คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรชาติ บุญศิริพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 467 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: จำเลยมีหน้าที่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์ก่อน หากไม่ส่งมอบถือเป็นผิดสัญญา
จำเลยทำสัญญาจ้างโจทก์ก่อสร้างขยายผิวจราจรพร้อมท่อระบายน้ำ คันหินและทางเท้า โดยระบุให้เริ่มลงมือทำงาน ณ สถานที่และวันที่กำหนดไว้ แสดงว่าตั้งแต่วันที่ระบุไว้ในสัญญาดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้าง แม้ว่าในสัญญาจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ แต่ก็เข้าใจได้ว่าพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา และมีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่นั้นก็เป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการแก้ไขเพราะหากโจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดงานในสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ จำเลยมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืนก็ต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้โจทก์บอกเลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องรับผิดค่าธรรมเนียมธนาคาร
สัญญาจ้างระบุว่าโจทก์จะต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าวจำเลยต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบเพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างมิได้ระบุถึงเรื่องการส่งมอบพื้นที่ไว้ การที่โจทก์ทราบถึงอุปสรรคเรื่องเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้า ท่อประปา ตลอดจนการที่มีอาคารของผู้อื่นบางส่วนกีดขวางอยู่ เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องดำเนินการแก้ไข หากให้โจทก์ลงมือทำงานในส่วนที่ไม่มีอุปสรรคไปก่อนก็อาจไม่ตรงตามงวดของงานตามสัญญาจ้าง และหากมีผลกระทบถึงที่ดินหรือทรัพย์สินของผู้อื่น โจทก์ก็อาจถูกดำเนินคดีอาญาฐานบุกรุกหรือทำให้เสียทรัพย์ได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่ให้โจทก์จนกระทั่งล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์ย่อมมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
จำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์และโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกัน เมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ที่แพ้คดีตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่จำนวนทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 เพียงสัญญาเดียว ในส่วนสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้องอันเป็นค่าเสียหายในอนาคตเท่านั้น ดังนี้ ในประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้างตามเอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (2) และข้อ (4) เมื่อสัญญาจ้างเอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อซึ่งเป็นกรณีที่ต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาสำหรับส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลยไปทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6407/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างก่อสร้าง: การไม่ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเป็นเหตุให้ผู้รับจ้างบอกเลิกสัญญาได้ และผู้ว่าจ้างต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม
สัญญาจ้างข้อ 5 ระบุว่าโจทก์ต้องเริ่มลงมือทำงานจ้าง ณ สถานที่ที่กำหนดภายในวันที่ 25 กันยายน 2533 แสดงว่าตั้งแต่วันดังกล่าว จำเลยผู้ว่าจ้างต้องเตรียมพื้นที่สำหรับก่อสร้างพร้อมที่จะส่งมอบแก่โจทก์เพื่อลงมือก่อสร้างแล้ว แม้ในสัญญาจ้างจะมิได้ระบุเรื่องการส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างไว้ก็ตาม แต่ก็เป็นที่เข้าใจได้ว่าพื้นที่สำหรับก่อสร้างอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือจำเลยมีสิทธิที่จะครอบครองดูแลหรือใช้ประโยชน์ จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์ก่อน มิฉะนั้นโจทก์ย่อมไม่อาจลงมือก่อสร้างได้ เมื่อจำเลยเพิกเฉยไม่ส่งมอบพื้นที่สำหรับก่อสร้างให้โจทก์จนล่วงพ้นกำหนดเวลาก่อสร้างตามสัญญา จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอก เลิกสัญญาได้ และจำเลยต้องคืนหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์นับแต่วันที่สัญญาจ้างเลิกกันเมื่อจำเลยไม่คืน จำเลยย่อมต้องรับผิดในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่โจทก์ต้องชำระให้แก่ธนาคาร
จำเลยฎีกาว่า โจทก์ส่งมอบงานงวดที่ 2 ที่ 4 และที่ 5 ล่าช้า และยังไม่รับข้อเสนอของจำเลยที่ขยายเวลาก่อสร้างให้อีก 27 วัน โจทก์จึงต้องเสียค่าปรับเป็นรายวันแก่จำเลยสำหรับระยะเวลา 27 วัน เป็นเงิน 364,500 บาท ขอให้หัก ออกจากค่าจ้างที่จำเลยต้องชำระแก่โจทก์ ฎีกาข้อนี้ของจำเลยเป็นข้อที่จำเลยมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยฎีกาว่า จำเลยควรต้องรับผิดชำระค่าธรรมเนียมของธนาคารให้แก่โจทก์นับแต่วันที่ศาลชั้นต้น มีคำพิพากษา มิใช่นับแต่วันฟ้อง ปรากฏว่า เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยมิได้ยกประเด็นข้อนี้ขึ้นอ้างในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ศาลฎีกา ไม่รับวินิจฉัย
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกามาตามจำนวนทุนทรัพย์ 7,462,320 บาท ซึ่งจำเลยต้องใช้ให้แก่โจทก์ตามสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 ไม่มีค่าเสียหายที่จำเลยต้องรับผิดอีก นอกจากค่าธรรมเนียมของธนาคารปีละ 12,500 บาท นับแต่วันฟ้อง อันเป็นค่าเสียหายในอนาคต ประเด็นที่ว่าจำเลยผิดสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.2 หรือไม่ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียง 200 บาท และค่าขึ้นศาลสำหรับค่าเสียหายในอนาคตอีก 100 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ(2) และข้อ (4) ส่วนสัญญาจ้าง เอกสารหมาย จ.4 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทุกข้อ ซึ่งต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาให้จำเลยทั้งหมด ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลในชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 300 บาท แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6387/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาคดีทรัพย์สินทางปัญญา: การมีแสตมป์ยาสูบปลอมและสินค้ามีเครื่องหมายการค้าปลอม ศาลฎีกาแก้โทษและยกฟ้องบางส่วน
โจทก์มีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 แต่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มิได้มีคำวินิจฉัยในข้อนี้ รวมทั้งมิได้ปรับบทลงโทษจำเลยตามมาตราดังกล่าวและโจทก์ก็มิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นอุทธรณ์ ประกอบกับโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดเกี่ยวกับแสตมป์ยาสูบตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเฉพาะมาด้วย และศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยตามกฎหมายดังกล่าวแล้วถือได้ว่าโจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 254,257 และ 263 อันเป็นบททั่วไปตามคำขอท้ายคำฟ้องอีก
เครื่องหมายอย่างอื่นที่ใช้แทนแสตมป์ยาสูบตามคำฟ้องโจทก์ อันถือว่าเป็นแสตมป์ยาสูบตามบทนิยามในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ นั้นมีผู้อื่นทำปลอมขึ้นและได้ถูกนำมาใช้ปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบของกลางแต่ละซองแล้ว โดยจำเลยมียาสูบของกลางแต่ละซองดังกล่าวไว้เพื่อขาย ซึ่งในการขายยาสูบแต่ละซองนั้นแม้จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมปิดอยู่บนซองบรรจุยาสูบด้วย ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาที่จะมีแสตมป์ยาสูบปลอมดวงนั้น ๆ ไว้เพื่อขายตามความหมายในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติยาสูบฯ เพราะมาตราดังกล่าวมุ่งประสงค์ที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดที่มีแสตมป์ยาสูบปลอมไว้ในครอบครองเพื่อขายหรือเพื่อนำออกใช้เท่านั้น หาได้ประสงค์ที่จะลงโทษผู้ที่มียาสูบซึ่งมีผู้อื่นทำปลอมแสตมป์ยาสูบขึ้น แล้วนำมาปิดแสดงอยู่บนซองยาสูบดังกล่าวไม่ ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ ลงโทษจำเลยฐานมีไว้ในครอบครองซึ่งแสตมป์ยาสูบปลอมเพื่อขายตามพระราชบัญญัติยาสูบฯ มาตรา 43 ประกอบมาตรา 53 มานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษายกฟ้องโจทก์สำหรับความผิดฐานนี้ได้ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 45 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 วรรคหนึ่ง,195 วรรคสองและ 215

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6147/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ละเมิดลิขสิทธิ์: การพิจารณาความผิดกรรมเดียวแต่ผิดหลายบท และการลงโทษตามกฎหมายที่บทมีโทษหนักที่สุด
ตามคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องโจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ละเมิดลิขสิทธิ์โดยทำซ้ำงานสิ่งบันทึกเสียงซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายที่ 4 เป็นความผิดตามมาตรา 30 (1) ซึ่งโจทก์มิได้บรรยายฟ้องแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 กระทำผิดดังกล่าวโดยมีเจตนาแยกต่างหากจากกัน จึงถือว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีเจตนาเดียวกันในการทำซ้ำงานต่าง ๆ ดังกล่าว การกระทำจึงเป็นกรรมเดียว แต่ผิดต่อกฎหมายหลายบท ซึ่งต้องปรับบทความผิดทุกบท แต่การลงโทษต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ตาม ป.อ. มาตรา 90
การละเมิดลิขสิทธิ์ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 28 (1) และมาตรา 30 (1) เพื่อการค้า ต้องระวางโทษตามมาตรา 69 วรรคสอง มาตราเดียวกัน ย่อมมีโทษเท่ากัน และสมควรลงโทษตามมาตรา 30 (1) ประกอบด้วยมาตรา 69 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการผิดสัญญาเช่าซื้อและการคำนวณดอกเบี้ยเบี้ยปรับที่เหมาะสม
ค่าเสียหายอันเป็นค่าเช่าที่จำเลยจะต้องชำระก่อนโจทก์บอกเลิกสัญญานั้น เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่จำเลยโดยชอบ และยึดรถยนต์ที่ให้เช่าคืนมาจากจำเลยสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวแล้ว คู่สัญญาจำต้องให้อีกฝ่ายได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรคหนึ่ง โจทก์จะอาศัยสัญญาเช่ามาฟ้องเรียกค่าเช่าที่จำเลยค้างชำระอีกมิได้ จะเรียกได้ก็แต่เพียงค่าที่จำเลยได้ใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่เช่ามาตลอดระยะเวลาที่จำเลยครอบครองรถยนต์อยู่ตามมาตรา 391 วรรคสามเท่านั้น ซึ่งการเช่ารถยนต์กรณีนี้เป็นการเช่าแบบลิสซิ่งโดยเมื่อครบกำหนดระยะเวลาเช่าแล้วโจทก์มีภาระผูกพันต้องให้จำเลยมีสิทธิเลือกซื้อรถยนต์ที่เช่าได้ในราคาถูกกว่าราคาในท้องตลาดเป็นการตอบแทน โจทก์เป็นแหล่งเงินทุนประกอบธุรกิจหากำไรจากการให้เช่ารถยนต์หรือให้เช่าซื้อ จึงน่าเชื่อว่าในการกำหนดค่าเช่าแบบลิสซิ่งโจทก์จะต้องคำนวณค่าเช่ารถยนต์และค่าดอกเบี้ยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของค่าเช่าด้วย ดังนั้น ค่าเช่าที่โจทก์กำหนดไว้ในสัญญาเช่าแบบลิสซิ่งจึงน่าจะสูงกว่าค่าเช่าตามสัญญาเช่าแบบธรรมดา
ค่าเสียหายอันเป็นค่าเช่าที่จำเลยต้องชำระหลังจากโจทก์บอกเลิกสัญญานั้น แม้ตามสัญญาเช่าจะระบุไว้ว่า ถ้าจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าตามกำหนด โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทดแทนโดยถือว่าค่าเช่าทั้งหมดถึงกำหนดชำระ และโจทก์อาจฟ้องเรียกเงินค่าเช่าทั้งหมดและเงินอื่น ๆ ซึ่งถึงกำหนดชำระและซึ่งจะถึงกำหนดชำระในภายหน้าตามสัญญาเช่าก็ตาม แต่ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็นข้อสัญญาที่กำหนดความรับผิดในการที่จำเลยไม่ชำระหนี้ไว้ล่วงหน้าจึงมีลักษณะเป็นการกำหนดเบี้ยปรับ ถ้าหากกำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลอาจลดลงเป็นจำนวนที่พอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
