คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ อรรถบลยุคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายที่สามีลูกจ้างก่อขึ้น ไม่อาจหักจากค่าจ้างลูกจ้างได้ หากลูกจ้างมิได้เป็นผู้ก่อหนี้
แม้โจทก์จะทำหนังสือยินยอมให้จำเลยหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหาย ซึ่ง อ. สามีโจทก์ได้กระทำไว้แก่จำเลย แต่ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 76 บัญญัติห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงหน้า ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหักเพื่อ... (1) ชำระภาษีเงินได้ตามจำนวนที่ลูกจ้างต้องจ่ายหรือชำระเงินอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้ กับ... (4) เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง กรณีตาม (4) นั้นมุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้วจึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่คดีนี้โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลยแต่อย่างใด กรณีย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้จำเลยก็หาอาจจะหักค่าจ้างของโจทก์ได้ไม่ คำว่าหนี้อื่นๆ นั้นหมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระหนี้ภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีนี้สามีโจทก์เป็นผู้กระทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย จึงมิใช่หนี้อื่นๆ ตามนัยแห่งมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักค่าจ้างชดใช้ค่าเสียหายจากลูกจ้าง กรณีความเสียหายเกิดจากบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกจ้าง
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 ที่ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่ เป็นเงินประกันตามมาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้แก่นายจ้างซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงโดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้างตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (4) นั้น มุ่งหมายถึงตัวลูกจ้างโดยตรงเป็นผู้กระทำให้เกิดหนี้หรือความเสียหายแก่นายจ้างและลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้ว จึงหักค่าจ้างลูกจ้างได้ แต่โจทก์เป็นเพียงภริยาของ อ. ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์ มิได้เป็นผู้ก่อหนี้หรือความเสียหายแก่จำเลย ย่อมไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นตามบทกฎหมายดังกล่าว แม้โจทก์จะทำหนังสือยอมให้หักค่าจ้างได้ จำเลยก็ไม่อาจหักค่าจ้างของโจทก์ได้
คำว่าหนี้อื่น ๆ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) หมายถึงหนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ เช่น การชำระภาษีเงินได้ของลูกจ้าง หรือการชำระเงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างนั้นเอง เป็นต้น ซึ่งเกิดจากกฎหมายกำหนดหรือบัญญัติไว้ แต่กรณีที่สามีโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยเช่นเดียวกับโจทก์เป็นผู้ทำละเมิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่จำเลย มิใช่หนี้อื่น ๆ ตามมาตรา 76 วรรคหนึ่ง (1) จำเลยจึงต้องคืนเงินค่าจ้างให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 904/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิ่มโทษจำคุกซ้ำซ้อนในคดียาเสพติด: ศาลอุทธรณ์เพิ่มโทษตามมาตรา 97 ได้ แม้ศาลชั้นต้นจะยังมิได้เพิ่มโทษ
ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น แม้จะพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 97 ด้วยก็ตาม แต่ในขั้นตอนการลงโทษจำคุกแก่จำเลยนั้น ศาลชั้นต้นได้เรียงกระทงลงโทษโดยลงโทษจำคุกฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำคุก 6 ปี และฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีน จำคุก 6 ปี ทั้งนี้ ไม่ปรากฏข้อความในคำพิพกาษาของศาลชั้นต้นให้ตีความได้ว่าศาลชั้นต้นได้เพิ่มโทษจำคุกแก่จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วแต่อย่างใด ประกอบพฤติการณ์แห่งคดีที่รับฟังยุติว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางมีจำนวนถึง 50 เม็ด และจำเลยก็เคยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาก่อน แสดงว่าศาลชั้นต้นได้กำหนดโทษจำเลยในคดีนี้โดยยังมิได้เพิ่มโทษแก่จำเลยอีกกึ่งหนึ่งตามมาตรา 97 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่กำหนดโทษแก่จำเลยโดยเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 898/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน: ค่าอาหารและรายรับอื่นรวมเป็นค่าจ้างหรือไม่ และการตีความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายค่าชดเชย
