พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3036-3038/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงสภาพการจ้างของรัฐวิสาหกิจ: อำนาจคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์และการปฏิบัติตามขั้นตอน
พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ.2543 หาได้บัญญัติให้การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกระทำโดยนายจ้างหรือสหภาพแรงงานต้องยื่นข้อเรียกร้องตามมาตรา 25 วรรคสามแต่เพียงประการเดียวไม่ แต่กฎหมายยังได้บัญญัติถึงกระบวนแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างไว้ในมาตรา 23 (5) อีกทางหนึ่งโดยบัญญัติให้คณะกรรมการกิจการสัมพันธ์มีอำนาจ ปรึกษาหารือเพื่อพิจารณาปรับปรุงสภาพการจ้าง ดังนั้น หากคณะกรรมการกิจการสัมพันธ์ปรับปรุงสภาพการจ้างใดโดยกระทำด้วยการปรึกษาหารือกันโดยชอบ คือมีการพิจารณาโดยถูกต้องตามขั้นตอนและมีเหตุผลเพียงพอ อีกทั้งไม่เป็นการกลั่นแกล้งบุคคลหนึ่งบุคคลใดแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างตามกระบวนการนี้ย่อมมีผลใช้บังคับแก่ลูกจ้างทุกคนในรัฐวิสาหกิจรวมถึงฝ่ายบริหารด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร เป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 (2) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนตามมาตรา 13 วรรคท้าย ดังนี้การแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ที่แก้ไขใหม่นี้ จึงมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย
เมื่อไม่ปรากฏว่าการแก้ไขข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ว่าด้วยเงินช่วยเหลือการศึกษาของบุตร เป็นการปรับปรุงสภาพการจ้างที่เกี่ยวกับการเงินที่อยู่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ตามพ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 (2) ที่จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์และคณะรัฐมนตรีก่อนตามมาตรา 13 วรรคท้าย ดังนี้การแก้ไขข้อบังคับดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเคหะแห่งชาติได้ให้ความเห็นชอบแล้ว การปรับปรุงสภาพการจ้างดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย ข้อบังคับการเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 74 ที่แก้ไขใหม่นี้ จึงมีผลใช้บังคับแก่พนักงานของจำเลยทุกคนรวมทั้งโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2780/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: ทายาทมีสิทธิครอบครองที่ดินมรดก แม้ยังไม่ได้แบ่งแยกชัดเจน จำเลยไม่มีสิทธิขับไล่
โจทก์ทั้งสี่และจำเลยเป็นบุตรของเจ้ามรดก ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้จดทะเบียนโอนแบ่งให้แก่ทายาททั้งห้าจึงไม่ใช่ของจำเลย โจทก์ที่ 2 เป็นทายาทคนหนึ่งและมีสิทธิได้รับมรดกที่ดินพิพาท จึงมีส่วนเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาท จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ขับไล่โจทก์ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2646/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชะลอการขึ้นเงินเดือนระหว่างสอบสวนวินัย ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง หากผลสอบเป็นปกติ โจทก์มีสิทธิได้รับเงินเดือนย้อนหลัง
การชะลอการขึ้นเงินเดือนเป็นคำสั่งทั่วไปที่จำเลยสามารถกระทำได้ ไม่ขัดต่อกฎหมายและมีเหตุอันสมควร เพราะระหว่างที่ยังสอบสวนไม่เสร็จหากเลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์แล้วต่อมาปรากฏว่าโจทก์ได้กระทำความผิดจริง จะทำให้จำเลยทั้งสองเสียหายยากที่จะเรียกร้องเงินคืนจากโจทก์ หากผลการสอบสวนปรากฏว่าโจทก์ไม่มีความผิดวินัย โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับเงินเดือนย้อนหลัง ได้รับบำเหน็จความชอบตามสมควรแก่กรณี
