คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุรชาติ บุญศิริพันธ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 467 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6514/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ต้องพิจารณาอำนาจศาลปกครองหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ
โจทก์อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งของศาลจังหวัดนนทบุรีที่สั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ เนื่องจากศาลจังหวัดนนทบุรีเห็นว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งแม้โจทก์จะอุทธรณ์กล่าวอ้างว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครอง ตามมาตรา 9 (1) แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ซึ่งใช้บังคับแล้วในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ แต่ขณะยื่นฟ้องศาลปกครองกลางยังมิได้เปิดทำการ คดีนี้จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลยุติธรรมคือศาลจังหวัดนนทบุรีอันเป็นศาลที่จำเลยทั้งแปดมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 4 (1) ดังนี้ ย่อมมีปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลจังหวัดนนทบุรีหรือศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งเป็นศาลยุติธรรมด้วยกันเท่านั้น จึงเป็นกรณีที่มีปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศหรือไม่ อันเป็นกรณีที่จะต้องเสนอปัญหาดังกล่าวให้ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัย ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 9 และต่อมาประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้น การที่ศาลจังหวัดนนทบุรีมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์และจำหน่ายคดีออกจากสารบบความนั้นชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6400/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ครบถ้วนของผู้ค้ำประกัน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการชำระหนี้เงินกู้ยืมโดยจำเลยครบถ้วน ทำให้ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกัน
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้จาก ก. ผู้กู้ ตามทางนำสืบของจำเลยผู้ค้ำประกัน แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่น โจทก์ไม่ได้รับชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาท และพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จำเลยฎีกาว่า เมื่อโจทก์รับว่าได้รับเงินจาก ก. แต่ปฏิเสธว่าเป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามคำปฏิเสธของโจทก์ โจทก์ไม่นำสืบพยานเช่นว่านั้น จำต้องฟังข้อเท็จจริงว่า ก. ชำระหนี้กู้ยืมรายพิพาทแล้ว ดังนี้ เป็นการยกข้อกฎหมายเกี่ยวกับหน้าที่นำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานในประเด็นข้อพิพาทเดิมขึ้นโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ได้เป็นการตั้งประเด็นใหม่หรือยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นใหม่แต่อย่างใด ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องว่า ก. กู้ยืมเงินโจทก์โดยที่จำเลยเป็นผู้ค้ำประกัน ก. ไม่ชำระหนี้ โจทก์จึงขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แทน จำเลยให้การว่า ก. ชำระหนี้ให้โจทก์ครบถ้วนแล้ว เมื่อโจทก์รับว่าได้รับชำระหนี้จาก ก. จริง แต่เป็นการชำระหนี้รายอื่นที่ ก. มีต่อโจทก์ ไม่ได้ชำระหนี้รายพิพาท จึงเป็นการที่โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ โจทก์มีภาระการพิสูจน์และมีหน้าที่ต้องนำสืบพยานหลักฐานให้รับฟังได้ตามข้ออ้างของโจทก์ เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานสนับสนุน ข้อเท็จจริงต้องรับฟังว่า โจทก์ได้รับชำระหนี้รายพิพาทจาก ก. แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6180/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าสินค้าของผู้ประกอบการค้า: พิจารณาการใช้สินค้าในกิจการของผู้ซื้อ
สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าจากผู้ซื้อของผู้ประกอบการค้ามีอายุความต่างกันตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ประกอบกับมาตรา 193/33 (5) กล่าวคืออายุความสองปีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) และห้าปีตามข้อยกเว้นในมาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ที่ว่า "...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง" กรณีที่จะเข้าข้อยกเว้นดังกล่าวจะต้องนำกิจการหรือการงานที่ผู้ซื้อสินค้าประกอบการค้าอยู่นั้นมาพิจารณารวมกับสินค้าที่ซื้อว่า ผู้ซื้อนำสินค้านั้นไปใช้ในกิจการหรือการงานที่ผู้ซื้อประกอบการค้าหรือไม่ หากผู้ซื้อนำสินค้าที่ซื้อไปใช้ในกิจการที่ผู้ซื้อประกอบการค้าแล้ว สิทธิเรียกร้องในมูลหนี้ค่าขายสินค้าของผู้ประกอบการค้ามีอายุความห้าปี ทั้งนี้ หาได้มีข้อจำกัดว่าสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นต้องเป็นสินค้าที่ผู้ประกอบการค้าผลิตขึ้นเพื่อขายให้แก่ผู้ซื้อโดยเฉพาะเจาะจงไม่ แม้เป็นสินค้าที่ซื้อขายกันทั่วไปในท้องตลาดก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติแห่งกฎหมายสองมาตรานี้ดุจกัน สำหรับคำว่า "กิจการ" ก็มีความหมายครอบคลุมถึงการใด ๆ ที่ได้ทำเพื่อเป็นการทำมาหาได้ ลักษณะเป็นการประกอบอาชีพ มิได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะต่อการเลี้ยงสัตว์เพื่อขายหรือซื้อสินค้ามาเพื่อขายต่อหรือเพื่อผลิตเป็นสินค้าใหม่ จำเลยเป็นบริษัทจำกัดประกอบกิจการโรงแรมและห้องอาหารอันเป็นกิจการให้บริการและจำหน่ายอาหารแก่ผู้มาใช้บริการของโรงแรมของจำเลย สินค้าที่จำเลยซื้อจากโจทก์ก็เป็นเครื่องอุปโภคจำพวกถ้วย โถ จาน ชาม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหารและให้บริการจำหน่ายอาหารในห้องอาหาร อันเป็นส่วนหนึ่งของกิจการของจำเลย ทั้งจำเลยก็รับว่าจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวมาใช้เป็นอุปกรณ์ในการให้บริการในกิจการของจำเลย กรณีจึงตกอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงมีอายุความห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานเพลงและสิ่งบันทึกเสียง รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำในรูปแบบต่างๆ แม้จะยังไม่มีเทคโนโลยีในขณะทำสัญญา
พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 4 ให้ความคุ้มครองงานดนตรีกรรมและงานสิ่งบันทึกเสียงเป็นเวลา 50 ปี เช่นเดียวกับอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมและโสตทัศนวัสดุตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2521 ทั้งนี้ตามมาตรา 19 วรรคท้าย และ 21 โจทก์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามสัญญาซื้อขาย ลงวันที่ 1 เมษายน 2518 ฉะนั้น ขณะที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ได้กระทำละเมิดลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบที่บันทึกเพลงตามคำฟ้องของโจทก์เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2542 โจทก์จึงยังคงมีลิขสิทธิ์ในงานเพลงและเทปต้นแบบนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิต่าง ๆ แต่ผู้เดียวในงานดนตรีกรรมและสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ดังกล่าวตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 รวมถึงสิทธิในการทำซ้ำ เทปต้นแบบดังกล่าวโดยการบันทึกเสียงลงในวัสดุไม่ว่าจะมีลักษณะใด ๆ หรือในรูปแบบใดที่สามารถนำมาเล่นซ้ำได้อีกซึ่งรวมทั้งการบันทึกเสียงในรูปเทปคาสเซตด้วย
ตามสัญญาซื้อขายงานเพลงระหว่างโจทก์ และ ป. สามีจำเลยที่ 3 ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์ ในงานเพลงทั้งหมดและในเทปต้นแบบที่บันทึกงานเพลงพิพาท มิใช่เป็นการซื้อขายลิขสิทธิ์เฉพาะสิทธิให้นำงานเพลงตามคำฟ้องไปผลิตหรือบันทึกในรูปแบบแผ่นเสียงเท่านั้น นอกจากนี้ พ.ร.บ. คุ้มครองวรรณกรรมและศิลปกรรม พ.ศ. 2474 มาตรา 9 (1) และ 17 ยังบัญญัติให้ผู้มีลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะทำดนตรีกรรมนั้นเพื่อให้ใช้ได้ด้วยเครื่องกลอันทำให้เกิดเสียงดนตรีนั้นขึ้นอีก และมีลิขสิทธิ์ในสิ่งซึ่งทำโดยวิธีอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดเสียงซ้ำได้ด้วยเครื่องกลซึ่งหมายถึงสิ่งบันทึกเสียงในรูปแบบอื่น ๆ ที่จะมีในอนาคตด้วย ดังนี้แม้ในขณะทำสัญญาดังกล่าวในปี 2518 จะยังไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกเสียงเพลงในรูปของเทปคาสเซตก็ตาม แต่สิทธิในลิขสิทธิ์ของโจทก์ที่ได้มาจากการประมูลตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวย่อมรวมถึงสิทธิที่จะทำซ้ำหรือดัดแปลงดนตรีกรรม แผ่นเสียง และเทปต้นแบบที่บันทึกเสียงเพลงตามคำฟ้อง โดยการบันทึกเสียงเพลงนั้นลงในวัสดุใดหรือทำออกมาในรูปแบบใดที่จะมีในอนาคตซึ่งรวมทั้งเทปคาสเซตด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมซ้ำหลังศาลฎีกามีคำพิพากษาแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนการซ้ำที่กฎหมายห้าม