จำเลยอุทธรณ์ว่าเงินค่าอาหารและเงินรายรับอื่นไม่ใช่ค่าจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 เป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมาย จึงอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 ส่วนอุทธรณ์ของจำเลยที่ว่าเงินค่าชดเชยที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยการเกษียณอายุนั้น ถือเป็นค่าชดเชยตามมาตรา 118 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ แล้วหรือไม่ เป็นอุทธรณ์ให้แปลความข้อบังคับเกี่ยวกับการจ่ายเงินค่าชดเชยเมื่อพนักงานเกษียณอายุแล้ว จึงเป็นการอุทธรณ์ในข้อกฎหมายเช่นกัน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างระหว่างทดลองงาน และสิทธิการได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีลูกจ้างมาสายและลางาน
อ. ได้ลาหยุดงาน 8 ครั้ง ในระหว่างการทดลองงานแต่มีการแจ้งด้วยวาจา แม้การลาหยุดงานและขาดงานดังกล่าวจะไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ก็ตาม แต่ก็รับฟังได้ตามบันทึกการมาสายว่า ในระหว่างการทดลองงาน อ. ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไปแผนกบุคคลของโจทก์ มาทำงานสายเป็นประจำในระยะเวลา 2 เดือนเศษ โดยมาทำงานสายถึง 30 ครั้ง เช่นนี้ ถือได้ว่า อ. ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างเหมาะสมให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริต โจทก์จึงมีสิทธิเลิกจ้าง อ. ได้ โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าตาม ป.พ.พ. มาตรา 583
การที่โจทก์ไม่พอใจคำสั่งของจำเลยและได้นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลย และศาลเห็นว่า จำเลยกำหนดจำนวนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าที่ให้โจทก์จ่ายให้แก่ พ. ขาดจำนวนไป ศาลแรงงงานกลางย่อมมีอำนาจตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 52 กำหนดจำนวนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามจำนวนที่ถูกต้องแท้จริงให้โจทก์จ่ายให้แก่ พ. ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 861-864/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตร การพิจารณาช่วงเวลาการยื่นคำขอและเหตุผลความล่าช้า
สิทธิในการขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจะเกิดมีขึ้นเมื่อใดนั้นจะต้องพิจารณาจากวันคลอดบุตรของผู้ประกันตนประกอบกับผู้ประกันตนได้จ่ายเงินสมทบครบถ้วนตามที่กฎหมายกำหนดแล้วหรือไม่ แม้โจทก์ทั้งสี่ไม่ได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยภายใน 1 ปี นับแต่วันที่โจทก์ทั้งสี่คลอดบุตร แต่ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด กรณีที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธิ ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่าภายในระยะเวลา 1 ปีดังกล่าว โจทก์ทั้งสี่ยังไม่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรจากจำเลยได้ เนื่องจากมีกรณีพิพาทเกี่ยวกับการส่งเงินสมทบระหว่างนายจ้างของโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยว่าจะต้องส่งเงินสมทบกรณีคลอดบุตรและตายเพียงใด ต่อมาหลังจากศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว นายจ้างของโจทก์ทั้งสี่เพิ่งส่งเงินสมทบย้อนหลังกรณีคลอดบุตรและตายให้แก่จำเลยเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2543 โจทก์ทั้งสี่จึงอยู่ในฐานะที่อาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรต่อจำเลยได้นับแต่วันที่ 20 กรกฎาคม 2543 เป็นต้นไป การขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรของโจทก์ทั้งสี่ต่อจำเลย ถือว่าเป็นการยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนดเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 423/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาว่าจ้างก่อสร้างผิดแบบ: ความรับผิดของผู้รับจ้าง และอายุความการเรียกร้องค่าจ้างคืน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยที่ 1 ก่อสร้างอาคารสองชั้นครึ่ง ต่อมาเทศบาลเมืองภูเก็ตมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้าง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ก่อสร้างไม่ถูกต้องตามแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างก่อสร้างและเป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างครั้งนี้ จำเลยที่ 1 ย่อมทราบดีว่าการก่อสร้างถูกแบบแปลนหรือไม่ เมื่อการก่อสร้างไม่ถูกแบบแปลนตามที่ขออนุญาตไว้จึงเป็นความผิดของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว
การฟ้องเรียกเอาเงินค่าจ้างที่จำเลยที่ 1 รับไปคืนมานั้น ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 102/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษคดีพนัน: ศาลยืนโทษจำคุกแม้ต่ำกว่าขั้นต่ำ เพราะโจทก์ไม่โต้แย้ง
ความผิดฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นพนันโปปั่นและเจ้ามือตาม พ.ร.บ.การพนันฯ มาตรา 4 วรรคแรก, 12 (1) มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือน ถึง 3 ปี และปรับตั้งแต่ 500 บาทถึง 5,000 บาท ศาลล่างใช้ดุลพินิจวางโทษก่อนลดให้จำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 2 คนละ 2 เดือน จึงเป็นการลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำที่กฎหมายบัญญัติไว้แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ ศาลฎีกาจึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามกฎหมายได้ เพราะจะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9072/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงห้ามแข่งขันหลังเลิกจ้าง: การคุ้มครองความลับทางการค้าและการลดเบี้ยปรับ
ธุรกิจการค้าของโจทก์ต้องอาศัยการแข่งขัน ข้อมูลความรู้ความลับทางการค้าเกี่ยวกับสินค้าของโจทก์ตามสมควร โจทก์จึงมีสิทธิที่จะป้องกันสงวนรักษาข้อมูลและความลับในทางการค้าเพื่อประโยชน์ในทางธุรกิจของโจทก์ได้ ทั้งข้อตกลงตามสัญญาจ้างทำงานก็มีกำหนดเวลาห้ามจำเลยอยู่ 2 ปี อันถือได้ว่าเป็นกำหนดเวลาพอสมควร สัญญาจ้างทำงานดังกล่าว จึงหาขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยจะไม่ทำงานรับจ้างหรือให้ข้อมูลของโจทก์แก่ผู้ประกอบการรายอื่น ซึ่งมีลักษณะธุรกิจแบบเดียวกับโจทก์ภายในกำหนด 2 ปี นับจากวันเลิกจ้าง หากผิดสัญญายอมให้ปรับ 200,000 บาท นั้น ย่อมเป็นข้อสัญญาที่มีลักษณะเป็นการกำหนดค่าเสียหายจากการผิดสัญญาไว้ล่วงหน้าจึงเป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เบี้ยปรับเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหาย ถ้าสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงได้โดยคำนึงถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้หรือโจทก์ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 การที่ศาลแรงงานกลางใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงจึงชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8801/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีใหม่เมื่อจำเลยไม่ได้รับหมายเรียก การส่งหมายเรียกไม่ชอบด้วยกฎหมายมีผลต่อกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ขอพิจารณาคดีใหม่โดยอ้างว่าได้ย้ายที่อยู่จากจังหวัดอุบลราชธานีไปอยู่กับบุตรสาวเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วยที่จังหวัดเพชรบุรี จำเลยที่ 2 ไม่เคยได้รับหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องเนื่องจากโจทก์นำส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ที่อยู่เดิมที่จังหวัดอุบลราชธานี จำเลยที่ 2 เพิ่งทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2546 คำร้องดังกล่าวเป็นการอ้างว่าการส่งหมายเรียกให้จำเลยที่ 2 มาศาลในวันนัดพิจารณาคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งหากฟังได้ตามที่อ้าง กำหนดเวลาในการร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 ก็ไม่อยู่ในบังคับภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยที่ 2 ขาดนัด และให้พิจารณาคดีของโจทก์ไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 41 เนื่องจากจำเลยที่ 2 ยังไม่ทราบถึงกำหนดนัดพิจารณาคดี ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยที่ 2 โดยยังไม่ได้วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 ได้รับหมายเรียกให้มาศาลในวันนัดพิจารณาโดยชอบแล้วหรือไม่ จึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
of 16