ในระหว่างที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและจำเลยทั้งสองชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้แก่โจทก์ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าโจทก์กระทำความผิดระเบียบหรือไม่ ไม่มีผลทำให้สภาพการจ้างของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เพราะโจทก์ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ ได้รับค่าจ้างตามปกติ คำสั่งชะลอการเลื่อนขึ้นเงินเดือนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ในระหว่างที่โจทก์ถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและจำเลยทั้งสองชะลอการเลื่อนขั้นเงินเดือนได้แก่โจทก์ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาว่าโจทก์กระทำความผิดระเบียบหรือไม่ ไม่มีผลทำให้สภาพการจ้างของโจทก์เปลี่ยนแปลงไป เพราะโจทก์ยังคงเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 อยู่ ได้รับค่าจ้างตามปกติ คำสั่งชะลอการเลื่อนขึ้นเงินเดือนดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2307/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีครอบครองอาวุธปืนเถื่อนและพาอาวุธปืนในที่สาธารณะ แม้ไม่มีเครื่องลั่นไกก็ผิดกฎหมาย ศาลไม่รอลงโทษ
อาวุธปืนของกลางแม้จะไม่มีอุปกรณ์และเครื่องลั่นไกก็ถือว่าเป็นอาวุธปืนตามกฎหมาย การที่จำเลยมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนดังกล่าวโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่จึงเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย อีกทั้งจำเลยยังมีกระสุนปืนของกลางไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่อันเป็นการกระทำที่ฝ่าฝืนต่อกฎหมายด้วยเช่นกัน ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะหยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ว่าจำเลยอาจถอดและซุกซ่อนอุปกรณ์เครื่องลั่นไกไว้ต่างหากเพื่ออำพรางการกระทำความผิด ก็ไม่ทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพ สามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามหาตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมาก และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวเข้าไปในบริเวณที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีการแสดงดนตรีเพื่อการรื่นเริง นับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชนที่ไปเที่ยวงาน พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยมีประวัติกระทำความผิดมาก่อน จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพ สามารถใช้ทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายและทรัพย์สินของผู้อื่นได้โดยง่าย ทั้งอาวุธปืนของกลางไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามหาตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมาก และนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยพาอาวุธปืนของกลางติดตัวเข้าไปในบริเวณที่ชุมนุมชนที่จัดให้มีการแสดงดนตรีเพื่อการรื่นเริง นับว่าเป็นอันตรายต่อประชาชนที่ไปเที่ยวงาน พฤติการณ์ในการกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ประกอบกับข้อเท็จจริงได้ความตามรายงานการสืบเสาะและพินิจว่าจำเลยมีประวัติกระทำความผิดมาก่อน จึงไม่สมควรที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2144/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ข้อเท็จจริงจากชั้นสอบสวนประกอบการลงโทษ: ศาลฎีกาตัดสินว่าไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่า "จำเลยพาวัตถุระเบิดของกลางไปในบริเวณงานสวนสนุก" มาจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลย ซึ่งพนักงานสอบสวนอ้างส่งต่อศาลชั้นต้นในชั้นไต่สวนคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 โดยที่จำเลยมาศาลในวันดังกล่าวและแถลงไม่คัดค้านการฝากขังและลงลายมือชื่อไว้ในคำให้การพยานผู้ร้องและรายงานกระบวนพิจารณา โดยศาลอุทธรณ์ภาค 3 นำมาใช้ประกอบดุลพินิจในการลงโทษ ซึ่งจำเลยให้การรับสารภาพ หาใช่เป็นการรับฟังข้อเท็จจริงนอกฟ้องนอกสำนวนไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1196/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท – กระทำชำเราเด็กและพาผู้อื่นไปอนาจาร – ลงโทษตามบทหนัก
