คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรชาติ บุญศิริพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 467 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3801-3802/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ ดอกเบี้ย และการหักกลบลบหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
การชำระหนี้แต่ละครั้งเมื่อไม่มีการตกลงเป็นอย่างอื่นต้องชำระดอกเบี้ยที่ค้างอยู่เสียก่อน หลังจากนั้นเหลือเงินเท่าใดจึงนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคหนึ่ง จำเลยผ่อนชำระหนี้ด้วยการออกและโอนเช็คให้โจทก์รวม 20 ครั้ง ซึ่งต้องถือว่าหนี้ส่วนที่ชำระด้วยเช็คระงับสิ้นไปเมื่อเช็คได้ใช้เงินแล้วตามมาตรา 321 วรรคสาม โดยถือเป็นการชำระหนี้ในวันที่เรียกเก็บเงินจากธนาคารและต้องชำระดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นก่อนวันชำระหากมีเงินเหลือก็นำไปชำระต้นเงิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3769/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะทางสาธารณะของที่ดิน: พยานหลักฐานต้องชัดเจนว่ามีการอุทิศให้เป็นสาธารณะโดยเจ้าของที่ดินหรือหน่วยงานรัฐ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าที่ดินพิพาทปัจจุบันเป็นซอยทองหล่อ 18 โจทก์ใช้เป็นทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะถนนสุขุมวิท 55 โดยโจทก์แนบแผนที่สังเขปมาท้ายคำฟ้องซึ่งแสดงโดยชัดแจ้งแล้วว่าที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 ติดกับคลองเป้งและติดกับที่ดินของ ท. ซึ่งเป็นทางเชื่อมกับที่ดินพิพาทเพื่อออกสู่ถนนสุขุมวิท 55แผนที่สังเขปท้ายคำฟ้องย่อมถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย เป็นที่เข้าใจได้แล้วว่าที่ดินของโจทก์ ที่ดินของ ท. และที่ดินพิพาทอยู่ในบริเวณใดและมีสภาพเป็นอย่างไรคำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์อยู่สุดซอยทองหล่อ 18 แม้โจทก์ไม่เคยอยู่อาศัยในซอยดังกล่าวก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธิที่จะเข้าออกเพื่อไปดูแลหรือดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับที่ดินของโจทก์ หากที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะทั้งแปลงตามที่โจทก์อ้างในฟ้องแล้ว การที่จำเลยทั้งเก้าทำที่ดินพิพาทส่วนหนึ่งเป็นตลาดสดย่อมทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะใช้ทางสาธารณะได้รับความสะดวกน้อยลง โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งเก้าได้
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ขาดนัดยื่นคำให้การ ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9ให้การว่าโจทก์ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเพราะโจทก์ทราบดีว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยทั้งเก้า เหตุที่โจทก์ไม่ขออนุญาตหรือขอให้จำเลยทั้งเก้าจดทะเบียนภารจำยอมให้ ก็เพราะโจทก์จะทำให้ที่ดินพิพาทเป็นทางสาธารณะเพื่อให้ที่ดินของโจทก์มีราคาสูงขึ้น แต่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ฎีกาว่า โจทก์จะปลูกบ้านพักและอาคารพาณิชย์ในที่ดินของโจทก์ซึ่งทางราชการจะอนุญาตต่อเมื่อติดทางสาธารณะที่มีขนาดกว้างไม่ต่ำกว่า 10 เมตร เป็นการฟ้องคดีเพื่อผลประโยชน์ของตนเองอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต อันเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 9 ให้การไว้ฎีกาของจำเลยทั้งเก้าในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่า พ. และ น. เจ้าของเดิมในที่ดินพิพาทได้ยกที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะตั้งแต่ปี 2485 จึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยทั้งเก้าซึ่งเป็นทายาทของ พ. และ น. ได้ผู้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งเก้าได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะโดยปริยายย่อมเป็นเรื่องนอกประเด็นตามคำฟ้องอันเป็นการไม่ชอบ และไม่จำต้องวินิจฉัยฎีกาของจำเลยทั้งเก้าที่อ้างว่าจำเลยทั้งเก้าไม่ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้เป็นทางสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความ: สิทธิเรียกร้องตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือของ ว. ถึงจำเลย มีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่า ว. กับพวกต้องการให้จำเลยจ่ายเงินจำนวนหนึ่ง ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ การที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่า ค้างชำระหนี้โจทก์ ย่อมมีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวก และจำเลย โดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลย ยังค้างชำระหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. กับพวกอยู่ และสัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ โดยไม่จำต้องมีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. กับพวกและโจทก์ เพราะสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