ศาลฎีกาเคยมีคำพิพากษายกฎีกาของจำเลยที่ 5 ที่ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลตามคำร้องของจำเลยที่ 5 มาครั้งหนึ่งแล้ว การที่จำเลยที่ 5 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลต่อศาลชั้นต้นใหม่อีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันว่า กรณีมีเหตุสมควรอนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลแก่จำเลยที่ 5 ซึ่งได้มีคำสั่งและคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้ว ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ปัญหาเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างศาลก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับและรางวัลเจ้าหน้าที่ในคดีร่วมกันนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ศาลฎีกาแก้ไขการบังคับโทษปรับและยกเลิกการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อน
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 การลงโทษปรับผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะมีผู้ร่วมกระทำความผิดจำนวนกี่คน ศาลจะต้องลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งต้องลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเมื่อจำเลยคดีนี้กระทำความผิดตามฟ้องร่วมกับ จ. แม้จะปรากฏว่าความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วไปแล้วในคดีก่อนก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาระงับลงไม่ ต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกับค่าปรับ จ. แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หาก จ. ชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วในคดีก่อนเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีรวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน
บุคคลสองคนร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 เมื่อคนหนึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษ โดยศาลสั่งริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว ของกลางในคดีก่อนกับของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลสั่งริบของกลางแล้วและไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และ 8 วรรคสองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมเพียงครั้งเดียว
การจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ความรับผิดร่วม และการบังคับโทษปรับ รวมถึงการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยคดีนี้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ให้การรับสารภาพ แม้ความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันไปแล้วก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาได้ระงับลงไม่ ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันกับค่าปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หากจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งเพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีนี้รวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าโทษปรับคดีนี้เป็นโทษปรับจำนวนเดียวกับคดีก่อน และมิได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับให้ชัดเจนจึงยังไม่ถูกต้อง
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3925/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเบี้ยประกันภัย และดอกเบี้ยเกินสิทธิในสัญญากู้
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระเบี้ยประกันภัยตั้งแต่ปี 2547 หลังจากฟ้องคดีแล้วนั้น เป็นการฟ้องขอให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยที่จำเลยยังไม่มีหนี้ที่ต้องชำระ แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์จะได้ระบุจำนวนเบี้ยประกันภัยขอให้จำเลยชำระ ก็เป็นจำนวนที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยยังมิได้มีการชำระแทนจำเลยไปจริง จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่อาจบังคับให้ได้