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก และความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร โดยใช้กำลังประทุษร้าย ตามมาตรา 284 วรรคแรก จำเลยมีเจตนาเดียวกันคือพาผู้เสียหายไปข่มขืนกระทำชำเรา จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษตามมาตรา 277 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดตามมาตรา 90 ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำเลยเป็นความผิดต่างกรรมเป็น 2 กระทง จึงเป็นการไม่ชอบ แม้จำเลยจะมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ภาค 6 และมิได้ฎีกาปัญหานี้ขึ้นมา แต่กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รัฐต่อหน่วยงาน กรณีลดหย่อนค่าบริการโดยไม่ชอบ และดอกเบี้ยผิดนัด
การที่โจทก์ลดราคาค่าบริการของจำเลยโดยไม่มีอำนาจ แต่โจทก์ก็ทำไปตามทางปฏิบัติของจำเลยที่เคยปฏิบัติกันมา ซึ่งคณะกรรมการของจำเลยก็ยอมรับในเรื่องธรรมเนียมปฏิบัติงานของจำเลยที่เคยทำกันมาในเรื่องอัตราค่าบริการที่โจทก์ใช้คำนวณในเรื่องดังกล่าวนี้ ทั้งโจทก์เองเป็นผู้ตรวจสอบพบเหตุกระทำผิดวินัยแล้วเสนอให้ผู้บังคับบัญชาทราบ อีกทั้งโจทก์ได้ทำหนังสือขออนุญาตการลดราคาค่าบริการไปยังผู้อำนวยการจำเลยผ่านผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น แต่หนังสือขออนุมัติลดราคากลับสูญหายในภายหลังจึงไม่มีผู้ใดทราบว่าผู้อำนวยการจำเลยอนุมัติให้ลดราคาหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์ลดราคาค่าบริการของจำเลยจึงเป็นการกระทำไปภายใต้ธรรมเนียมปฏิบัติงานที่เคยดำเนินการกันมาโดยจำเลยก็ยอมรับให้โจทก์ปฏิบัติเช่นนี้ได้มาโดยตลอด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ อีกทั้งมิได้เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 976/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐตามระเบียบความรับผิดทางละเมิด การคุ้มครองสิทธิ และดอกเบี้ยผิดนัด
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 กำหนดหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดต้องให้โอกาสเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องหรือผู้เสียหายได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม ความเห็นของคณะกรรมการต้องมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่แจ้งชัดและต้องมีพยานหลักฐานที่สนับสนุนประกอบ หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีความสำคัญต่อการคุ้มครองสิทธิของประชาชนและควบคุมตรวจสอบคำวินิจฉัยจึงเป็นขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ จำเลยเพียงแต่ให้โจทก์ชี้แจงในเรื่องที่บุคคลอื่นกระทำผิดวินัย ในทำนองเป็นการให้ข้อเท็จจริงแก่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงไม่เป็นกิจจะลักษณะว่ามีการแจ้งข้อกล่าวหาให้โจทก์ทราบหรือเข้าใจข้อเท็จจริงในฐานะผู้ถูกกล่าวหา และมีโอกาสแสดงพยานหลักฐานเมื่อมีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ก็ไม่ปรากฏว่าในคำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวได้กล่าวถึงกรณีการกระทำความผิดของโจทก์ว่าให้คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดพิจารณาแต่อย่างใด เพียงแต่กล่าวถึงกรณีที่ ม. สั่งการให้ ป. และ พ. พนักงานขับรถยนต์ทำความเสียหายให้จำเลย และคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดก็ได้รายงานผลการสอบสวนเพียงกรณีการกระทำของ ม. ป. และ พ. เท่านั้นโดยไม่ได้กล่าวถึงการกระทำใดของโจทก์ เมื่อคณะกรรมการพิจารณารายงานผลการสอบสวนและความรับผิดทางละเมิดได้ประชุมและให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายแก่จำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์อันเป็นสาระสำคัญของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หมวด 1 อันเป็นหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
การที่โจทก์ลดราคาค่าบริการของจำเลยเป็นการกระทำไปภายใต้ธรรมเนียมปฏิบัติงานที่เคยดำเนินการกันมาโดยจำเลยยอมรับให้โจทก์ปฏิบัติมาโดยตลอด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และมิได้เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรณีพนักงานฟ้องเรียกเงินเดือนที่นายจ้างหักไว้โดยมิชอบ จึงให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ลดราคาค่าบริการของจำเลยเป็นการกระทำไปภายใต้ธรรมเนียมปฏิบัติงานที่เคยดำเนินการกันมาโดยจำเลยยอมรับให้โจทก์ปฏิบัติมาโดยตลอด การกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 และมิได้เป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงาน
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะนั้นมิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับกรณีพนักงานฟ้องเรียกเงินเดือนที่นายจ้างหักไว้โดยมิชอบ จึงให้คิดดอกเบี้ยในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ทับที่สาธารณประโยชน์: นายอำเภอมีอำนาจฟ้องได้
ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 (เดิม) ที่ใช้ในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ระบุเพียงว่า "เมื่อความปรากฏว่าได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์... ให้แก่ผู้ใดโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่อไปนี้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งเพิกถอนแก้ไข...(2) ผู้ว่าราชการจังหวัด สำหรับจังหวัดอื่น..." หมายความว่า ผู้ว่าราชการจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานครเป็นผู้มีอำนาจสั่งเพิกถอนหรือแก้ไขหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกผิดพลาดนั้นได้ ซึ่งเป็นอำนาจทางปกครองเท่านั้น ส่วนอำนาจในการฟ้องร้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ออกโดยไม่ชอบนั้นกฎหมายไม่ได้ระบุว่าเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดแต่เพียงผู้เดียว ทั้งตาม พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 มาตรา 67, 117, 122 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534 มาตรา 62 บัญญัติกำหนดให้อำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและดำเนินการคุ้มครองป้องกันที่ดินสาธารณะประโยชน์อันเป็นของกลางสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันนั้นเป็นของนายอำเภอ เมื่อจำเลยครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่โจทก์อ้างว่าออกทับที่สาธารณประโยชน์ "หนองหว้า" ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน โจทก์ซึ่งเป็นนายอำเภอเมืองยโสธรจึงมีอำนาจฟ้องห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินดังกล่าวนั้นได้ และหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่า หนังสือรับรองการทำประโยชน์เลขที่ 29 ที่ออกให้ในนาม ว. นั้นออกโดยผิดพลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์นั้นได้ตาม ป.ที่ดิน มาตรา 61 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 685/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องในคดีแรงงาน: การพิจารณาตาม ป.วิ.พ. และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงาน
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มิได้บัญญัติถึงวิธีการหรือหลักเกณฑ์ในการขอแก้ไขคำฟ้องไว้ จึงต้องนำ ป.วิ.พ. มาตรา 180 มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 ซึ่งมาตรา 180 บัญญัติว่า "การแก้ไขคำฟ้องหรือคำให้การที่คู่ความเสนอต่อศาลไว้แล้วให้ทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาลก่อนวันชี้สองสถาน หรือก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน ในกรณีที่ไม่มีการชี้สองสถาน..." ดังนั้น การที่ในวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ คู่ความมาศาล ศาลแรงงานกลางไกล่เกลี่ยแล้วยังตกลงกันไม่ได้จึงกำหนดประเด็นข้อพิพาทแล้วนัดสืบพยานโจทก์ การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและกำหนดวันนัดสืบพยานดังกล่าวของศาลแรงงานกลางเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 39 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่จำต้องนำเรื่องการชี้สองสถานตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 183 มาใช้บังคับ ถือได้ว่าคดีแรงงานไม่มีการชี้สองสถาน เมื่อไม่มีการชี้สองสถาน โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องโดยเป็นการแก้ไขในรายละเอียดและเพิ่มเติมฟ้องเดิมให้บริบูรณ์ ซึ่งเป็นข้อที่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ ทั้งโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแก้ไขคำฟ้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 179 และมาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31