โจทก์ตั้งประเด็นในคำฟ้องทำนองเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้อง แต่ได้บรรยายฟ้องเป็นที่เข้าใจได้ว่า ว. กับพวก ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์ แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไป โดยเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์เพียงบางส่วน ซึ่งแสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ข้อเท็จจริงตามคำบรรยายฟ้องจะต้องด้วยบทกฎหมายเรื่องใดเป็นเรื่องที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัย ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วยแล้ว
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม แต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. กับพวก โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์มีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยจึงอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะ ชำระหนี้แก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญา ซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ว. กับพวก ซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยดังกล่าวได้ คดีจึงต้องมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ มิใช่มีอายุความตามสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก อายุความ 10 ปี ข้อต่อสู้ทางสัญญาซื้อขาย
ว. มีหนังสือถึงจำเลยมีข้อความแสดงเจตนาแก่จำเลยว่าต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยมีเงื่อนไขว่าจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือของ ว. ย่อมมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วน และทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. กับพวกและจำเลย สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกคือโจทก์ โดยจำเลยทำสัญญาตกลงว่าจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาดังกล่าวไม่มีกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ
แม้โจทก์จะตั้งประเด็นมาในคำฟ้องเป็นเรื่องโอนสิทธิเรียกร้องแต่โจทก์ก็ได้บรรยายฟ้องมาเป็นที่เข้าใจได้ว่า ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ตกลงให้จำเลยชำระหนี้ค่ากระจกและอะลูมิเนียมแก่โจทก์แล้วหักหนี้ค่าที่ดินและอาคารที่จำเลยซื้อไปเมื่อจำเลยได้รับหนังสือจาก ว. แล้วชำระหนี้ให้โจทก์บางส่วน แสดงว่ามีการตกลงกันระหว่าง ว. กับพวกและจำเลยแล้ว ถือได้ว่าคำฟ้องมีประเด็นในเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกด้วย
จำเลยไม่ใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการว่าจ้างให้โจทก์ติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ช. ว. และห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไป มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ผู้ขายได้ เมื่อกรณีเป็นเรื่องสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงจะชำระหนี้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 376 แต่ไม่มีกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งสินค้าดังกล่าวของ ช. กับพวกซึ่งเป็นคู่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ของจำเลยขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญาซื้อขายของจำเลยได้ คดีนี้จึงมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก & อายุความสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์
หนังสือที่ ว. มีถึงจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ของ ว. มีข้อความว่า ว. ต้องการให้จำเลยจ่ายเงิน 2,112,450 บาท ให้โจทก์ โดยจำเลยจะต้องตรวจรับงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมเป็นที่เรียบร้อยแล้วหลังจากนั้นตัวแทนของจำเลยได้ตรวจรับงานดังกล่าวจากโจทก์และจำเลยจ่ายเงินให้โจทก์ไป 360,000 บาท กับทำบันทึกภายในบริษัทจำเลยยอมรับว่ายังค้างชำระหนี้แก่โจทก์เป็นเงิน 1,752,450 บาท หนังสือดังกล่าวมีลักษณะเป็นคำเสนอ ส่วนการที่จำเลยตรวจรับมอบงานจากโจทก์ จ่ายเงินให้โจทก์ไปบางส่วนและทำบันทึกภายในยอมรับว่าค้างชำระหนี้แก่โจทก์ มีลักษณะเป็นคำสนองด้วยการแสดงเจตนาโดยปริยาย เกิดเป็นสัญญาระหว่าง ว. และจำเลยโดยให้จำเลยรับมอบงานติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมจากโจทก์และจ่ายเงินให้โจทก์แทน เนื่องจากจำเลยยังค้างชำระค่าที่ดินและอาคารที่ซื้อจาก ว. อยู่ สัญญาเช่นนี้มีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก โดยจำเลยจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 374 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยตรงได้ และสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอกไม่มีบทกฎหมายใดบังคับให้ทำเป็นหนังสือหรือมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงไม่มีปัญหาว่ามีหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องระหว่าง ว. และโจทก์หรือไม่