ตามสัญญากู้เงินระบุว่า "ผู้กู้ยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้ให้กู้เป็นรายเดือนสำหรับเงินกู้ที่ค้างชำระในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี โดยยอมชำระนับแต่วันได้รับเงินกู้ไป? ในกรณีมีเหตุจำเป็นที่ผู้ให้กู้จะต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยแล้ว ผู้กู้ยินยอมให้ผู้ให้กู้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้นได้ตามที่เห็นสมควรเมื่อใดก็ได้แต่ไม่เกินอัตราสูงสุดที่กฎหมายกำหนดไว้ ทั้งนี้ผู้ให้กู้ไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ผู้กู้ทราบล่วงหน้า" ความในสัญญาดังกล่าวแสดงว่าจำเลยมีหน้าที่ต้องเสียดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 16 ต่อปี นับแต่วันที่ทำสัญญากู้ตลอดไป แต่โจทก์มีสิทธิเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้ในกรณีที่มีเหตุจำเป็น ตามหนังสือสัญญากู้ไม่มีข้อความใดที่ระบุว่าให้โจทก์เพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ตามกำหนดในสัญญา การที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยให้เพิ่มสูงขึ้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นเบี้ยปรับ แต่เมื่อโจทก์ไม่ได้แสดงข้อเท็จจริงให้ปรากฏว่ามีเหตุจำเป็นที่โจทก์ต้องเพิ่มอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา โจทก์จึงเรียกดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราสูงขึ้นเกินกว่าร้อยละ 16 ต่อปี ตามที่ระบุในสัญญาไม่ได้
ศาลไม่มีหน้าที่ต้องคิดดอกเบี้ยและยอดเงินที่ถูกต้องให้โจทก์ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องคิดยอดมาให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ เมื่อโจทก์มิได้คิดมา ศาลก็ชอบที่จะยกฟ้องโดยไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายเครื่องจักร: ผู้ซื้อต้องชำระราคาตามสัญญา แม้เครื่องจักรมีข้อบกพร่องที่ไม่กระทบต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์
จำเลยให้การยอมรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาซื้อเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์และยังค้างชำระราคาเครื่องจักรพิพาทแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า เครื่องจักรพิพาทที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยมีความบกพร่องไม่สามารถห่อเทียนไขด้วยฟิล์มหดได้ดีเหมือนกับห่อด้วยแรงงานคนตามที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์หรือมีหน้าที่นำสืบก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3617/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาต่อเนื่องในการฆ่า, ความผิดสองกรรม, และการลดโทษจากสารภาพ
ถ้อยคำที่ผู้ตายที่ 1 ด่าจำเลยว่า "โคตรพ่อโคตรแม่" แม้จะเป็นถ้อยคำก้าวร้าวหยาบคายเป็นที่ระคายเคืองแก่จำเลยอยู่บ้าง แต่ก็ไม่ถึงขนาดที่จะถือว่าเป็นการข่มเหงจำเลยอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมตาม ป.อ. มาตรา 72
ในชั้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การต่อสู้โดยอ้างเหตุบันดาลโทสะสำหรับความผิดฐานฆ่าผู้ตายที่ 2 เท่านั้น มิได้ต่อสู้ว่าเป็นการกระทำโดยป้องกันโดยสำคัญผิด ส่วนในชั้นสืบพยาน จำเลยนำสืบต่อสู้ไม่ชัดแจ้งว่าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ว่าจำเลยยิงผู้ตายที่ 2 เพื่อป้องกันตัวโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 จะเข้ามาทำรายจำเลย และในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์โดยมิได้อ้างเหตุสำคัญผิดในข้อเท็จจริง ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่อ้างว่าการที่จำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 เป็นการกระทำโดยป้องกันเกินสมควรแก่เหตุโดยสำคัญผิดว่าผู้ตายที่ 2 ได้นำเครื่องมือทำงานที่เป็นเหล็กแหลมและค้อนติดตัวมาด้วย จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดมิให้ผู้ตายกับพวกเข้ามาทำร้ายจำเลยซึ่งมีขาพิการนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 1 แล้ว จำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 และหลานชายผู้ตายที่ 2 กรูเข้ามาหาจำเลยโดยวิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงสกัดขึ้นไป รวมทั้งใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายที่ 2 ด้วย แสดงว่าจำเลยมีเจตนายิงผู้ตายที่ 1 ก่อน ต่อมาเมื่อจำเลยเห็นผู้ตายที่ 2 วิ่งลงบันไดมา จำเลยจึงเกิดมีเจตนายิงผู้ตายที่ 2 เสียด้วย ซึ่งเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นใหม่ในภายหลัง แม้จะเป็นการกระทำความผิดในเวลาต่อเนื่องกัน แต่ก็เป็นการกระทำความผิดที่อาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดสองกรรม
of 47