คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรชาติ บุญศิริพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 467 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบเกินกรอบคำฟ้อง: ศาลวินิจฉัยนอกประเด็นทำให้ผลคดีไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าโดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรม ตามคำฟ้องจึงไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรม เป็นลายมือชื่อปลอมย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้องรับฟังไม่ได้ ที่ศาลวินิจฉัยปัญหาที่ว่าลายมือชื่อพยานปลอมหรือไม่ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5560/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็นฟ้องในคดีพินัยกรรมโมฆะ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
คำฟ้องโจทก์กล่าวอ้างว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้า โดยโจทก์มิได้ปฏิเสธความถูกต้องของลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ตายตลอดจนลายมือชื่อของพยาน ประเด็นตามคำฟ้องจึงมีว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะเนื่องจากพยานในพินัยกรรมลงลายมือชื่อโดยไม่เห็นผู้ตายพิมพ์ลายนิ้วมือต่อหน้าหรือไม่ และไม่มีประเด็นว่าลายมือชื่อของพยานในพินัยกรรมบางคนเป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่าลายมือชื่อของพยานสองในสามคนในพินัยกรรมเป็นลายมือชื่อปลอม ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็นตามคำฟ้อง และเมื่อโจทก์มิได้ฎีกาว่าพินัยกรรมของผู้ตายเป็นโมฆะด้วยสาเหตุที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นดังกล่าวให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5557/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อขายอาคารที่ไม่จดทะเบียน: กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้ซื้อจนกว่าจะจดทะเบียน และการบังคับคดี
การซื้อขายอาคารอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่คู่สัญญามีความประสงค์จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 นั้น ถ้าตราบใดที่ยังมิได้มีการจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าทีให้เสร็จเรียบร้อย การได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้นย่อมไม่บริบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะปรากฏว่าอาคารได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 144 วรรคสอง เมื่อจำเลยมีสิทธิที่จะปลูกสร้างในที่ดินได้ อาคารที่จำเลยปลูกสร้างจึงมิได้ตกเป็นส่วนควบของที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146 ดังนั้น นิติกรรมการซื้อขายระหว่างผู้ร้องและจำเลยคงมีฐานะเป็นเพียงสัญญาจะซื้อขายซึ่งสามารถใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น กรรมสิทธิ์ในอาคารพิพาทจึงยังไม่ตกเป็นส่วนควบของที่ดิน ดังเช่นกรณีการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่คู่สัญญามิได้มีความประสงค์ที่จะทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ และแม้จำเลยจะมอบอาคาให้ผู้ร้องครอบครองก็ถือว่าเป็นการครอบครองแทนจำเลยกรรมสิทธิ์ในอาคารยังคงเป็นของจำเลยอยู่ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องอยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 เพราะยังชำระราคากันไม่ครบผู้ร้องจึงยังไม่ได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 287 ดังนั้น โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาย่อมมีสิทธินำยึดอาคารขายทอดตลาดชำระหนี้ได้ ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5439/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันครอบคลุมหนี้ทั้งก่อนและหลังสัญญาค้ำประกัน, การกำหนดดอกเบี้ย, และขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้าย ประมวลรัษฎากรฯ ที่ระบุให้ตราสารต้องปิดแสตมป์ในอัตราที่กำหนดไว้ จึงจะรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามมาตรา 118นั้น มีเฉพาะตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตเท่านั้น ส่วนสัญญาทรัสต์รีซีทไม่อยู่ในรายการให้ต้องปิดแสตมป์ สำหรับตั๋วแลกเงินและเลตเตอร์ออฟเครดิตแม้จะไม่มีแสตมป์ปิดไว้ แต่โจทก์ผู้ออกเลตเตอร์ออฟเครดิตและตั๋วแลกเงินเป็นธนาคารพาณิชย์ ชำระค่าอากรตามอัตราที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรฯ เป็นตัวเงินแทนการปิดแสตมป์ได้ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับอากรแสตมป์ฯ ดังนั้นแม้ตราสารดังกล่าวจะไม่มีแสตมป์ปิดไว้แต่โจทก์ก็นำสืบได้ว่าได้ชำระอากรแล้ว จึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118
ข้อตกลงในสัญญาทรัสต์รีซีท จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินในช่วงเวลาใดได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร ซึ่งเมื่อโจทก์จ่ายเงินชำระหนี้แทนจำเลยที่ 1 ไปตาเลตเตอร์ออฟเครดิตเป็นเงินตราต่างประเทศแล้ว โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้เป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนเงินที่ตกลงกันไว้ เมื่อโจทก์จ่ายเงินแทนจำเลยที่ 1 ไปตามเลตเตอร์ออฟเครดิตในอัตราแลกเปลี่ยนเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 37.155 บาท จำเลยทั้งสี่ไม่ได้นำสืบหักล้างให้เห็นว่าอัตราแลกเปลี่ยนเงินในระยะเวลาตามที่โจทก์ขอมาในคำฟ้องมีค่า 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 25 บาท จึงฟังว่าอัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐมีค่าเท่ากับเงินบาทไทยตามที่โจทก์นำสืบ ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์แสวงหากำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
