คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สถิตย์ อรรถบลยุคล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4800/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนทางประกันสังคมไม่ระงับ แม้ยื่นคำขอหลังหนึ่งปี มาตรา 56 วรรคหนึ่งเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัด
แม้ พ.ร.บ. ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 56 วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและประสงค์จะขอรับประโยชน์ทดแทนให้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน แต่ก็มิได้บัญญัติว่าหากไม่ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในเวลาดังกล่าวจะมีผลทำให้สิทธิที่จะได้รับประโยชน์ทดแทนระงับสิ้นไป ดังนั้นระยะเวลาการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนภายในหนึ่งปีจึงเป็นเพียงกำหนดระยะเวลาเร่งรัดให้ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนใช้สิทธิโดยเร็วเท่านั้นไม่ใช่บทบัญญัติตัดสิทธิ ซึ่งต่างจากมาตรา 56 วรรคสอง อันเป็นกรณีที่ผู้ประกันตนหรือผู้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนได้ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทน และสำนักงานประกันสังคมได้แจ้งให้บุคคลดังกล่าวมารับประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินแล้ว แต่บุคคลดังกล่าวไม่มารับภายในสองปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง ประโยชน์ทดแทนที่เป็นตัวเงินนั้นจึงจะตกเป็นของกองทุนประกันสังคม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4174/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษผิดพลาดในคดีค้ายาเสพติด ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโทษให้ถูกต้องตามกฎหมาย
ความผิดฐานพยายามส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เพื่อจำหน่าย ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 65 วรรคสอง ประกอบ ป.อ. มาตรา 80 วางโทษจำเลยในความผิดฐานนี้จำคุกตลอดชีวิต ดังนั้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จะมีอำนาจหยิบยกปัญหาที่ศาลชั้นต้นปรับบทลงโทษความผิดข้อหาดังกล่าวมาไม่ถูกต้องขึ้นวินิจฉัยเอง โดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ ฯ มาตรา 15 วรรคสอง, 65 วรรคสอง ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 80 พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ฯ มาตรา 7 อันเป็นการปรับบทกฎหมายที่ถูกต้องลงโทษแก่จำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 5 กำหนดโทษที่ลงแก่จำเลยเสียใหม่เป็นประหารชีวิตตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 65 วรรคสอง ซึ่งสูงกว่าโทษจำคุกตลอดชีวิตที่ศาลชั้นต้นลงแก่จำเลยในความผิดฐานนี้นั้นเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะเมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นจึงไม่อาจลงโทษจำเลยเกินกว่าจำคุกตลอดชีวิตได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษซึ่งทำให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นอันเป็นผลร้ายแก่จำเลย ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225 กรณีเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4165/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในเคหสถานและการลักทรัพย์ต่อเนื่อง ศาลพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์หลายกรรมต่างกันได้
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยลักบัตรถอนเงินสดของผู้เสียหายในเคหสถาน อันเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8) วรรคแรก และจำเลยใช้บัตรดังกล่าวเบิกถอนเงินสดผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ อันเป็นการลักทรัพย์ของผู้เสียหายอีกจำนวน 5 ครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 334 และจำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงเป็นอันยุติตามคำฟ้องว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในเคหสถานตาม ป.อ. มาตรา 335 และลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 แม้ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์จะขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 335 เพียงมาตราเดียว แต่ความผิดข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถานตามที่โจทก์ฟ้องนั้นรวมการกระทำความผิดข้อหาลักทรัพย์ ซึ่งเป็นความผิดได้อยู่ในตัวเอง การที่ศาลพิพากษาลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 334 ด้วยจึงเป็นการลงโทษจำเลยในการกระทำผิดตามที่พิจารณาได้ความ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย มิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
จำเลยลักบัตรถอนเงินสดไปจากผู้เสียหาย แล้วนำไปลักเงินของผู้เสียหายโดยผ่านเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติรวมจำนวน 5 ครั้ง ทรัพย์ที่จำเลยลักเป็นคนละประเภทและเป็นความผิดสำเร็จในตัวต่างกรรมต่างวาระ และอาศัยเจตนาแตกต่างแยกจากกันได้จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ต้องเกิดหลังการครอบครองทรัพย์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาดได้
โจทก์บรรยายฟ้องข้อ 1.13 และ 1.14 ว่า จำเลยทั้งสองได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหาย ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 ตามลำดับ โดยเงินดังกล่าวจำเลยทั้งสองได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 และวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยทั้งสองได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 และประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3823/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ องค์ประกอบความผิดฐานยักยอกทรัพย์ – การครอบครองทรัพย์ก่อนกระทำผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานยักยอกเงินของผู้เสียหายระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 และระหว่างวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2546 จำนวนเงิน 2,000 บาท และ 3,150 บาท โดยเงินดังกล่าวจำเลยได้รับจากผู้สมัครเรียนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ เป็นการบรรยายฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดฐานยักยอกทรัพย์ของผู้เสียหายก่อนวันที่จำเลยได้ครอบครองทรัพย์ การกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานยักยอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3613/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์ในเวลากลางคืน จำเลยให้การรับสารภาพ แต่โจทก์ไม่นำสืบเวลาเกิดเหตุ ศาลฎีกายกประโยชน์ให้จำเลย
