พบผลลัพธ์ทั้งหมด 157 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: สัญญาประการค้า, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33(5) และ 193/34(1) มีอายุความ 5 ปี
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจึงเป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ กรณีต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (5) ประกอบกับมาตรา 193/34 (1) มีอายุความ 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5826/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความค่าจ้างซ่อมรถ: ค่าจ้างต่อเนื่องจากสัญญาการค้าไม่ขาดอายุความภายใน 5 ปีนับแต่วันฟ้อง
โจทก์ประกอบกิจการอู่ซ่อมรถยนต์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้ามีสัญญากับจำเลยซึ่งเป็นผู้รับประกันวินาศภัยที่ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือซ่อมรถยนต์ของผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยซึ่งเป็นธุรกิจการค้าของจำเลย การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าเรียกเอาค่าจ้างซ่อมรถยนต์ของเหล่าผู้เอาประกันวินาศภัยกับจำเลยจากจำเลย เป็นการเรียกเอาค่าจ้างหรือค่าแห่งการงานที่ได้ทำเพื่อกิจการของจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายลูกหนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/34 (1) เมื่อสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างของโจทก์นับถึงวันฟ้องยังไม่เกิน 5 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4839-4840/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การย้ายงานลูกจ้างต้องมีเหตุสมควรตามกฎหมายแรงงานสัมพันธ์ กรณีลูกจ้างขาดงานและมีประวัติอาญา
ผู้คัดค้านเป็นพนักงานขับรถ มีหน้าที่ส่งสินค้าให้ลูกค้าของผู้ร้องซึ่งโดยสภาพของงานเห็นได้ว่าการส่งสินค้าตามคำสั่งของลูกค้าให้ตรงเวลาเป็นส่วนสำคัญของงาน ผู้คัดค้านขาดงานหมายถึงผู้คัดค้านหยุดงานไปโดยไม่ลาและไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบตามระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการทำงาน อันเป็นการละทิ้งการงานไป ผู้คัดค้านมีสถานะเป็นลูกจ้างของผู้ร้องมีหน้าที่ต้องทำงานให้แก่ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างโดยสม่ำเสมอและไม่ละทิ้งการงานไปอันจะทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการดำเนินกิจการ แต่ในปี 2544 ผู้คัดค้านขาดงานถึง 10 วัน ย่อมทำให้ผู้ร้องได้รับความยุ่งยากในการหาคนมาทำงานแทนโดยกะทันหัน พฤติการณ์ของผู้คัดค้านส่อชี้ถึงความไม่รับผิดชอบต่องานในหน้าที่พนักงานขับรถซึ่งเป็นงานที่เกี่ยวกับการหารายได้เข้าสู่กิจการของผู้ร้อง ประกอบกับปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานกลางและคำร้องของ ศ. ภริยาผู้คัดค้านว่าผู้คัดค้านถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ที่จังหวัดจันทบุรี จึงมีเหตุอันสมควรที่ผู้ร้องจะไม่ไว้วางใจให้ผู้คัดค้านยึดถือรถยนต์ น้ำมันรถ และสินค้าของผู้ร้องเพื่อไปส่งให้แก่ลูกค้าต่อไป ซึ่งเป็นเหตุอันเกิดแต่ตัวผู้คัดค้านที่เป็นกรรมการลูกจ้างเอง มีเหตุสมควรที่จะย้ายงานผู้คัดค้านจากพนักงานขับรถไปทำงานในแผนกตัดและซอยเทป แต่ทั้งนี้ให้ผู้คัดค้านได้รับค่าจ้างและสวัสดิการเท่าเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4838/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างแรงงาน: การเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญา แม้การแต่งตั้งไม่เป็นไปตามกฎหมาย สัญญาจ้างยังผูกพัน
คำให้การของจำเลยข้อ 1.1 และ 1.2 อ้างว่าผู้บริหารของจำเลยไม่มีอำนาจทำสัญญาจ้างโจทก์แทนจำเลย สัญญาจ้างดังกล่าวจึงไม่ผูกพันจำเลยเป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์ว่าโจทก์กับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน ส่วนคำให้การข้อ 1.4 อ้างว่าโจทก์พ้นจากตำแหน่งรองอธิการบดีไปแล้ว ไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนในตำแหน่งดังกล่าวต่อไป เป็นการยอมรับว่าจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ในตำแหน่งรองอธิการบดีตามสัญญาจ้างแต่ปฏิเสธว่าไม่ต้องรับผิดเพราะสัญญาสิ้นผลผูกพันคำให้การของจำเลยดังกล่าวจึงขัดแย้งกัน เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้ง
จำเลยโดยอธิการบดีของจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งรองอธิการบดี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 90,000 บาท ก่อนถึงวันเริ่มงานตามสัญญาทบวงมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้จำเลยอยู่ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยจำเลย แม้หลังจากนั้นอธิการบดีของจำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นรองอธิการบดีโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการควบคุมฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาสถาบันแต่งตั้งตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยก็ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมา จึงเป็นกรณีที่จำเลยเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาจ้างแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว และ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมฯ ที่จะแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาจ้างได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่คณะกรรมการควบคุมฯ เคยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำหน้าที่อาจารย์ประจำ และปฏิบัติภาระหน้าที่อื่นตามที่จำเลยมอบหมายโดยปรับอัตราเงินเดือนโจทก์ใหม่เป็นเดือนละ 60,000 บาท โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมจึงไม่อาจใช้บังคับโจทก์ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามอัตราเดิมตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างอันเป็นสภาพการจ้างที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
จำเลยโดยอธิการบดีของจำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งรองอธิการบดี ได้รับค่าจ้างเดือนละ 90,000 บาท ก่อนถึงวันเริ่มงานตามสัญญาทบวงมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้จำเลยอยู่ในความควบคุมของทบวงมหาวิทยาลัยพร้อมทั้งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยจำเลย แม้หลังจากนั้นอธิการบดีของจำเลยออกคำสั่งแต่งตั้งโจทก์เป็นรองอธิการบดีโดยไม่ได้เสนอให้คณะกรรมการควบคุมฯ ซึ่งทำหน้าที่เป็นสภาสถาบันแต่งตั้งตามกฎหมายก็ตามแต่จำเลยก็ให้โจทก์ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวเรื่อยมา จึงเป็นกรณีที่จำเลยเข้าถือเอาประโยชน์แห่งสัญญาจ้างแล้ว จำเลยจึงต้องผูกพันตามสัญญาดังกล่าว และ พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการควบคุมฯ ที่จะแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาจ้างได้แต่ฝ่ายเดียว ดังนั้น การที่คณะกรรมการควบคุมฯ เคยออกคำสั่งให้โจทก์ไปทำหน้าที่อาจารย์ประจำ และปฏิบัติภาระหน้าที่อื่นตามที่จำเลยมอบหมายโดยปรับอัตราเงินเดือนโจทก์ใหม่เป็นเดือนละ 60,000 บาท โดยโจทก์มิได้ให้ความยินยอมจึงไม่อาจใช้บังคับโจทก์ได้ ดังนั้น โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างตามอัตราเดิมตามข้อตกลงตามสัญญาจ้างอันเป็นสภาพการจ้างที่คู่สัญญาต้องปฏิบัติให้เป็นตามนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมรับผิดในสัญญา แม้ไม่ได้ลงชื่อ แต่รู้เห็นยินยอมและมีส่วนได้ประโยชน์
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ได้ลงชื่อเป็นพยานในสัญญาจ้างก่อสร้างบ้านลงในที่ดินของจำเลยทั้งสอง จึงเป็นพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันในสัญญาก่อสร้างกับโจทก์ในฐานะอย่างลูกหนี้ร่วมกัน แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้ลงชื่อคู่สัญญาในสัญญาจ้างผู้เดียวก็ตาม หนี้ค่าก่อสร้างบ้านที่จำเลยทั้งสองมุ่งหมายจะได้อยู่อาศัยต่อไปย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 ดังนี้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดตามสัญญาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2765/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในสัญญา: สามีมีส่วนรู้เห็นยินยอมในสัญญาจ้างก่อสร้าง ย่อมมีหน้าที่รับผิดร่วมกับภรรยา
จำเลยที่ 1 เป็นสามีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญาว่าจ้างโจทก์ให้ก่อสร้างบ้านลงบนที่ดินของจำเลยทั้งสองเพื่อพักร่วมกันกับจำเลยที่ 2 ทั้งข้อเท็จจริงตามที่ฟังได้ความยังปรากฏว่าระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำเลยทั้งสองยังร่วมกันเข้าไปตรวจดูความเรียบร้อยของงาน มีการสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องและแก้ไขเปลี่ยนแปลงแบบ แม้จำเลยที่ 2 จะลงลายมือในสัญญาฐานะผู้ว่าจ้างก็ตาม แต่พฤติการณ์ดังกล่าวฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นยินยอมและมุ่งผูกพันตนตามสัญญากับโจทก์ หนี้ค่าก่อสร้างบ้านจึงผูกพันจำเลยที่ 1 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2558/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขาดนัดในคดีแรงงาน การขอพิจารณาใหม่ต้องทำภายใน 7 วันตามกฎหมายเฉพาะ
ศาลแรงงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและชี้ขาดตัดสินคดีไปฝ่ายเดียวตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง จำเลยยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่เกินเวลา 7 วันนับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดแล้วตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 41 จำเลยย่อมไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอนคำสั่งตามมาตรา 40 วรรคสองดังกล่าวซึ่งเป็นกรณีที่กฎหมายวิธีพิจารณาคดีแรงงานบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว จะนำ ป.วิ.พ. มารา 199 จัตวา วรรคหนึ่ง มาใช้บังคับมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2322/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำความผิดเกี่ยวกับการแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประจำตัวประชาชน และการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุก
โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยกับพวกสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งความอันเป็นเท็จว่า พ. เป็นคนมีสัญชาติไทยและไม่มีบัตรประจำตัวประชาชนเป็นเหตุให้พนักงานเจ้าหน้าที่หลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยเป็นเจ้าพนักงานอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม การกระทำของจำเลยคงมีความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 (1) ประกอบด้วย ป.อ. มาตรา 86 ที่มีระวางโทษเบากว่า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน มาตรา 14 วรรคสาม จึงเป็นการพิพากษาเกินกว่าที่โจทก์บรรยายในฟ้อง ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จในแบบคำร้องขอเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้านบุคคลประเภท 5 ทั้งที่ พ. มีเชื้อชาติและสัญชาติเขมรและร่วมกันแสดงหลักฐานดังกล่าวเพื่อเพิ่มชื่อ พ. ในทะเบียนบ้านและสนับสนุนให้ พ. ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จว่าเป็นคนสัญชาติไทยจนเจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. เป็นการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกันโดยมีเจตนาเดียวคือเพื่อให้ทางราชการออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่ พ. การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาปัญหาดังกล่าว ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและปรับบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1528/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินโบนัส ค่าน้ำ ค่าไฟ ไม่ใช่ค่าจ้าง จึงไม่นำมารวมคำนวณค่าชดเชย
เงินโบนัสโจทก์ได้รับเป็นประจำปีโดยจำเลยจ่ายให้แก่โจทก์ปีละ 1 ครั้งพร้อมกับเงินเดือนงวดที่ 12 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายของปีในเดือนธันวาคมของแต่ละปี มิใช่แบ่งจ่ายเป็นงวดดังเช่นการจ่ายเงินเดือน และระบุการจ่ายว่าเป็นเงินโบนัส สำหรับค่าน้ำและค่าไฟฟ้าแต่เดิมจำเลยจะจ่ายให้แก่โจทก์ต่อเมื่อต้องมีใบเสร็จรับเงินมาแสดงประกอบการเบิกจ่ายตามจำนวนที่จ่ายจริง แสดงให้เห็นว่าค่าน้ำค่าไฟฟ้า เป็นการจ่ายเพื่อเป็นสวัสดิการโดยแท้ ไม่มีเจตนาที่จะจ่ายให้เป็นเงินค่าจ้าง แม้ต่อมาโจทก์จะไม่ต้องนำใบเสร็จมาแสดงก็เนื่องจากโจทก์เป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นการอำนวยความสะดวกและให้เกียรติโจทก์และเป็นจำนวนไม่มาก จึงเหมาจ่ายให้แก่โจทก์เป็นประจำทุกเดือน เงินดังกล่าวนี้ก็ยังคงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เป็นสวัสดิการเช่นเดิม ดังนั้น ทั้งเงินโบนัส เงินค่าน้ำ และเงินค่าไฟฟ้าจึงไม่ใช่เงินที่จำเลยจ่ายให้แก่โจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาปกติของวันทำงาน จึงมิใช่ค่าจ้างที่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1501/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกันตามสัญญาจ้างแรงงาน กรณีเปลี่ยนแปลงตำแหน่งหน้าที่
จำเลยค้ำประกัน ช. ในขณะที่ ช. มีตำแหน่งผู้ช่วยจัดโชว์สินค้าตามห้างซึ่งไม่เกี่ยวกับการขายสินค้าของโจทก์ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเงินอันเนื่องมาจากการขายสินค้าซึ่งตามสภาพงานจะต้องมีทั้งสินค้าใหม่ๆ เงินที่ขายสินค้าหมุนเวียนผ่านมือไป อันมีลักษณะการทำงานแตกต่างไปจากการช่วยจัดโชว์สินค้าอย่างสิ้นเชิง งานตำแหน่งพนักงานขายสินค้าจึงถือได้ว่าอยู่นอกเหนือเจตนาและความมุ่งหมายจะผูกพันตนของจำเลยตามสัญญาค้ำประกันในขณะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน การที่ ช. ได้กระทำความเสียหายแก่โจทก์ขณะอยู่ในตำแหน่งพนักงานขายสินค้าของโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันต่อโจทก์