จากเงื่อนไขที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นการยืนยันว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เข้าค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่เข้าก่อหนี้กับโจทก์ ไม่ว่าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีอยู่ก่อนที่จะเข้าทำสัญญาค้ำประกัน ขณะทำสัญญาค้ำประกัน หรือหลังทำสัญญาค้ำประกัน ดังนั้น หนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีต่อโจทก์ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ก่อนทำหนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนี้ตามเลตเตอร์ออฟเครดิตและสัญญาทรัสต์รีซีทซึ่งเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์หลังทำหนังสือสัญญาค้ำประกันต่างก็เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต้องรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์ในฐานะลูกหนี้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลเป็นเหตุให้สัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะ และฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินแก่โจทก์ จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยแต่แท้จริงแล้วโจทก์ไม่ใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ดังกล่าว อันเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพันคู่ความ เพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรมขอให้พิพากษาว่าสัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะ ดังนี้ หากความจริงเป็นดังที่จำเลยต่อสู้โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์มิได้ ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญากู้ยืมเงินเป็นโมฆะ ฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
จำเลยให้การว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยแต่แท้จริงแล้วโจทก์ไม่ใช่ผู้แทนเจ้าหนี้ อันเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพันคู่ความ เพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากความจริงเป็นดังที่จำเลยต่อสู้โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์ไม่ได้ และต้องคืนเช็คทั้ง 4 ฉบับให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยที่ขอให้โจทก์คืนเช็ค 4 ฉบับแก่จำเลย จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5263/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สำคัญผิดในตัวบุคคลทำให้สัญญากู้ยืมเป็นโมฆะ และฟ้องแย้งเกี่ยวข้องกับฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเงินตามสัญญากู้ยืมแก่โจทก์ จำเลยให้การต่อสู้คดีว่า สัญญากู้ยืมเงินระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะ เนื่องจากจำเลยทำสัญญากู้ยืมกับโจทก์โดยสำคัญผิดว่าโจทก์เป็นผู้แทนเจ้าหนี้รายหนึ่งของบริษัท ส. ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลย แท้จริงแล้วโจทก์ไม่ใช้ผู้แทนเจ้าหนี้ดังกล่าว และฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายให้โจทก์ตามสัญญากู้ยืมดังกล่าวแก่จำเลย อันเป็นการกล่าวอ้างว่าสัญญากู้ยืมไม่มีผลผูกพันเพราะจำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หากเป็นความจริงดังที่จำเลยต่อสู้ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์มิได้และต้องคืนเช็คให้แก่จำเลย ฟ้องแย้งของจำเลยจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมพอที่จะพิจารณาพิพากษารวมกันได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5224/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง: การฟ้องแย้งเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องฟ้องเป็นคดีต่างหาก
แม้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม รับรองให้จำเลยฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ แต่มีเงื่อนไขว่าหากฟ้องแย้งเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมก็ให้ศาลสั่งให้จำเลยฟ้องเป็นคดีต่างหาก จำเลยอาศัยเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยเรียกหนี้เงินกู้และบังคับจำนองเป็นข้ออ้างว่าทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย มูลกรณีที่จำเลยกล่าวอ้างเป็นเรื่องที่โจทก์หาเหตุแกล้งฟ้องร้องจำเลยโดยไม่มีมูลอันเป็นเรื่องละเมิดไม่เกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิมที่โจทก์ขอให้บังคับให้จำเลยรับผิดตามเนื้อความในสัญญา จำเลยชอบที่จะฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ต่างหาก ไม่อาจขอรวมมาในคำให้การได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5207/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า หากทำลงโดยรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจากการบังคับคดี
อำนาจฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉลซึ่งนิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำลงโดยรู้ว่าเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237 ได้บัญญัติให้เป็นอำนาจของเจ้าหนี้ ซึ่งหมายรวมถึงเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาด้วย ไม่ว่าจะมีการบังคับคดีแล้วหรือไม่ เมื่อโจทก์อ้างว่าตนเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนและจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ตามคำพิพากษาทำนิติกรรมยกทรัพย์พิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยรู้อยู่ว่าเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉลโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนการฉ้อฉลได้
การที่จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นสามีภริยากันรีบไปจดทะเบียนหย่าและทำสัญญาแบ่งทรัพย์สินเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดทรัพย์พิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมนั้น ถือเป็นทางที่ทำให้โจทก์เสียเปรียบ โจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาแบ่งทรัพย์สินดังกล่าวได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 237

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5188/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์: การแสดงเจตนาที่ไม่ชัดเจน และการกรอกข้อความภายหลังทำให้สัญญายังไม่ผูกพัน
โจทก์นำแบบพิมพ์สัญญาซึ่งยังมิได้กรอกข้อความมาให้จำเลยลงลายมือชื่อโดยอ้างว่าเป็นใบสมัครงาน จำเลยหลงเชื่อจึงลงลายมือชื่อในเอกสารไปโดยจำเลยยังไม่ได้ตกลงกับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาไปกรอกข้อความในภายหลัง แม้จะมีลายมือชื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาก็จะถือว่าจำเลยได้แสดงเจตนาเข้าทำสัญญากับโจทก์ตามข้อความที่ปรากฏในสัญญายังไม่ได้ จึงยังไม่มีผลผูกพันจำเลย โจทก์จะนำสัญญามาฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามหรือเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานผิดสัญญาหาได้ไม่
of 47