โจทก์บรรยายฟ้องถึงการกระทำความผิดของจำเลยความว่า เมื่อระหว่างวันที่ 7 เมษายน 2536 เวลากลางคืนหลังเที่ยง ถึงวันที่ 22 เมษายน 2536 เวลากลางวัน วันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยลักเลื่อยโซ่ยนต์ของผู้เสียหายไป...แม้คำบรรยายของโจทก์พอที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีว่า วันเวลาที่จำเลยกระทำความผิดเป็นช่วงวันเวลาใด และจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่โจทก์ไม่ได้นำสืบเกี่ยวกับเวลาเกิดเหตุให้ศาล เห็นว่า จำเลยลักทรัพย์ในเวลากลางคืนจึงต้องยกประโยชน์ให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3368/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกร้องเงินบำเหน็จ, ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อน, และสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า: กรอบระยะเวลาและเงื่อนไขการผิดนัด
ตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกำหนดให้พนักงานมีหนังสือขอรับเงินบำเหน็จจากนายจ้างภายใน 6 เดือน นับแต่วันออกจากงาน แต่ระเบียบข้อบังคับดังกล่าวมิได้มีข้อจำกัดตัดสิทธิพนักงานที่ไม่ทำหนังสือแสดงความประสงค์ขอรับเงินบำเหน็จภายในกำหนด การที่โจทก์ทำหนังสือเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จเมื่อพ้นกำหนด 6 เดือน จำเลยไม่ชำระ จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ โจทก์ย่อมเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินบำเหน็จแก่โจทก์ได้
ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นสินจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (9) มีอายุความ 2 ปี หาใช่ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 ไม่
สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค้ำประกันการทำงาน และเงินบำเหน็จ มิใช่เงินที่จะต้องจ่ายทันทีเมื่อมีการเลิกจ้างเช่นเดียวกับค่าชดเชยซึ่งเป็นผลตามกฎหมายอันเกิดสิทธิบังคับให้ชำระหนี้ทันที แต่ผู้มีสิทธิในเงินดังกล่าวจะต้องทวงถามก่อน เมื่อไม่ชำระจึงตกเป็นผู้ผิดนัดเมื่อทวงถาม ตาม ป.พ.พ. มาตรา 204 วรรคหนึ่ง หาใช่นับแต่วันเลิกจ้างไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฐานทุจริตหน้าที่ ศาลยืนตามคำสั่งเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขณะที่ ล. พนักงานทำความสะอาดภายในเครื่องบินจัดกระเป๋าหลังเก้าอี้ที่นั่งผู้โดยสารพบเครื่องเล่นซีดีที่ผู้โดยสารลืมทิ้งไว้ แต่ไม่ได้แจ้งส่งคืนตามระเบียบ แม้ถูกทวงถามก็ไม่ยอมบอกกล่าวแก่ผู้ค้นหา กลับนำเครื่องเล่นซีดีไปซุกซ่อนไว้ในถุงเก็บขยะที่ตนเป็นผู้ครอบครองดูแลอยู่ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่โดยมีเจตนาจะนำเครื่องเล่นซีดีดังกล่าวเก็บซุกซ่อนแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนต่อไป การกระทำของ ล. จึงเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษถึงขั้นไล่ออก การที่โจทก์เลิกจ้าง ล. จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 37 โจทก์มีอำนาจเลิกจ้าง ล. ได้ตามมาตรา 37 (1) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ
คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ 5/2546 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2546 และให้โจทก์เลิกจ้าง ล. ตามที่โจทก์ได้มีคำสั่งเลิกจ้างไว้แล้ว ผลแห่งคดีคือโจทก์ชนะคดีนี้ เพราะฉะนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ตามคำร้องของ ล. ที่ยื่นต่อจำเลยทั้งสิบห้านั้นไม่เข้าข่ายมาตรา 37 และ ล. ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ล. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จำเลยได้ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องของ ล. ไว้พิจารณา ถึงแม้จะวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3167/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ติดใจสืบพยาน ศาลพิพากษาตามพยานโจทก์ ไม่ใช่ขาดนัดพิจารณา จึงขอพิจารณาคดีใหม่ไม่ได้
ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์เป็นฝ่ายนำสืบพยานก่อน เมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จ ศาลแรงงานกลางได้เลื่อนไปสืบพยานจำเลยนัดหน้า เมื่อถึงกำหนดนัด ทนายโจทก์มาศาล ส่วนจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลโดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องและไม่มีพยานจำเลยมาศาล ศาลแรงงานกลางจึงถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยานและมีคำพิพากษาไปในวันดังกล่าว กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่ศาลมีคำพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดหรือขาดนัดพิจารณาแพ้คดี แต่เป็นกรณีที่ศาลได้พิพากษาชี้ขาดไปตามรูปเรื่องที่ปรากฏในคำฟ้องคำให้การและพยานโจทก์ ดังนี้ จำเลยจึงไม่อาจขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้ จำเลยชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3128/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแรงงาน: ต้องส่งเรื่องให้ อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อนหากมีข้อโต้แย้งเรื่องอำนาจศาล
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีมีปัญหาว่าคดีใดจะอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาขึ้นในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย คำวินิจฉัยของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางให้เป็นที่สุด คดีนี้จำเลยที่ 2 ซึ่งถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางเป็นประเด็นข้อพิพาทมาแต่ต้น กรณีนี้จึงมีปัญหาเกิดขึ้นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นอำนาจของอธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางที่จะวินิจฉัยแต่เพียงผู้เดียว ศาลแรงงานกลางซึ่งรับฟ้องคดีนี้ไม่มีอำนาจวินิจฉัยเสียเองว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานกลางโดยไม่ส่งปัญหาดังกล่าวไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ แม้คดีนี้จำเลยที่ 1 ไม่ได้อุทธรณ์ ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าคดีนี้ไม่อยู่ในอำนาจของศาลแรงงานก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินคืนแก่โจทก์ อันเป็นการชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้อุทธรณ์เพียงผู้เดียว ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) มาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
of 16