการเคหะแห่งชาติว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร ลงวันที่ 5 มีนาคม 2540 ข้อ 5 อันเป็นข้อบังคับฉบับเดิมที่ถูกยกเลิกไปแล้ว