พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 677/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ต้องเริ่มนับระยะเวลาหลังออกโฉนดเท่านั้น และต้องครอบครองติดต่อกัน 10 ปี
การครอบครองที่ดินของผู้อื่น อันจะเป็นเหตุให้ผู้ครอบครองได้กรรมสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 นั้น ต้องเป็นการครอบครองที่ดินของผู้อื่นที่ได้ออกโฉนดแล้วเท่านั้น ทั้งจะต้องครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีด้วย เมื่อทางราชการเพิ่งออกโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งห้าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2539 นับถึงวันที่ 6 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสองฟ้องแย้ง ยังไม่ถึงสิบปี จำเลยทั้งสองจึงยังไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
จำเลยทั้งสองจะนับระยะเวลาที่ครอบครองที่พิพาทก่อนที่พิพาทออกโฉนดรวมเข้าด้วยไม่ได้เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้แต่เฉพาะที่ดินมีกรรมสิทธิ์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 555/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยฝ่ายเดียวไม่ผูกพันคู่หมั้น และประเด็นการฎีกาที่ขัดต่อข้อที่ว่ากล่าวในศาลล่าง
จำเลยที่ 2 บอกโจทก์ว่า จำเลยที่ 2 ไม่ต้องการสมรสกับโจทก์ เป็นการบอกเลิกสัญญาหมั้นของจำเลยที่ 2 แต่เพียงฝ่ายเดียวไม่มีผลผูกพันโจทก์
โจทก์กับจำเลยที่ 2 สมัครใจเลิกสัญญาหมั้นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะหยิบยกปัญหาเรื่องการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
โจทก์กับจำเลยที่ 2 สมัครใจเลิกสัญญาหมั้นกัน ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า จำเลยที่ 2 มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้นั้น จำเลยทั้งสองมิได้ให้การต่อสู้คดีในปัญหาดังกล่าวไว้ แม้ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจะหยิบยกปัญหาเรื่องการบอกเลิกสัญญาของจำเลยที่ 2 ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 494/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพรากผู้เยาว์, หน่วงเหนี่ยว, กระทำอนาจาร: ศาลฎีกาแก้ไขการลงโทษและให้รอการลงโทษ
การที่จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 1 อายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเสียจากผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นมารดา และผู้เสียหายที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ปกครองดูแลเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสามนั้น เป็นความผิดที่ได้กระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายที่ 2 และผู้เสียหายที่ 3 โดยตรง ถือได้ว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิดฐานนี้ให้เกิดผลขึ้นต่างหากจากความผิดฐานอื่น จึงมิใช่กรรมเดียวกับความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวให้ผู้อื่นปราศจากเสรีภาพในร่างกายและฐานกระทำอนาจารเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีโดยใช้กำลังประทุษร้ายที่จำเลยกระทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้เสียหายที่ 1
ส่วนการที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายที่ 1 โดยใช้กำลังดึงแขนและขู่บังคับให้นั่งรถจักรยานยนต์ไปกับจำเลย ทั้งทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย และทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และ 310 วรรคแรก แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง นั้น เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอนและถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