แม้สัญญาเช่าจะมีข้อความระบุไว้ว่าถ้าไม่มีการชำระเงินตามที่โจทก์เรียกร้องจำเลยจะต้องชำระดอกเบี้ยตามอัตราดอกเบี้ยในการผิดสัญญาที่กำหนดในตารางต่อท้าย และตารางต่อท้ายสัญญาเช่าได้ระบุอัตราดอกเบี้ยในการผิดสัญญาร้อยละ 21 ต่อปี ข้อตกลงดังกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในกรณีจำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ หากสูงเกินส่วนศาลย่อมมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับความผิดฐานเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ล้าสมัย และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากบทกฎหมายที่ใช้ถูกยกเลิกแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2474 ซึ่งได้ถูกยกเลิกแล้วโดยไม่ได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2542 และกฎหมายที่ออกมาใหม่ก็ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกกฎกระทรวงกำหนดการเก็บรักษาและการควบคุมอื่นใดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ขณะพิจารณาคดีนี้ยังไม่มีกฎกระทรวงออกมาจึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด คำฟ้องของโจทก์ไม่ชอบ
ความผิดฐานเสนอสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอมกับฐานร่วมกันใช้ฉลากโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสำคัญประการอื่นของสินค้า เป็นการกระทำที่มีเจตนาในการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิด โดยมีเจตนาเดียวกันในการกระทำความผิดทั้งสองฐาน จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5687/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า การปลอมแปลงเครื่องหมายการค้า และการจำหน่ายสินค้าปลอม โดยศาลฎีกาได้พิจารณาแก้ไขโทษและยกฟ้องบางข้อหา
ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2542 ซึ่งมาตรา 3 ให้ยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิงฉบับที่ 2 พ.ศ. 2496 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2508 ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2520 และฉบับที่ 5พ.ศ. 2530 เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2543 หลังวันที่พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ใช้บังคับแล้ว 1 ปีเศษ โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับพวกร่วมกันมีเก็บไว้เพื่อจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไม่น่ากลัวอันตราย มีปริมาณเกินกว่า 10,000 ลิตร ไว้ในสถานที่เก็บน้ำมันโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน และขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474ซึ่งถูกยกเลิกไปก่อนแล้ว โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่าการกระทำของจำเลยยังคงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ที่บัญญัติขึ้นใช้ในภายหลัง แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็รับฟังไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยในระหว่างเวลาที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ยังมีผลใช้บังคับอยู่นั้นยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง ต้องถือว่าจำเลยพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ส่วนการกระทำของจำเลยนับแต่วันที่ พระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 บัญญัติขึ้นใช้ภายหลังและยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 แล้ว โจทก์ยังบรรยายฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดและขอให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเก็บรักษาน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกยกเลิกไป จึงมีผลเท่ากับโจทก์ไม่ได้อ้างบทกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำของจำเลยระหว่างวันเวลาดังกล่าวเป็นความผิดจึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ มาตรา 26ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(6) ต้องยกฟ้องโจทก์ในความผิดฐานนี้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยหลอกลวงให้ผู้ซื้อสินค้าเข้าใจผิดว่าสินค้าที่จำเลยผลิตขึ้นนั้นเป็นของบริษัท ส. และบริษัท ฮ. ผู้เสียหาย โดยใช้ป้ายโฆษณาที่มีตราเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายติดที่สินค้า อันเป็นการใช้ฉลากซึ่งมีเครื่องหมายการค้าของผู้เสียหายในการขายสินค้าเพื่อลวงให้ผู้ซื้อเข้าใจผิดนั้นถือว่าเป็นการกระทำที่มีเจตนาเดียวกันในความผิดฐานเสนอจำหน่ายสินค้าที่มีเครื่องหมายการค้าปลอม กับฐานใช้ฉลากในการขายสินค้าเพื่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกำเนิด สภาพ คุณภาพ ปริมาณของสินค้าดังกล่าว เป็นการกระทำกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท มิใช่ความผิดหลายกรรมต่างกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการมรดกกรณีทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดิน เจ้าหนี้มีสิทธิร้องขอ
ศาลชั้นต้นเคยยกคำร้องขอของผู้ร้องมาครั้งหนึ่งเพราะเห็นว่าการที่หุ้นของผู้ตายตกเป็นของแผ่นดินมิใช่เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกที่จะร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก โดยเห็นว่าผู้ร้องยังสามารถขวนขวายหาทางร้องขอเพื่อรับชำระหนี้จากกระทรวงการคลังได้ แต่ประเด็นสำคัญในคดีนี้มีอยู่ว่า ภายหลังต่อมาผู้ร้องได้ร้องขอรับชำระหนี้ต่อกระทรวงการคลังแล้ว แต่กระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้และแจ้งให้ผู้ร้องไปดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายก่อน อันเป็นเรื่องใหม่ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอของผู้ร้องแล้ว เหตุขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตายตามคำร้องขอในคดีนี้ เป็นคนละเหตุกับที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในการขอจัดการมรดกในคดีก่อน และศาลชั้นต้นในคดีก่อนยังมิได้วินิจฉัยถึงเหตุขัดข้องอันเกิดแต่การที่กระทรวงการคลังปฏิเสธไม่ยอมชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ดังนี้ คำสั่งของศาลชั้นต้นในคดีก่อนที่วินิจฉัยถึงเหตุที่ผู้ร้องอ้างว่าเป็นข้อขัดข้องในการจัดการมรดกของผู้ตาย ซึ่งเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุอื่นซึ่งไม่ใช่เหตุขัดข้องตามคำร้องขอในคดีนี้ คำร้องขอของผู้ร้องในคดีนี้จึงไม่เป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอันจะเป็นฟ้องซ้ำ
ผู้ตายไม่มีทายาทและไม่มีผู้รับพินัยกรรม หุ้นของผู้ตายย่อมตกทอดแก่แผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1753 แผ่นดินหาใช่ทายาทของผู้ตายไม่ดังนั้นแม้หุ้นของผู้ตายจะตกเป็นของแผ่นดิน แต่หากไม่มีผู้จัดการมรดกอยู่ตราบใดผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของผู้ตายย่อมไม่สามารถบังคับชำระหนี้ของตนได้ จึงต้องถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียและมีสิทธิร้องขอต่อศาลให้ตั้งตนเป็นผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5623/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคืนรถบรรทุกของกลาง: ผู้ร้องไม่มีส่วนรู้เห็นในการกระทำผิด
นอกจากผู้ร้องจะมีใบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์อันเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุกของกลางแล้ว ยังได้ความจากคำรับของจำเลยที่ให้การต่อพนักงานสอบสวนในทันทีทันใดภายหลังเกิดเหตุ โดยไม่ทันมีเวลาคิดไตร่ตรองหาลู่ทางบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ผิดไปว่า ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรถได้กำชับมิให้จำเลยบรรทุกทรายหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่จำเลยลักลอบขนทรายขึ้นบรรทุกเองโดยผู้ร้องไม่รู้เห็น เพื่อนำทรายส่วนที่เกินไปขายเป็นประโยชน์ส่วนตัว คำให้การดังกล่าวมีน้ำหนักพอรับฟังว่าผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ผู้ร้องมีสิทธิขอให้คืนรถยนต์บรรทุกของกลางได้
of 47