จำเลยมิใช่คู่สัญญากับโจทก์ในการซื้อขายและติดตั้งกระจกและอะลูมิเนียมแต่จำเลยเป็นลูกหนี้ของ ว. โดยยังค้างชำระราคาที่ดินและอาคารที่ซื้อไปจาก ว. มูลหนี้ตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารย่อมมีอายุความ 10 ปี อันเป็นข้อที่จำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้ ว. ได้ เมื่อสัญญาระหว่างจำเลยและ ว. เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์ของบุคคลภายนอก จำเลยมีข้อต่อสู้คู่สัญญาเดิมคือผู้ขายที่ดินและอาคารให้แก่จำเลยอยู่อย่างไรจำเลยอาจยกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาที่ทำให้จำเลยตกลงว่าจะชำระหนี้ของ ว. ให้แก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 376 แต่ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติให้จำเลยยกเอาข้อต่อสู้อันเกิดแต่มูลสัญญาซื้อขายและติดตั้งกระจกและอลูมิเนียมของ ว. ขึ้นต่อสู้กับโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้ คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30 มิใช่มีกำหนด 2 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอดำเนินคดีอนาถาต้องมีการสืบพยานเบื้องต้นก่อน จึงจะยื่นคำร้องใหม่ขอแสดงพยานเพิ่มเติมได้
จำเลยอ้างในคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาว่า จำเลยเป็นคนยากจนและจำเลยต้องถูกจำคุกตามคำพิพากษาศาลฎีกา ยิ่งทำให้ครอบครัวจำเลยซึ่งไม่มีรายได้อื่นต้องเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสจำเลยไม่สามารถเสียค่าธรรมเนียมศาลในชั้นอุทธรณ์ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยโดยไม่มีการไต่สวน ทำให้จำเลยไม่ได้เสนอพยานหลักฐานเกี่ยวกับความยากจนของจำเลยต่อศาล หากจำเลยเสนอพยานหลักฐานแล้วจะทำให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นคนยากจน ขอให้ศาลอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจนและให้มีการพิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ของจำเลยใหม่ตามคำร้องของจำเลยดังกล่าว จำเลยประสงค์จะใช้สิทธิขอสืบพยานเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มิใช่จำเลยตกเป็นคนยากจนลงภายหลังและจำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามมาตรา 156 วรรคหนึ่ง ตอนท้าย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ มีความหมายว่า ผู้ยื่นคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลยเลยแม้แต่ปากเดียว กรณีจึงไม่ต้องด้วยมาตรา 156 วรรคสี่ ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ของจำเลยไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำร้องฉบับลงวันที่ 28 สิงหาคม 2541 ใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่า ตนเป็นคนยากจนตามมาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถา ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาให้เป็นพับแก่จำเลย จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาต้องมีการสืบพยานหลักฐานบางแล้ว จึงจะยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธิพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ หมายถึง ผู้ยื่นคำขอจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่ได้ เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คดีนี้ จำเลยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาคตในชั้นอุทธรณ์ แต่ปรากฏว่าไม่มีการสืบพยานจำเลยแม้แต่ปากเดียว จนศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนอีกไม่ได้
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่ง หรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องอนาถาต้องมีการสืบพยานก่อน หากไม่มีการสืบพยาน ศาลชอบที่จะยกคำร้องได้
ตามบทบัญญัติ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่มีความหมายว่าผู้ยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถานั้นใหม่ได้เฉพาะกรณีที่ผู้ยื่นคำขอได้นำพยานหลักฐานมาสืบตามคำขอฉบับเดิมไว้บ้างแล้ว แต่พยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอที่นำสืบไว้แล้ว ยังไม่เพียงพอให้รับฟังว่าเป็นคนยากจน กฎหมายจึงเปิดช่องให้ผู้ยื่นคำขอร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก เมื่อคดีนี้ไม่มีการสืบพยานจำเลย เนื่องจากในวันนัดไต่สวนคำร้องจำเลยไม่ไปศาล ศาลชั้นต้นจึงถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ยกคำร้องของจำเลย กรณีจึงไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ จำเลยจะมายื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำร้องใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ อีกไม่ได้ ศาลชอบที่จะยกคำร้องโดยไม่จำต้องรับคำร้องดังกล่าวไว้ไต่สวนอีกต่อไป
คำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา คำร้องอุทธรณ์คำสั่งหรือฎีกาคำสั่งตลอดจนการดำเนินกระบวนการพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถานี้ ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 149 วรรคท้าย ที่จำเลยเสียค่าคำร้องค่าคำขอ ค่าอ้างเอกสารในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นไต่สวนอนาถาโดยที่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนให้แก่จำเลย รวมทั้งที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สั่งให้ค่าคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาและค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยเสียมาเป็นพับแก่จำเลยนั้น จึงเป็นการมิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการจำกัดเฉพาะผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้เอง ผู้ค้ำประกันไม่ได้รับความคุ้มครอง
แม้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จะถูกโจทก์ฟ้องให้รับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันเป็นคดีเดียวกันกับคดีของจำเลยที่ 1 แต่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการแต่ผู้เดียวจึงเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 90/12(4) เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไม่ได้อยู่ในฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้แม้จำเลยที่ 1 ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ได้กล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้น คำร้องดังกล่าวจึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย ส่วนจำเลยที่ 4 ก็กล่าวมาในคำร้องว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดีย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไรถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย คำร้องของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3403/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการ และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีของผู้ค้ำประกันร่วม
โจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้นขอให้บังคับจำเลยทั้งสี่ร่วมกันชำระค่าเช่าให้โจทก์ปรากฏว่าบริษัทจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลแพ่ง จำเลยที่ 1 ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4) แต่ผู้เดียวเพราะเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันไม่อาจได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/12(4)เช่นเดียวกับจำเลยที่ 1 เพราะจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีฐานะเป็นผู้ร่วมร้องขอหรือลูกหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการดังกล่าวด้วย ดังนั้น จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่ได้รับประโยชน์จากการที่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ต่อไปได้ แม้ศาลแพ่งจะมีคำสั่งอนุญาตให้ฟื้นฟูกิจการจำเลยที่ 1 ก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ก็ตาม
จำเลยที่ 4 กล่าวมาในคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ขอแสดงข้อคัดค้านตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่า หากจำเลยที่ 4 มีโอกาสต่อสู้คดี ย่อมทำให้ผลคำตัดสินหรือคำพิพากษาเปลี่ยนแปลงไปเพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง สัญญาไม่ถูกต้องเป็นโมฆะ ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลและโจทก์ไม่เสียหายใด ๆ จากสัญญาเท่านั้น โดยจำเลยที่ 4 มิได้แสดงรายละเอียดว่าสัญญาฉบับไหนไม่ถูกต้องเป็นโมฆะเพราะเหตุใด ทำขึ้นโดยกลฉ้อฉลอย่างไรและเหตุใดโจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากสัญญา เป็นการกล่าวอ้างลอย ๆ หาได้คัดค้านในเนื้อหาแห่งคำตัดสินของศาลชั้นต้นว่าไม่ถูกต้องอย่างไร หากมีการพิจารณาพิพากษาใหม่แล้วจำเลยที่ 4 จะชนะคดีอย่างไร ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208วรรคสุดท้าย
of 47