ส่วนการที่จำเลยหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายที่ 1 โดยใช้กำลังดึงแขนและขู่บังคับให้นั่งรถจักรยานยนต์ไปกับจำเลย ทั้งทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิตร่างกาย และทำให้ผู้เสียหายที่ 1 ต้องปราศจากเสรีภาพในร่างกายอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และ 310 วรรคแรก แล้วจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปกระทำอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 279 วรรคสอง นั้น เป็นการกระทำที่ต่อเนื่องเชื่อมโยงอยู่ในวาระเดียวกันไม่ขาดตอนและถือว่าจำเลยกระทำไปโดยมีเจตนาเพื่อกระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 1 เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยส่วนนี้จึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางภาระจำยอม, การละเมิด, ค่าเสียหาย: การปิดกั้นทางก่อนสร้างทางใหม่
การที่โจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. กับ ว. คู่ความในคดีเดิมทำสัญญาประนีประนอมยอมความและศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ข้อพิพาทที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ จึงเป็นอันระงับสิ้นไป ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 852 ทางพิพาทจึงไม่ใช้ทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์อีกต่อไปแต่โจทก์ก็ยังมีสิทธิใช้ถนนในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้ตามข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้โจทก์จะใช้เกินกว่า 10 ปี แล้วก็ไม่ตกเป็นทางภาระจำยอมโดยอายุความตามมาตรา 1401
ผลแห่งคำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. จะต้องยินยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนทุกสายที่มีอยู่ในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด โดยให้ใช้ได้อย่างทางภาระจำยอม บุคคลที่รับโอนที่ดินมาจากหางหุ้นส่วนจำกัด ม. ถือได้ว่าเป็นคู่ความแทนห้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนที่ดินที่มีทางพิพาทอยู่ จึงต้องผูกพันยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนที่มีอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้อย่างทางภาระจำยอมด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าทางพิพาท เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์คือทางหรือถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้น มิใช่ทางพิพาท ศาลก็มีอำนาจพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ขอมาท้ายคำฟ้อง
แม้ทางพิพาทจะมิใช้ทางภาระจำยอม แต่โจทก์และบริวารก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดเพราะยังไม่มีทางอื่น การที่จำเลยที่ 1 นำดินมาปิดกั้นทางพิพาทและขุดรื้อทางพิพาทออกโดยยังไม่จัดทำถนนเส้นใหม่เพื่อให้โจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ และถือเป็นการละเมิดสิทธิการใช้ทางพิพาทต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีทางพิพาทต้องจำยอมให้โจทก์และบริวารของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ถนนสายบางนา-ตราด เท่านั้น บุคคลอื่นที่มิใช่บริวารของโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางพิพาท แม้จะทำให้บุคคลภาคนอกไม้เข้ามาใช้บริการโรงแรมและร้านอาหารของโจทก์ หรือเข้ามาใช้บริการน้อยลงเพราะไม่สะดวกในการใช้ทาง ก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงที่โจทก์และบริวารไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าออกถนนสายบางนา-ตราด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
ผลแห่งคำพิพากษาตามยอมย่อมผูกพันโจทก์และห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ซึ่งเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. จะต้องยินยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนทุกสายที่มีอยู่ในที่ดินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ม. ออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด โดยให้ใช้ได้อย่างทางภาระจำยอม บุคคลที่รับโอนที่ดินมาจากหางหุ้นส่วนจำกัด ม. ถือได้ว่าเป็นคู่ความแทนห้างดังกล่าวด้วย ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับโอนที่ดินที่มีทางพิพาทอยู่ จึงต้องผูกพันยอมให้โจทก์และบริวารใช้ถนนที่มีอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 เพื่อออกสู่ถนนสายบางนา-ตราด ได้อย่างทางภาระจำยอมด้วย เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้พิพากษาว่าทางพิพาท เป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ โดยมีคำขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นทางภาระจำยอม แม้ที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์คือทางหรือถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้น มิใช่ทางพิพาท ศาลก็มีอำนาจพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนถนนที่จำเลยที่ 1 สร้างขึ้นเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินกว่าที่ขอมาท้ายคำฟ้อง
แม้ทางพิพาทจะมิใช้ทางภาระจำยอม แต่โจทก์และบริวารก็ใช้ทางพิพาทเป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดเพราะยังไม่มีทางอื่น การที่จำเลยที่ 1 นำดินมาปิดกั้นทางพิพาทและขุดรื้อทางพิพาทออกโดยยังไม่จัดทำถนนเส้นใหม่เพื่อให้โจทก์และบริวารใช้เป็นทางเข้าออกถนนสายบางนา-ตราดย่อมก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้ และถือเป็นการละเมิดสิทธิการใช้ทางพิพาทต่อโจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าทางพิพาทเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ ย่อมหมายถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินที่มีทางพิพาทต้องจำยอมให้โจทก์และบริวารของโจทก์ใช้ทางพิพาทเข้าสู่ถนนสายบางนา-ตราด เท่านั้น บุคคลอื่นที่มิใช่บริวารของโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิใช้ทางพิพาทได้ การที่จำเลยที่ 1 ปิดกั้นทางพิพาท แม้จะทำให้บุคคลภาคนอกไม้เข้ามาใช้บริการโรงแรมและร้านอาหารของโจทก์ หรือเข้ามาใช้บริการน้อยลงเพราะไม่สะดวกในการใช้ทาง ก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงที่โจทก์และบริวารไม่ได้รับความสะดวกในการเข้าออกถนนสายบางนา-ตราด โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายส่วนนี้จากจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9109/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต องค์ประกอบความผิด และการพิจารณาโทษ
องค์ประกอบความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 คือ การมีไว้ในครอบครองซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ ดังนั้น การที่จำเลยมีเครื่องกระสุนปืนคนละขนาดกับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองและจะใช้ด้วยกันได้หรือไม่ จึงไม่ใช่เป็นข้อสาระสำคัญไม่ทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8635/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษจำคุกและการพิจารณาเงื่อนไขคุมประพฤติ รวมถึงเหตุร้ายแรงของการมีอาวุธปืนโดยไม่ชอบ
การคุมประพฤติโดยให้จำเลยไปรายงานตัวต่อพนักงานคุมประพฤติ และให้จำเลยทำงานบริการสังคมหรือสาธารณประโยชน์เป็นเพียงวิธีการที่ศาลกำหนดเงื่อนไขประกอบการใช้ดุลพินิจรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยเท่านั้น ไม่ใช่โทษตามกฎหมาย แม้จำเลยจะปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวแล้ว ก็ไม่ถือว่าจำเลยได้รับโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นได้ ทั้งอาวุธปืนของกลางก็ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากมีการนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมากหลายรูปแบบนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่า จำเลยไม่เคยใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้ใด จำเลยไม่ได้นำอาวุธปืนของกลางไปทำร้ายผู้ใด จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
อาวุธปืนเป็นอาวุธร้ายแรงโดยสภาพสามารถใช้ยิงทำอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของผู้อื่นได้ ทั้งอาวุธปืนของกลางก็ไม่มีเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ หากมีการนำไปใช้ก่ออาชญากรรมย่อมยากแก่การตรวจสอบและติดตามตัวผู้กระทำความผิด ประกอบกับสภาพปัญหาของสังคมในปัจจุบันมีการใช้อาวุธปืนก่ออาชญากรรมจำนวนมากหลายรูปแบบนับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น การที่จำเลยมีและพาอาวุธปืนพร้อมเครื่องกระสุนปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน ทางสาธารณะ อาจเป็นอันตรายต่อประชาชนโดยทั่วไป นับว่าเป็นการกระทำที่ไม่เคารพยำเกรงต่อกฎหมาย พฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ที่จำเลยอ้างมาในฎีกาว่า จำเลยไม่เคยใช้อาวุธปืนข่มขู่ผู้ใด จำเลยไม่ได้นำอาวุธปืนของกลางไปทำร้ายผู้ใด จำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อนและกระทำความผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ยังไม่เป็นเหตุผลเพียงพอที่จะรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนเองตามกฎหมายอาญา: การใช้มีดป้องกันการถูกยิงเป็นเหตุชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยและผู้เสียหายมีสาเหตุขุ่นข้องหมองใจกันจนต่างฝ่ายต่างหวาดระแวงว่าอีกฝ่ายจะมาทำร้ายตน ตามพฤติการณ์แห่งคดีที่ผู้เสียหายเรียกชื่อจำเลยและชักอาวุธปืนออกมาจากเอว วิญญูชนเช่นจำเลยย่อมเข้าใจได้ว่าผู้เสียหายจะใช้อาวุธปืนนั้นยิงจำเลย ถือได้ว่าเป็นภยันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายละเมิดต่อกฎหมายและเป็นภยันตรายที่ใกล้จะถึงตาม ป.อ. มาตรา 68 แล้ว การที่จำเลยหยิบอาวุธมีดพร้าที่วางอยู่พื้นถนนซึ่งเป็นของบุคคลอื่นฟันทำร้ายผู้เสียหายไปเพียงครั้งเดียวแล้ววิ่งหลบหนีไป จึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันพอสมควรแก่เหตุ เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7820/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพรากผู้เยาว์เพื่อการอนาจาร แม้ยินยอม แต่ต้องได้รับอนุญาตจากผู้ปกครอง ศาลลงโทษตามบทมาตรา 319 วรรคหนึ่ง
ผู้เสียหายเป็นผู้เยาว์อายุกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี การที่จำเลยพาผู้เสียหายไปและกระทำชำเราผู้เสียหายโดยผู้เสียหายยินยอมนั้น จำเลยมิได้รับอนุญาตจากบิดามารดาและผู้ปกครองดูแลผู้เสียหาย จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
การพรากผู้เยาว์กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดไม่ว่าผู้เยาว์จะเต็มใจไปด้วยหรือไม่ แม้ฟ้องโจทก์ขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 318 ก็ตาม แต่ศาลฎีกาก็มีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 319 วรรคหนึ่ง ที่พิจารณาได้ความได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสอง ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5499/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเริ่มต้นนับระยะเวลาฟ้องคดีเยาวชน: การมอบตัวไม่ใช่การจับกุม
จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนทำการสอบสวนและส่งตัวจำเลยไปที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนในวันเดียวกัน แล้วปล่อยตัวจำเลยไป โดยไม่มีการควบคุมตัวจำเลยไว้ หรือปล่อยตัวจำเลยชั่วคราวในระหว่างสอบสวน แสดงว่าจำเลยไม่ถูกพนักงานสอบสวนจับกุม เมื่อจำเลยยังไม่ถูกจับกุม จึงยังไม่มีจุดเริ่มต้นในการนับระยะเวลาในการฟ้องคดี โจทก์สามารถฟ้องจำเลยได้โดยไม่ต้องผัดฟ้องหรือได้รับอนุญาตจากอัยการสูงสุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนหลังหย่า: การโอนทรัพย์สินและการชำระหนี้ต้องควบคู่กัน
โจทก์จำเลยจดทะเบียนหย่ากันและทำบันทึกไว้ท้ายทะเบียนการหย่าว่า ทรัพย์สินทั้งหมดที่มีอยู่ในเขตจังหวัดชลบุรีและจังหวัดฉะเชิงเทรา ให้ตกเป็นของโจทก์ทั้งหมด ส่วนหนี้สินอื่น ๆ กับสถาบันการเงินภายในสองจังหวัดดังกล่าวที่เกิดขึ้นก่อนวันหย่า โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระหนี้ทั้งหมด ข้อตกลงดังกล่าวแม้จะเป็นเรื่องของการจัดการแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 แต่จำเลยต้องดำเนินการจดทะเบียนโอนทรัพย์สินให้โจทก์ และโจทก์ต้องชำระหนี้แทนจำเลย ถือได้ว่ามีการกำหนดหน้าที่ให้โจทก์จำเลยปฏิบัติต่อกัน จึงเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อมิได้ระบุเงื่อนไขไว้ว่า จำเลยจะต้องโอนทรัพย์สินให้โจทก์ก่อน โจทก์จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามข้อตกลงพร้อมกันไป การที่โจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้หรือขอปฏิบัติการชำระหนี้แทนจำเลย จำเลยจึงมีสิทธิไม่ยอมโอนทรัพย์สินให้โจทก์ ตามมาตรา 369 โจทก์จะยกข้อตกลงเฉพาะที่เป็นประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวมาบังคับจำเลยไม่ได้